อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอังคารที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ลัยละตุลก๊อดรฺค่ำคืนที่มุสลิมรอคอย


อะไรคือลัยละตุลกอดัร?

          ลัยลุตุลกอดัรคือค่ำคืนหนึ่งที่อัลลอฮ์ ได้เลือกให้เป็นค่ำคืนที่มีความประเสริฐในช่วงสิบคืนหลังของเดือนรอมาฏอนเหมือนดำรัสของพระองค์ ใน ซูเราะห์อัลก็อดร  ความว่า

1. แท้จริงเราได้ประทานอัลกุรอานลงมาในคืนอัลก็อดร

2. และอะไรเล่าจะทำให้เจ้ารู้ว่าคืนอัลกอดรนั้นคืออะไร

3. คืนอัลก็อดรนั้นดีกว่า 1000 เดือน

4. บรรดามะลาอิกะห์ และอัลรูฮ ( ญิบรีล ) จะลงมาในคืนนั้น โดยอนุมัติแห่งพระเจ้าของพวกเขา เนื่องจากในกิจการทุกสิ่ง

5. คืนนั้นมีความศานติสุขจนกระทั่งรุ่งอรุณ



สิ่งที่ได้รับจากซูเราะห์นี้

    1. แท้จริงอัลลอฮ์ได้ประทานอัลกุรอานในค่ำคืนนี้ โดยที่พระองค์ได้ตรัสไว้ว่า

“ในคืนนั้นทุกๆกิจที่สำคัญได้ถูกจำแนกไว้แล้ว โดยทรงบัญชามาจากเรา แท้จริงเป็นผู้ที่ส่งมา”

( อัลกุรอาน )

    2. อัลลอฮ์ได้ให้ความสำคัญในค่ำคืนนี้โดยที่พระองค์ได้กล่าวถึงค่ำคืนนี้ไว้ในคัมภีร์ของพระองค์

    3. แท้จริงการประกอบอิบาดะห์ที่ตรงกับคืนนี้จะได้รับการตอบแทนเท่ากับ หนึ่งพันเดือนของเดือนปกติ

    4. มาลาอิกะห์จะลงมาในค่ำคืนนี้ พร้อมกับนำความศิริมงคลและความจำเริญความเมตตาความสุข และนำสิ่งที่อัลลอฮ์ จะทรงกำหนดให้เกิดขึ้นในปีนี้อีกด้วย

    5. และการอภัยโทษจากพระองค์จะได้รับแก่ผู้ที่ศรัทธาและแสวงหาความพอพระทัยจากพระองค์ เหมือนในหะดีษที่มีรายงานจากท่านอาบีอุรัยเราะห์จากท่านนบี โดยที่ท่านได้กล่าวว่า :

“ผู้ใดที่ได้ถือศีลอดในเดือนรอมาฏอน ด้วยกับความศรัทธา และมีความหวัง เขาได้รับการอภัยโทษจากบาปที่ผ่านมาของเขา

และผู้ใดที่ได้ยืนขึ้น ( หมายถึงการทำอิบาดะห์ เช่นการละหมาด ) ในค่ำคืนลัยละตุล ก็อดรฺ  ด้วยกับความศรัทธา และมีความหวัง

เขาจะถูกอภัยโทษจากบาปที่ผ่านมาของเขา “

 (บันทึกโดย บุคอรีย์ 2014 มุสลิม / 759)


ค่ำคืนใดเป็นคืนลัยละตุลก็อดรฺ ?

         สำหรับเกี่ยวกับคืนลัยละตุลก็อดรฺท่านอิบนู หาญัรได้กล่าวไว้ บรรดานักวิชาการมีทัศนะที่ไม่ตรงกันหลายทัศนะด้วยกัน ประมาณ 40 ทัศนะ  แต่นักวิการส่วนใหญ่มีความเห็นว่ามันอยู่ในช่วง 10 คืนสุดท้ายของเดือนรอมาฏอน

หะดีษที่รายงายโดยท่าน อาบูสะอีด อัลกุดรีย์ แท้จริงท่าน เราะซูล ได้กล่าวว่า

لحد يث أبي سعيد الخدري أن رسو ل الله صلى الله عليه وسلم : ((... فا بتغوها في العشر الأواخر ))

“พวกท่านจงแสวงหามัน ( หมายถึงคืนลัยละตุดก็อดรฺ ) ในช่วงสิบคืนสุดท้าย”

 (บันทึกโดย บุคอรีย์ 2018 มุสลิม 1167)

และบรรดานักวิชาการส่วนใหญ่เห็นว่า ลัยละตุลกอดรนั้นจะเกิดในคืนคี่  ดังคำพูดของท่านนบี ที่ว่า

لقو له صلى الله عليه وسلم : (( تحروا ليلة القدر في الوتر من العشر الأ واخر ))

 “ พวกท่านจงแสวงหา ลัยละตุลก็อดรฺในคืนที่คี่ ของสิบคืนสุดท้าย ”

(บันทึกโดย บุคอรีย์ 2017)

         และนักวิการบางท่านมีความเห็นว่าลัยละตุลก็อดรฺนั้นคือค่ำคืนที่ 27 ซึ่งเป็นทัศนะของบรรดา ซอฮาบะห์ กลุ่มหนึ่ง โดยที่ท่าน อุบัย บิน กะฮบฺ  กล่าวว่า “มั่นใจว่า มันเป็นค่ำคืนที่ 27 โดยที่ท่านได้สาบานเพื่อยืนยันถึงความหนักแน่น” ในเรื่องนี้เหมือนที่มีรายงานในซอเอียะ มุสลิม 762 / อัตติรมีซีย์ 3351



สรุป

         คืนลัยละตุลก็อดรอยู่ในช่วงสิบคืนสุดท้าย ของเดือนรอมาฏอน และจะเกิดขึ้นในคืนคี่ และมันจะหมุนเวียนในค่ำคืนที่เป็นคี่โดยไม่เจาะจงว่าเป็นคืนไหน และไม่ได้เป็นค่ำคืนที่ 27 เสมอไป ถึงแม้จะมีรายงานในซุนนะห์ที่เจาะจงคืนที่ 27 ของทุกๆ ปี แต่ก็มีบางหะดีษที่ท่านนบีได้กล่าวถึง ลัยละตุลก็อดรเป็นคืนที่ 21 เหมือนที่ปรากฏในหะดีษต่อไปนี้

كما في حد يث أبي سعيد أن النبي صلى الله عليه وسلم خطبهم فقال : (( أني أرأيت ليلة القد ر ثم أنسيتها , فالتمسوها في العشر الأواخر في الوتر , وأني رأيت أسجد في ماء وطين )) قا ل أبو سعيد : مطرنا ليلة إحدى وعشرين فوكف المسجد في مصلى رسول الله صلى الله عليه وسلم فنظر ت إليه و قد انصرف من صلا ة الصبح ووجهه مبتل طينا و ماء ))

มีหะดีษที่รายงานโดย อาบูสะอีด ว่าแท้จริงท่านนบี ได้กล่าวแก่พวกเขา ดังนั้นท่านได้กล่าวว่า

“ แท้จริงฉันได้เห็นลัยละตุลก็อดรฺ หลังจากนั้นฉันได้ถูกให้ลืมไป ดังนั้นพวกท่านจงแสวงหามันในสิบคืนสุดท้าย ในคืนที่เป็นคี่

 และแท้จริงฉันได้เห็นฉันได้ ซูยูดในน้ำ และดิน”


 อาบูสะอีดได้กล่าวว่า ฝนได้ตกยังพวกเราในคืนที่ 21 โดยที่มันรั่วในมัสยิดที่ละหมาดของท่านเราะซูล ฉัน( หมายถึงอาบูสะอีด ) ได้มองไปยังท่าน โดยที่เมื่อท่านเสร็จจากการละหมาดที่หน้าของท่านเปียกไปด้วยดินโคลน และน้ำ

 (บันทึกโดย บุคอรีย์ 2018 มุสลิม 1167)

นี่คือที่มีรายงานในซุนนะห์ของท่านนบี




ข้อเร้นลับที่คืนลัยละตุลก็อดรฺไม่ได้ถูกบอกไว้อย่างชัดเจน

           ข้อเร้นลับที่คืนลัยละตุลก็อดรฺไม่ได้ถูกบอกไว้อย่างเช่นเจน เพื่อต้องการให้ปวงบ่าวนั้นได้พยายามในการทุ่มเทในการอิบาดะห์ต่ออัลลอฮ์ ในทุกๆคืนและมีความหวังว่าทุกคืนนั้นเป็นคืนลัยละตุลก็อดรฺ โดยที่เดือนนี้คือเดือนแห่งการทำอิบาดะห์ และการภักดีต่ออัลลอฮ์ และจากหะดีษของท่านนะบี ต่อไปนี้คงจะเป็นข้อเร้นลับ

(( إ ني خرجت لأخبركم بليلة القدر فتلا حى فلان و فلا ن فرفعت ( يعني رفع علمها ) وعسى أن يكو ن خيرا لكم فالتمسوها....))

 “แท้จริงฉันได้ออกมาเพื่อที่ต้องการที่จะบอกถึงคืนลัยละตุลก็อดรฺ แล้วก็มีคนทะเลาะกัน ฉันเลยลืมมันไป

และหวังว่า มันเป็นการดีแก่พวกเจ้า ดังนั้นพวกท่านจงแสวงหามัน”

(บันทึกโดยบุคอรีย์ 2023)


มุสลิมจงแสวงหาลัยละตุลก็อดรฺ

          ในค่ำคืนที่มีศิริมงคล ผู้ใดไม่ได้พบกับค่ำคืนนี้ ก็เท่ากับว่าความดีอันมากมายได้ผ่านเขาไป และผู้ที่ไม่ได้พบกับมันนั้นเป็นความขาดทุนอย่างมากมาย และมุสลิมนั้นสมควรอย่างยิ่งที่จะแสวงหาค่ำคืนที่เต็มเปี่ยมไปด้วยกับความดีและความมีศิริมงคล ด้วยกับการสร้างชีวิตชีวาให้กับค่ำคืนนี้ด้วยความอีมาน และหวังในผลบุญที่อัลลอฮได้เตรียมไว้ให้ และให้ทุ่มเทในการประกอบอิบาดะห์เหมือนที่ท่านนะบีได้ปฏิบัติไว้เป็นแบบอย่างไว้

มีรายงานจากท่านหญิง ฮาอิชะห์

فعن عا ئشة قا لت (( كا ن رسو ل الله صلى الله عليه وسلم يجتهد ما لا يجتهد في غيرها ))

 “ ท่านนะบี  นั้นทุ่มเทความพยายาม ไม่เหมือนกับคืนอื่นๆ ( หมายถึงสิบคืนท้ายๆของเดือนรอมาฏอน )”

 (บันทึกโดยมุสลิม)


          และอีกประการหนึ่งที่จะต้องทำให้มากก็คือการขอดุอาร์ต่ออัลลอฮ์ ให้มากๆโดยเฉพาะดุอาร์ที่รายงานโดยท่านหญิงฮาอิชะห์

اللهم إنك عفو كريم تحب العفو فا عف عني

“ โอ้อัลลอฮ์ แท้จริงท่านเป็นผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงใจบุญ ท่านรักการอภัยโทษ ขอพระองค์ทรงอภัยโทษ ให้แก่ฉัน”



 เครื่องหมายของคืนลัยละตุลก็อดรฺ

สำหรับเครื่องหมายของคืนลัยละตุลก็อดรฺ มีเครื่องหมายที่สังเกตได้ดังต่อไปนี้

     1. มีอากาศดี ลมสงบ มีรายงานจากอิบนู อับบาสกล่าว ว่าแท้จริงท่านนะบี  ได้กล่าวว่า

عن ابن عباس قا ل:قا ل رسول الله صلى الله عليه وسلم (( ليلة القد ر ليلة سمحة , طلقة , لا حاره , ولا با ردة , تصبح الشمس صبيحتها .

"คืนลัยละตุลก็อดรฺ นั้นเป็นคืนแห่งการอภัยโทษเป็นคืนที่มีอากาศที่ดี ไม่ร้อนและไม่หนาว ดวงอาทิตย์ในตอนเช้ามีแสงที่สวยงาม (แสงอ่อนๆ )"


    2. ผู้ที่ได้รับความดีในคืนลัยละตุลก็อดรฺจะมีความรู้สึกสบายใจ มีความสงบของจิตใจ มีความสุขในการประกอบอิบาดะห์ โดยที่ไม่มีความรู้สึกเช่นนี้มาก่อนเหมือนในค่ำคืนก่อนหน้านี้

    3. ดวงอาทิตย์ในตอนเช้ามีแสงอ่อน ท้องฟ้าแจ่มใส




ข้อพึงระวัง

          ความงมงายที่เกิดขึ้น แก่ผู้คนที่มีความเชื่อว่า คืนลัยละตุลก็อดรฺนั้น ต้นไม้จะราบลงสู่พื้นดิน น้ำเค็มจะกลายเป็นน้ำจืด หมาจะหยุดเห่าหอน และอื่นจากนี้ที่ไม่มีบอกไว้ในซุนนะห์ของท่านนบี  (รวมถึงพากันตักน้ำในบ่อ โดยเชื่อว่าเป็นน้ำลัยละตุลก๊อดรฺ นำไปดื่มรักษาตัว หรือโต๊ะหมอแขกนำไปอ้างว่าเป็นน้ำลัยละตุลก๊อดรฺอันวิเศษ)

 ....................................................
แปลเรียบเรียง  อิสมาอีล   กอเซ็ม



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น