การรับประทานสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ได้แก่ กบ ปู เต่า เป็นต้นนั้น นักวิชาการได้มีทัศนะต่าง เป็น 2 ทัศนะ คือ
ทัศนะแรก ถือว่าสัตว์ที่อาศัยอยู่ทั้งในน้ำและบนบกเป็นสิ่งที่ต้องห้ามในการรับประทาน เนื่องจากเนื้อของมันเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ ผู้ที่เห็นด้วยกับทัศนะนี้ได้แก่ มัซฮับชาฟีอีย์
อิบนุลอะรอบี ได้กล่าวว่า
“ทัศนะที่ถูกต้องในเรื่องที่เป็นทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำนั้น เป็นที่ต้องห้ามรับประทาน เพราะมีหลักฐานที่ขัดแย้งกัน 2 อย่าง คือ หลักฐานที่อนุมัติ และหลักฐานที่เป็นที่ต้องห้าม ดังนั้นเราจึงถือว่า หลักฐานที่เป็นที่ต้องห้าม(หะรอม) มีน้ำหนักกว่า โดยเป็นการเอาเผื่อไว้”
ซึ่งการห้ามรับประทานสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเป็นเพียงทัศนะของนักวิชาการเท่านั้น ไม่ใช่เป็นข้อห้ามที่ได้จากตัวบทของอัลกุรฺอาน หรือหะดีษแต่อย่างใด
ทัศนะที่ 2 ถือว่าสัตว์น้ำไม่ว่าจะอาศัยอยู่ในน้ำเพียงอย่างเดียวหรืออาศัยอยู่ในน้ำและบนบกเป็นที่อนุญาตให้ทานได้ถ้าหากว่าส่วนใหญ่มันอาศัยอยู่ในน้ำจริง ก็เป็นที่อนุญาต แม้มันจะสามารถอาศัยอยู่บนบกก็ตาม นอกจากที่มีหลักฐานห้ามไม่ให้ฆ่ามัน อย่าง กบ
รายงานจากท่านอับดิรเราะฮฺมาน ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าวว่า
{ أن طبيبا سأل النبي صلى الله عليه وسلم عن ضفدع يجعلها في دواء فنهاه عن قتلها } وروى الإمام أحمد وأبو داود
นายแพทย์คนหนึ่งได้ถามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม เกี่ยวกับกบที่จะเอามาทำเป็นยารักษาโรค แต่ท่านได้ห้ามไม่ให้ฆ่ามัน” (บันทึกหะดิษโดบอบูดาวูด อันนะซาอีย์ และอะห์มัด โดยถือว่าเป็นหะดิษเศาะเฮียะฮฺ)***ผู้ที่เห็นด้วยกับทัศนะนี้ได้แก่ มัซฮับอัลมาลิกียะฮฺ
ดังนั้น สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ อย่างปู ไม่ว่าจะเป็นปูทะเล ปูนา จะอาศัยอยู่ในทะเล ลำคลอง หรือแหล่งน้ำที่อยู่บนภูเขาก็ตาม ก็รับประทานได้ นั้่นรวมถึงการที่นำปูเหล่านี้ไปหมักดอง หรือปูส้ม ก็ไม่มีสาเหตุใด ที่ศาสนาห้ามรับประทาน หากมันไม่เกิดพิษภัย หรือมึนเมาอันเกิดจากหมักดองนั้น และอันเนื่องจากไม่บทบัญญัติห้ามไว้โดยเฉพาะอย่าง กบ นั้นเอง
พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า
قُل لَّا أَجِدُ فِي مَا أُوحِيَ إِلَيَّ مُحَرَّمًا عَلَىٰ طَاعِمٍ يَطْعَمُهُ إِلَّا أَن يَكُونَ مَيْتَةً أَوْ دَمًا مَّسْفُوحًا أَوْ لَحْمَ خِنزِيرٍ فَإِنَّهُ رِجْسٌ أَوْ فِسْقًا أُهِلَّ لِغَيْرِ اللَّهِ بِهِ فَمَنِ اضْطُرَّ غَيْرَ بَاغٍ وَلَا عَادٍ فَإِنَّ رَبَّكَ غَفُورٌ رَّحِيمٌ ( 145 )
"จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่า ฉันไม่พบว่าในสิ่งที่ถูกให้เป็นโองการแก่ฉันนั้น มีสิ่งต้องห้ามแก่ผู้บริโภคที่จะบริโภคมัน นอกจากสิ่งนั้นเป็นสัตว์ที่ตายเอง หรือเลือดที่ไหลออก หรือเนื้อสุกร แท้จริงมันเป็นสิ่งโสมม หรือเป็นสิ่งละเมิด ซึ่งถูกเปล่งนามอื่นจากอัลลอฮ์ที่มัน ถ้าผู้ใดได้รับความคับขัน โดยมิใช่เป็นผู้แสวงหา และมิใช่ผู้ละเมิด แล้วไซร้ แท้จริงพระเจ้าของเจ้านั้น เป็นผู้ทรงอภัยโทษ เป็นผู้ทรงเอ็นดูเมตตา"
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัล-อันอาม 6: 145)
وَمَا لَكُمْ أَلَّا تَأْكُلُوا مِمَّا ذُكِرَ اسْمُ اللَّهِ عَلَيْهِ وَقَدْ فَصَّلَ لَكُم مَّا حَرَّمَ عَلَيْكُمْ إِلَّا مَا اضْطُرِرْتُمْ إِلَيْهِ وَإِنَّ كَثِيرًا لَّيُضِلُّونَ بِأَهْوَائِهِم بِغَيْرِ عِلْمٍ إِنَّ رَبَّكَ هُوَ أَعْلَمُ بِالْمُعْتَدِينَ ( 119 )
“แลมีอะไรเกิดขึ้นแก่พวกเจ้ากระนั้นหรือ? ที่พวกเข้าไม่บริโภคจากสิ่งที่พระนามของอัลลอฮ์ถูกกล่าวบนมัน ทั้งๆ ที่พระองค์ทรงแจกแจงแก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งสิ่ง ที่พระองค์ได้ทรงห้ามแก่พวกเจ้า นอกจากสิ่งที่พวกเจ้าได้รับความคับขันให้ต้องการ มันเท่านั้น และแท้จริงมีผู้คนมากมายทำให้ผู้อื่นหลงผิดไป ด้วยความใคร่ใฝ่ต่ำของพวกเขาโดยปราศจากความรู้แท้จริง พระเจ้าของเจ้านั้นคือผู้ที่ทรงรอบรู้ยิ่งต่อผู้ละเมิดทั้งหลาย”
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัล-อันอาม 6: 119)
أُحِلَّ لَكُمْ صَيْدُ الْبَحْرِ وَطَعَامُهُ مَتَاعًا لَّكُمْ وَلِلسَّيَّارَةِ وَحُرِّمَ عَلَيْكُمْ صَيْدُ الْبَرِّ مَا دُمْتُمْ حُرُمًا وَاتَّقُوا اللَّهَ الَّذِي إِلَيْهِ تُحْشَرُونَ ( 96 )
"ได้ถูกอนุมัติแก่พวกเจ้า ซึ่งสัตว์ล่าในทะเล และอาหารจากทะเล ทั้งนี้เพื่อเป็นสิ่งอำนวยประโยชน์แก่พวกเจ้า และแก่บรรดาผู้เดินทาง และได้ถูกห้ามแก่พวกเจ้า ซึ่งสัตว์ล่าบนบกตราบใดที่พวกเจ้าครองอิห์รอมอยู่และจงยำเกรงอัลลอฮ์เภิดผู้ที่พวกเจ้าจะถูกรวบรวมนำไปสู่พระองค์"
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัล-มาอิดะฮฺ 5:96)
والله أعلم بالصواب
✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น