การท่องจำในวัยเด็กเปรียบเสมือนการได้สลักข้อความลงบนก้อนหิน
สองของเด็กย่อมแจ่มใส มีความจำดีกว่าสมองของผู้ใหญ่
เพราะปัญหาและความวุ่นวายต่างๆยังมีน้อย
การแสวงหาโอกาสท่องจำช่วงวัยเด็กจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก
โดยเฉพาะการท่องจำอัลกุรอาน จะทำให้อัลกุรอานติดตรึงในสมอง
ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม)
กล่าวว่า
“การท่องจำของเด็กเสมือนการสลัก(ข้อความ)ลงบนก้อนหิน ส่วนการท่องจำหลังจากโตเป็นผู้ใหญ่แล้วเหมือนการเขียนลงบนน้ำ” (บันทึกหะดิษโดยอิมามอัดดัยละมียฺ ในมุสนัด อัลฟิรเดาสฺ เลขที่ 2735 ซึ่งนักวิชาการหะดิษวิจารณ์กับความแข็งแรงของหะดิษ และชัยคฺอัลบานียฺกล่าวว่า เป็นหะดิษฎออิฟ ใน “ฎออิฟ อัลญามิอฺ เลขที่ 2727)
ท่านอิบนุอับบาส (ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ) กล่าวว่า
“ผู้ใดที่อ่านท่อง(ท่องจำ)อัลกุรอานก่อนที่เขาจะฝัน (บรรลุศาสนาภาวะ) เขาย่อมเป็นผู้ที่ได้รับความรู้ตั้งแต่วัยเยาว์ (บันทึกโดยอิมามอิบนุมาญะฮฺ ในตัฟสีร อัลกุรฏุบียฺ 11;87)
ทั้งการท่องจำในวัยเด็กสำหรับการท่องจำอัลกุรอาน
อัลกุรอานก็ย่อมปะปนอยู่กับเลือดและเนื้อของเขา
อันเนื่องจากการคลุกคลีกับมันในขณะที่สติปัญญากำลังพัฒนาและก้าวสู่ความสมบูรณ์
ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม)
กล่าวว่า
“ผู้ใดศึกษาอัลกุรอานขระอายุยังน้อย อัลลอฮฺจะให้อัลกุรอานปะปนอยู่กับเลือดและเนื้อของเขา” (บันทึกหะดิษโดยอิมามอัลบุคอรีย์ ในอัตตารีค อัลกับีร และอิมามอัลบัยฮะกียฺ ด้วยสายรายงานท่พอใช้ได้)
والله أعلم بالصواب
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น