อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2558

รากฐานของการอิบาดะฮ ต้องวางอยู่บนหลักฐาน



เรื่องอิบาดะฮในอิสลาม ต้องมาจากคำสอนของอัลลอฮและรอซูลของพระองค์เท่านั้น (รวมถึงแบบอย่างขอเคาะลิฟะฮอัรรอชิดีน) กล่าวคือ ต้องดูคำสั่งของอัลลอฮและอัสสุนนะฮ เป็นบรรทัดฐาน ดังหลักการที่ว่า
والعبادة مبناها على التوقيف والاتباع لا على الهوى والابتداع
และการอิบาดะฮนั้น ต้องวางอยู่บนหลักการที่ว่า รอคำสั่ง และปฏิบัติตาม ไม่ใช่ การใช้ความเห็นตามอารมณ์และ การอุตริบิดอะฮขึ้นมาใหม่ –อัลฟะตาวา อัลกุบรอ 1/351

ท่านอิบนุหัซมิน(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวว่า
الحق حق وإن استقبحه الناس، والباطل باطل وإن استحسنه الناس، فصح أن الاستحسان شهوة، واتباعُ للهوى وضلال، وبالله تعالى نعوذ من الخذلان
ความจริง คือ ความจริง แม้ว่า ผู้คนจะเห็นว่า ไม่ดีก็ตาม และ ความเท็จ คือ ความเท็จ แม้ว่าผู้ คนจะเห็น ว่าดีก็ตาม ดังนั้น ที่ถูกต้องคือ การ คิดเห็นว่าดี นั้น คือ ตัณหา คือ การตามอารมณ์ และเป็นการหลงผิด เราขอความคุ้มต่ออัลลอฮ ให้พ้นจากความผิดหวังทั้งหลายด้วยเถิด - อัลอะหกาม ฟีอุศูลุ้ลอะหกาม เล่ม 2 หน้า 196

การตามอุลามาอ ไม่เหมือนการตามท่านรอซูล การตามอุลามาอ ต้องมีหลักฐาน ดังที่อิหม่ามชาฟิอีย์กล่าวว่า
ليس لأحد دون الرسول صلى الله عليه وسلم أن يقول إلا بالاستدلال. ولا يقول بما استحسن، فإن القول بما استحسن شيء يحدثه لا على مثال سبق
ไม่อนุญาตให้บุคคลใดอื่นจากท่านรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ต่อการที่เขาจะกล่าวอ้าง เว้นแต่ต้อง อ้างอิงหลักฐาน และเขาจะไม่กล่าวด้วยสิ่งที่เขาเห็นว่าดี แท้จริง การกล่าวอ้าง ด้วยสิ่งที่เขาเห็นว่าดีนั้น คือ สิ่งที่ถูกประดิษฐขึ้นใหม่โดยไม่มีแบบอย่างมาก่อน - อัรริสาละฮ หน้า 25

และท่านอิหม่ามชาฟิอี (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวไว้อีกว่า
ولو جاز لأحد الاستحسان في الدين لجاز ذلك لأهل العقول من غير أهل العلم ولجاز أن يشرع في الدين في كل باب وأن يخرج كل أحد لنفسه شرعاً
และถ้าหากว่า อนุญาตให้คนใดก็ได้ เห็นดี(คือคิดการบิดอะฮตามที่ตนเห็นว่าดี) ในศาสนา แน่นอน เรื่องดังกล่าว ย่อมอนุญาตให้ ผู้ที่มีความฉลาด ที่ไม่ใช่ผู้มีความรู้ บัญญัติศาสนาขึ้นมาในทุกเรื่อง โดยทุกๆคนจะออกบัญญัตขึ้นมาให้แก่ตัวเอง-
ดูอิรชาดุ้ลฟุหูล หน้า 240

กล่าวคือ ถ้าอนุญาตให้ใครก็ได้ ทำการบัญญัติศาสนบัญญัติ ตามความเห็น ทุกคนที่ฉลาดที่ไม่ใช่นักวิชาการก็จะออกบทบัญญัติให้กับตัวเองได้

อิบนตัยมียะฮ (ร.ฮ) กล่าวว่า
إَنَّ الْأَصْلَ فِي الْعِبَادَاتِ التَّوْقِيفُ ، فَلَا يُشْرَعُ مِنْهَا إلَّا مَا شَرَعَهُ اللَّهُ تَعَالَى وَإِلَّا دَخَلْنَا فِي مَعْنَى قَوْلِهِ : ( أَمْ لَهُمْ شُرَكَاءُ شَرَعُوا لَهُمْ مِنْ الدِّينِ مَا لَمْ يَأْذَنْ بِهِ اللَّهُ
แท้จริงรากฐานในเรื่องอิบาดะฮนั้น คือ การหยุดอยู่ที่คำสั่ง ดังนั้นมันจะไม่ถูกบัญญัติ นอกจากสิ่งที่อัลลอฮตะอาลาได้บัญญัติมัน และถ้าไม่เช่นนั้นเราก็จะเข้าอยู่ในความหมายของคำตรัสพระองค์ที่ว่า “หรือพวกเขามีบรรดาภาคี บัญญัติศาสนาให้แก่พวกเขาสิ่งซึ่งอัลลอฮมิได้ทรงอนุญาตด้วยมัน – มัจญมัวะฟะตาวา เล่ม 29 หน้า 16

والله أعلم بالصواب



.....................
อะสัน หมัดอะดั้ม



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น