อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพุธที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2557

การกล่าวเพียง "สลาม" หรือ "ศ็อลลัลลอฮฺ"




การให้สลามนั้น เป็นเรื่องของ อิบาดะห์  ที่จะนำมาซึ่งการได้รับผลบุญในการให้สลาม และนำมาซึ่งการที่ผู้รับสลามนั้น จำเป็นที่จะต้องรับสลาม เพราะการให้สลามนั้นเป็นสุนนะฮฺ แต่การรับสลาม คือ วาญิบ

ดังนั้น การให้สลามหรือการรับสลาม หากมิได้เป็นไปตามแบบอย่างและวิธีการกล่าวตามที่ศาสนากำหนดไว้ ก็ไม่เป็นที่อนุญาตในการที่เรานั้นจะใช้คำอื่นแทน หรือถ้อยคำใดๆอื่น หรือสัญลักษณ์อื่นใดแทน

และวิธีการและรูปแบบตามฉบับของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมในการให้สลาม

จากอิมรอน บิน หุศ็อยน์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า :
جَاءَ رَجُلٌ إِلَى النَّبِىِّ صلى الله عليه وسلم، فَقَالَ: السَّلاَمُ عَلَيْكُمْ. فَرَدَّ عَلَيْهِ السَّلاَمَ، ثُمَّ جَلَسَ. فَقَالَ النَّبِىُّ صلى الله عليه وسلم: «عَشْرٌ». ثُمَّ جَاءَ آخَرُ، فَقَالَ: السَّلاَمُ عَلَيْكُمْ وَرَحْمَةُ اللَّهِ. فَرَدَّ عَلَيْهِ، فَجَلَسَ. فَقَالَ: «عِشْرُونَ». ثُمَّ جَاءَ آخَرُ، فَقَالَ: السَّلاَمُ عَلَيْكُمْ وَرَحْمَةُ اللَّهِ وَبَرَكَاتُهُ. فَرَدَّ عَلَيْهِ، فَجَلَسَ. فَقَالَ: «ثَلاَثُونَ».
ความว่า : มีชายคนหนึ่งได้มาหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม แล้วกล่าวว่า“อัสสลามมุอะลัยกุม” ท่านจึงตอบสลาม แล้วเขาก็นั่งลง แล้วท่านนบีก็บอกว่า “ได้สิบ” 

ต่อมามีคนอื่นมาหาอีก เขากล่าวว่า “อัสสลามุอะลัยกุม วะเราะฮฺมะตุลลอฮฺ” ท่านจึงตอบกลับ แล้วเขาก็นั่งลง ท่านบอกว่า “ได้ยี่สิบ”

ต่อมาก็มีคนอื่นมาหาอีก เขากล่าวว่า “ อัสสลามุอะลัยกุม วะเราะฮฺมะตุลลอฮฺ วะบะเราะกาตุฮฺ” ท่านก็ตอบกลับ แล้วเขาก็นั่งลง ท่านบอกว่า “ได้สามสิบ” (เป็นหะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดย อบู ดาวูด : 5195 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด : 4327, อัต-ติรมิซีย์ : 2689 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อัต-ติรมิซีย์ : 2163)
และมาดูตัวอย่างของการรับสลาม ผู้ที่ไม่อยู่ต่อหน้า

ท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา ได้รายงานว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวกับเธอว่า
 : «يَا عَائِشَةُ، هَذَا جِبْرِيلُ يَقْرَأُ عَلَيْكِ السَّلاَمَ» . فَقَالَتْ : وَعَلَيْهِ السَّلاَمُ وَرَحْمَةُ اللَّهِ وَبَرَكَاتُهُ . تَرَى مَا لاَ أَرَى.
ความว่า “โอ้ อาอิชะฮฺ ! มลาอิกะฮฺญิบรีลนี่ได้ให้สลามแก่เธอ” เธอจึงตอบว่า “วะอะลัยฮิสสะลาม วะเราะฮฺมะตุลลอฮิ วะบะเราะกาตุฮฺ” ท่านมองเห็นในสิ่งที่ฉันมองไม่เห็น (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ : 3217 สำนวนนี้เป็นของท่าน, มุสลิม : 2447)

นี้คือวิธีการและรูปแบบตามฉบับของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมในการให้สลาม

ดังนั้น เราไม่สมควรกล่าวคำว่า "สลาม"(สันติ) เพียงอย่างเดียวในการให้สลามซึ่งกันและกัน
และสำหรับกรณีที่กล่าว คำว่า "ศ็อลลัลลอฮฺ" เมื่อจะจับมือกัน ก็ไม่มีรูปแบบ หรือหลักฐานใดที่จะให้กล่าวเช่นนั้น บางครั้งคนที่ ให้สลาม กล่าว "อัสสลามุอะลัยกุม"  แต่ผู้รับ ก็ยังกล่าว "ศ็อลลัลลอฮฺ"  อยู่นั้นเอง จนเป็นการเคยชิน เรียกติดปาก โดยเรียกการให้สลาม ว่า การ"ศ็อลลัลลอฮฺ"





والله أعلم بالصواب



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น