อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2558

ทำไม ไม่แต่งงาน



.. ท่านอัยยู๊บ(นัจมุดดีน) ผู้ดูแลป้อมตักรีด(เมืองหนึ่งในประเทศอิรัก)ในยุคประมาณเกือบ 900 ปีที่แล้ว ทั้งๆที่ท่านเป็นผู้มีความสามารถ มีตำแหน่งสูง แต่ท่านยังครองตัวเป็นโสด ไม่แต่งงาน
.. ท่านปฏิเสธที่จะแต่งงานกับลูกสาวของเจ้าปกครองแคว้น ลูกสาวของรัฐมนตรี และลูกสาวของผู้สูงศักดิ์ในยุคนั้น ทั้งๆที่พวกนางทั้งสวย รวยและสูงศักดิ์
.. น้องชายของท่านรู้สึกสงสัยเรื่องดังกล่าวมาก จึงถามพี่ชายว่า "ทำไมพี่ถึงไม่แต่งงานเสียทีครับ"
.. พี่ชายตอบว่า "พี่อยากได้คนที่เข้ามาในชีวิตแล้ว ทำให้พี่ดีขึ้น"
.. น้องถามว่า "บรรดาสตรีที่พี่ปฏิเสธพวกนาง ไม่ทำให้ชีวิตพี่ดีขึ้นได้หรือ แล้วพี่ต้องการผู้หญิงแบบไหนครับ"
.. พี่ชายตอบว่า "พวกนางไม่น่าทำให้ชีวิตพี่ดีขึ้น พี่อยากได้สตรีดีๆที่จะพาพี่ไปสวรรค์ของอัลเลาะฮฺ สตรีที่ดูแลลูกของพี่ให้เป็นนักรบผู้เก่งกาจ เพื่อเขาจะนำพามุสลิมทวงมัสยิดอัลอักซอคืนจากพวกไม้กางเขน(ยุคนั้นมัสยิดอัลอักซอตกอยู่ในการครอบครองของพวกไม้กางเขน)
.. (หัวใจของอัยยู๊บ เปี่ยมไปด้วยความปรารถนาสวรรค์และความต้องการให้มัสยิดอัลอักซอหวนคืนสู่การปกครองโดยมุสลิม แม้แต่เรื่องการเลือกคู่ครอง หัวใจของเขาจึงวางเงื่อนไขว่า เธอคนนั้นต้องเป็นคนดี นำพาครอบครัวสู่สวรรค์ และจะต้องเลี้ยงลูกให้เป็นนักรบที่มีอีหม่านและมีความเก่งกาจ เพื่อจะนำพามุสลิมสู่ความเกรียงไกร)
.. น้องชายจึงถามต่ออีกว่า "แล้วพี่จะไปหาสตรีแบบนั้นได้ที่ไหนเล่า"
.. พี่ชายตอบว่า "ผู้ใดมีความบริสุทธิ์ใจต่ออัลเลาะฮฺ อัลเลาะฮฺจะทรงประทานสิ่งที่เขาต้องการแก่ผู้นั้น"
.. จนกระทั่งถึงวันหนึ่ง ท่านอัยยู๊บเข้าไปศึกษาฟังศาสนาจากเชคท่านหนึ่่งที่มัสยิดในเมืองตักรีด ขณะนั้นมีเสียงสตรีคนหนึ่งเรียกท่านเชคเพื่อคุยธุระ ท่านเชคก็ไปคุยกับนาง เขาได้ยินเสียงทั้งสองคุยกันว่า
.. เชคพูดว่า "ทำไมเธอจึงตอบปฏิเสธผู้ชายที่ฉันส่งตัวไปสู่ขอเธอล่ะ เขาไม่ดีตรงไหนหรือ"
.. นางตอบว่า "แม้ว่าเขาจะหน้าตาดีและเป็นผู้มีเกียรติสูงในสังคม แต่เขาคงไม่ทำให้ฉันดีขึ้น"
.. เชคจึงถามนางว่า "แล้วเธอชอบผู้ชายแบบไหนหรือ ฉันจัดการเรื่องนี้ให้เธอได้"
.. นางตอบว่า "ฉันชอบผู้ชายดีๆที่จะพาฉันไปสวรรค์ของอัลเลาะฮฺ ผู้ชายที่ดูแลลูกของฉันให้เป็นนักรบผู้เก่งกาจ เพื่อเขาจะนำพามุสลิมทวงมัสยิดอัลอักซอคืนจากพวกไม้กางเขน" พูดจบนางก็เดินออกไป
.. ท่านอัยยู๊บได้ยินเช่นนั้น ถึงกับตกใจ เพราะสิ่งที่นางพูดคือสิ่งเดียวกันกับที่เขาตอบน้องชายไป ท่านไม่รอช้า ท่านรีบเดินไปหาเชคบอกกับเขาว่า "ฉันต้องการแต่งงานกับนาง"
.. ท่านเชคจึงบอกเขาว่า "นางเป็นคนจนมากๆนะ"
.. ท่านอัยยู๊บจึงบอกเชคว่า "ฉันชอบสตรีดีๆที่จะพาฉันไปสวรรค์ของอัลเลาะฮฺ สตรีที่ดูแลลูกของฉันให้เป็นนักรบผู้เก่งกาจ เพื่อเขาจะนำพามุสลิมทวงมัสยิดอัลอักซอคืนจากพวกไม้กางเขน"
.. ที่สุดเขาได้แต่งงานกับนาง เพราะเขามีเจตนาที่ดี ที่บริสุทธิ์เพื่ออัลเลาะฮฺซ.บ. พระองค์จึงทรงเลือกนางให้กับเขา และทรงเลือกเขาให้กับนาง
.. ต่อมานางมีบุตรชายคนหนึ่ง บุตรที่โลกทั้งโลกรู้จักเขาเป็นอย่างดี บุตรที่โลกอิสลามและโลกทั้งมวลจดจำชื่อของเขาไปอีกนานเท่านาน
.. บุตรชายของเขาและนาง คือ ท่านศ่อลาหุ๊ดดีน อัลอัยยูบี้ ผู้ปลดปล่อยปาเลสไตน์และมัสยิดอัลอักซอให้พ้นจากเงื้อมมือมารร้าย ทำให้มวลมุสลิมทำละหมาดและทำอิบาดะฮฺในนั้นได้อย่างอิสระเสรี ในวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 1187 ซึ่งทำให้การยึดครองของพวกไม้กางเขนเป็นเวลา 88 ปีต้องสิ้นสุดลง
.. นี่คือเจตนารมณ์อันมั่นคงของทั้งสอง สำหรับการแต่งงาน "เขาทั้งสองต้องการคู่ครองที่ดีงาม นำพากันและกันสู่สวรรค์ของอัลเลาะฮฺซ.บ. ต้องการผู้เลี้ยงดูบุตรเพื่อเป็นผู้มีอีหม่านและเป็นนักรบ เพื่อปลดแอกมุสลิมให้พ้นจากการกดขี่ข่มเหงของศัตรู"
... พวกเราหล่ะ ที่ตกลงแต่งงานกับอีกฝ่ายหนึ่ง มีเป้าหมายหรือเพราะเหตุอันใด ...

" อย่าให้ "รัก" มาบดบังความเป็นคนดีและเป้าหมายดีๆ นะครับ

ตั้งเจตนาให้ดีๆและให้บริสุทธิ์ใจเพื่ออัลเลาะฮฺซ.บ. จากนั้นพระองค์จะทรงดูแลจัดการให้อย่างลงตัว


..............................
อ.อับดุลเลาะห์ หนูรัก




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น