อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2558

อ้างรักอัลลอฮ แต่ถ้าไม่ตามสุนนะฮรอซูล คือการอ้างเท็จ


อัลลอฮตาอาลาตรัสว่า

قُلْ إِنْ كُنْتُمْ تُحِبُّونَ اللَّهَ فَاتَّبِعُونِي يُحْبِبْكُمُ اللَّهُ وَيَغْفِرْ لَكُمْ ذُنُوبَكُمْ وَاللَّهُ غَفُورٌ رَحِيمٌ

จงประกาศเถิด(โอ้มุหัมหมัด) ว่า “หากพวกท่านรักอัลลอฮ จงปฏิบัติตามฉัน อัลลอฮก็จะรักพวกท่านและอภัยความผิดของพวกท่าน ให้แก่พวกท่าน และอัลลอฮ คือ ผู้ทรงอภัยและเมตตายิ่ง – อาลิอิมรอน/31
ท่านอิบนุกะษีร อธิบายว่า
هَذِهِ الْآيَةُ الْكَرِيمَةُ حَاكِمَةٌ عَلَى كُلِّ مَنِ ادَّعَى مَحَبَّةَ اللَّهِ ، وَلَيْسَ هُوَ عَلَى الطَّرِيقَةِ الْمُحَمَّدِيَّةِ فَإِنَّهُ كَاذِبٌ فِي دَعْوَاهُ فِي نَفْسِ الْأَمْرِ ، حَتَّى يَتَّبِعَ الشَّرْعَ الْمُحَمَّدِيَّ وَالدِّينَ النَّبَوِيَّ فِي جَمِيعِ أَقْوَالِهِ وَأَحْوَالِهِ ، كَمَا ثَبَتَ فِي الصَّحِيحِ عَنْ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَنَّهُ قَالَ : " مَنْ عَمِلَ عَمَلًا لَيْسَ عَلَيْهِ أَمْرُنَا فَهُوَ رَدٌّ

อายะฮอันทรงเกียรตินี้ คือ ผู้ตัดสิน (เอาผิด)บน ทุกๆคน ที่อ้างว่ารักอัลลอฮ โดยที่เขาไม่ได้อยู่บนแนวทางของมุหัมหมัด ,ในความเป็นจริง เขาคือ ผู้กล่าวเท็จในการอ้างของเขา จนกว่า เขาจะเจริญรอยตามบัญญัติแห่งมุหัมหมัด และศาสนาแห่งนบี ในบรรดาคำพูดและการกระทำของเขาทั้งหมด ดังหะดิษที่ยืนยันไว้ในอัศเศาะเฮียะ จากท่านรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “ผู้ใดประกอบการงาน(อะมั้ลอิบาดะฉ)ใด ที่ไม่ใช่กิจการของเราบนมัน มันถูกปฏิเสธ”
- ดู ตัฟสีรอิบนุกะษีร เล่ม 2 หน้า 33

والله أعلم بالصواب

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น