อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพุธที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ไม่มีบิดอะฮฺที่ดีทางศาสนา(ยังกล่าวหาว่าเศาะหาบะฮฺทำบิดอะฮฺอีก)



                         เรื่องราวของบิดอะฮฺนั้นถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับมุสลิมทั้งหลาย ที่จะต้องเรียนรู้ เนื่องจากเป็นปัจจัยสำคัญที่ชี้ทางรอดพ้นและหลงทางให้แก่มวลมุสลิม

                        เกี่ยวกับปัญหา “บิดอะฮฺ” นี้มีประเด็นถกเถียงจนก่อความสับสนในสังคมกว้าง กลุ่มที่ฝั่งใฝ่เรื่องอุตริกรรมทางศาสนา(บิดอะฮฺ) อย่างกลุ่มอะชาอิเราะฮฺ ก็ทำบิดอะฮฺกันถล่มทลาย ประหนึ่งราวกับหะดิษที่ว่าทุกการใหม่ๆถือเป็นความหลงผิด และทุกความหลงผิดย่อมนำไปสู่ไฟนรก และท่านนบีกล่าวว่าเป็นการงานที่เลวที่สุด ไม่มีผลบังคับใช้ใดๆ หรือแทบจะไม่ความสำคัญกับสังคมมุสลิมเลย อันเนื่องจากความคิดของพวกเขาที่ว่าบิดอะฮฺหลงทาง หรือเฎาะลาละฮฺ ตามหะดิษนี้มิใช่กิจกรรมที่ปรากฏแพร่หลายในสังคมมุสลิม พวกเขาบอกว่ากิจกรรมใหม่ๆทางศาสนาที่เกิดขึ้นปัจจุบัน คือเรื่องที่ดี อันเป็นสื่อพาคนไปสวรรค์ทั้งสิ้น นั่นหมายถึงพวกเขามองบิดอะฮฺด้วยทัศนคติสวรรค์

ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวเตือนและสั่งห้ามประชาชาติของท่านมิให้ทำการอุตริกิจกรรม(พิธีกรรม)ขึ้นมาใหม่ทางศาสนาไว้มากมาย

รายงานจากท่านญาบิรอับดิลละฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า
“ท่านรสูลุลลอฮฺ(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) เมื่อท่านกล่าวสุนทรพจน์(คุฏบะฮฺ) ดวงตาทั้งสองข้างของท่านจะแดง , เสียงของท่านจะดัง , และท่านจะมีอาการโกรธจัด จนคล้ายเหมือนกับผู้ที่ทำหน้าที่แจ้งข่าวแก่กองทหารยามมีศัตรูบุกว่า : ศัตรูจะบุกโจมตีพวกท่านแล้วในตอนเช้า และมันจะบุกโจมตีพวกท่านแล้วในตอนเย็น และท่านก็เคยกล่าวว่า : การที่แนถุกส่งส่งมา(แต่งตั้ง) ขึ้นเป็นศาสนทูตย่อมมีความสัมพันธ์กับกิยามะฮฺ(วันสิ้นโลก) ใกล้กันเหมือนกับนิ้วทั้งสองนี้ แล้วท่านก็แสดงให้เห็นถึงความใกล้ชิดกันระหว่างนิ้วชี้กับนิ้วกลาง พร้อมกับกล่าวว่า : อนึ่ง ถ้อยคำที่ดีที่สุด คือคัมภีร์จองอัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา การชี้นำที่ดีที่สุดคือการชี้นำของมุอัมมัด (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) การงานที่เลวที่สุด คือ การงานที่ถูกทำขึ้นใหม่อันไม่อยู่ในยุคสมัยของฉัน และทุกการงานใหม่(บิดอะฮฺ) ถือเป็นความหลงผิด จากนั้นท่านกล่าวว่า : ฉันมีสิทธิ์ในตัวของผู้ศรัทธาทุกคน ยิ่งกว่าตัวเขามีสิทธ์เหนือคนเองเสียอีก ผู้ใดทิ้งทรัพย์สิ้นไว้ มันจะตกเป็นของครอบครัวเขา ผู้ใดทิ้งหนี้สิน หรือครอบครัวไว้ ก็จะเป็นหน้าที่ของฉันต้องดูแลและชดใช้” (เศาะฮีฮฺมุสลิม เลขที่ 867)

ท่านรสูลุลลอฮฺ(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)กล่าวว่ว “ทุกๆบิดอะฮฺนั้นหลงผิดและออกนอกลู่นอกทาง” บันทึกโดยอบูดาวูด(ลำดับที่ 4607), อัต-ติรฺมิซีย์(ลำดับที่2676) อิบนุ หะญัรฺ รับรองไว้ว่าเศาะฮิ้หฺ ในตัครีจ อะหะดีษ อิบนุล-ฮาญิบ (1-137)

และยังมีหะดิษอีกกระแสหนึ่งมาขยายความคำพูดของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) คือ

ซึ่งท่าน(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)ได้กล่าวไว้อีกว่า
“...และทุกๆบิดอะฮฺนั้นหลงผิด และทุกๆความหลงผิดนั้นอยู่ในนรก” บันทึกโดยอัน-นาสาอีย์(1/224) จากญาบิรฺ บิน อับดุลลอฮฺ และท่านเชคุล-อิสลาม อิบนุ ตัยมียะฮฺกล่าวว่าเศาะฮิ้หฺ ในมัจญ์มูอฺ อัล-ฟัตวา (3/58)

ท่านรสูล(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)ยังห้ามไม่ให้เราไปเป็นมิตร, สนับสนุนหรือคุยกับคนที่ทำบิดอะฮฺ ดังที่หะดีษกล่าวว่า
“ใครก็ตามที่ทำบิดอะฮฺหรือปรองดองกับผู้ที่ทำบิดอะฮฺ คำสาปแช่งจากอัลลอฮฺ, บรรดามลาอิกะฮฺของพระองค์ และมนุษชาติทั้งปวง จะตกอยู่ที่เขา” บันทึกโดยบุคอรีย์(12/41)และมุสลิม(9/140)

รายงานจากท่านอะนัส บินมาลิก ร่อียัลลออุอันฮุ เล่าว่า ท่านรสูล(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) กล่าวว่า
“แท้จริงพระองค์อัลลอฮฺ ไม่ทรงยอมรับการกลับตัวของผู้ที่ทำบิดอะฮฺทุกคนจนกว่าเขาจะยุติการทำบิดอะฮฺของเขาเสียก่อน” (หะดิษเศาะฮีฮฺ , มุอฺญัมอัลกะบีรของท่านอัฏเฏาะบะรอนีย์ ,อิมามอัลบานีย์รับรองว่าเป็นหะดิษเศาะฮีฮฺ)

นักวิชาการมักแบ่งบิดอะฮฺออกเป็น 2 ประเภทอีก คือ 1.บิดอะฮฺชั่ว ๒.บิดอะฮฺดี การแบ่งบิดอะฮฺออกเป็น 2 ชนิดเช่นนี้ทำให้หลายคนสับสน บางคนมองว่าสิ่งแปลกใหม่ที่ถูกต่อเติมเข้ามาในศาสนาที่ตนเองทำอยู่เป็นบิดอะฮฺดี ส่วนฝ่ายตรงข้ามก็มองบิดอะฮฺมันคือบิดอะฮฺชั่ว

เกี่ยวกับเรื่องนี้ท่านอัลฮาฟิซ อิบนุกะษีร นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของอัลกุรอาน ได้อธิบายว่า


وَالْبِدْعَة عَلَى قِسْمَيْنِ تَارَة تَكُون بِدْعَة شَرْعِيَّة كَقَوْلِهِ " فَإِنَّ كُلّ مُحْدَثَة بِدْعَة وَكُلّ بِدْعَة ضَلَالَة" وَتَارَة تَكُون بِدْعَة لُغَوِيَّة كَقَوْلِ أَمِير الْمُؤْمِنِينَ عُمَر بْن الْخَطَّاب عَنْ جَمْعه إِيَّاهُمْ عَلَى صَلَاة التَّرَاوِيح وَاسْتِمْرَارهمْ : نِعْمَتْ الْبِدْعَةُ هَذِهِ 

“และบิดอะฮฺนั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ประเภทแรก คือ เป็นบิดอะฮทางบทบัญญัติของศาสนา(บิดอะฮฺชัรอียะฮฺ) ตามนัยจากหะดิษของท่านนบีที่กล่าวว่า : แท้จริงทุกสิ่งที่ถูกอุริขึ้นใหม่นั้น เป็นบิดอะฮฺ(สิ่งใหม่) และทุกบิดอะฮฺนั้นหลงผิด ส่วนประเภที่ 2 ก็คือบิดอะฮฺ(สิ่งใหม่)ในแง่มุมทางภาษา(บิดอะฮฺลูฆอวียะฮฺ) ตามนัยจากคำพูดคำกล่าวของท่านผู้นำแห่งบรรดาศรัทธาชน อุมัร บุตร อัลค็อฏฏ้อบ ที่รวบรวมบรรดามุสลิมให้ละหมาดตะรอวีฮฺ (ภายใต้การนำของอิมามคนเดียว) และท่านได้ให้พวกเขาดำเนินต่อไป โดยกล่าวว่า : สิ่งนี้เป็นบิดอะฮฺที่ดี( ตัฟซีรอัลกุรอานิลอะสี้ม เล่ม 1 หน้า 277)

ตามการอธิบายการแบ่งบิดอะฮฺ ของท่านอัลฮาฟิซ อิบนุกะษีร ประเภทแรก คือ บิดอะฮฺทางบทบัญญัติของศาสนาตามนัยจากหะดิษที่กล่าวไปแล้วข้างต้น นั้นหมายถึงบิดอะฮฺทางบทบัญญัติของศาสนา ทุกๆบิดอะฮฺจึงถือเป็นความหลงผิดไม่มีข้อยกเว้นใดๆทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีบิดอะฮฺที่ดี หรือหะสะนะห์ทางศาสนาดังที่มุสลิมบางกลุ่ม อย่างอาชาอิเราะฮฺกล่าวอ้างกันเลย

และบิดอะฮฺประเภทที่ 2 คือ บิดอะฮฺทางภาษา หรือบิดอะฮฺลูฆอวียะฮฺ บิดอะฮฺประทนี้แหละที่เป็นบิดอะฮฺที่ดีตามคำพูดของท่านอุมัรข้างต้น ไม่ใช่สิ่งใหม่ในเรื่องศาสนา หากเป็นสิ่งใหม่ทางด้านภาษาหรือสิ่งใหม่ทางด้านดุนยาเท่านั้น

ซึ่งหะดิษที่ท่านอุมัร กล่าวถึงที่มีรวบรวมบรรดามุสลิมให้ละหมาดตะรอวีฮฺ ภายใต้การนำของอิมามคนเดียว และท่านได้ให้พวกเขาดำเนินต่อไปพร้อมกับท่านกล่าวว่า  “สิ่งนี้เป็นบิดอะฮฺที่ดี” มีดังนี้

รายงานจากท่านอับดุรรอหฺมาน อิบนฺ อับดิน อัลกอรี้ยุ ได้บอกเล่าไว้ว่า
“ฉันได้ออกเดินไปคืนหนึ่งในเดือนรอมฎอนกับอุมัรอิบนุลค๊อฎฎ๊อบ ยังมัสยิดอันนะบะวีย์ ก็เห็นมหาชนยืนละหมาดแยกกันเป็นกลุ่ม ๆ บ้างก็ยืนละหมาดคนเดียว บ้างก็ยืนละหมาดเป็นญะมาอะฮฺ อุมัรจึงกล่าวขึ้นว่า แท้จริงฉันเห็นว่าหากฉันจะรวมเขาเหล่านั้นให้ยืนละหมาดกับอิหม่ามคนเดียวก็จะเป็นการดียิ่ง แล้วอุมัรก็ได้ตัดสินใจรวมพวกเขาเหล่านั้นให้ยืนละหมาดตามอุบั๊ย อิบนฺกะอฺบ ต่อมาฉันได้ออกไปกับอุมัรในคืนต่อ ๆ มา และได้เห็นผู้คนยืนละหมาดตามอิหม่ามคนเดียว อุมัรได้กล่าวชื่นชมขึ้นว่านี่มันเป็นบิดอะฮฺ(เหตุการณ์ใหม่)ที่ดียิ่ง การละหมาดในเวลาดึกซึ่งเป็นเวลาพักผ่อนดีกว่าการละหมาดในเวลาหัวค่ำ” (บันทึกโดย : อัลบุคอรีย์)

กรณีการละหมาดตะรอวีฮฺแบบหมู่คณะในสมัยของท่านอุมัรจึงเป็นบิดอะฮฺที่ดี หรือบิดอะฮฺทางภาษา เพราะบรรดาสาวกไม่สามารถเข้าถึงการละหมาดแบบนี้ได้เนื่องจากมีอุปสรรคขวางกั้นอยู่ นั้นคือความหวาดกลัวของท่านนบีว่าหากมีการละหมาดแบบนี้บ่อยครั้งจะทำให้พระองค์อัลลอฮฺทรงบัญญัติเป็นศาสนกิจบังคับเหมือนละหมาด 5 เวลา ครั้นเมื่อท่านนบีจากไปแล้ว อุปสรรคดังกล่าวก็จบลงเพราะไม่มีนบีที่จะมาประกาศบทบัญญัติอีก ท่านอุมัรจึงเห็นควรที่จะรื้อฟื้นพิธีกรรมทางศาสนาอันนี้ขึ้นมา

ซึ่งการละหมาดตะรอวีฮฺที่ท่านอุมัรกระทำนั้นไม่ใช่เป็นการเลียนแบบพิธีกรรมที่มีในหลักการเดิมแต่อย่างใด หากแต่เป็นการกระทำพิธีกรรมทางสาสนาตรงตามรูปแบบที่ท่านนบีเคยทำให้ดูมาก่อนแล้ว นั้นคือท่านนบีเองก็เคยทำการละหมาดตะรอวีฮฺแบบญะมาอะฮฺ และมีหะดิษที่รับรองศาสนกิจประเภทนี้อยู่แล้ว เพียงแต่ยุติลงไปชั่วคราว เพราะความกลัวของนบีเท่านั้น

ท่านหญิงอาอิชะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮา เล่าว่า
“แท้จริงท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ละหมาดกลางคืน(รอมฎอน)หนึ่ง ทีมัสยิด ท่านรสูลละหมาด(ตะรอเวียะห์) บรรดาสอหาบะฮฺก็ละหมาดเป็นมะมูม จากนั้นท่านรสูลก็ละหมาดในคืนถัดมา บรรดาก็เพิ่มจำนวนมากขึ้น ถัดมา บรรดาศอหาบะฮฺก็มารวมตัวกันในคืนที่สาม หรือคืนที่สี่” (บันทึกหะดิษโดยอิมามบุคอรีย์ เลขที่ 1129)

ทั้งการงานใดที่บรรดาสาวกของท่านนบีได้กระทำไว้เป็นสุนนะฮฺที่ท่านนบีได้รับรองไว้ไม่ใช่เป็นบิดอะฮฺที่ดีทางศาสนาแต่อย่างใด ถือว่าเป็นการกล่าวหาบรรดาสาวกของท่านนบีว่าได้กระทำบิดอะฮฺดีทางศาสนาเพื่อให้เป็นการสอดคล้องการอุตริของตน

ท่านรสูลุลลอฮฺ(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)กล่าวว่า
“...พวกท่านคนใดมีชีวิตอยู่ในกาลต่อไป เขาก็จะได้เห็นการแตกแยกอย่างมากมาย ดังนั้นขอพวกท่านจงปฏิบัติตามสุนนะฮฺของฉัน และสุนนะฮฺของบรรดาเคาลีฟะฮฺ(ทั้ง 4) ผู้เที่ยงธรรม จงยึดมั่นเอาไว้ และกัดมันให้แน่นด้วยฟันกราม พวกท่านจงระวังการอุตริในกิจการต่างๆ(ทางศาสนา) เพราะทุกสิ่งที่อุตรินั้นเป็นบิดอะฮฺ และทุกบิดอะฮฺเป็นความหลงผิด” (บันทึกหะดิษโดยอิมามอะหฺมัด อิมามอบูดาวูด อิมามอัตติรมีซีย์ อิมามอิบนุมาญะฮฺ ท่านอัลบานีย์กล่าวว่าสายรายงานของหะดิษนี้ถูกต้อง)

ท่านอิมามชาฟิอีย์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 204) ได้กล่าวไว่ว่า
“บิดอะฮฺ(สิ่งที่ถูกกระทำขึ้นมาใหม่) จะมีอยู่ 2  ลักษณะ คือ ทั้งดีและชั่ว หากสิ่งใด(ที่ถูกกระทำขึ้นมาใหม่) สอดคล้องกับสุนนะฮฺก็ถือว่าเป็นสิ่งดี แต่ถ้าหากขัดแย้งกับสุนนะฮฺก็เป็นสิ่งที่ชั่ว (ถูกประนาม)" (บันทึกโดยท่านอบู นุอัยมฺ ในหนังสือ “หิลยะตุ้ล เอาลิยาอฺ เล่มที่ 9 หน้าที่ 113)

และท่านอิมามชาฟิอีย์ ร่อหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวอีกว่า
“บรรดาสิ่งต่างๆที่ถูกกระทำมาใหม่นั้นจะมี 2 ประเภท ประเภทที่หนึ่ง คือ สิ่งที่ถูกกระทำขึ้นมาโดยขัดแย้งกับอัลกุรอานกับหะดิษกับแบบอย่างของเศาะหาบะฮฺ และกับสิ่งที่เป็นมติเอกฉันท์(ของบรรดาเศาะหาบะฮฺ) สิ่งใหม่ที่ถูกกระทำในลักษณะนี้ ถือเป็นบิดอะฮฺ เฎาะลาละฮฺ (การอุตริที่หลงผิด)ประเภทที่ 2 คือสิ่งซึ่งถุกกระทำขึ้นมาใหม่จากสิ่งดีๆโดยมิได้ขัดแย้งกับสิ่งใดจากสิ่งเหล่านี้นั้น การกระทำดังกล่าวนี้ ถือเป็นของประดิษฐ์ใหม่ที่ไม่ถูกตำหนิ” (บันทึกโดยอัลบัยฮะกีย์ ในหนังสือ “อัลมัดค้อล อิลา อัสสุนัน อัลกุบรออฺ” หมายเลข 253)

คำพูดของอิมามชาฟิอีข้างต้น 2 สำนวน มีความหมายเดียวกัน นั้นคือ เป็นการอธิบายความหมาย “บิดอะฮฺ” ทั้งในแง่ภาษา และในแง่ศาสนา

คำว่าบิดอะฮฺดี หมายถึงความบิดอะฮฺในแง่ภาษา

ส่วนคำว่า “บิดอะฮชั่ว” หมายถึงความหมายบิดอะฮฺทั้งในแง่ภาษาและศาสนา

ซึ่งในกรณีของบิดพอะฮฺที่ดี สิ่งนั้นจะเป็นเรื่องที่สัมพันธ์กับความก้าวหน้าของโลกที่ยุคอดีตไม่มีโอกาสเข้าถึง เป็นสิ่งที่ท่านนบีและบรรดาสาวกของท่านไม่สามารถกระทำได้เนื่องจากมีปัจจัยหลายประการขัดขวางไม่ให้กระทำ เช่น การอาซานด้วยไมโคโฟน การคุฏบะฮฺโดยใช้ไมโคโฟน การอาบน้ำละหมาดด้วยน้ำประปา การบันทึกอัลกุรอานลงแผ่นซีดี เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นบิดอะฮฺ(สิ่งแปลกใหม่) ที่ดีอันเป็นสิ่งที่ท่านนบีและเหล่าสาวกไม่สามารถกระทำได้เนื่องจากพวกเขามีอุปสรรคในการเข้าถึงคือเรื่องเทคโนดลยีที่ขาดหายไป การสร้างสิ่งใหม่ในรูปแบบนี้ไม่ใช่เรื่องผิดหลักการสาสนา และบิดอะฮฺที่ดีนั้นมักไม่ใช่การเลียนแบบพิธีกรรมศาสนาที่มีอยู่เดิม แล้วมาดัดแปลงเป็นรูปแบบของตนเองแต่อย่างใด

บิดอะฮฺดีตามหลักภาษาในเรื่องทางโลก ยังรวมถึง การประดิษฐ์สิ่งใหม่ เช่นรถยนต์ เคื่องบิน เป็นต้น

ตัวอย่างบิดอะฮฺชั่วตามหลักภาษาในเรื่องทางโลก ได้แก่ การตั้งซ่องโสเภนี การผลิตยาบ้า เป็นต้น

สำหรับบิดอะฮฺชั่วทางศาสนานั้น สิ่งนั้นมักจะเป็นการลอกเลียนแบบพิธีกรรมทางศาสนาที่มีอยู่เดิม แล้วนำมาปรับปรับแต่งรูปแบบเอาเอง นอกจากนี้ บิดอะฮชั่วมักเป็นสิ่งที่ท่านนบีและเหล่าสาวกของท่านไม่มีอุปสรรคในการเข้าถึง  บิอดอะฮฺชั่วจึงมักเป็นสิ่งที่คนจำนวนมากคิดว่ามันดี โดยการอ้างเหตุผลต่างๆนานา ดังที่ท่านอิบนุอุมัร ร่อฎียัลลอฮุอันฮุมา ได้กล่าวเตือนว่า
“ทุกๆบิดอะฮฺคือความหลงผิด แม้มนุษย์จะเห็นว่ามันเป็นสิ่งดีก็ตาม” (อัลอิบานะฮฺอัลอุกบะรีย์ ลิบนิบัฏเฏาะฮฺ เล่ม 1 หน้า 339 หมายเลขที่ 205)

แสดงให้เห็นว่าบิดอะฮฺชั่วเป็นสิ่งที่คนจำนวนมากมักมองว่ามันดี แน่นอนว่าเมื่อมองว่ามันดีผู้ที่ทำก็ต้องคิดว่าแบบพื้นๆว่ามันไม่ขัดแย้งกับอัลกุรอานและสุนนะฮฺอยู่แล้วตามความเข้าใจที่ไม่สมบูรณ์ของเขา

ดังนั้นบิดอะฮในคำพูดของท่านอุมัรตรงนี้จึงหมายถึงบิดอะฮิเลวตามบทบัญญัติศาสนา แต่ผู้กระทำมักคิดว่ามันคือบิดอะฮฺในประเภทที่ดี

ซึ่งพิธีกรรมต่างๆ เช่น อ่านอัลกุรอานแก่คนตาย เมาลิดนบี ทำบุญคนตาย อิซีร์กุโบร พิธียกเสาเอก ฯลฯไม่มีปรากฏในยุคสลัฟทั้งหมด หากพวกเขาคิดว่ามันคือบิดอะฮฺดีทางศาสนา แล้วอะไรเล่าคือบิดอะฮฺชั่ว  ที่คนมักมองว่ามันดีตามที่ท่านอิบนุอุมัรเตือนไว้

แล้วการอาซานในละหมาดอีดทั้งสองการอะซานในละหมาดคนตายจึงถือเป็นบิดอะฮฺชั่ว หากใครคิดจะกระทำ นั้นก็เพราะมันเป็นการต่อเติมศาสนาในสิ่งที่ท่านนบีไม่เคยทำ ท่านนบีและบรรดาสาวกก็ไม่มีอุปสรรคในการกระทำการดังกล่าว ดังนั้นพิธีกรรมการอ่านกุรอานแก่คนตาย เมาลิดนบี ทำบุญคนตาย อิซีร์กุโบร พิธียกเสาเอก มันจะต่างอะไรกันเล่ากับการอาซานในละหมาดอีดทั้งสอง หรือการอะซานในละหมาดคนตาย ซึ่งถือว่าเป็นบิดอะฮฺชั่วทางศาสนา...

والله أعلم بالصواب

.........................



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น