อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สถานภาพของจุฬาราชมนตรีในปัจจุบัน



โดย อ. ปราโมทย์ ศรีอุทัย .
.
ก่อนอื่นผมต้องขอแก้ไขความผิดพลาดจากข้อมูลเรื่อง “กำเนิดตำแหน่งจุฬาราชมนตรี” ที่ผมเขียนไปว่า .. และเป็นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์อีก 9 ท่าน .. นั้น
ที่ถูกต้องก็คือ 11 ท่านครับ ...
คือ หลังจากท่านจุฬาราชมนตรีก้อนแก้วแล้ว ก็มีจุฬาราชมนตรีอากายีอีกท่านหนึ่ง. และหลังจากจุฬาราชมนตรีเถื่อนแล้ว ก็มีจุฬาราชมนตรีน้อย คั่นกลางอยู่อีกหนึ่งท่าน ..
ก็ขออภัยท่านผู้อ่านทุกท่าน, และขอขอบคุณ คุณ Somsong Bunsanong ที่กรุณาทักท้วงมา ขออัลลอฮ์ทรงโปรดตอบแทนความดีแก่ท่านมากๆครับ ...
ก็เขียนต่อนะครับ ...
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2540 ว่า ...
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยมัสยิดอิสลาม และกฎหมายว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภาดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิก
(๑) พระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. ๒๔๙๐
(๒) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม พุทธศักราช ๒๔๘๘
(๓) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๙๑ มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
อธิบาย
ข้อความในมาตรา 3 .. ทั้งวงเล็บ 1, วงเล็บ 2, และวงเล็บ 3 ของพระราชบัญญัติฉบับนี้แสดงว่า วิธีการสรรหาจุฬาราชมนตรี และอำนาจหน้าที่ของผู้เป็นจุฬาราชมนตรี .. ดังที่มีระบุไว้ในพระราชบัญญัติปี พ.ศ. 2490 และในพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมป์ฝ่ายอิสลาม พ.ศ. 2488, และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2491 มาตรา 4 จะต้องถูกยกเลิกทั้งหมดด้วยพระราชบัญญัติฉบับปี พ.ศ. 2540 นี้ ...
พระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 ยังได้ระบุต่อไปว่า

หมวด ๑
บททั่วไป
มาตรา ๖ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจุฬาราชมนตรีคนหนึ่ง เพื่อเป็นผู้นำกิจการศาสนาอิสลามในประเทศไทย
ให้นายกรัฐมนตรีนำชื่อผู้ที่จะดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีซึ่งได้รับความเห็นชอบจากกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นจุฬาราชมนตรี
อธิบาย
จากมาตรา 6 หมวดที่ 1 บททั่วไปของพระราชบัญญัติฉบับนี้แสดงว่า ...
1. จุฬาราชมนตรีมิใช่เป็นที่ปรึกษาขององค์พระมหากษัตริย์ ดังที่มีบัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม พ.ศ. 2488 อีก ...
แต่ได้ถูกยกสถานะขึ้นเป็น “ผู้นำ” ของมุสลิมในส่วนที่เกี่ยวกับกิจการศาสนาอิสลามในประเทศไทย ...
2. วิธีการสรรหาจุฬาราชมนตรี ถูกเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่เป็นการสรรหาของประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศ มาเป็น “การลงมติเห็นชอบของกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศ” แทน ...
การลงมติของกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศในการคัดเลือกตัวผู้มาดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี จึงมิใช่เป็นการ “เลือกผู้แทนประจำจังหวัด” ของตน เหมือนการเลือกผู้แทนราษฎร .. ดังที่มีบุคคลบางคนอ้าง ...
แต่เป็นการ “สรรหาผู้นำ” และเป็นการลงมติเพื่อ “เลือกผู้นำของชาวไทยมุสลิมทั้งประเทศ” ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ...
ตำแหน่งจุฬาราชมาตรี จึงมาจากการ “คัดเลือก” หรือการเลือกตั้งและ “ลงมติ”ของ “คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด” ทั่วประเทศก่อนเป็นอันดับแรก ...
หลังจากได้รายนามจุฬาราชมนตรีที่มาจากการลงมติของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศเรียบร้อยแล้ว นายกรัฐมนตรีก็จะนำรายชื่อที่ถูกคัดเลือกนั้นขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ “แต่งตั้ง” เป็นจุฬาราชมนตรีต่อไป ...
การได้รับ “เลือกตั้ง” และได้รับ “แต่งตั้ง” เป็นจุฬาราชมนตรีของบุคคลใด จึงถือว่า บุคคลนั้นมีตำแหน่งเป็น “ผู้นำ” ของมุสลิมในประเทศไทยอย่างถูกต้อง, ทั้งตามหลักการศาสนาและกฎหมายรัฐธรรมนูญ ...
และบุคคลแรกที่ได้รับตำแหน่งเป็นจุฬาราชมนตรีถูกต้องตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ ก็คือ ท่านอาจารย์สวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ โดยเข้าดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ...
ต่อมา เมื่อท่านจุฬาราชมนตรีสวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2553 ผู้ได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งต่อมาก็คือ ท่านอาศิส พิทักษ์คุมพล เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553 และยังคงดำรงตำแหน่งอยู่จนถึงปัจจุบัน ...



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น