อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556

ซูเราะฮ์ยาซีน มีความพิเศษจริงหรือ



ซูเราะฮ์ยาซีน มีความพิเศษจริงหรือ ?
هل هناك أحاديث صحيحة في فضل قراءة سورة ( يس ) ؟ البعض يقول : إنها لِمَا قُرِأت له ؟
หะดีษที่มีการรายงานถึงความประเสริฐของการอ่านซูเราะห์ยาซีน ?
โดยที่มีบางคนได้นำหะดีษนี้มีการกล่าวว่า “ทำไมยาซีนถูกอ่านแก่เขา ?”

มวลการสรรเสริญเป็นเอกสิทธิ์ของอัลลอฮ์ 

ประการแรก
          ซูเราะห์ ยาซีน เป็นซูเราะห์ หนึ่งจากอัลกุรอานที่อยู่ประเภทของซูเราะห์ อัลมักกียะห์ที่มีความสำคัญ  จำนวน อายะห์ของซูเราะห์นี้  83 อายะห์ และเป็นอายะห์สั้นๆ และเป็นซูเราะห์ที่มาสร้างความเข้มแข็งให้กับจิต ใจของบรรดาผู้ศรัทธาได้อย่างมาก  เนื้อหาสาระสำคัญ ของซูเราะห์นี้ เป็นซูเราะห์ มักกียะห์ ที่กล่าวถึงหลักความเชื่อ การให้เอกภาพที่เกี่ยวข้องกับการเป็นพระเจ้าของอัลลอฮ์  และที่เกี่ยวข้องกับ การให้เอกภาพในเรื่องของการเคารพภักดีต่ออัลลอฮ์   และการกล่าวถึงบั้นปลายที่เลวร้ายของบรรดาผู้ที่ปฎิเสธต่อการให้เอกภาพทั้งสองนั้น  และเรื่องสำคัญที่กล่าวถึงในซูเราะห์ คือ เรื่องของการฟื้นคืนชีพในโลกหน้า

ประการที่สอง
          มีหะดีษมากมายที่ มีการรายงานระบุถึงความประเสริฐของ ซูเราะห์ ยาซีน โดยส่วนมากเป็นหะดีษที่โกหก และ กุขึ้นมา บางหะดีษเป็นหะดีษที่อ่อนแอ (นำมาเป็นหลักฐานไม่ได้ ) บางหะดีษอ่อนแอเล็กน้อย  และเราไม่พบว่ามีหะดีษที่ถูกต้อง ที่ได้ระบุเจาะจงถึงความประเสริฐของ ซูเราะห์ ยาซีน
         และหะดีษที่มีรายงานถึงความประเสริฐ ของซูเราะห์ ยาซีน ที่บรรดานักวิชาการได้จัดให้เป็นหะดีษที่อ่อนแอ  ที่เรานำเสนอตรงนี้ ก็เพื่อต้องการนำมาเตือน เช่นหะดีษต่อไปนี้

( إن لكل شيء قلبا ، وقلب القرآن ( يس ) ، من قرأها فكأنما قرأ القرآن عشر مرات )

“แท้จริงทุกๆ สิ่งนั้นมีหัวใจ และหัวใจของอัลกุรอาน (คือยาซีน) ใครที่อ่านมัน เสมือนว่าเขาได้อ่านอัลกุรอานถึงสิบ ครั้ง”

( من قرأ سورة ( يس ) في ليلة أصبح مغفورا له ) 

“ใครได้อ่านซูเราะห์ ยาซีน ในตอนกลางคืน ในตอนเช้าเขาจะได้รับการอภัยโทษ”

( من داوم على قراءتها كل ليلة ثم مات مات شهيدا ) 

“ใคร ที่ได้อ่านซูเราะห์ยาซีนเป็น ประจำ หลังจากนั้นเขาได้เสียชีวิต เหมือนกับการเสียชีวิตของผู้ทีเป็นชะฮีด”

( من دخل المقابر فقرأ سورة ( يس ) ، خفف عنهم يومئذ ، وكان له بعدد من فيها حسنات )

“ใคร ที่เข้าไปยังหลุมฝังศพ แล้วเขาได้อ่านซูเราะห์ ยาซีน วันนั้นพวกเขาจะได้รับการลดโทษให้เบาบางลงจากอัลลอฮ์ และสำหรับเขา(ผู้ที่อ่าน)จะได้รับความดีเท่ากับจำนวนของผู้ที่อยู่ในหลุมฝังศพ”

          ให้ดูในหนังสือ อัลเมาดูอาต ของท่าน อิบนุลเญาซีย์ 2/313  อัลฟาวาฮิดุล มัจมูฮะห์ ของท่านอัชเชากานีย์  และให้กลับไปดูเนื่องจากความสำคัญของหนังสือ ที่ชื่อว่า หะดีษ กอลบุลกุรอานฟิลมีซาน  และประโยคที่รายงานถึงความประเสริฐ ซึ่งเป็นหนังสือของท่าน อัชเชค มูฮัมหมัด อัมรฺ อับดุลลาตีฟ ขออัลลอฮ์ทรงปกป้องต่อท่าน และให้กลับไปดูในเว็บไซด์ของเรา คำถามหมายเลขที่ 654 คำถามที่ 6460
ประการที่สาม 
สำหรับหะดีษที่มีการรายงานสำนวนหะดีษที่ว่า
( يس لما قرئت له ) “ซูเราะห์ยาซีน ทำไมถูกอ่านมันให้แก่เขา”

          โดยที่พวกเขาได้ให้ความหมายว่า แท้จริงการอ่านซูเราะห์ยาซีนนั้นจะสามารถปลดเปลื้องความทุกข์ยาก และทำให้การงานต่างๆ สะดวกง่ายดาย หากใครที่อ่านซูเราะห์ยาซีนเป็นประจำ จำเป็นที่จะต้องเตือนให้ทราบว่า สิ่งที่อ้างมานั้นเป็นความเท็จ ที่จะพาดพิงคำพูดเหล่านี้ว่ามาจากซุนนะห์ของท่านนะบี หรือ พาดพิงบรรดาผู้ที่มีความรู้ จากบรรดาศอหาบะห์ หรือ บรรดาอัตตาบีอีน หรือ บรรดาอิหม่ามผู้ทรงความรู้  โดยที่สิ่งที่กล่าวมา นั้นไม่ได้มีรายงานจากพวกเขาแต่ประการใด และพวกเขายังถือ คำพูดเหล่านั้นเป็นความเท็จ

          ท่าน อัซซาคอวี ย์ รอฮิมาอุลลอฮ์ได้ กล่าวว่า สำหรับหะดีษนี้นั้น หาที่มาไม่ได้ จบคำพูดของท่านอัซซาคอวีย์  จากหนังสือ อัลมาคอซิดุลหาซานะห์  หน้าที่ 741 

          และท่าน อัลกอดีย์ ซาการียา ได้กล่าวไว้เช่นกัน ในหนังสือ หาชยาตุลบัยดอวีย์  เรื่องที่มีปรากฏ ในหนังสือ กัชฟุลคอฟาฮฺ 2/2215  และเช่นเดียวกัน ในหนังสือ อัชชูซูส ฟิล อาหาดีซิลมุชตาอิ เราะห์  ของอิบนู ตูลูน อัซซอลีฮียฺ 2/1158  และเช่นเดียวกัน ถูกกล่าวไว้ในหนังสือ อัลอัซรอซ อัลมัรฟูฮะ ของท่าน อัลกอรียฺ หน้าที่ 619  และ อื่นๆ จากนี้ ให้ไปดูในหนังสือ ของท่าน อัช เชค มูฮัมหมัด อัมรฺ ที่ระบุไว้ในหนังสือที่ว่า หะดีษที่ ว่า หัวใจของอัลกุรอาน คือ ยาซีน หน้าที่ 80

          ไม่อนุญาตให้คนหนึ่งคนใด นำหะดีษเหล่านี้กล่าวอ้างว่ามาจากท่านนบี  และอย่าได้นำไปบอกกล่าวแก่ผู้คน  แต่บางคนได้อ้างว่า สิ่งที่ได้กล่าวไว้ในหะดีษเมื่อนำไปใช้ก็มีผลลัพธ์เหมือนที่ระบุไว้ และเกิดขึ้นเหมือนกับที่หะดีษได้บอกไว้นั้นเป็นการยืนยันถึงความถูกต้องของหะดีษ   ก็ให้ตอบแก่ผู้ที่กล่าวอ้างว่า  แต่มีคนอยู่จำนวนมากเช่นเดียวกัน ที่ได้อ่านยาซีน  โดยหวังจะให้การอ่านนั้นมาขจัดความทุกข์ยากของเขาแต่ก็ไม่มีสิ่งนั้นเกิดขึ้น  ทำไมจึงยึดเฉพาะสิ่งที่เกิดขึ้นกับท่านเพียงอย่างเดียว  ไม่ไปมองสิ่งที่เกิดในบุคคลอื่นด้วย

          และท่านอิบนุ  กะซีรได้กล่าวไว้  ในหนังสือ ตัฟซีรุลกุรอานุลอาซีม เล่มที่ 3/ 742  มีรายงานจากผู้รู้บางท่าน ที่กล่าวว่า ส่วนหนึ่งจากความพิเศษของซูเราะห์นี้ (ยาซีน ) เมื่อมันถูกอ่านในขณะที่ประสบอุปสรรคในการงาน  อัลลอฮ์จะให้งานนั้นมีความสะดวกง่ายดาย ซึ่งที่กล่าวมานั้นมันเป็นการวินิจฉัยของนักวิชาการบางท่านเท่านั้น โดยไม่มีหลักฐานจากอัลกุรอาน และอัซซุนนะห์ หรือจากคำพูดของเหล่าศอหาบะห์ หรือ บรรดาอัตตาบีอีน 
และจากการวินิจฉัยประเภทนี้ไม่อนุญาตให้นำมันพาดพิงไปหาอัลลอฮ์ และรอซูลของพระองค์  แต่ว่าให้นำคำพูดนี้กล่าวอ้างถึงคนที่เป็นผู้พูด บางครั้งอาจจะถูก หรือบางครั้งอาจจะผิด  ไม่อนุญาตให้นำมันพาดพิงไปหาอัลกุรอาน และ อัซซุนนะห์ ของท่านรอซูลของอัลลอฮ์ นอกจากสิ่งที่เรามั่นใจว่ามันมากจากอัลลอฮ์และรอซูล 
อัลลอฮ์ ผู้ทรงสูงส่งได้ตรัสไว้ว่า
{ قُلْ إِنَّمَا حَرَّمَ رَبِّيَ الْفَوَاحِشَ مَا ظَهَرَ مِنْهَا وَمَا بَطَنَ وَالإثْمَ وَالْبَغْيَ بِغَيْرِ الْحَقِّ وَأَنْ تُشْرِكُوا بِاللَّهِ مَا لَمْ يُنَزِّلْ بِهِ سُلْطَانًا وَأَنْ تَقُولُوا عَلَى اللَّهِ مَا لا تَعْلَمُونَ }

33. จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่า แท้จริงสิ่งที่พระเจ้าของฉันทรงห้ามนั้น คือบรรดาสิ่งที่ชั่วช้าน่ารังเกียจ¹ทั้งเป็นสิ่งที่เปิดเผยจากมันและสิ่งที่ไม่เปิดเผย และสิ่งที่เป็นบาป² และการข่มเหงรังแกโดยไม่เป็นธรรม³ และการที่พวกเจ้าให้เป็นภาคแก่อัลลอฮ์ซึ่งสิ่งที่พระองค์มิได้ทรงประทานหลัก ฐานใด ๆ ลงมาแก่สิ่งนั้น 4 และการที่พวกเจ้ากล่าวให้ภัย 5 แก่อัลลอฮ์ในสิ่งที่พวกเจ้าไม่รู้
(1)  เช่นการทำซินา การข่มขืนชำเรา การฆ่ากัน และการปล้นจี้ เป็นต้น
(2)  คือการฝ่าฝืนบัญญัติศาสนาโดยทั่วไป
(3)  คำว่า “โดยไม่เป็นธรรม” นั้นเป็นการย้ำคำที่ว่า “การข่มเหงรังแก”
(4)  คือมิได้ทรงมีหลักฐานยืนยันว่าสิ่งนั้นเป็นภาคีกับพระองค์ ที่กล่าวเช่นนี้เพียงเพื่อแสดงว่าพวกเรากระทำด้วยพละการเท่านั้น ความจริงแล้วไม่มีสิ่งใดเป็นภาคีแก่พระองค์ทั้งสิ้น
(5)  คืออุตริกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดขึ้น แล้วอ้างว่าเป็นศาสนาของอัลลอฮ์ ปฏิบัติการดังกล่าวนี้ถือเป็นการให้ร้ายแก่พระองค์

          และจำเป็นที่เราจะต้องตักเตือนในเรื่องนี้  มีผู้คนจำนวนมาก ที่ต้องการปลดเปลื้องความทุกข์ของตัวเองในขณะที่ทำการวิงวอนขอและ อ่านยาซีน  แท้จริงความทุกข์ของเขาจะถูกปลดเปลื้องเมื่อจิตใจของเขาได้มุ่งหน้าไปสู่อัลลอฮ์หวังจากเพียงพระองค์เท่านั้น  ไม่ใช้เขาคิดว่าการที่เขาอ่าน หรือวิงวอนขอดุอาจะช่วยได้โดยลืมคิดถึงความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์ 
ท่านชัยคุลอิสลาม  อิบนุ ตัยมียะห์ ขออัลลอฮ์โปรดเมตตาต่อท่าน ได้กล่าวว่า
          สาเหตุที่ทำให้ความทุกข์ของคนบางคนถูกปลดเปลื้อง ซึ่งพวกเขาทำการขอดุอาวิงวอนในสิ่งที่เป็นการวิงวอนที่ต้องห้าม  แท้จริงมีชายคนหนึ่งจากพวกเขา บางครั้งเขาตกอยู่ในภาวะที่คับขัน หากเขาเป็นผู้ที่ตั้งภาคีต่ออัลลอฮ์ได้วิงวอนขอต่ออัลลอฮ์เพียงผู้เดียว ณ รูปเจว็ด(ในภาวะคับขัน) แน่นอนการวิงวอนนั้นจะถูกตอบรับ เนื่องจากความจริงจังที่เขาได้มุ่งไปหาอัลลอฮ์  

           หากการวิงวอนขอดุอา ณ ที่รูปเจว็ดโดยเป็นการตั้งภาคี   โดยการขอดุอานั้นมีสื่อกลาง (ระหว่างเขากับอัลลอฮ์) เช่นไปขอกับ ผู้ที่ตายไปแล้ว หรือ อื่นจากนี้ นอกเหนือจากอัลลอฮ์ เพื่อให้ทำการช่วยเหลือเขา แท้จริงผู้ที่ทำการวิงวอนนั้น จะถูกนำไปสู่นรก อัลลอฮ์ไม่อภัยโทษให้แก่เขาด้วย  และจะทำให้คนจำนวนมากมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ทำให้พวกเขาไปยึดบรรดาคนดีทั้งหลายโดยทำการอิบาดะห์และวิงวอนขอดุอาต่อคนตาย

          เมื่อพบว่าเขาได้ทำอิบาดะห์หรือขอดุอากับคนตายแล้วมีผลลัพธ์ที่สัมผัสได้ ทำให้พวกเขายึดมันเป็นเหตุผลและให้น้ำหนักในการอิบาดะห์ และการวิงวอนขอ  และได้ยึดมันเป็นซุนนะห์ เสมือนว่าท่านนะบีได้เป็นผู้ที่ปฏิบัติไว้   นี่ถือว่าเป็นความเข้าใจที่ผิดพลาด โดยเฉพาะเมื่อผู้ปฎิบัติมีความหนักแน่นในการกระทำ และทำให้ผู้อื่นที่ปฏิบัติตามด้วย  หากเป็นเช่นนั้นมันเป็นสิ่งที่อันตราย  เนื่องจากการงานนั้นไม่ได้มีบทบัญญัติ  เมื่อพวกเขาปฏิบัติแล้วหวังว่าจะได้รับผลบุญ และมีความตั้งใจกระทำด้วยความจริงจัง ซึ่งหวังว่าจะได้รับการตอบรับจากการกระทำนั้น   (2/698، 700)

จากหนังสือ    انتهى من اقتضاء الصراط المستقيم. และ อิสลามคำถามและคำตอบ คำถามหมายเลขที่ 75894

     والله أعلم 
 ✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿

แปลโดย  อิสมาอีล  กอเซ็ม
http://www.islammore.co



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น