ท่านอิบนุ กุดามะฮ์ ได้กล่าวในหนังสือ “อัล-มุฆนีย์” เล่มที่ 2 หน้า 413 ว่า …
…
فَأَمَّا صُنْعُ أَهْلِ الْمَيِّتِ طَعَامًا لِلنَّاسِ ، فَمَكْرُوهٌ ; لِأَنَّ فِيهِ زِيَادَةً عَلَى مُصِيبَتِهِمْ ، وَشُغْلًا لَهُمْ إلَى شُغْلِهِمْ ، وَتَشَبُّهًا بِصُنْعِ أَهْلِ الْجَاهِلِيَّةِ . وَرُوِيَ أَنَّ جَرِيرًا وَفَدَ عَلَى عُمَرَ ، فَقَالَ : هَلْ يُنَاحُ عَلَى مَيِّتِكُمْ ؟ قَالَ : لَا . قَالَ : فَهَلْ يَجْتَمِعُونَ عِنْدَ أَهْلِ الْمَيِّتِ ، وَيَجْعَلُونَ الطَّعَامَ ؟ قَالَ : نَعَمْ . قَالَ : ذَاكَ النَّوْحُ
“อนึ่ง การที่ครอบครัวผู้ตายปรุงอาหารขึ้นมาให้ประชาชน(รับประทานกัน) นั้น ถือว่า เป็นเรื่องน่ารังเกียจ, เนื่องจากมันเป็นการซ้ำเติมเคราะห์กรรมของพวกเขามากยิ่งขึ้น ซ้ำยังเป็นการเพิ่มภาระพวกเขาซึ่งหนักอยู่แล้วให้หนักเข้าไปอีก และยังเป็นการลอกเลียนการกระทำของพวกญาฮิลียะฮ์อีกด้วย, มีรายงานมาว่า ท่านญะรีรฺ (บิน อับดุลลอฮ์ อัล-บะญะลีย์) ร.ฎ. ได้มาหาท่านอุมัรฺ (อิบนุล ค็อฏฏอบ ร.ฎ.) แล้วท่านอุมัรฺถามว่า .. เคยมีการนิยาหะฮ์ (คร่ำครวญอย่างหนัก) ให้แก่ผู้ตายของพวกท่านบ้างไหม ? ท่านญะรีรฺก็ตอบว่า ไม่เคย, .. ท่านอุมัรฺก็ถามต่อไปอีกว่า .. แล้วเคยมีการไปชุมนุมกันที่บ้าน/ครอบครัวผู้ตาย และมีการปรุงอาหารเลี้ยงกันไหม ? ท่านญะรีรฺตอบว่า เคยครับ, ท่านอุมัรฺก็บอกว่า … นั่นแหละคือการนิยาหะฮ์ (อันเป็นเรื่องต้องห้าม) ....
ส่วนในกรณีความจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ท่านอิบนุกุดามะฮ กล่าวว่า
. وَإِنْ دَعَتْ الْحَاجَةُ إلَى ذَلِكَ جَازَ ; فَإِنَّهُ رُبَّمَا جَاءَهُمْ مَنْ يَحْضُرُ مَيِّتَهُمْ مِنْ الْقُرَى وَالْأَمَاكِنِ الْبَعِيدَةِ ، وَيَبِيتُ عِنْدَهُمْ ، وَلَا يُمْكِنُهُمْ إلَّا أَنْ يُضَيِّفُوهُ .
และถ้าหาก ความจำเป็นเรียกร้อง ให้กระทำดังกล่าวนั้น ก็อนุญาต เพราะแท้จริง บางที ผู้ที่มายังพวกเขา (มายังครอบครัวผู้ตาย) คือ ผู้ที่มาจากหมู่บ้านต่างๆและบรรดาสถานที่อันห่างใกล และพักแรม ณ ที่พวกเขา และ เขาทำให้พวกเขาไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ นอกจาก พวกเขาต้องรับเขาผู้นั้นเป็นแขก (หมายถึงต้องเลี้ยงในฐานะแขกมาเยี่ยม) - อัลมุฆนีย์ ที่อ้างแล้ว
>>>>
ในกรณีนี้ เป็นเหตุจำเป็น เพราะผู้มาเยี่ยม ครอบครัวผู้ตาย เขามาจากถิ่นห่างใกล ต้องนอนที่ครอบครัวผู้ตาย และ เจ้าบ้านก็ต้องเลี้ยงดูในฐานนะแขก จะเอากรณีนี้มาเป็นช่องทางเพื่อจัดเลี้ยงคนทั่วไปไม่ได้
والله أعلم بالصواب
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น