อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอาทิตย์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

มัซฮับคืออะไร?



ความหมาย "มัซฮับ" ในทางภาษา คือ เส้นทางเดิน หรือเส้นทางผ่าน สิ่งที่เป็นเป้าหมายของมนุษย์
นอกจากนี้ยังให้ความหมายอื่นได้อีก เช่น ทัศนะ/ความเห็น แนวทาง หลักการคำสอน


ความหมาย "มัซฮับ" ในทางการนำมาใช้ คือ
 "เส้นทางหรือวิธีการที่ถูกกำหนดขึ้น โดยใครคนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง ทั้งในหลักความเชื้อ การปฏิบัติ หุก่มข้อบัญญัติและอื่นๆ" (อัล-มัดค็อล อิลา ดิรอสะติล มะซาฮิบ วัล-มะดาริสิล ฟิกฮิยะฮฺ ของ ดร.อุมัร สุลัยมาน อัลอัชก็อร หน้า 48)

ในหนังสืออัล-มุอฺญัม อัล-วะสีฏ 1/317 ระบุว่า
"สำหรับบรรดาอุละมาอ์แล้ว มัซฮับ คือ กลุ่มความคิดและทฤษฎีทางวิชาการ ตลอดจนปรัชญาที่มีความเกี่ยวโยงสัมพันธ์กัน จนกลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างใกล้ชิด" 


สำหรับมัซฮับในที่นี้เฉพาะมัซฮับฟิกฮฺ เกี่ยวข้องแค่เพียงหุก่มการปฏิบัติเท่านั้น ไม่รวมถึงเรื่องอากีดะฮฺ ในเรืองอากีดะฮฺจะไม่แบ่งออกเป็นมัซฮับชาฟิอีย์ หรือฮานาฟีย์ เพราะทั้งหมดอยู่ในระนาบอะกีดะฮฺเดียวกัน คือ อะกีดะฮฺอะฮฺลุสสุนนะฮฺ  วัล-มาอะฮ์ ซึ่งเป็นต้นแบบมาจากบรรพชนสลัฟ

 และสิ่งที่เป็นหุก่มนั่นเฉพาะปลีกย่อย ไม่ใช่ทั้งหมดที่สามารถเหมารวมอยู่ในเรื่องมัซฮับ ส่วนหุก่มที่หลักฐานของมันมีความชัดเจนอยู่แล้ว ทั้งสภาพของหลักฐานและความเข้าใจทึ่ได้รับจากหลักฐาน ก็ไม่เข้าข่ายที่มีทัศนะต่างแต่ละมัซฮับ เช่น ละหมาดฟัรฎู มัซฮับชาฟิอีย์จะหุก่มเป็นวาญิบ มัซฮับอื่นเป็นสุนัตไม่ได้ เพราะสิ่งดังกล่าวได้มีหุ่ก่มที่ชัดเจนแล้วในนอัลกุรอาน  (อัล-มัดค็อล อิลา ดิรอสะติล มะซาฮิบ วัล-มะดาริสิล ฟิกฮิยะฮฺ ของ ดร.อุมัร สุลัยมาน อัลอัชก็อร หน้า 51)


والله أعلم بالصواب



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น