เราะมะฎอน คือเดือนแห่งอัลกุรอาน
ซึ่งอัลกุรอานถูกประทานลงมาเริ่มแรกในเดือนนี้ ดังที่อัลลอฮฺ ตะอาลา
ได้ดำรัสในเรื่องนี้ว่า
﴿ شَهۡرُ رَمَضَانَ
ٱلَّذِيٓ أُنزِلَ فِيهِ ٱلۡقُرۡءَانُ هُدٗى لِّلنَّاسِ وَبَيِّنَٰتٖ مِّنَ ٱلۡهُدَىٰ
وَٱلۡفُرۡقَانِۚ ١٨٥ ﴾ [البقرة: ١٨٥]
ความว่า “เดือนรอมฎอนนั้น เป็นเดือนที่
อัลกุรอาน ได้ถูกประทานลงมาในฐานะเป็นข้อแนะนำสำหรับมนุษย์ และเป็นหลักฐานอันชัดเจนเกี่ยวกับข้อแนะนำนั้น
และเกี่ยวกับสิ่งที่จำแนกระหว่างความจริงกับความเท็จ” (สูเราะฮฺอัล-บะเกาะเราะฮฺ
: 185)
อัลกุรอานได้ถูกประทานลงมาด้วยการกล่าวถึงการถือศีลอดและผลดีของมัน
และยังได้กำหนดให้อ่านอัลกุรอานในเดือนนี้ให้ได้มากที่สุด รวมทั้งยังได้แจกแจงอีกว่าการกระทำเช่นนี้คือธรรมเนียมปฏิบัติของบรรดาคนดีที่มีความจริงใจทั้งหลาย
อัลลอฮฺ สุบหานะฮฺ ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า
﴿ إِنَّ ٱلَّذِينَ
يَتۡلُونَ كِتَٰبَ ٱللَّهِ وَأَقَامُواْ ٱلصَّلَوٰةَ وَأَنفَقُواْ مِمَّا رَزَقۡنَٰهُمۡ
سِرّٗا وَعَلَانِيَةٗ يَرۡجُونَ تِجَٰرَةٗ لَّن تَبُورَ ٢٩ لِيُوَفِّيَهُمۡ أُجُورَهُمۡ
وَيَزِيدَهُم مِّن فَضۡلِهِۦٓۚ إِنَّهُۥ غَفُورٞ شَكُورٞ ٣٠ ﴾ [فاطر: ٢٩، ٣٠]
ความว่า “แท้จริง
บรรดาผู้อ่านคัมภีร์ของอัลลอฮฺ และดำรงการละหมาด
และบริจาคสิ่งที่เราได้ให้เป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเขา โดยซ่อนเร้นและเปิดเผย
เพื่อหวังการค้าที่ไม่ซบเซา(ขาดทุน)
เพื่อพระองค์จะทรงตอบแทนรางวัลของพวกเขา
ให้แก่พวกเขาอย่างครบถ้วนและจะทรงเพิ่มให้แก่พวกเขาจากความโปรดปรานของพระองค์
แท้จริง พระองค์นั้นเป็นผู้ทรงอภัย ผู้ทรงชื่นชม (เพราะการภักดีของพวกเขา)”
(สูเราะฮฺฟาฏิร : 29-30)
อายะฮฺนี้เป็นการส่งเสริมให้สมาชิกทุกคนในบ้านได้แบ่งเวลาของเขาเพื่อการอ่านอัลกุรอานทั้งในช่วงกลางวันและกลางคืน
เพราะการอ่านอัลกุรอานเป็นการลงทุนที่ไม่ขาดทุน ซึ่งมีการส่งเสริมให้อ่านในทุกๆ
ช่วงเวลา ไม่ว่าจะเป็นเดือนใดก็ตาม แต่สำหรับในเดือนเราะมะฎอนนั้นถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญและควรเน้นย้ำเป็นอย่างยิ่ง
เนื่องจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั้น
«كان صلّى الله عليه وسلّم أَجْوَدَ النَّاسِ
بِالخَيْرِ، وَكَانَ أَجْوَدُ مَا يَكُونُ فِي رَمَضَانَ حِينَ يَلْقَاهُ
جِبْرِيلُ، وَكَانَ جِبْرِيلُ عَلَيْهِ السَّلاَمُ يَلْقَاهُ كُلَّ لَيْلَةٍ فِي
رَمَضَانَ، يَعْرِضُ عَلَيْهِ النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ
القُرْآنَ، فَإِذَا لَقِيَهُ جِبْرِيلُ عَلَيْهِ السَّلاَمُ، كَانَ أَجْوَدَ
بِالخَيْرِ مِنَ الرِّيحِ المُرْسَلَةِ»
ความว่า “ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
เป็นบุคคลที่ใจบุญที่สุดในบรรดามนุษย์ทั้งหลาย และท่านจะใจดีมากที่สุดในเดือนเราะมะฎอน โดยเฉพาะเมื่อยามที่ท่านมะลาอิกะฮฺญิบรีลได้มาหาท่านในทุกๆ คืนของเดือนเราะมะฎอน แล้วญิบรีลก็จะศึกษาทบทวนอัลกุรอานกับท่าน และเมื่อญิบรีลมาเจอท่านแล้ว
(คือเมื่อเสร็จภารกิจการอ่านอัลกุรอานกับญิบรีลแล้ว)
หัวใจของท่านก็จะเบิกบานและเปี่ยมด้วยความใจบุญที่สุด ยิ่งกว่าลมที่หอบพัดเสียอีก” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 1902)
ชาวสะลัฟ
-เราะหิมะฮุมุลลอฮฺ-
มักจะอ่านอัลกุรอานในเดือนเราะมะฎอนทั้งในขณะละหมาดและอื่นจากนี้อย่างมากมาย
กระทั้งท่านอัซ-ซุฮฺรีย์ ได้กล่าวว่า “เมื่อเข้าสู่เดือนเราะมะฎอน
แท้จริงมันคือเดือนแห่งการอ่านอัลกุรอานและการแจกจ่ายอาหาร” (อัต-ตัมฮีด
โดยอิบนิ อับดิลบัร หน้า 6/111)
และท่านอิมามมาลิกเอง
เมื่อเข้าสู่เดือนเราะมะฎอน ท่านก็จะงดอ่าน (รายงาน,อธิบาย) หะดีษและนั่งสอนแก่ลูกศิษย์ลูกหา
แต่ท่านจะมุ่งไปอ่านอัลกุรอานจากเล่มมุศหัฟ (ละฏออิฟ อัล-มะอาริฟ
โดยอิบนุเราะญับ หน้า 183)
ส่วนใหญ่ของชาวสะลัฟนั้นจะเคาะตัมอัลกุรอานภายในระยะเวลาสั้นๆ
ซึ่งบางคนในหมู่พวกเขาจะเคาะตัมอัลกุรอานในทุกๆ สิบวัน หรือเจ็ดวัน หรือสามวัน
โดยที่พวกเขาจะอ่านอัลกุรอานทั้งในละหมาดและอื่นจากนั้น
ท่านอัล-หาฟิซ
อิบนุเราะญับ เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า “แท้จริง
มีหลักฐานห้ามไม่ให้อ่านอัลกุรอานจบเคาะตัมภายในระยะเวลาที่น้อยกว่าสามวันโดยอ่านอย่างต่อเนื่อง
แต่สำหรับในช่วงเวลาที่มีความประเสริฐ เช่น เดือนเราะมะฎอน
โดยเฉพาะในค่ำคืนที่มีโอกาสที่จะเป็นค่ำคืนลัยละตุลก็อดรฺ
หรือในสถานที่มีความประเสริฐเป็นการเฉพาะ เช่น เมืองมักกะฮฺ
สำหรับผู้ที่เข้ามาเยือน ยกเว้นคนพื้นที่ที่ได้พักอาศัยอยู่ในเมืองนี้อยู่แล้ว
ก็มีการส่งเสริมให้อ่านอัลกุรอานให้ได้มากที่สุด เพื่อเป็นการฉกฉวยความประเสริฐของช่วงเวลาหรือสถานที่นั้นๆ
ดังกล่าวนี้เป็นทัศนะของท่านอะหฺมัด ท่านอิสหาก และบรรดาอิมามอื่นจากสองท่านนี้
และยังเป็นหลักฐานสำหรับอะมัลอื่นๆ อีกด้วย” (ละฏออิฟ อัล-มะอาริฟ
โดยอิบนุเราะญับ หน้า 183)
และต่อไปนี้คือกิจกรรมที่แนะนำให้ปฏิบัติและตารางอ่านอัลกุรอานสำหรับการเคาะตัมในเดือนเราะมะฎอน
แต่ก่อนที่จะนำเสนอรายละเอียดของมันนั้น ก็ขอเน้นย้ำในเรื่องบางเรื่องดังต่อไปนี้
หนึ่ง...
ช่วงเวลาที่สะดวกสำหรับเราในการอ่านอัลกุรอานในเดือนเราะมะฎอนนั้น
มีความแตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละคน
แต่ส่วนใหญ่แล้วก็จะเป็นช่วงเวลาดังต่อไปนี้
-
ระหว่างการอะซานและอิกอมะฮฺของทุกการละหมาดฟัรฎู
-
หลังละหมาดฟัรฎู
-
ก่อนละศีลอด
-
ช่วงเวลาทานสะหูร
-
และควรที่จะฉกฉวยช่วงเวลาที่ว่างๆ
ในขณะที่ทำงาน หรือช่วงที่เรียน หรือช่วงเวลาที่กำลังรออะไรบางอย่าง หรือช่วงเวลาที่ขับรถสำหรับคนที่ท่องจำอัลกุรอานได้
หรือแม้กระทั่งในขณะที่จอดรถรอไฟแดงก็ตาม
สอง...
แต่ละคนจะมีความแตกต่างในเรื่องของความมุ่งมั่นและความสามารถ
บางคนจะเคาะตัมได้แค่ครั้งเดียวในหนึ่งเดือน แต่บางคนก็สองครั้ง
ส่วนบางคนก็สามครั้ง และบางคนก็มากกว่านั้น
สาม... ย่อมเป็นสิ่งที่สวยงามเป็นอย่างยิ่ง
ถ้าคนที่อ่านอัลกุรอานนั้น จะท่องจำบางส่วนของมันในเดือนนี้
สี่... และนี่คือตารางอ่านอัลกุรอานเพื่อให้เคาะตัม หนึ่งรอบ
สองรอบ และสามรอบ (ในหนึ่งเดือน) พร้อมกับระบุจำนวนหน้าที่ให้อ่านในแต่ละวันและคืน
และช่วงเวลาที่แนะนำให้อ่าน
จำนวนครั้งของการเคาะตัมอัลกุรอาน
|
ช่วงเวลาที่แนะนำและจำนวนหน้าที่ให้อ่าน
|
|||
ระหว่างการอะซานและอิกอมะฮฺ
|
ช่วงทานสะหูร
|
ช่วงเวลาอื่นๆ และช่วงเวลาที่ว่าง
|
||
ศุบหฺ
|
อัศริ
|
|||
1 ครั้ง
|
5 หน้า
|
5 หน้า
|
5 หน้า
|
5 หน้า
|
2 ครั้ง
|
10 หน้า
|
10 หน้า
|
10 หน้า
|
10 หน้า
|
3 ครั้ง
|
15 หน้า
|
15 หน้า
|
15 หน้า
|
15 หน้า
|
ส่วนใครที่มีความสามารถในอ่านอัลกุรอานอย่างชำนาญ
ก็ให้เขาปฏิบัติตามการอ่านของชาวสะลัฟ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม นั่นคือ
การเคาะตัมอัลกุรอานในทุกๆ หนึ่งสัปดาห์ ในเรื่องนี้มีรายงานจากท่านเอาส์
ได้เล่าว่า
سَأَلْتُ أَصْحَابَ رَسُولِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ
كَيْفَ يُحَزِّبُونَ الْقُرْآنَ، قَالُوا: ثَلَاثٌ، وَخَمْسٌ، وَسَبْعٌ، وَتِسْعٌ،
وَإِحْدَى عَشْرَةَ، وَثَلَاثَ عَشْرَةَ، وَحِزْبُ الْمُفَصَّلِ وَحْدَهُ
ความว่า
“ฉันได้ถามบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่า
พวกท่านได้แบ่งการอ่านอัลกุรอานกันอย่างไร ? พวกเขากล่าวว่า
“(พวกเราได้แบ่งการอ่านเป็น) สามวัน ห้าวัน เจ็ดวัน เก้าวัน สิบเอ็ดวัน สิบสามวัน
และอ่านเพียงหนึ่งหิซบฺต่อวัน (ประมาณ สองหน้าครึ่ง)” ” (บันทึกโดยอบีดาวูด
หมายเลข 1391 และชัยคฺอัล-อัลบานีย์กล่าวว่าเป็นหะดีษที่เฎาะอีฟ ใน
“เศาะฮีหฺ วะเฎาะอีฟ สุนัน อบีดาวูด” หมายเลข 1391)
และนี่คือตารางอ่านอัลกุรอานเพื่อให้เคาะตัมภายในหนึ่งสัปดาห์
วันที่
|
จำนวนการอ่านในแต่ละวัน
|
|
ตั้งแต่
|
ถึง
|
|
หนึ่ง
|
สูเราะฮฺอัล-บะเกาะเราะฮฺ
|
สูเราะฮฺอัน-นิสาอ์
|
สอง
|
สูเราะฮฺอัล-มาอิดะฮฺ
|
สูเราะฮฺอัต-เตาบะฮฺ
|
สาม
|
สูเราะฮฺยูนุส
|
สูเราะฮฺอัน-นะหฺล์
|
สี่
|
สูเราะฮฺอัล-อิสรออ์
|
สูเราะฮฺอัล-ฟุรกอน
|
ห้า
|
สูเราะฮฺอัช-ชุอะรออ์
|
สูเราะฮฺยาสีน
|
หก
|
สูเราะฮฺอัศ-ศอฟฟาต
|
สูเราะฮฺอัล-หุญุรอต
|
เจ็ด
|
สูเราะฮฺก็อฟ
|
สูเราะฮฺอัน-นาส
|
ห้า...
เช่นเดียวกัน
สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องจัดสรรเวลาเป็นการเฉพาะสำหรับท่องจำบางส่วนของอัลกุรอาน
หรือทบทวนในส่วนที่เคยท่องจำมา ถึงแม้จะเป็นการทบทวนสองญุซอ์สุดท้าย
(ญุซอ์อัมมะและตะบาร็อก) ก็ตาม และมันเป็นสิ่งที่ทำง่ายเป็นอย่างยิ่ง
ถ้าหากคนคนหนึ่งจะท่องวันละประมาณหนึ่งหน้า ในเวลาใดก็ตามทั้งกลางวันและกลางคืน
หก...
กิจกรรมบางอย่างที่แนะนำให้จัดขึ้นมา
ซึ่งมันเกี่ยวข้องกับการท่องจำและการอ่านอัลกุรอาน ดังนี้
1.
จัดหะละเกาะฮฺเฉพาะสำหรับสมาชิกภายในบ้าน
เพื่อท่องจำและอ่านอัลกุรอาน
การจัดหะละเกาะฮฺเฉพาะสำหรับสมาชิกภายในบ้านเพื่ออ่านอัลกุรอานนั้น
จำเป็นที่จะต้องตระเตรียมสถานที่ให้เหมาะสม
และสมาชิกทุกคนภายในบ้านต้องให้ความร่วมมือในการทำหะละเกาะฮฺนี้เป็นอย่างดี
รวมถึงการเอาใจใส่ต่อศักยภาพและอายุของพวกเขา และระดับความจำของแต่ละคน
และเช่นเดียวกัน จำเป็นที่จะต้องกำหนดเวลาที่แน่นอนของแต่ละวัน
ซึ่งเป็นที่รับรู้ของสมาชิกภายในบ้านตลอดทั้งเดือนอันมีเกียรตินี้ว่าเวลานี้หรือเวลานั้นเป็นเวลาสำหรับทำหะละเกาะฮฺของครอบครัวเป็นการเฉพาะ
เพื่อใช้ประเมินระดับความสำเร็จของสมาชิกแต่ละคน
จะได้กระตุ้นคนที่โดดเด่นและช่วยเหลือคนที่อ่อนแอ และคนที่จะเป็นที่ปรึกษาที่ดีที่สุดคือ
คนที่เป็นพ่อ หรือพี่ชายคนโต หรือแม่ หากว่าพวกเขาเหล่านั้นมีศักยภาพพอ
ซึ่งความทุ่มเทพยายามในเรื่องนี้นั้นย่อมทำให้เกิดผลที่ยิ่งใหญ่ต่อสมาชิกทุกคน
ด้วยพระประสงค์ของอัลลอฮฺ ตะบาเราะกะ วะตะอาลา
2.
แข่งขันกันท่องจำและอ่านอัลกุรอาน
ให้จัดเตรียมแข่งขันกันท่องจำและอ่านอัลกุรอานโดยแบ่งประเภทต่างๆ
ดังนี้
·
แข่งขันท่องจำสูเราะฮฺสั้นๆ
หรือท่องจำบางอายะฮฺที่เกี่ยวข้องกับหุกุ่มของการถือศีลอด
หรือที่เกี่ยวข้องกับเดือนเราะมะฎอน
·
แข่งขันกันอ่านอายะฮฺอัลกุรอาน
·
แข่งขันกันอรรถาธิบายอายะฮฺที่ได้ท่องจำหรือที่ได้อ่านมาแล้ว
·
แข่งขันกันในเรื่องตัจญฺวีด
หรือการแข่งขันกันที่เกี่ยวข้องกับอัลกุรอานนอกเหนืออื่นจากนี้
และควรที่จะให้มีที่ปรึกษาในการแข่งขันนี้
รวมถึงคำนึงต่ออายุและสติปัญญาของสมาชิกแต่ละคน
เช่นเดียวกันการกำหนดเวลาที่เหมาะสมในการมอบหมายคำถามและรับคำตอบกลับมา
وصلى الله على نبينا محمد وعلى آله وصحبه وسلم
والحمد لله رب العالمين
...............................................
ทีมงานวิชาการเว็บไซต์
อัลมุสลิม
แปลโดย : แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ
ตรวจทานโดย : ซุฟอัม อุษมาน
ที่มา : เว็บไซต์อัลมุสลิม http://almoslim.net/node/132202
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น