พระองค์อัลลอฮฺตะอาลาทรงตรัสว่า “และอัลลอฮฺนั้นทรงอนุมัติการค้าขาย และทรงห้ามดอกเบี้ย” (อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ 2:275)
การค้าขายและการกินดอกเบี้ยนั้นต่างกัน
หาใช่เหมือนกันแต่อย่างใด เพราะการค้าขายนั้นมีการขาดทุนและมีกำไร แต่ดอกเบี้ยนั้นมีผลกำไรอย่างเดียว
การซื้อขายผู้ซื้อได้ นำเงินไปแลกเปลี่ยนกับสิ้นค้าที่เขาพึงพอใจ
แต่การกินดอกเบี้ยนำเงินจำนวนมากไปแลกกับเงินจำนวนน้อย
ต่างกันแค่ว่าเขารับเงินจำนวนน้อยล่วงหน้าไปก่อนเท่านั้น เช่น นำเงิน 10 ไปแลกกับ 20 บาท หรือมากว่านั้นตามระยะเวลา
ผู้ยืมฝ่ายหนึ่งได้รับเงินที่รับแลกจำนวน 10 บาท
ล่วงหน้าก่อน และจะนำเงินที่ตนจะแลก 20 บาท
ให้กับผู้รับแลกอีกฝ่ายหนึ่งในภายหลัง ผู้ได้รับแลกเปลี่ยนเงิน 20 บาท ได้ผลกำไร 10 บาท โดยที่ตนไม่มีโอกาสขาดทุนใดๆ
การกินดอกเบี้ยที่ปฏิบัติกันแต่เดิมมี 2
ชนิด
1.ริบาอันนะซีอะฮ์
ดอกเบี้ยชนิดนี้
คือดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจากการกู้ยืมเงินจำนวนหนึ่ง
โดยมีเวลาที่ถูกกำหนดไว้จะเป็นชั่วระยะเวลาหนึ่ง ไม่ว่า วันหนึ่ง สัปดาห์หนึ่ง
เดือนหนึ่ง หรือปีหนึ่งก็ตาม โดยมีเงื่อนไขว่า
ผู้ที่กู้จะต้องเพิ่มดอกเบี้ยให้ตามเวลาที่เนิ่นนานออกไป เช่น ดอกเบี้ยร้อยละ 2.5
ต่อเดือน หรือต่อปี จึงต้องจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 2.5 ในทุกๆเดือน หรือทุกๆปี หากยืมเงินมา 100 บาท
เมื่อครบเดือนหนึ่ง หรือปีหนึ่ง ก็ต้องจ่ายให้ผู้ให้กู้ 102.5 บาท และจะต้องจ่ายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ร้อยละ 2.5 บาท
ของทุกๆเดือน หรือปี เป็นต้น ดอกเบี้ยชนิดนี้ปัจจุบันได้ปฏิบัติกันในสถาบันการเงิน
หรือชาวบ้านทั่วๆไป ซึ่งเป็นดอกเบี้ยที่อัลกุรอานได้บัญญัติห้ามไว้
ท่านอิบนิญะรีร อัฏฏอบารีย์ กล่าวว่า
“ชายคนหนึ่งมีเงินอยู่จำนวนหนึ่งที่ชายอีกคนหนึ่งโดยมีกำหนดส่งคืนในเวลาที่ถูกกำหนดไว้
เมื่อกำหนดเวลานั้นสิ้นสุดลง เขาก็ขอเงินคืนจากชายผู้นั้น
แล้วชายผู้นั้นจะกล่าวว่าโปรดเลื่อนกำหนดเวลาใช้หนี้ของท่านให้แก่ฉันเถิด ฉันจะเพิ่มเงินให้แก่ท่าน
แล้วทั้งสองฝ่ายก็ปฏิบัติตามนั้น
และเมื่อไม่สามารถที่จะใช้หนี้ตามกำหนดเวลาที่ได้รับการผ่อนผันให้อีก
เขาก็เพิ่มเงินให้แก่เจ้าหนี้อีก
ดังกล่าวนี้แหละคือดอกเบี้ยหลายเท่าทวีคูณที่อัลลอฮฺได้ทรงห้ามพวกเขา…”
1.ริบาอัลฟัฎลิ
ดอกเบี้ยชนิดนี้ เกิดขึ้นจากการแลกเปลี่ยนพืชผล
หรือสิ่งอื่นใดก็ตามที่เป็นตระกูลชนิดเดียวกัน
โดยเพิ่มจำนวนสิ่งแลกเปลี่ยนให้มากกว่าอีกสิ่งหนึ่ง เช่น นำข้าวที่ด้อยคุณภาพกว่า 3
ถัง ไปแลกเอาข้าวที่มีคุณภาพดีกว่า 2 ถัง
เป็นต้น เป็นที่ต้องห้ามไม่ให้แลกเปลี่ยนสิ่งของอย่างเดียวกัน
โดยให้สิ่งหนึ่งมากกว่าอีกสิ่งหนึ่ง หากแต่จะต้องให้ปริมาณและน้ำหนักเท่าเทียมกัน
และให้ต่างฝ่ายต่างหยิบยื่นสิ่งที่ตกลงกันให้แก่กันในเวลาที่ตกลงกัน
มิใช่อีกฝ่ายหนึ่งรับของแล้ว อีกฝ่ายหนึ่งให้ไปรับอีกเวลาอื่น เช่น
อีกเดือนหนึ่งอย่างนี้ไม่ได้ แต่ถ้าสิ่งที่แลกเปลี่ยนกันนั้นต่างชนิดกัน
ก็แลกเปลี่ยนกันอย่างไรก็ได้ตามที่ปรารถนา แต่ต้องหยิบให้แก่กันในขณะที่ตกลงกัน
รายงานจากท่านอบาดะฮฺ อิบนิศศอมิต
(ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ) เล่าว่า ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า
“ทองด้วยทอง และเงินด้วยเงิน และข้าวสาลีด้วยข้าวสาลี และข้าวบาร์เลย์ด้วยข้าวบาร์เลย์ และอินทผลัมด้วยอินทผลัม และเกลือด้วยเกลือ เช่นใดก็ด้วยเช่นนั้น เท่าใดด้วยเท่านั้น มือด้วยมือ ครั้นเมื่อชนิดต่างๆเหล่านี้แตกต่างกัน ก็จงซื้อขายกันอย่างไรก็ได้ตามที่พวกท่านต้องการในเมื่อปรากฏว่าการซื้อขายกันนั้นเป็นไปโดยมือต่อมือ” (บันทึกหะดิษโดยอิมามมุสลิม)
และหากสิ่งที่แลกเปลี่ยนเป็นชนิดกันเดียวกัน
แต่มีคุณภาพต่างกัน ก็ให้ขายสิ่งของที่ด้อยคุณภาพเป็นเงิน แล้วซื้อสิ่งของที่มีคุณภาพดีด้วยเงินนั้น
เช่น นำข้าวสารที่ด้อยคุณภาพ ชั่งได้ 2 กิโลกรัม
ราคากิโลกรัมละ 15 บาท ขายได้เป็นเงิน 30 บาท แล้วนำเงินนั้นไปซื้อข้าวสารคุณภาพดี 1
กิโลกรัม กิโลกรัมละ 32 บาท โดยเพิ่มเงินอีก 2 บาท เป็นต้น
ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า
“...จงขายอินทผลัมที่ด้อยคุณภาพเป็นเงินเสียก่อน แล้วซื้ออินทผลัมที่มีคุณภาพดีด้วยเงินนั้น และรสูลได้กล่าวเช่นเดียวกันนั้นในเรื่องเครื่องชั่ง” (บันทึกหะดิษโดยอิมามอัลบุคอรีย์ และมุสลิม)
ความร้ายแรงของโทษที่ผู้กินดอกเบี้ยจะได้รับนั้นใหญ่โตมาก
ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า
“ดอกเบี้ยดิรฮัมหนึ่งที่บุคคลกินเข้าไป ทั้งๆที่เขารู้นั้น เป็นสิ่งที่รุนแรงยิ่งกว่าผู้ทำซินา 36 ครั้ง” (บันทึกหะดิษโดยอิมามอะหฺมัด ด้วยสายรายงานที่เศาะเฮียะฮฺ)
ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า
“การกินดอกเบี้ยนั้นมีถึง 73 ประตูด้วยกัน ที่เบาที่สุดใน 73 ประตูนั้น เท่ากับที่บุคคลทำซินากับมารดาของเขา และแท้จริง ดอกเบี้ยที่ร้ายแรงที่สุดคือ เกียรติของมุสลิม (หมายถึงการทำลายเกียรติของพี่น้องมุสลิม)” (บันทึกหะดิษโดยอิมามอัลฮากีม และชี้ว่าเป็นหะดิษที่เศาะเฮียะฮฺ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น