อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2558

‎ระยะทางในการละหมาดย่อ‬



คำถาม
เรื่องการละหมาดย่อและละหมาดรวมผมเคยได้ยินมาว่า ระยะทางในการละหมาดย่อและละหมาดรวมนั้นต้องเกินกว่า80 km แต่ก็มีผู้ที่กล่าวว่ามีหลักฐานที่อนุญาตกระทำได้ที่ระยะทางน้อยกว่านั้น หลักฐานนี้มีอยู่จริง ซอเฮียะ หรือเปล่าครับ
ขอคุณครับ วัสสาลาม

‪#‎คำตอบโดย‬ อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้
‪#‎ขอทำความเข้าใจเกี่ยวกับระยะทางก่อนครับว่า‬ อัลอิสลามมิได้กำหนดระยะทางในการละหมาดย่อและรวมไว้ตายตัว หมายถึงไม่มีตัวบทหลักฐานจากอัลกุรอานและฮะดีษกำกับไว้ เมื่อเป็นเช่นนี้บรรดานักฟิกฮ์จึงได้มองในมุมที่ต่างกัน บ้างก็ว่าน่าจะเท่านั้นเท่านี้กิโล และผมเองก็ไม่สามารถที่จะชี้ได้ว่า ข้อเสนอแนะของนักฟิกฮ์ท่านใด หรือมัซฮับไหนมีความถูกต้องมากกว่ากัน แต่ผู้ถามได้ถามว่ามีตัวบทหลักฐานที่ซอเฮียะห์หรือไม่ว่า อนุญาตให้ทำได้ในระยะทางที่น้อยกว่า 80 km

ในบันทึกฮะดีษของท่านอิหม่ามมุสลิม,อิหม่ามอะห์หมัด, อบูดาวูด และอัลบัยฮะกีย์ เป็นฮะดีษที่รายงานโดย ยะห์ยา บินยะซีด อัลฮุนาอีย์ว่า ฉันได้ถามท่านอนัส บินมาลิก เกี่ยวกับการละหมาดย่อ ท่านตอบว่า
كَانَ رَسُوْلُ للهِ مَسِيْرَةَ اللهُ عَلِيْهِ وَسَلَّمَ اِدَا خَرَجَ ثَلاثَةِ أمْيَالٍ أَوْ فَرَاسِخَ يُصَلِّي رَكْعَتَيْنِ

"ปรากฏว่าท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม เมื่อท่านได้ออกไปเป็นระยะทาง 3 ไมล์ หรือฟัรซัค ท่านจะละหมาด 2 ร่อกอะห์" บันทึกโดยอิหม่ามมุสลิม ฮะดีษเลขที่ 1116

หมายเหตุ : 3 ไมล์เท่ากับ 5.25 กิโลเมตร

การเดินทางของผู้คนในอดีตจะใช้วิธีการเดินเท้า หรือไม่ก็ใช้ม้าหรืออูฐเป็นพาหนะ แต่ในปัจจุบันมียาพาหนะที่สามารถนำสู่ปลายทางได้โดยไม่เกิดความยากลำบากเลย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ข้อบัญญัติในเรื่องการละหมาดย่อจะถูกยกเลิกไป แต่อยากให้ท่านพิจารณาว่า ภาวะของท่านที่ประสบอยู่คือการเดินทางหรือไม่ ถ้าใช่ก็สามารถละหมาดย่อและรวมได้ แต่ถ้าไม่ใช่ ก็ละหมาดตามปกติเถอะครับ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น