อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

คำพูดเกี่ยวกับพระพักตร์ สองพระเนตรและสองพระหัตถ์ของอัลลอฮฺ


อัลกะลามฟีอัลวัจญ์ฮฺ วัลอัยนัยนฺ...วัลยะดัยนฺ
(คำพูดเกี่ยวกับพระพักตร์ สองพระเนตร...และสองพระหัตถ์*)
(ดู อัลอิบานะฮฺ ตะหฺกีก เฟากียะฮฺ หน้า 120-140)

อัลลอฮฺทรงตรัสว่า
كُلُّ شَيْءٍ هَالِكٌ إِلاَّ وَجْهَهُ
“ทุกสิ่งย่อมพินาศนอกจากพระพักตร์ของพระองค์” (อัลเกาะศ็อศ 88)

وَيَبْقَى وَجْهُ رَبِّكَ ذُو الْجَلاَلِ وَالإِكْرَامِ
“และมีแต่พระพักตร์ของพระผู้อภิบาลของเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่ ผู้ทรงโปรดปรานเท่านั้นที่จะยังคงเหลืออยู่” (อัรเราะหฺมาน 27)

ดังนั้น พระองค์ทรงเล่าว่าพระองค์ทรงมีพระพักตร์ที่ไม่สูญสลายและจะไม่พบกับความสูยเสีย
พระองค์ทรงตรัสว่า

تَجْرِي بِأَعْيُنِنَا
“เรือได้แล่นไปต่อหน้าบรรดาพระเนตร (การคุ้มครองดูแล) ของเรา” (อัลเกาะมัร 14)

وَاصْنَعِ الْفُلْكَ بِأَعْيُنِنَا وَوَحْيِنَا
“และเจ้าจงสร้างเรือต่อหน้าพระเนตร (ภายใต้การดูแล) ของเราและตามคำบัญชาของเรา” (ฮูด 37)

ดังนั้น พระองค์ทรงเล่าว่าพระองค์ทรงมีพระพักตร์ และพระเนตรที่ไม่สามารถจะ(จินตนาการ)วิธีการและขอบเขต

พระองค์ทรงตรัสว่า
وَاصْبِرْ لِحُكْمِ رَبِّكَ فَإِنَّكَ بِأَعْيُنِنَا
“ดังนั้น เจ้าจงอดทนต่อพระบัญชาของพระเจ้าของเจ้า เพราะแท้จริง เจ้านั้นอยู่ในเบื้องบรรดาพระเนตร (การคุ้มครองดูแล) ของเรา” (อัตฏูร 48)

وَلِتُصْنَعَ عَلَى عَيْنِي
“เพื่อที่เจ้าจะได้รับการเลี้ยงดูภายใต้พระเนตรของข้า” (ฏอฮา 39)


ตอน
และญะฮฺมิยะฮฺปฏิเสธการมีพระพักตร์ (الوجه) สำหรับอัลลอฮฺ ดังที่พระองค์ได้ทรงตรัสไว้ และล้มล้างว่าพระองค์ทรงได้ยิน (السمع) ทรงมองเห็น (البصر) และทรงมีดวงเนตร (العين) และ (ทัศนะของ) พวกเขาสอดคล้องกับ (ทัศนะของ) นะศอรอ เพราะนะศอรอไม่ได้ยืนยันว่าอัลลอฮฺทรงได้ยินและทรงมองเห็นนอกจากด้วยความที่ว่าพระองค์ทรงรอบรู้...

ปัญหา
ดังนั้น ผู้ใดถามเราและกล่าวว่า “พวกท่านกล่าวว่า อัลลอฮฺทรงมีพระพักตร์กระนั้นหรือ?”
ตอบเขาว่า “เราขอกล่าวเช่นนั้น ซึ่งค้านกับคำกล่าวของบรรดาผู้อุตริ และแท้จริงคำตรัสของอัลลอฮฺ (ต่อไปนี้) ได้บ่งบอกถึงสิ่งดังกล่าว

وَيَبْقَى وَجْهُ رَبِّكَ ذُو الْجَلاَلِ وَالإِكْرَامِ
“และมีแต่พระพักตร์ของพระผู้อภิบาลของเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่ ผู้ทรงโปรดปรานเท่านั้นที่จะยังคงเหลืออยู่” (อัรเราะหฺมาน 27)

ปัญหา
แท้จริงเขาได้ถามเราว่า “พวกท่านกล่าวว่า อัลลอฮฺทรงมีสองพระหัตถ์กระนั้นหรือ?
ตอบเขาว่า “เราขอกล่าวเช่นนั้น (โดยปราศจากวิธีการ-ส-) และแท้จริงคำตรัสของอัลลอฮฺ (ต่อไปนี้) ได้บ่งบอกถึงสิ่งดังกล่าว

يَدُ اللهِ فَوْقَ أَيْدِيهِمْ
“พระหัตถ์ของอัลลอฮฺทรงอยู่เหนือบรรดามือของพวกเขา” (อัลฟัตหฺ 10)

لِمَا خَلَقْتُ بِيَدَيَّ
“...ต่อสิ่งที่ข้าได้สร้างด้วยพระหัตถ์ทั้งสองของข้า?” (ศอด 75)

และมีรายงานจากท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ท่านกล่าวว่า
إن الله مسح ظهر آدم بيده فاستخرج منه ذريته
“แท้จริงอัลลอฮฺทรงลูบหลังนบีอาดัมด้วยพระหัตถ์ของพระองค์ จึงทำให้สายตระกูล (ลูกหลาน) ของอาดัมออกมาจากท่าน” (บันทึกโดยอบู ดาวูด, อัตติรมิซีย์ และมาลิก)

ดังนั้นพระหัตถ์ของอัลลอฮฺจึงได้รับการยืนยัน (ว่ามีจริง) โดยปราศจากวิธีการ

และมีรายงานจากหะดีษท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า

أن الله تعالى خلق آدم بيده، وخلق جنة عدن بيده، وكتب التوراة بيده، وغرس شجرة طوبى بيده
“แท้จริงอัลลอฮฺทรงสร้างอาดัมด้วยพระหัตถ์ของพระองค์ ทรงสร้างสวรรค์เอเดนด้วยพระหัตถ์ของพระองค์ ทรงเขียนเตารอตด้วยพระหัตถ์ของพระองค์ และทรงรดต้นไม้ฏูบาด้วยพระหัตถ์ของพระองค์” (หมายถึง พระหัตถ์แห่งอำนาจของพระองค์ -ส-)

พระองค์ทรงตรัสว่า
بَلْ يَدَاهُ مَبْسُوطَتَانِ
“หามิได้ พระหัตถ์ทั้งสองของพระองค์ถูกแบออกต่างหาก” (อัลมาอิดะฮฺ 64)...

และไม่เป็นที่อนุญาตในภาษาอาหรับและตามธรรมเนียมของนักพูดที่ผู้พูดจะกล่าวว่า “ข้าพเจ้ากระทำเช่นนั้นด้วยมือของข้าพเจ้า” อันหมายถึง “ความโปรดปรานหรือความกรุณา (นิอฺมะฮฺ)” และในเมื่ออัลลอฮฺทรงตรัสกับชาวอาหรับด้วยภาษาของพวกเขา และทรงตรัสด้วยคำพูดที่สามารถเข้าใจและเป็นไปได้ และในเมื่อไม่อนุญาตตามคำพูดของนักภาษาที่ผู้พูดจะกล่าวว่า “ข้าพเจ้ากระทำด้วยมือของข้าพเจ้า” อันหมายถึง ด้วยความโปรดปรานหรือกรุณา (นิอฺมะฮฺ) ดังนั้น ความหมายคำตรัสของอัลลอฮฺที่ว่า “ด้วยพระหัตถ์ของข้า” อันหมายถึง “ความโปรดปรานหรือกรุณา (นิอฺมะฮฺ) ของพระองค์ จึงเป็นโมฆะ...

ปัญหา
และให้ถามชาวอุตริว่า “แล้วทำไมพวกท่านจึงคิดว่าความหมายของคำว่า “ด้วยพระหัตถ์ของข้า” หมายถึง “ด้วยความโปรดปรานของข้า”?

พวกท่านคิดว่าการตีความเช่นนั้นเป็นมติเอกฉันท์ของปวงปราชญ์ (อิจญ์มาอฺ) หรือว่าเป็นความหมายทางภาษา?

และพวกเขาจะไม่พบการตีความหมายเช่นนั้นไม่ว่าจะเป็นมติของปวงปราชญ์หรือความหมายด้านภาษา
และถ้าพวกเขากล่าวว่า “เรากล่าวเช่นนั้นด้วยการเทียบเคียง (กิยาส)”

ให้กล่าวแก่พวกเขาว่า “พวกท่านพบการเทียบเคียงมาจากไหนหรือที่ว่าคำตรัสของอัลลอฮฺ “ด้วยพระหัตถ์ของข้า” จะไม่มีความหมาย (อื่นเลย) นอกจาก “ความโปรดปรานหรือความกรุณา (นิอฺมะฮฺ)ของข้า (เท่านั้น)”?...

ปัญหา
และแท้จริงผู้ที่ขึ้นเสียงบางคนจะขึ้นเสียงด้วยคำตรัสของอัลลอฮฺที่ว่า

وَالسَّمَاء بَنَيْنَاهَا بِأَيْدٍ
“และชั้นฟ้า เราได้สร้างมันด้วยพลังอำนาจ” (อัซซาริยาต 47)

พวกเขากล่าวว่า الأيد “อัลอัยดิ” หมายถึง القوة “อัลกุววะฮฺ” (พลังอำนาจ) ดังนั้นคำตรัสของอัลลอฮฺที่ว่า بيدي “ด้วยพระหัตถ์ของข้า” จำเป็นต้องให้ความหมายว่า بقدرتي “ด้วยพลังความสามารถของข้า” เช่นกัน
ให้กล่าวแก่พวกเขาว่า “การตีความเช่นนั้นเป็นการตีความที่เสื่อมเสียในหลายแนวทางด้วยกัน

1- คำว่า الأيد “อัลอัยดิ” (ในอายะฮฺดังกล่าว) ไม่ได้เป็นคำพหูพจน์ของคำว่า اليد “อัลยัด” เพราะคำพหูพจน์ของ يد “ยะดน” คือ أيدي “อัยดี” แต่คำพหูพจน์ของ اليد “อัลยัด” ที่ให้ความหมายว่า “นิอฺมะฮฺ (ความโปรดปรานหรือความกรุณา)” คือ أيادي “อะยาดี”


และเช่นเดียวกัน ถ้าหากอัลลอฮฺหมายถึง “กุดเราะฮฺ” (พลังความสามารถ) ในคำตรัสของพระองค์ที่ว่า
لِمَا خَلَقْتُ بِيَدَيَّ
“...ต่อสิ่งที่ข้าได้สร้างด้วยพระหัตถ์ทั้งสองของข้า?” (ศอด 75)

แน่นอนว่าท่านนบีอาดัมไม่ได้มีความเหลื่อมล้ำเหนืออิบลีสเลยในการสร้างดังกล่าว ในขณะที่อัลลอฮิประสงค์จะให้เห็นถึงภาพความประเสริฐของอาดัมเหนืออิบลีส ซึ่งพระองค์ทรงสร้างอาดัมด้วยพระหัตถ์ทั้งสองของพระองค์เอง ในขณะที่อิบลีสมิได้เป็นเช่นนั้น

และถ้าหากว่าพระองค์ทรงสร้างอิบลีสด้วยสองพระหัตถ์ของพระองค์เหมือนกับที่พระองค์ทรงสร้างอาดัมด้วยพระหัตถ์ทั้งสองของพระองค์แล้ว ดังนั้นการที่อัลลอฮฺจะบ่งบอกถึงความประเสริฐของอาดัมที่เหนือกว่าอิบลีสก็ไร้ความหมาย เพราะอิบลีสก็จะกล่าวทักท้วงพระผู้อภิบาลของเขาว่า “แท้จริงพระองค์ได้ทรงสร้างข้าด้วยพระหัตถ์ทั้งสองของพระองค์เหมือนกับที่พระองค์ทรงสร้างอาดัมด้วยพระหัตถ์ทั้งสองของพระองค์”

ดังนั้น เมื่ออัลลอฮฺประสงค์จะทำให้อาดัมประเสริฐกว่าอิบลีสด้วยการสร้างดังกล่าว พระองค์จึงตรัสตำหนิอิบลีสต่อความหยิ่งยโสของเขาที่ไม่ยอมสุญูดต่ออาดัมว่า

مَا مَنَعَكَ أَن تَسْجُدَ لِمَا خَلَقْتُ بِيَدَيَّ أَسْتَكْبَرْتَ
“อะไรเล่าที่ขัดขวางเจ้ามิให้เจ้าสุญูดต่อสิ่งที่ข้าได้สร้าง (อาดัม) ด้วยพระหัตถ์ทั้งสองของข้า ? เจ้าเย่อหยิ่งจองหองกระนั้นหรือ” (ศอด 75)

จึงเป็นที่ประจักษ์ว่า อายะฮฺดังกล่าวไม่ได้หมายถึง “กุดเราะฮฺ” (พลังอำนาจ) เพราะอัลลอฮฺสร้างทุกๆอย่างด้วยกุดเราะฮฺ (พลังอำนาจ) ของพระองค์ เพียงแต่ว่า พระองค์ประสงค์ที่จะยืนยันถึงสองพระหัตถ์ (ของพระองค์) ซึ่งอิบลีสมิได้มีส่วนร่วมพร้อมกับอาดัมในด้านการสร้างด้วยสองพระหัตถ์ของพระองค์

คำตรัสของอัลลอฮฺที่ว่า
لِمَا خَلَقْتُ بِيَدَيَّ
“...ต่อสิ่งที่ข้าได้สร้างด้วยพระหัตถ์ทั้งสองของข้า?” (ศอด 75)

ไม่พ้นความหมายต่อไปนี้
- หมายถึงการยืนยัน “ยะดัยนฺ” (สองพระหัตถ์) ด้วยความหมาย “นิอฺมะตัยนฺ” (สองความโปรดปราน)

- หรือหมายถึงการยืนยัน “สองพระหัตถ์ที่เป็นอวัยวะ” (ยะดัยนฺ ญาริหะตัยนฺ)

- หรือหมายถึงการยืนยันสองพระหัตถ์ด้วยความหมาย “กุดเราะตัยนฺ” (สองพลังอำนาจ)

- หรือหมายถึงการยืนยันสองพระหัตถ์ที่ไม่ใช่ “นิอฺมะตัยนฺ” (สองความโปรดปราน) หรือไม่ใช่ “ญาริหะตัยนฺ” (สองอวัยวะ) หรือไม่ใช่ “กุดเราะตัยนฺ” (สองพลังอำนาจ) โดยไม่ได้กล่าวถึงคุณลักษณะทั้งสองนอกจากตามที่พระองค์ทรงกล่าวไว้

ดังนั้น ความหมายดังกล่าวจึงไม่อนุญาตให้ตีความ “นิอฺมะตัยนฺ” (สองความโปรดปราน) เพราะไม่เป็นอนุญาตตามทัศนะของนักภาษาที่ผู้กล่าวจะกล่าวว่า “อะมิลตุ บิยะดัยยะ” (ฉันได้กระทำด้วยมือทั้งสองของข้า) อันหมายถึง “นิอฺมะตัยยะ” (สองความโปรดปราน)...

และไม่อนุญาตตามทัศนะของเราและทัศนะของคู่ปรับของเราที่จะหมายถึง “ญาริหะตัยนฺ” (สองอวัยวะ) และไม่อนุญาต (เช่นกัน) ตามทัศนะของคู่ปรับของเราที่จะหมายถึง “กุดเราะตัยนฺ” (สองพลังอำนาจ)
ในเมื่อความหมายของทั้งสามประเภทนั้นใช้ไม่ได้ ความหมายประเภทที่สี่จึงเป็นความหมายที่ถูกต้อง นั่นคือ ความหมายของคำตรัสของอัลลอฮฺ “บิยะดัยยะ” จึงหมายถึงการยืนยัน (อิษบาตถึงการมีจริงของ) สองพระหัตถ์ที่ไม่ใช่ญาริหะตัยนฺ (สองอวัยวะ) และไม่ใช่กุดเราะตัยนฺ (สองพลังอำนาจ) และไม่ใช่นิอฺมะตัยนฺ (สองความโปรดปราน) โดยไม่กล่าวสาธยายคุณลักษณะทั้งสองนอกจากให้กล่าวว่า “แท้จริงทั้งสองคือพระหัตถ์ที่ไม่เหมือนกับมือต่างๆ และหลุดพ้นจากความหมายของทั้งสามประเภทที่ได้กล่าวมาข้างต้น...

ดังนั้น สิ่งที่เราได้กล่าวไว้จึงเป็นการบ่งชี้ว่าคำตรัสของอัลลอฮฺที่ว่า
لِمَا خَلَقْتُ بِيَدَيَّ
“...ต่อสิ่งที่ข้าได้สร้างด้วยพระหัตถ์ทั้งสองของข้า?” (ศอด 75)
มิได้หมายถึง “นิอฺมะตัยยะ” (สองความโปรดปรานของข้า)

ปัญหา
ให้กล่าวแก่พวกเขาว่า “ทำไมพวกท่านจึงปฏิเสธคำตรัสของอัลลอฮฺ “บิยะดัยยะ” ที่ว่า “ยะดัยนฺ” ในที่นี้มิใช่ “นิอฺมะตัยนฺ” (สองความโปรดปราน)?

ถ้าพวกเขากล่าวว่า “เพราะคำว่า “ยะดน” (มือ) เมื่อมิได้มีความหมายว่า “นิอฺมะฮฺ” (ความโปรดปราน) มันก็จะมีความหมายเป็นอย่างอื่นมิได้นอกจาก “ญาริหะฮฺ” (อวัยวะ)”

ให้กล่าวแก่พวกเขาว่า “แล้วทำไมพวกท่านจึงตัดสินว่า “ยะดน” ในเมื่อมิได้มีความหมายว่า “นิอฺมะฮฺ” (ความโปรดปราน) มันจะมีความหมายเป็นอย่างอื่นมิได้นอกจาก “ญาริหะฮฺ” (อวัยวะ)?...”

พวกเขากล่าวว่า “”ยะดน” เมื่อมิได้มีความหมายเป็น “นิอฺมะฮฺ” (ความโปรดปราน) ในสิ่งที่มองเห็น มันจะไม่เป็นความหมายอื่นนอกจาก “ญาริหะฮฺ” (อวัยวะ)”

ให้กล่าวแห่พวกเขาว่า “เมื่อพวกท่านปฏิบัติ (เทียบเคียง) กับสิ่งที่พบเห็นและพวกท่านใช้มันมาตัดสินกับอัลลอฮฺ พวกเราก็ไม่พบสิ่งที่มีชีวิตจากสิ่งที่ถูกสร้างนอกจากจะมีรูปร่าง และเลือดเนื้อเช่นเดียวกัน...
และถ้าหากว่าพวกท่านยืนยัน (อิษบาต) ความมีชีวิตของอัลลอฮฺ (หัยยน) ที่ไม่เหมือนกับการมีชีวิตของพวกเรา ดังนั้น ทำไมพวกท่านจึงปฏิเสธคุณลักษณะของ “ยะดัยนฺ” (สองพระหัตถ์) ตามที่อัลลอฮฺได้ทรงกล่าวไว้ ว่าเป็น “ยะดัยนฺ” (สองพระหัตถ์) ที่มิใช่ “นิอฺมะตัยนฺ” (สองความโปรดปราน) และมิใช่ “ญาริหะตัยนฺ” (สองอวัยวะ) และมิได้เหมือนกับบรรดามือต่างๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น