อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2556

หน้าที่ของผู้เป็นพ่อ



มีชายผู้หนึ่งได้มาหาท่านอุมัรฺ อิบนุ อัลคอฏฏ็อบ ร่อฎียัลลอฮุอันฮุมา เพื่อร้องเรียนถึงความดืิอดึงและการไม่เชื่อฟังของลูกชาย

ท่านอุมัร จึงได้มีคำสั่งให้ไปนำตัวเด็กคนนั้นมา และติเตือนว่ากล่าวเด็กผู้นั้นที่ดื้อดึง และไม่คำนึงถึงสิทธฺของผู้เป็นพ่อ

เด็กน้อยจึงได้กล่าวขึ้นว่า : โอ้ท่านประมุขแห่งมวลผู้ศรัทธา แล้วผู้เป็นพ่อไม่มีหน้าที่ตัองปฏิบัติกับผู้เป็นลูกกระนั้นหรือ?

ท่านอุมัร ตอบว่า : หามิได้ ผู้เป็นพ่อย่อมมีหน้าที่ต้อลูกของเขาอย่างแน่นอน !

เด็กน้อยจึงถามว่า : อะไรคือหน้าที่เหล่านั้นเล่า โอ้ท่านประมุขแห่งมวลชนผู้ศรัทธา?

ท่านอุมัร ตอบว่า : หน้าที่นั้นก็คือ การที่ผู้เป็นพ่อจักต้องเลือกเฟ้นแม้ของลูก ตั้งชื่อที่ดีๆให้  และสอนอัลกุรอานให้แก่ลูก

เด็กน้อยจึงกล่าวขึ้นว่า : โอ้ท่านประมุขแห่งมวลชนผู้ศรัทธา แท้จริงพ่อของฉันนั้นมิได้เคยกระทำสิ่งใดเลายจากหน้าดังกล่าว แม่ของฉันนั้นนางเป็นหญิงผิวดำ (นิโกร) เคยเป็นภรรยาของคนมะญูซีย์มาก่อน

และพ่อของฉันก็ตั้งชื่อฉันว่า "เจ้าด้วง"

ซ้ำร้ายพ่อของฉันก็มิเคยสอนสิ่งใดเลยจากอัลกุรอานแก่ฉันแม้เพียงอักษรเดียว

เมื่อเด็กน้อยพูดจบ ท่านอุมัร จึงหันไปยังชายผู้เป็นพ่อที่มาร้องเรียน และกล่าวกับเขาว่า : ท่านมาหาฉันเพื่อร้องเรียนการดื้อดึงและการไม่เชื้อฟังของลูกชายท่าน ทั้งๆที่ท่านนั้นฝ่าฝืนต่อเขาก่อนที่เขาจะฝ่าฝื่นต่อท่าน และท่านก้กระทำไม่ดีกับเขาก่อนที่เขาจะกระทำไม่ดีต่อท่านเสียอีก

เช่นนั้นแหละ ท่านอุมัร ได้ตำหนิและสั่งสอนชายผู้นั้นขณะที่เขาบกพร่องและไม่ใส่ใจในการอบรมสั่งสอนลูกของตน และยังถือว่า ความรับผิดชอบต่อกรณีการดื้อดึงของลูกชายผู้นั้นเป็นความรับผิดชอบจากผู้เป็นพ่อเอง หาใช่เด็กน้อยหรือใครอื่นไม่

(จาก ตัรฺยะตุ้ลเอาลาด ฟิลอิสลาม 1/137)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น