อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพุธที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ความแตกแยกในหมู่พี่น้องมุสลิม




ความแตกแยกในหมู่พี่น้องมุสลิม
เกิดจากตัวมุสลิมเองที่ไม่ยอมรับสัจธรรม
และ
ผู้รู้โต๊ะครูที่(ฟัตวา)ตามใจชาวบ้านโดยไม่สนใจหลักการศาสนา
การที่ถามผมว่ามีความคิดเห็นอย่างไรที่บรรดาผู้รู้ (นักวิชาการ) ที่ชอบตัดสินปัญหา (ฟัตวา) ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้พี่น้องมุสลิมเกลียดกันในปัจจุบัน,

ผมมีความคิดเห็นดั่งนี้ว่า บุคคลที่ต้องกล่าวถึงเป็นอันดับแรกคือบรรดาผู้รู้ ที่พวกเขาตอบคำถาม หรือตัดสินปัญหา (ฟัตวา) มีเป้าหมายการตอบแต่ละครั้งนั้นเพื่ออะไร ?
ที่ผมตั้งคำถามข้างต้นก็เพื่อต้องการนำเสนอ ให้รู้ว่าหากผู้รู้ตัดสินปัญหาบนพื้นฐานแห่งมวลชน
คำตอบที่ได้มาก็จะเอาใจมวลชนนั้นๆ หรือรู้ว่ามวลชนนั้นต้องการคำตอบในทิศทางใด
เขาก็จะตอบสนองด้วยการตอบคำถามให้พวกเขาพึงพอใจ เพราะผู้รู้ผู้นั้นต้องการเพียงอยากได้มวลชนมาเป็นฐานในสังคม
หรือสนับสนุนในเรื่องการบริจาค ซึ่งหากตอบไม่ถูกใจพวกเขา เดี๋ยวพวกเขาไม่บริจาคให้กับโครงการที่ตนเองรับผิดชอบอยู่ ทำนองนี้เป็นต้น
ส่วนผู้รู้ที่ตัดสินปัญหาบนพื้นฐานไม่ให้เกิดความขัดแย้งในสังคม ผู้รู้ประเภทนี้ก็จะตัดสินปัญหาศาสนาดูสภาพของกลุ่มชนที่เชิญไปบรรยาย
(พูดง่ายๆ คือฟัตวาแบบดูฟ้าดูฝน)
เช่น มัสญิดนี้ปฏิบัติตามแนวทางของมัซฮับชาฟิอีย์ ผู้รู้คนนั้นก็จะตอบคำถามในแนวของมัซฮับชาฟิอีย์,
แต่พอมาบรรยายอีกมัสญิดหนึ่งที่ยึดแนวปฏิบัติตามมัซฮับฮะนาฟีย์ เขาก็จะตอบคำถามในแนวมัซฮับฮะนาฟีย์ ซึ่งแนวทางที่ตอบตามมัซฮับนั้นๆ
จะตรงกับท่านนบีหรือไม่ตรงก็ตาม แต่ต้องตอบให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มชนนั้นก็เพียงพอแล้ว
เพราะไม่เช่นนั้นแล้วครั้งหน้าเขาอาจไม่เชิญมาบรรยายอีกก็เป็นได้
ส่วนกรณีที่ผู้รู้ตัดสินปัญหาบนพื้นฐานแห่งความเป็นพวกพ้อง,พรรคพวกของตนเอง ผู้รู้ประเภทนี้ก็จะตัดสินปัญหาศาสนาโดยพิจารณาดูว่า
พวกพ้องของตนเองตอบปัญหาไปในแนวทางไหน หากไปในแนวทางของมัซฮับมาลิกีย์ ผู้รู้คนนั้นก็จะตอบในแนวมัซฮับมาลิกีย์ หากพวกพ้อง (กลุ่มคณะ, สถาบัน หรือองค์กรนั้น) ตอบคำถามในแนวมัซฮับฮัมบาลีย์ เขาก็จะตอบในแนวมัซฮับฮัมบาลีย์เช่นกัน ทั้งๆ
ที่บางครั้งที่ตอบไปนั้นไม่มีหลักฐานอ้างอิงจากอัลกุรอานหรือหะดีษของท่านนบีเลยก็ตาม
หากผู้รู้ตัดสินปัญหาบนพื้นฐานแห่งผลประโยชน์ ผู้รู้ประเภทนี้จะตัดสินปัญหาศาสนาโดยคำนึงอยู่เสมอว่า
ฝ่ายตนเองเสียผลประโยชน์หรือไม่ หากตนเองเสียผลประโยชน์ก็จะเลี่ยงไม่ตอบปัญหาศาสนาโดยตรงแต่ตอบแบบอ้อมๆ ไม่ชัดเจน

แต่หากตอบปัญหาไปแล้วตนเองได้รับผลประโยชน์เขาจะตอบปัญหาศาสนาข้อนั้นอย่างฟันธง และอย่างเข้มงวด ไม่มีการผ่อนปรนแม้แต่น้อย
ยกตัวอย่างเช่น ผู้รู้คนหนึ่งถูกเชิญไปทำบุญส่งวิญญาณ (รูหฺ) ผู้ตาย ซึ่งเขากระทำมาโดยตลอด เพราะการทำเช่นนั้นได้ทั้งสตางค์และท้องก็อิ่ม หากมีบุคคลหนึ่งถามเขาว่า อาจารย์การทำบุญส่งวิญญาณผู้ตายศาสนามีบทบัญญัติไว้ว่าอย่างไร ?

เขาก็จะต้องตอบทันทีทันใดว่า การทำบุญส่งวิญญาณกระทำได้ ซึ่งมีหลักฐานบทนั้นบทนี้ (แต่ไม่ได้ยกตัวบท) ทำนองนี้เป็นต้น

ซึ่งยังมีตัวอย่างอีกหลายข้อด้วยกันสำหรับผู้รู้ที่ตอบคำถามโดยมีเจตนารมณ์บิดเบือนไปจากหลักการที่ถูกต้องของศาสนา แต่อย่างไรก็ตามผู้รู้ที่ไม่พูดความจริง นำเสนอของผิดปกปิดสัจธรรม
วันกิยามะฮฺบรรดาผู้รู้เหล่านั้นเตรียมคำตอบไว้สำหรับพระองค์อัลลอฮฺให้ดีก็แล้วกัน สรุปว่า
ผู้รู้ที่ไม่พูดสัจธรรมแห่งอิสลามที่แท้จริงนั้นทำให้สังคมมุสลิมแตกแยกอย่างไม่ต้องสงสัย
แต่ผู้รู้ตอบคำถามศาสนาโดยวางอยู่บนพื้นฐานแห่งกิตาบุลลอฮฺและสุนนะฮฺของท่านรสูลลุลอฮฺนั้นบุคคลเหล่านี้ไม่ใช่ทำให้สังคมเกิดความแตกแยก

หรือทำให้พี่น้องมุสลิมเกลียดชังซึ่งกันและกัน

เพราะสังคมมุสลิมจะต้องมีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนและเป็นมาตรฐานในการดำเนินชีวิต ท่านรสูลุลลอฮฺเคยกล่าวไว้ว่า
“ ฉันทิ้งไว้ให้แก่พวกท่านอยู่สองสิ่ง และหากพวกท่านยึดทั้งสองสิ่งนั้นแล้ว พวกท่านจะไม่มีวันหลงทางอย่างเด็นขาด สิ่งนั้นก็คือ กิตาบุลลอฮฺ และสุนนะฮฺของฉัน
(หมายถึงสุนนะฮฺของท่านนบีมุหัมมัด)

.....ท่านอิมามชาฟิอีย์กล่าวไว้ว่า
“เมื่อหะดีษบทใดเศาะหี้หฺ (ถูกต้อง) นั่นคือมัซฮับ (แนวทางปฏิบัติ) ของฉัน “ เ
ช่นนั้นแล้วผู้รู้คนใดที่ตอบปัญหาศาสนาตรงกับกิตาบุลลอฮฺ และสุนนะฮฺของท่านนบีแล้วไซร้ นั่นหมายรวมว่ามุสลิมทุกคนจะต้องนอบรับสิ่งนั้นมาปฏิบัติโดยดุษฎี

ไม่มีข้อกังขา หรือข้อโต้แย้งแต่ประการใดทั้งสิ้น ครั้นเมื่อตอบปัญหาบนพื้นฐานข้างต้นแล้ว อาจจะมีมุสลิมบางคนไม่ยอมรับ

หรือยังสงสัยอยู่ จนทำให้เขาคิดว่าสิ่งที่ตอบมานั้นน่าจะไม่ถูกต้อง หรือทำไมจึงไปค้านกับพฤติกรรมของคนรุ่นเก่าที่เขาเคยปฏิบัติเอาไว้ เช่นนี้เราไม่ปฏิบัติตามดีกว่า แล้วเขาก็แยกตัวไม่ปฏิบัติตามคำฟัตวานั้น เช่นนี้อยากทราบว่า



คำตอบของผู้รู้ผู้นั้นทำให้สังคมแตกแยกจนทำให้เกลียดชังซึ่งกันและกัน หรือผู้ตามที่ทำให้เกิดความแตกแยกจนกระทั่งเป็นศัตรูซึ่งกันและกัน

คำถามข้อนี้ผู้อ่านคงตอบได้ทุกคนว่า ผู้ตามต่างหากที่ทำให้เกิดความเกลียดชังซึ่งกันและกันจนกลายเป็นศัตรูกันในที่สุด,

ท่านอบูซัรรินเล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺสั่งเสียแก่ฉันว่า “ ท่านจงพูดความจริงถึงแม้ว่า (ความจริงนั้น) จะทำให้ท่านขมขื่นสักปานใดก็ตาม “ (บันทึกโดยติรฺมิซีย์) ฉะนั้นอิสลามพิจารณาความถูกต้อง,ความจริงเป็นมาตรฐานวัดเท่านั้น อิสลามมิได้วัดความมากของบุคคลเป็นมาตรฐาน
แม้ว่าผู้คนจำนวนมากกระทำอุตริกรรม (บิดอะฮฺ) แต่มีเราเพียงคนเดียวเท่านั้นที่ไม่
กระทำ เช่นนี้แล้วเราคือผู้ที่ดียิ่งในทัศนะของอิสลาม

ฉะนั้นผมขอสรุปสั้นๆ ตรงนี้ว่า หากสิ่งใดที่เป็นสัจธรรม สัจธรรมนั้นจะไม่ทำให้แตกแยก
ซึ่งถ้าผู้รู้ตอบปัญหา (ฟัตวา) ตรงกับกิตาบุลลอฮฺ และสุนนะฮฺของท่านนบีแล้วไซร้
ผู้รู้ท่านนั้นไม่ทำให้เกิดความแตกแยกหรือความเกลียดชังกันในระหว่างพี่น้องมุสลิม ในทางตรงกันข้ามหากผู้ตามไม่ยอมรับการตอบของผู้รู้ท่านนั้นทั้งๆ ที่เขาตอบโดยอยู่บนพื้นฐานจากกิตาบุลลอฮฺและสุนนะฮฺ

แน่นอนยิ่งการสร้างความร้าวฉาน หรือความเกลียดชังในระหว่างพี่น้องมุสลิมด้วยกัน คงจะเป็นอื่นไปไม่ได้นอกจากสาเหตุที่มาจากผู้ตามนั่นเอง

อนึ่ง หากผู้รู้ที่ตอบปัญหาโดยไม่คำนึงว่าจะมีหรือไม่มีหลักฐาน, จะตรงหรือไม่ตรงกับอัลกุรฺอาน หรือสุนนะฮฺของท่านนบีฉันไม่สน พฤติกรรมของผู้รู้ท่านนั้นแม้ว่าคำตอบของเขาจะสร้างความพึงพอใจให้กับพี่น้องมุสลิมทั่วประเทศ (หรือทั่วโลก)

มากเพียงใดก็ตาม พึงทราบเถิดว่าการกระทำเยี่ยงนั้นแหละเป็นต้นเหตุที่ทำให้สังคมมุสลิมปั่นป่วนอยู่ทุกวันนี้

(วัลลอฮุอะอฺลัมบิศเศาะวาบ) วัสสลาม

..............................
Sulaimarn Darakai





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น