อิหม่ามอะหมัด (ร.ฮ) กล่าวว่า
أصُول السّنة عندنَا التَّمَسُّك بِمَا كَانَ عَلَيْهِ أَصْحَاب رَسُول الله -صلى الله عَلَيْهِ وَسلم- والاقتداء بهم
รากฐานอัสสุนนะฮ ในทัศนะของเราคือ การยึดถือปฏิบัติด้วย สิ่งที่บรรดาสาวกของรซูลุลลอฮ สอ็ล ฯได้ยืนหยัดอยู่บนมัน และปฏิบัติตามพวกเขา
أصول السنة (1/14).
บางเรื่อง เหล่าเศาะหาบะฮ ไม่เคยรู้เรื่อง และคนในยุคสะลัฟไม่ได้ปฏิบัติ แต่กลับมีคนส่งเสริมให้ทำและรับประกันว่า เป็นสุนัต ทำแล้วได้บุญ แล้วบุญนั้นจะเอาที่ใคร
อิบนุมัสอูด (ร.ฎ) กล่าวว่า
اتَّبِعُوا، وَلا تَبْتَدِعُوا فَقَدْ كُفِيتُمْ، كُلُّ بِدْعَةٍ ضَلالَةٌ
พวกท่านจงปฏิบัติตาม และพวกท่านอย่าประดิษย์บิดอะฮ เพราะแท้จริง (การปฏิบัติตามนั้น )พอเพียงแก่พวกท่านแล้ว ,ทุกๆบิดอะฮนั้น คือการลุ่มหลง
أخرجه الدارمي (1/80، رقم 205)، و الطبراني (9/154، رقم 8770).
>>>>>>>>>>
การเจริญรอยตาม สุนนะฮ นั้นพอเพียงแล้ว ทำไมจึงต้องดิ้นรน ที่จะทำสิ่งที่เป็นบิดอะฮ
เป็นคำอธิบายที่ชัดเจนที่สุด ดังนี้ท่านอิบนุ หะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ ได้กล่าวในหนังสือ “ฟัตหุ้ลบารีย์” เล่มที่ 13 หน้า 253 ว่า ..
فَالْبِدْعَةُ فِىْ عُرْفِ الشَّرْعِ مَذْمُوْمَةٌ ! بِخِلاَفِ اللُّغَةِ فَإِنَّ كُلَّ شَىْءٍ أُحْدِثَ عَلَى غَيْرِ مِثَالٍ سَابِقٍ يُسَمَّى بِدْعَةً، سَوَاءٌ كَانَ مَحْمُوْدًا أَوْ مَذْمُوْمًا ...
“ดังนั้น ความหมายของบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ (ทั้งหมด) จึงเป็นสิ่งที่ถูกประณาม, ต่างกับความหมายบิดอะฮ์ตามหลักภาษา, .. เพราะทุกๆสิ่งที่ถูกริเริ่มขึ้นมาโดยไม่มีแบบอย่างมาก่อน จะถูกเรียกว่า บิดอะฮ์ (ตามหลักภาษา) ทั้งสิ้น ไม่ว่ามันจะเป็นเรื่องดีหรือเรื่องเลว
นิยามบิดอะฮในทางชัรอีย์
التعبد لله بما لم يشرعه الله
การอิบาดะฮ ต่ออัลลอฮ ด้วยสิ่งที่อัลลอฮไม่ได้บัญญัติไว้
. مجموع فتاوى ابن عثيمين (ج/2 ، ص/291
นี่คือนิยามสั้น เข้าใจง่ายสำหรับคนที่จะปฏิบัติตามสุนนะฮฺ
อิหม่ามชาฏิบีย์ ให้นิยามในทางชัรอียว่า
الْبِدْعَةُ : طَرِيقَةٌ فِي الدِّينِ مُخْتَرَعَةٌ ، تُضَاهِي الشَّرْعِيَّةَ ، يُقْصَدُ بِالسُّلُوكِ عَلَيْهَا مَا يُقْصَدُ بِالطَّرِيقَةِ الشَّرْعِيَّةِ .
บิดอะฮ คือ แนวทางในศาสนา ที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ เลียนแบบศาสนบัญญัติ โดยมีจุดประสงค์ในการปฏิบัติมัน เช่นเดียวกับสิ่งที่ถูกให้เป็นจุดประสงค์ด้วยแนวทางศาสนบัญญัติ – อัลเอียะติศอม 1/51
อิบนุตัยมียะฮ ให้นิยามว่า
أَنَّ الْبِدْعَةَ فِي الدِّيْنِ هِيَ مَا لَمْ يَشْرَعْهُ اللهُ وَرَسُوْلُهُ وَهُوَ مَا لَمْ يَأْمُرْ بِهِ أَمْرُ إِيْجَابٍ وَلاَ ِ
บิดอะฮ ในทางศาสนาคือ สิ่งที่ อัลลอฮและรอซูลของพระองค์ ไม่ได้บัญญัติมันไว้ และมันคือ สิ่งที่ไม่ได้ถูกสั่งด้วยมัน ไม่ว่าจะเป็นคำสั่งที่เป็นวายิย หรือ เป็นสุนัต -
مجموع الفتاوى (4/ 107-108
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น