มุสลิมในบางประเทศชอบรอออกซะกาตในเดือนเราะญับ อิบนุเราะญับกล่าวว่า
“การกระทำดังกล่าวไม่มีที่มาจากสุนนะฮฺเลย และไม่เคยทราบว่ามีสะลัฟท่านใดเคยปฏิบัติ...แต่โดยรวมแล้ว การออกซะกาตจะเป็นวาญิบเมื่อครบรอบปีของนิศอบมัน ดังนั้นแต่ละคนจะมีรอบปีเฉพาะของเขาตามวันเวลาที่เขาได้ครอบครองนิศอบของทรัพย์สิน และเมื่อใดที่ครบรอบปีของนิสอบ เขาก็จำเป็นต้องออกซะกาตทันทีไม่ว่าจะอยู่ในเดือนใดก็ตาม”
หลังจากนั้นท่านได้อธิบายเพิ่มเติมว่า
“อนุญาตให้ออกซะกาตก่อนถึงกำหนดเวลาของรอบปี เพื่อฉวยโอกาสออกซะกาตในเวลาที่ประเสิรฐกว่า เช่นเดือนรอมฎอน เป็นต้น หรือเพื่อฉวยโอกาสให้บริจาคทานแก่บุคคลที่เขาพบว่าจะไม่พบบุคคลที่มีความจำเป็นเช่นเขาอีกแล้วเมื่อครบเวลารอบปี เป็นต้น” (ละฏออิฟ อัลมะอาริฟ หน้า 231-232)
อิบนุ อัลอัตฏอรกล่าวว่า
“และสิ่งที่ผู้คนในปัจจุบันชอบปฏิบัติในปัจจุบันนี้ ด้วยการเจาะจงออกซะกาตทรัพย์สินของพวกเขาในเดือนเราะญับเพียงเดือนเดียว เป็นการกระทำที่ไม่มีที่มาเลย แต่ทว่า บัญญัติศาสนาระบุว่า วาญิบต้องออกซะกาตทรัพย์สินเมื่อครบรอบปีด้วยเงื่อนไขของมัน ไม่ว่าจะตรงกับเดือนเราะญับหรือเดือนอื่นๆก็ตาม” (อัลมุสาญะละฮฺ บัยนะ อัลอิซฺ วะอิบนุ อัลเศาะลาหฺ หน้า 55)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น