อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การเผยแพร่อัลกุรอ่าน


เมื่อคอลีฟะฮ์อุษมานได้ดำเนินการตั้งคณะกรรมการคัดลอกและจัดระเบียบกุรอ่าน ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว เสร็จสิ้นสมบูรณ์ และดำเนินการเผยแพร่ไปยังเมืองต่าง ๆ พร้อมผู้เชี่ยวชาญในการอ่านเพื่อแนะนำถึงวิธีอ่าน รวม 5 เมืองด้วยกัน คือ
1. เมืองบัสเราะฮฺ ผู้เชี่ยวชาญ คือ อามิรฺ อิบนุ ซัยดฺ
2. เมืองกูฟะฮฺ ผู้เชี่ยวชาญ คือ อบู อับดุรฺเราะฮฺมาน อัสสะลามี
3. เมืองชาม ผู้เชี่ยวชาญ คือ มุฆีเราะฮฺ อิบนุ ซิฮาบ
4. เมืองมักกะฮฺ ผู้เชี่ยวชาญ คือ อับดุลเลาะฮฺ อิบนุ ซาอิบ
5. เมืองมะดีนะฮฺ ผู้เชี่ยวชาญ คือ ซัยดฺ อิบนุ ษาเบ็ต

และฉบับสุดท้ายเก็บไว้ที่คอลีฟะฮฺอุษมาน ส่วนอัลกุรอ่านฉบับที่เคยเก็บรักษาที่ฮัฟเซาะฮ์และ
ท่านอุษมานได้ขอยืมมานั้น ท่านก็ได้คืนไปเก็บไว้ที่ท่านหญิงฮัฟเซาะฮ์ตามเดิม จนกระทั่งยุคของมัรวาน
อิบ นุ หะกัม เป็นคอลีฟะฮ์ของอาณาจักรแห่งราชวงศ์อุมัยยะฮ์ มุอาวิยะฮ์ ประมาณช่วงปีฮิจเราะฮ์ศักราช 64-65 ได้ตั้งตัวแทนมาขออัลกุรอ่านฉบับดังกล่าว แต่ท่านหญิงฮัฟเซาะฮ์ไม่ยินยอมให้ จนกระทั่งท่านหญิงฮัฟเซาะฮ์ถึงแก่ชีวิต กุรอ่านดังกล่าวจึงตกไปถึง อับดุลลอฮ์ อิบนุ อุมัรฺ

ต่อมาคอลีฟะฮ์มัรวานก็ส่งคนมาทาบทามอีก โดยให้เหตุผลว่าจะนำไปเผาทำลาย เพราะในฉบับ
ดัง กล่าวมีหลากหลายด้านภาษาและแนวการอ่าน เกรงว่าจะเกิดความสับสนตามที่ท่านอุษมาน ผู้เป็นอดีต คอลีฟะฮ์ได้ปรารภไว้ อับดุลลอฮ์ อิบนุ อุมัร ก็เห็นด้วยจึงให้ไปและก็ถูกเผาไปในที่สุด

จุดมุ่งหมายในการอ่านอัลกุรอ่าน
อัลกุรอ่านถือเป็นคัมภีร์ที่มุสลิมทุกคนจะต้องอ่านเป็นประจำ มีทั้งการบังคับให้อ่าน เช่น ในละหมาด และไม่บังคับ เช่น ในวาระอื่น ๆ ผู้อ่านอาจไม่รู้ความหมายก็ได้ แต่เมื่ออ่านแล้วจะเกิดความซาบซึ้ง สอดคล้อง สร้างสรรค์ศรัทธา เพราะเป็นคำดำรัสของอัลเลาะฮ์
มีคนเป็นจำนวนมากที่ทั้งฟังอัลกุรอ่านและอ่านกุรอ่านโดยที่ไม่รู้ความหมาย แต่เขาก็พอใจที่จะฟังและอ่านด้วยความนอบน้อมและยำเกรงยิ่ง อัลกุรอ่านระบุไว้ว่า

إِنَّمَا الْمُؤْمِنُونَ الَّذِينَ إِذَا ذُكِرَ اللَّهُ وَجِلَتْ قُلُوبُهُمْ وَإِذَا تُلِيَتْ عَلَيْهِمْ آيَاتُهُ زَادَتْهُمْ إِيمَانًا وَعَلَىٰ رَبِّهِمْ يَتَوَكَّلُونَ

ความว่า “อัน ที่จริงบรรดาผู้ศรัทธาได้แก่บรรดาผู้ซึ่งเมื่อมีการกล่าวระลึกถึงอัลเลาะ ฮ์แล้ว หัวใจของเขาก็สะทกสะท้าน และเมื่อมีการอัญเชิญโองการต่าง ๆ ของพระองค์ โองการเหล่านั้นก็จะเพิ่มพูนความศรัทธาแก่เขา และพวกเขามีจิตที่มอบหมายต่อองค์อภิบาลของพวกเขา” (8 : 2)



เวลาอ่านอัลกุรอ่าน

อัลกุรอ่าน อ่านได้ทุกเวลา ไม่ว่าจะเป็นเวลากลางคืน กลางวัน เช้า บ่าย เย็น แม้ขณะที่เดินทาง หรือขณะที่อยู่บ้าน ในมัสยิด ตามป่า ตามเขา ในท้องทะเลได้ทั้งสิ้น
ในหน้าประวัติศาสตร์อิสลาม ชาวสลัฟบางท่านอ่านกุรอ่านจบภายใน 2 เดือน บางท่านเดือนละ 1 จบ บางท่านทุก ๆ 10 คืน 1 จบ บางท่านทุก ๆ 8 คืน 1 จบ บางท่าน 7 คืน 1 จบ และบางท่าน 6 คืน 1 จบ 5 คืน 4 คืน แม้กระทั่งวันละ 1 จบ 2 วัน 1 จบ ก็มี ทั้งนี้ ท่านเหล่านี้ได้อ่านวนเวียนกันอยู่เสมอ จึงเห็นได้ว่ามุสลิมผู้ศรัทธามั่นในยุคก่อนได้อ่านอัลกุรอ่านกันอย่างจริง จัง ด้วยความนอบน้อม ความภักดี และความดื่มด่ำในอรรถรสโดยเห็นว่าเป็นคำดำรัสของอัลเลาะฮ์



"""""""""""""""""
Ref : skthai.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น