อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2558

ทัศนะอิหม่ามชาฟิอีย์ในเรื่องบิดอะฮ



อิหม่ามชาฟิอี (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวว่า
المحدثات من الأمور ضربان: ما أحدث يخالف كتاباً أو سنة أو أثراً أو إجماعاً، فهذه بدعة ضلالة.وما أحدث من الخير لا خلاف لواحد من هذا، فهذه محدثة غير مذمومة.قد قال عمر في قيام رمضان: "نعمت البدعة هذه".

บรรดาสิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นใหม่นั้น มี 2 ประเภทคือ
หนึ่ง – สิ่งที่ถูกประดิษขึ้นใหม่ ที่ขัดแย้งกับ อัลกุรอ่าน,อัสสุนนะฮ,หรือ อัลอะษัร หรือ อัลอิจญมาอฺ และนี้

คือ บิดอะฮที่ลุ่มหลง
สอง – สิ่งที่ถูกประดิษขึ้นใหม่ จาก การกระทำที่ดี ที่ไม่ขัดแย้งกับ ประการหนึ่งประการใด จากนี้ มันคือ สิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ที่ไม่ถูกตำหนิ และแท้จริง อุมัร ได้กล่าวในเรื่องการละหมาดตะรอเวียะว่า “" นี่แหละ คือบิดอะฮฺที่ดี” – บันทึกโดย อัลบัยฮะกีย์ – ดู มะนากิบอัชชาฟิอี เล่ม 1 หน้า 469

และอีกรายงานหนึ่ง
البدعة بدعتان: بدعة محمودة، وبدعة مذمومة، فما وافق السنة، فهو محمود، وما خالف السنة، فهو مذموم
บิดอะฮ นั้นมี 2 ประเภท คือ
หนึ่ง – บิดอะฮที่ถูกสรรเสริญ
สอง – บิดอะฮที่ถูกตำหนิ
ดังนั้นสิ่งใดที่สอดคล้องกับอัสสุนนะฮ มันคือ สิ่งที่ถูกสรรเสริญ และสิ่งใดที่ขัดแย้งกับอัสสุนนะฮ มันคือ สิ่งที่ถูกตำหนิ – ดู รายงานโดยอบูนะอีม ใน หุลลียะฮอัลเอาลิยาอฺ เล่ม 9 หน้า 113
อิหม่ามอิบนุเราะญับ(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) ได้ อธิบาย ความมุ่งหมายของคำพูดอิหม่ามชองอิหม่ามชาฟิอีว่า
ومراد الشافعي رضي الله عنه ما ذكرناه من قبل أن أصل البدعة المذمومة ما ليس لها أصل في الشريعة ترجع إليه وهي البدعة في إطلاق الشرع وأما البدعة المحمودة فما وافق السنة يعني ما كان لها أصل من السنة ترجع إليه وإنما هي بدعة لغة لا شرعا لموافقتها السنة .
และจุดมุ่งหมายของอิหม่ามชาฟิอี (ขออัลอฮเมตตาต่อท่าน) ต่อสิ่งที่เราได้ระบุมันมาก่อนหน้านี้ คือ แท้จริงบิดอะฮ ทีถูกตำหนิ(บิดอะฮมัซมูมะฮ) คือ สิ่งที่ไม่มีรากฐานจากศาสนบัญญัติ ทีจะถูกนำกลับไปหามัน และมันคือ บิดอะฮในความหมายทางศาสนา และสำหรับ บิดอะฮที่ถูกสรรเสริญ นั้น คือ สิ่งที่สอดคล้องกับสุนนะฮ หมายถึง สิ่งที่มีรากฐานมาจากสุนนะฮ ที่จะถูกนำกลับไปหามัน ความจริง มันคือ บิดอะฮในทางภาษา ไม่ใช่บิดอะฮในทางศาสนบัญัติ เพราะมันสอดคล้องกับอัสสุนนะฮ” – ดู ญามิอุลอุลูม วัลหิกัม หน้า 28
อิหม่ามชาฟิอี (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)ได้อ้างกระทำของเคาะลิฟะฮอุมัร เป็นตัวอย่างของคำว่า “บิดอะฮที่ถูกสรรเสริญ “ เพราะการกระทำของอุมัร มีรากฐานมาจากการกระทำของท่านรซูลุลลอฮ
ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ในรูปแบบย่ามาอะฮ หลายคืน แต่ท่านได้หยุดเพราะเกรงว่า จะถูกบัญญัติให้เป็นฟัรดู ก็จะเกิดความลำบากแก่อุมมะฮของท่าน ,พอมาในยุคเคาะลิฟะฮ อบูบักรฺ ท่านสาละวนอยู่กับการทำสงครามปราบปรามขบถศาสนา จึงไม่ได้จัดระเบียบการละหมาดญะมาอะฮตะรอเวียะตามรูปแบบที่ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เคยทำ พอมาในสมัยเคาะลิฟะฮอุมัร (ร.ฎ) ท่านได้ริเริ่มขึ้นใหม่ โดยจัดให้มีการละหมาดญะมาอะฮละหมาดตะรอเวียะ ตามรูปแบบที่ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เคยทำไว้ และ “การริเริ่ม” ก็คือ บิดอะฮในความหมายทางภาษา ไม่ใช่ความหมายทางศาสนา
อิหม่ามอัชชาฏิบีย์ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)ได้อธิบายว่า
إنما سمّاها بدعةً باعتبار ظاهر الحال؛ من حيث تركها رسول الله صلى الله عليه وسلم واتَّفق أنْ لم تقع في زمان أبي بكر رضي الله عنه، لا أنَّها بدعةً في المعنى، فمن سمّاها بدعةً بهذا الاعتبار؛ فلا مشاحة في الأسامي، وعند ذلك لا يجوز أن يُسْتَدَلَّ بها على جواز الابتداع بالمعنى المتكلم فيه؛ لأنَّه نوع من تحريف الكلم عن مواضعه
ความจริง ที่เรียกมันว่า บิดอะฮ โดยการพิจารณาสภาพที่ปรากฏ(ในขณะนั้น) โดยที่ท่านรซูลลุลลอฮ ศ็อลลอ็ลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ทิ้งมัน และ บังเอิญว่า ไม่ปรากฏในสมัยของอบูบักร (ร.ฎ) เพราะความจริง มันไม่ใช่เป็นบิดอะฮในด้าน ความหมาย ดังนั้น ผู้ใด เรียกมันว่า “บิดอะฮ”ด้วยการพิจารณานี้ ก็อย่าให้ความสำคัญกับการเรียกชื่อ และในขณะดังกล่าว ไม่อนุญาตให้อ้างมัน เป็นหลักฐานว่า อนุญาตให้อุตริบิดอะฮ ด้วยความหมายที่ถูกพูดถึงในมัน เพราะแท้จริงมันเป็นส่วนหนึ่งของการบิดเบือนคำพูดออกจากที่ของมัน - อัลเอียะติศอม เล่ม 1 หน้า 195

กล่าวคือ อย่าไปอ้างความหมายบิดอะฮในทางภาษาไปอุตริบิดอะฮในทางศาสนา
อัศศอนอานีย์ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวไว้ว่า
وأماقوله عمر نعم البدعة فليس في البدعة مايمدح بل كل بدعة ضلالة
สำหรับ คำที่ท่านอุมัร กล่าวว่า “เนียะมุนบิดอะฮ”(บิดอะฮที่ดี)นั้น(ไม่ใช่บิดอะฮในทางศาสนา) เพราะในบิดอะฮนั้น ไม่มีคำว่า สรรเสริญ แต่ทว่า ทุกบิดอะฮนั้น เป็นการหลงผิด – ดู สุบุลุสสลาม เล่ม 2 หน้า 10

อิบนุเราะญับ(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า
وأمَّا ما وقع في كلام السلف من استحسان بعض البدع، فإنما ذلك في البدع اللغوية لا الشرعية، فمن ذلك قول عمر - رضي الله عنه - لما جمع الناس في قيام رمضان على إمام واحد في المسجد، وخرج ورآهم يصلون كذلك، فقال: نعمت البدعة هذه
“ สำหรับสิ่งที่ปรากฏในคำพูดของสะลัฟ จากการที่เห็นว่าบางส่วนของบิดอะฮเป็นสิ่งที่ดีนั้น ความจริง ดังกล่าวนั้น เกี่ยวกับบิดอะฮในเชิงภาษา ไม่ใช่ ในด้านศาสนา แล้วส่วนหนึ่งจากดังกล่าวนั้น คือ คำพูดของอุมัร (ร.ฎ)เมื่อได้รวมผู้คนให้มาละหมาดกิยามุเราะมะฏอน(ตะรอเวียะ) ภายใต้การนำของอิหม่ามคนเดียวกัน ในมัสญิด และท่านได้ออกมาเห็นพวกเขา กำลังละหมาดเช่นนั้น จึงกล่าวว่า “ นี่คือ บิดอะฮที่ดี – ญามิอุลอุลูมวัลหิกัม 1/129

ท่านอิบนุตัยมียะฮ(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า
السنة هي ما قام الدليل الشرعي عليه بأنه طاعة لله ورسوله ، سواء فعله رسول الله صلى الله عليه وسلم أو فعل على زمانه ، أو لم يفعله ولم يفعل على زمانه ، لعدم المقتضي حينئذ لفعله أو وجود المانع منه ، ...... فما سنه الخلفاء الراشدون ليس بدعة شرعية ينهى عنها ، وإن كان يسمى في اللغة بدعة فكونه ابتدئ
อัสสุนนะฮ คือ สิ่งที่ปรากฏหลักฐานทางศาสนายืนยัน ว่า แท้จริงมัน(สิ่งนั้น)เป็นการภักดีต่ออัลลอฮและศาสนทูตของพระองค์ ไม่ว่าท่านรซูลลุลลอฮ ศ็อลลอ็ลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กระทำมัน หรือ มีการกระทำในสมัยของท่าน ก็ตาม หรือว่าท่านไม่ได้กระทำมัน และไม่ได้มีการกระทำในสมัยของท่าน เพราะไม่มีความจำเป็นที่จะกระทำในเวลานั้น หรือ เพราะมีอุปสรรค ... ดังนั้น สิ่งที่บรรดาเคาะลิฟะฮอัรรอชิดีน ได้ทำแบบอย่างเอาไว้ นั้น ไม่ใช่บิดอะฮในทางศาสนา (บิดอะฮชัรอียะฮ)ที่มีการห้ามจากมัน แม้ปรากฏว่าในทางภาษา เรียกว่า"บิดอะฮ"ก็ตาม เพราะมีความหมายว่า "ริเริ่ม"
- มัจญมัวะอัลฟะตาวา เล่ม 21 หน้า 317-319

แล้วท่านอิบนิตัยมียะฮกล่าวอีกว่า
ومعلوم أنّ كل ما لم يسنه ولا استحبه رسول الله صلى الله عليه وسلم ولا أحد من هؤلاء الذين يقتدي بهم المسلمون في دينهم فإنه يكون من البدع المنكرات، ولا يقول أحد في مثل هذا أنّه بدعة حسنة"
مجموع الفتاوى (27/152)
และเป็นที่รู้กันว่า ทุกสิ่งที่ท่านรซูลลุลลอฮ ศ็อลลอ็ลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่ได้ทำแบบอย่างเอาไว้และไม่ได้ส่งเสริมมัน และไม่มีคนหนึ่งคนใดจากพวกเขา (หมายถึงเหล่าเคาะลิฟะฮอัรรอชิดีน)ที่บรรดามวลมุสลิมปฏิบัติตามพวกเขา ในเรื่องศาสนาของพวกเขา (ได้ทำแบบอย่างและส่งเสริมให้กระทำ) ดังนั้นแท้จริงมันเป็นส่วนหนึ่งจากบิดอะฮที่ต้องห้าม และไม่มีคนใดกล่าว ในกรณีแบบนี้ว่า เป็น “บิดอะฮหะสะนะฮ”
- มัจญมัวะอัลฟะตาวา เล่ม 27 หน้า 152

...............
เพราะฉะนั้นอย่าได้เข้าใจผิดว่า อิหม่ามชาฟิอี ขออัลลอฮเมตตตาต่อท่าน ปราชญ์สะลัฟ ผู้มีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดคำสอนศาสนาสู่อุมมะฮอิสลาม ส่งเสริมให้อุตริบิดอะฮในทางศาสนบัญญัติ ที่ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ห้ามและเตือนให้ระวัง ซึ่งความจริงท่านหมายถึงการริเริ่มทำสิ่งที่ดี ที่มีรากฐานการกระทำมาจาก ท่านรซูลลุลลอฮ ศ็อลลอ็ลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และต้องระมัดระวังในการอ้างคำพูดสะลัฟ เพื่อสนับสนุนการอุตริบิดอะฮไม่ว่าจะด้วยเหตุผลหรือข้ออ้างใดก็ตาม

والله اعلم بالصواب

อะสัน หมัดอดั้ม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น