อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

อัลอิบานะฮฺฉบับที่วางจำหน่าย


หนังสือ อัลอิบานะฮฺเคยถูกจัดพิมพ์จำหน่ายแล้วหลายครั้งจากหลายๆสำนักพิมพ์ และแต่ละสำนักพิมพ์มีข้อดีข้อเสียในการตะหฺกีกที่แตกต่างกัน ตามความถนัดและข้อมูลที่มีอยู่ของแต่ละมุหักกิก ทั้งที่จัดพิมพ์ที่อินเดีย อียิปต์ เลบานอน ซาอุดีอาระเบีย (มหาวิทยาลัยอิมามมุหัมมัด บิน สุอูด, มหาวิทยาลัยอิสลาม มาดีนะฮฺ และมหาวิทยาลัยอุมมุลกุรอ) ซึ่งทั้งหมดมีเนื้อหาที่ไม่แตกต่างกันเลย นอกจากเพียงน้อยนิดเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากความผิดพลาดด้านการพิมพ์เท่านั้นเอง

แต่ฉบับพิมพ์ที่โด่งดังและได้รับความนิยมที่สุดคือฉบับพิมพ์ที่สำนักพิมพ์ดารอัสศอดิร ปี 1397 ฮ.ศ./1977 ค.ศ. ภายใต้การตะหฺกีกของ ดร.เฟากิยะฮฺ หุเสน มะหฺมูด ซึ่งได้มีการเปรียบเทียบกับเมนูสคริปต์ จำนวน 4 ฉบับ

1. เมนูสคริปต์จากเทศบาลอิสกันดะริยะฮฺ เป็นเมนูสคริปต์ของหนังสืออัลอิบานะฮฺฉบับที่สมบูรณ์ที่สุด และเขียนด้วยอักษรที่ชัดเจน ซึ่งผู้ตะหฺกีกได้ยึดเมนูสคริปต์ฉบับนี้เป็นฉบับแม่หรือต้นแบบ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า เมนูสคริปต์ชุดนี้ไม่มีระบุวันที่ของการคัดลอกกำกับไว้
2. เมนูสคริปต์จากห้องสมุดอัลอัซฮัร เขียนด้วยปากกาธรรมดา และระบุวันเสร็จจากการคัดลอกว่า วันอาทิตย์ที่ 5 เราะบีอุลเอาวัล ปี ฮ.ศ. 1308
3. เมนูสคริปต์จากห้องสมุดรีแวน (Revan)ระบุวันเสร็จจากการคัดลอกว่า วันอังคาร ของเดือนมัรร็อม ปี ฮ.ศ. 1084
4. เมนูสคริปต์จากห้องสมุดดารุลกุตุบ อัลมัศริยะฮฺ เป็นเมนูสคริปต์ที่ถูกเขียนใหม่ ระบุวันเสร็จสิ้นการคัดลอกว่า วันเสาร์ เดือน ซุลหิจญะฮฺ ปี ฮ.ศ. 308 ซึ่งเป็นปีที่อบู หะสัน อัลอัชอะรีย์ยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้นมุหักกิกจึงพิจารณาว่า เป็นการกำกับวันที่ที่ผิดพลาด โดยตกหล่นเลข 1 ไปหนึ่งตัว ที่ถูกต้องคือ 1307 ไม่ใช่ 307 วัลลอฮุอะอฺลัม

ดร. เฟากียะฮฺได้ทำการเปรียบเทียบระหว่างเมนูสคริปต์ทั้ง 4 ฉบับ และได้ข้อสรุปว่า เมนูสคริปต์ทั้ง 3 ฉบับหลัง (เลข 2,3,4) ล้วนมีส่วนคล้ายคลึงกันมากด้านสำนวนและเนื้อหา จะมีความแตกต่างเพียงน้อยนิดเท่านั้น ซึ่งค้านกับเมนูสคริปต์ที่มาจากเทศบาลอัลอัสกันดาริยะฮฺ (เลข 1) ที่ ดร. ได้ยึดเป็นบรรทัดฐานในการตะหฺกีก ซึ่งมีการเพิ่มเติมข้อความที่น่ากังขาและไม่น่าจะเป็นข้อความที่มาจากต้นฉบับเดิมที่เขียนโดยอบู หะสัน อัลอะชอะรีย์ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องทำการศึกษาและทบทวนโดยละเอียดและรอบคอบอีกครั้งหนึ่ง (ดู บทนำหนังสือ อัลอิบานะฮฺ, ตะหฺกีก ดร.เฟากิยะฮฺ หน้า 187-192)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น