อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2558

อิหม่ามชาฟิอี กล่าว่า ใครคิดบิดอะฮฺขึ้นมาแล้วเห็นว่าดีผู้นั้นได้บัญญัติขึ้นใหม่


อัซซัรกะชีย์ กล่าวว่า

قَالَ الشَّافِعِيُّ : " مَنْ اسْتَحْسَنَ فَقَدْ شَرَّعَ " . وَهِيَ مِنْ مَحَاسِنِ كَلَامِهِ . قَالَ الرُّويَانِيُّ : وَمَعْنَاهُ أَنْ يَنْصِبَ مِنْ جِهَةِ نَفْسِهِ شَرْعًا غَيْرَ شَرْعِ الْمُصْطَفَى .
อิหม่ามชาฟิอี กล่าว่า ใครเห็นดี( คือ คิดบิดอะฮขึ้นมาแล้วเห็นว่าดี) แน่นอนผู้นั้นได้ตั้งบัญญัติขึ้นใหม่ และมันคือ ส่วนหนึ่งจากความสวยงานของคำพูดของเขา ,อัรเรายานีย์ กล่าวว่า “ความหมายของมันคือ การที่เขากำหนดบทบัญญัติที่มาจากความคิดเขาเอง อื่นจากบทบัญญัติของอัลมุสฏอฟา(หมายถึงนบี ศอ็ลฯ) – ดู อัลบะหรุลมุฮีด 8/96 เรื่องอัลอิสเตียะซาน
อิหม่ามชาฟิอี (ร.ฮ) กล่าวว่า
وَاَمَّااَنْ نُخَالِفَ حَدِيْثًا عَنْ رَسُوْلِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ثَابِتًا عَنْهُ فَاَرْجُوْا اَنْ لاَ يُؤْخَذُ ذَلِكَ عَلَيْنَا اِنْ شَآءَ اللهُ وَلَيْسَ ذَلِكَ ِلاَحَدٍ وَلَكِنْ قَدْ يَجْهَلُ الرَّجُلُ السُّنَّةَ فَيَكُوْنُ لَهُ قَوْلٌ يُخَالَفُهَا لاَ اَنَّهُ عَمَدَ خِلاَفهَا وَقَدْ يَغْفلُ وَيُخْطِىءُ فِى التَّاْوِيْلِ.
และสำหรับ การที่เราขัดแย้งหะดิษใด จากรซูลุลลอฮ ศอ็ลฯ ที่ยืนยันแน่นอนจากท่าน ข้าพเจ้าหวังว่า เราจะไม่ถูกเอาผิด ดังกล่าว อินชาอัลลอฮ
ดังกล่าวนั้น ไม่อนุญาตแก่คนหนึ่งคนใด ยกเว้นในกรณีเขาไมรู้ อัสสุนนะฮ แล้วปรากฏว่า คำพูดใดๆของเขาขัดแย้งกับอัสสุนนะฮ โดยเขาไม่ได้เจตนา ขัดแย้งมัน และ บางครั้งเขาพลั้งเผลอ และบางที่เขาผิดพลาดในการอธิบายมัน - ดู อัรริสาละฮ หน้า 595

จากคำพูดของอิหม่ามชาฟิอี ท่านบอกว่า ไม่อนุญาตให้บุคคลใด ขัดแย้งกับสุนนะฮนบี ยกเว้นในกรณี เขาไม่รู้ แล้วแสดงทัศนะใดออกมาขัดแย้งกับอัสสุนนะฮ โดยไม่เจตนา อันเนื่องมาจากการเผลอตัว หรืออธิบายผิดพลาด

อบูชามะฮ ปราชญ์มัซฮับชาฟิอีกล่าวว่า

فالواجب على العالم فيما يَرِدُ عليه من الوقائع وما يُسألُ عنهُ من الشرائعِ : الرجوعُ إلى ما دلَّ عليهِ كتابُ اللهِ المنزَّلُ، وما صحَّ عن نبيّه الصادق المُرْسَل، وما كان عليه أصحابهُ ومَن بعدَهم مِن الصدر الأول، فما وافق ذلك؛ أذِنَ فيه وأَمَرَ، وما خالفه؛ نهى عنه وزَجَرَ، فيكون بذلك قد آمَنَ واتَّبَعَ، ولا يستَحْسِنُ؛ فإنَّ (مَن استحسن فقد شَرَعَ).
วาญิบ เหนื่อผู้มีความรู้ ต่อสิงต่างๆที่เกิดขึ้น บนเขา และสิ่งที่เขาถูกถามจากมัน เกียวกับบรรดาบทบัญญัติ คือ การกลับไปยังสิ่งที่ คัมภีร์ของอัลลอฮที่ถูกประทานลงมา ได้แสดงบอกบนมัน และสิ่ง(หะดิษ)ที่เศาะเฮียะจากนบี ของพระองค์ ผู้มีสัจจะ และผู้ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรอซูล และสิ่งที่บรรดาเศาะหาบะฮของท่านนบี และผู้ทีอยู่ยุคหลังจากเขาในยุคแรกได้ยืนหยัดอยู่บนมัน ดังนั้น สิ่งใด สอดคล้อง ดังกล่าวนั้น เขาก็ได้รับอนุญาตและถูกสั่ง ในมัน และสิ่งใดขัดแย้ง มัน เขาก็ถูกห้ามและถูกเตือนให้ระวังจากมัน แล้วด้วยดังกล่าวนั้น เขาได้ศรัทธาและปฏิบัติตาม และเขาอย่าได้ พูดว่าดีตามความคิดเห็น เพราะแท้จริง ผู้ใด พูดว่าดีตามความคิดเห็น แน่นอนเขาได้บัญญัติ บทบัญญัติศาสนา(ขึ้นใหม่)- ดู อัลบาอิษ อะลาอิงกะริลบิดอิ วัล อะหาดิษ ของอบูชามะฮ หน้า 50

จากคำพูดข้องต้นสรุปว่า
1. ให้ผู้รู้นำประเด็นต่างๆที่เกิดขึ้นและที่มีผู้ถามไปตรวจสอบกับอัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮ
2. ถ้าสิ่งนั้นตรงกับอัลกุรอ่นและอัสสุนนะฮ ถือว่าเป็นสิ่งอนุญาตและเป็นคำสั่งใช้
3. ถ้าสิ่งนั้นขัดแย้งกับอัลกุรอ่นและอัสสุนนะฮ ถือว่าเป็นสิ่งถูกห้ามและเป็นสิ่งที่เตือนให้ระวัง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น