)) صَلُّوا كَمَا رَأَيْتُمُونِي أُصَلِّي ((
ความว่า “พวกท่านจงละหมาดเสมือนดังที่พวกท่านเห็นฉันละหมาด” (หน้า137 / หะดีษเลขที่631)
ในอัล-เอาสัฏ ซึ่งบันทึกโดยอัฏ-เฏาะบะรอนียฺ จากหะดีษของอับดุลลอฮฺ บิน กุรฏฺ เล่าว่า ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
)) أَوَّلُ مَا يُحَاسَبُ بِهِ الْعَبْدُ يَوْمَ الْقِيَامَةِ الصَّلَاةُ ، فَإِنْ صَلَحَتْ صَلَحَ لَهُ سَائِرُ عَمَلِهِ ، وَإِنْ فَسَدَتْ فَسَدَ سَائِرُ عَمَلِه ((
ความว่า “สิ่งแรกที่บ่าวจะถูกสอบสวนในวันกิยามะฮฺ คือการละหมาด หากว่าการละหมาดนั้นถูกต้องสมบูรณ์ การงานอื่นๆก็จะถูกต้องสมบูรณ์ด้วย แต่หากว่าการละหมาดขาดตกบกพร่อง การงานอื่นๆก็จะขาดตกบกพร่องไปด้วย” (เล่ม2 หน้า240 / หะดีษเลขที่1859 และเชคอัล-อัลบานียฺ วินิจฉัยในหนังสืออัส-สิลสิละฮฺ อัศ-เศาะหีหะฮฺ เลขที่1358 ว่าเป็นหะดีษเศาะหีหฺ)
รายงานที่บันทึกโดยอิมามอะห์มัด ในหนังสือมุสนัดของท่าน จากหะดีษที่รายงานโดยอบีมัสอูด ว่า ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
)) لَا تُجْزِئُ صَلَاةٌ لِأَحَدٍ لَا يُقِيمُ فِيهَا ظَهْرَهُ فِي الرُّكُوعِ وَالسُّجُودِ ((
ความว่า “การละหมาดของผู้หนึ่งผู้ใดที่หลังของเขาไม่ตรงในเวลารุกัวอฺและสุญูด จะใช้ไม่ได้” (เล่ม 4 / หน้า 122)
หะดีษที่บันทึกโดยอิมามอะห์มัด ในหนังสือมุสนัดของท่าน ซึ่งรายงานจากอบีเกาะตาดะห์ เล่าว่า ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
)) أَسْوَأُ النَّاسِ سَرِقَةً الَّذِي يَسْرِقُ مِنْ صَلَاتِهِ ((قَالُوا: يَا رَسُولَ اللَّهِ ، وَكَيْفَ يَسْرِقُ مِنْ صَلَاتِهِ ؟ قَالَ: ))لَا يُتِمُّ رُكُوعَهَا وَلَا سُجُودَهَا (( أَوْ قَالَ: )) لَا يُقِيمُ صُلْبَهُ فِي الرُّكُوعِ وَالسُّجُود ((
ความว่า “ผู้ขโมยที่ชั่วช้าที่สุด คือผู้ที่ขโมยละหมาดของเขาเอง” บรรดาเศาะหาบะฮฺกล่าวว่า “โอ้เราะสูลของอัลลอฮฺ เขาจะขโมยละหมาดของเขาอย่างไรกันเล่า” ท่านเราะสูลตอบว่า “เขาไม่ได้ทำการรุกัวอฺและสุญูดในละหมาดอย่างสมบูรณ์” หรือได้กล่าวว่า “กระดูกสันหลังของเขาไม่ยืดตรงขณะรุกัวอฺและสุญูด” (เล่ม 5 / หน้า 310)
รายงานโดยอบีฮุรอยเราะฮฺ ว่า
))أَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ دَخَلَ المَسْجِدَ فَدَخَلَ رَجُلٌ ، فَصَلَّى ، فَسَلَّمَ عَلَى النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ، فَرَدَّ وَقَال " ارْجِعْ فَصَلِّ ، فَإِنَّكَ لَمْ تُصَلِّ " ، فَرَجَعَ يُصَلِّي كَمَا صَلَّى ، ثُمَّ جَاءَ ، فَسَلَّمَ عَلَى النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ، فَقَالَ " ارْجِعْ فَصَلِّ ، فَإِنَّكَ لَمْ تُصَلِّ " ثَلاَثًا ، فَقَالَ : وَالَّذِي بَعَثَكَ بِالحَقِّ مَا أُحْسِنُ غَيْرَهُ ، فَعَلِّمْنِي ، فَقَالَ " إِذَا قُمْتَ إِلَى الصَّلاَةِ فَكَبِّرْ ، ثُمَّ اقْرَأْ مَا تَيَسَّرَ مَعَكَ مِنَ القُرْآنِ ، ثُمَّ ارْكَعْ حَتَّى تَطْمَئِنَّ رَاكِعًا ، ثُمَّ ارْفَعْ حَتَّى تَعْدِلَ قَائِمًا ، ثُمَّ اسْجُدْ حَتَّى تَطْمَئِنَّ سَاجِدًا ، ثُمَّ ارْفَعْ حَتَّى تَطْمَئِنَّ جَالِسًا ، وَافْعَلْ ذَلِكَ فِي صَلاَتِكَ كُلِّهَا((
ความว่า “ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้เข้ามัสญิด ต่อมามีชายผู้หนึ่งได้เข้ามัสญิดมาด้วย แล้วชายผู้นั้นก็ได้ทำละหมาด เมื่อเสร็จแล้ว เขาก็ให้สลามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ท่านนบีจึงตอบรับสลาม แล้วก็ได้กล่าวแก่เขาว่า “จงกลับไปทำละหมาด แท้จริงท่านยังไม่ได้ละหมาด” ชายผู้นั้นก็กลับไปละหมาดอีกครั้ง อย่างเช่นที่เขาละหมาดครั้งแรก หลังจากนั้นเขาก็มาหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ให้สลามท่าน ท่านก็กล่าวอีกว่า “จงกลับไปละหมาด แท้จริงท่านยังไม่ได้ละหมาด” เป็นเช่นนี้อยู่ 3 ครั้ง ชายผู้นั้นจึงกล่าวว่า “ขอสาบานด้วยผู้ที่ส่งท่านมาด้วยกับความจริง ฉันไม่สามารถทำได้ดีกว่านี้อีกแล้ว ขอท่านจงสอนฉันเถิด” ท่านนบีกล่าวตอบว่า “เมื่อท่านยืนขึ้นเพื่อทำละหมาดแล้ว ก็จงกล่าวตักบีร (อัลลอฮุอักบัร) หลังจากนั้นก็จงอ่านสิ่งที่ท่านสามารถอ่านได้จากอัลกุรอาน หลังจากนั้นก็รุกัวอฺ จนกว่าจะสงบนิ่งในท่ารุกัวอฺ และหลังจากนั้นก็จงยืนขึ้น จนกว่าจะยืนนิ่งตรง หลังจากนั้นก็สุญูด จนกว่าจะสงบนิ่งในท่าสุญูด หลังจากนั้นก็ขึ้นมานั่ง จนกว่าจะสงบนิ่งในท่านั่ง และก็จงทำเช่นนี้ในละหมาดของท่านทุกอิริยาบถ” (อัล-บุคอรียฺ หน้า 157 / หะดีษหมายเลข 757 , มุสลิม หน้า 170-171 / หะดีษหมายเลข 397 )
รายงานโดยอะนัส บิน มาลิก ว่า
))صَلَّى بِنَا رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ذَاتَ يَوْمٍ فَلَمَّا قَضَى الصَّلَاةَ أَقْبَلَ عَلَيْنَا بِوَجْهِهِ ، فَقَالَ" أَيُّهَا النَّاسُ ، إِنِّي إِمَامُكُمْ ، فَلَا تَسْبِقُونِي بِالرُّكُوعِ وَلَا بِالسُّجُودِ ، وَلَا بِالْقِيَامِ وَلَا بِالِانْصِرَافِ ، فَإِنِّي أَرَاكُمْ أَمَامِي وَمِنْ خَلْفِي " ثُمَّ قَالَ " وَالَّذِي نَفْسُ مُحَمَّدٍ بِيَدِهِ ، لَوْ رَأَيْتُمْ مَا رَأَيْتُ لَضَحِكْتُمْ قَلِيلًا وَلَبَكَيْتُمْ كَثِيرًا " قَالُوا : وَمَا رَأَيْتَ يَا رَسُولَ اللَّهِ قَالَ : رَأَيْتُ الْجَنَّةَ وَالنَّارَ ((
ความว่า “ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นำละหมาดเราในวันหนึ่ง และเมื่อเสร็จสิ้นจากการละหมาด ท่านก็ผินหน้ามายังพวกเราและกล่าวว่า “โอ้ ประชาชนทั้งหลาย แท้จริงฉันนั้นเป็นอิมามของพวกท่าน ดังนั้นพวกท่านจงอย่าได้ทำการรุกัวอฺก่อนฉัน อย่าได้สุญูดก่อนฉัน อย่าได้ยืนขึ้นก่อนฉัน หรือกระทั่งให้สลามเสร็จละหมาดก่อนฉัน” แท้จริงฉันเห็นพวกท่านข้างหน้าฉัน (นอกเวลาละหมาด) และข้างหลังฉัน (ในเวลาละหมาด ด้วยการเห็น โดยวิถีอันไม่ปกติ) (คือ ฉันเห็นพวกท่านในเวลาละหมาด ดังที่เห็นพวกท่านนอกเวลาละหมาด) และท่านก็ได้กล่าวว่า “ขอสาบานด้วยผู้ที่ชีวิตของมุหัมมัดอยู่ในอุ้งหัตถ์ของพระองค์ ถ้าหากว่าพวกท่านได้เห็นสิ่งที่ฉันได้เห็น พวกท่านจะหัวเราะน้อย และจะร้องไห้มากอย่างแน่นอน” บรรดาเศาะหาบะฮฺกล่าวว่า “ท่านได้เห็นอะไรหรือ” ท่านนบีตอบว่า “ฉันได้เห็นสวรรค์และนรก” (หน้า 183 / หะดีษหมายเลข 426)
รายงานโดยอบีฮุร็อยเราะฮฺ ว่า
)) أَمَا يَخْشَى الَّذِي يَرْفَعُ رَأْسَهُ قَبْلَ الْإِمَامِ ، أَنْ يُحَوِّلَ اللَّهُ رَأْسَهُ رَأْسَ حِمَارٍ ((
ความว่า “ผู้ที่ยกศีรษะของเขาขึ้นก่อนอิมามนั้น เขาไม่เกรงกลัวหรอกหรือ ที่อัลลอฮฺจะทรงเปลี่ยนศีรษะของเขาให้กลายเป็นหัวของลา” (มุสลิม หน้า 183 / หะดีษหมายเลข 427, อัล-บุคอรียฺ หน้า 147 / หะดีษหมายเลข 691)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น