อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพุธที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สามคืนที่ท่านนบีไปละหมาดตะรอเวียะฮ์ที่มัสยิด



   فَقَدْ رَوَى الشَّيْخَانِ ((أَنَّهُ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ خَرَجَ مِنْ جَوْفِ اللَّيْلِ لَيَالِىَ مِنْ رَمَصَانَ، وَهِىَ ثَلاَثٌ مُتَفَرِّقَةٌ، لَيْلَةُ الثَّالِثِ، وَالْخَامِسِ، وَالسَّابِعِ وَالْعِشْرِيْنَ ..... ))    
ซึ่งคำแปลที่ถูกต้องก็คือ .. แท้จริงท่านเช็คทั้งสอง (คือท่านบุคอรีย์และท่านมุสลิม) ได้รายงานมาว่า ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้ออกไปในตอนกลางคืน หลายคืน -- จากเดือนรอมะฎอนซึ่งเป็น 3 คืนที่แยกกัน คือ คืนที่ 23, คืนที่ 25, และคืนที่ 27 .........”(หนังสือฟิกฮ์ 4 มัษฮับ เล่มที่ 1 หน้า ที่ 341เรียบเรียงโดยท่านเช็คอับดุรฺเราะห์มาน อัล-ญะซะรีย์ (สิ้นชีวิตปี ค.ศ.1970,  ขออัลลอฮ์โปรดเมตตาต่อท่านด้วย))

หลักฐานยืนยันในเรื่องนี้ก็คือหะดีษหลายบทที่ถูกรายงานมาเกี่ยวกับเรื่องการออกมาละหมาดร่วมกับเศาะหาบะฮ์เพียง 3 คืนของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมในเดือนรอมะฎอนหนึ่งในมัสญิด .. อย่างเช่นหะดีษของท่านอัน-นุอฺมาน บินบะชีรฺ (ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ) ที่กล่าวว่า 
     قُمْنَا مَعَ رَسُوْلِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فِىْ شَهْرِ رَمَضَانَ لَيْلَةَ ثَلاَثٍ وَعِشْرِيْنَ إِلَى ثُلُثِ اللَّيْلِ اْلأَوَّلِ، ثُمَّ قُمْنَا مَعَهُ لَيْلَةَ خَمْسٍ وَعِشْرِيْنَ إِلَى نِصْفِ اللَّيْلِ،  ثُمَّ قُمْنَا مَعَهُ لَيْلَةَ سَبْعٍ وَعِشْرِيْنَ حَتىَّ ظَنَنَّا أَنْ لاَ نُدْرِكَ الْفَلاَحَ، _ وَكَانُوْا يُسَمُّوْنَهُ السَّحُوْرَ ...  
พวกเราได้ละหมาดพร้อมกับท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมคืนที่ 23 ของเดือนรอมะฎอนจนถึงหนึ่งในสามแรกของคืน (คือจนถึงประมาณ 4 ทุ่ม),  ต่อมาพวกเราก็ได้ละหมาดพร้อมกับท่านในคืนที่ 25 จนถึงเที่ยงคืน,  หลังจากนั้นพวกเราก็ละหมาดพร้อมกับท่านในคืนที่ 27 จนพวกเราเข้าใจว่า พวกเราคงไม่ทันอัล-ฟะลาห์,  (ท่านอัน-นุอฺมานกล่าวว่า)  และพวกเขา (เศาะหาบะฮ์) จะเรียกมัน (อัล-ฟะลาห์) ว่าการทานอาหารซะหูรฺ(หรือเวลาซะหูรฺ) ...

(บันทึกโดยท่านอัน-นะซาอีย์ หะดีษที่ 1605,  ท่านอิหม่ามอะห์มัด เล่มที่ 4 หน้า 272,  ท่านอิบนุอบีย์ชัยบะฮ์ เล่มที่ 2 หน้า 286,  ท่านอิบนุคุซัยมะฮ์ หะดีษที่ 2204, ท่านอัล-หากิมในหนังสือ อัล-มุสตัดร็อก เล่มที่ 1 หน้า 607,  และท่านมุหัมมัด อิบนุนัศรฺ ในหนังสือ กิยามุรอมะฎอน หะดีษที่ 20  สำนวนข้างต้นเป็นสำนวนจากการบันทึกของท่านอัน-นะซาอีย์ ด้วยสายรายงานที่ถูกต้อง) 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น