การสงสัยนั้น จะไม่ทำให้น้ำละหมาดของเขาสีย ไม่ว่าจะอยู่ในขณะละหมาด หรือนอกละหมาดก็ตาม จนกว่าเขาจะมั่นใจว่าเสียน้ำละหมาดจริงๆ
وَعَنْ عَبَّادِ بْنِ تَمِيمٍ، عَنْ عَمِّهِ، أَنَّهُ شَكَا إِلَى رَسُولِ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم الرَّجُلُ الَّذِي يُخَيَّلُ إِلَيْهِ أَنَّهُ يَجِدُ الشَّىْءَ فِي الصَّلاَةِ. فَقَالَ " لاَ يَنْفَتِلْ ـ أَوْ لاَ يَنْصَرِفْ ـ حَتَّى يَسْمَعَ صَوْتًا أَوْ يَجِدَ رِيحًا "
รายงานจากอับบาด อิบนิตะมีม จากลุงของเขา เล่าวว่า
“ชายคนหนึ่งได้มาร้องทุกข์ต่อท่านรสูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ว่า เขาคิดว่ามีสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นแก่เขาในขณะละหมาด (สงสัยว่าผายลม) ท่านรสูลตอบว่า “จงอย่าออกจากละหมาดจนกว่าจะได้ยินเสียงหรือได้กลิ่น” (บันทึกหะดิษโดยบุคอรีย์ มุสลิม อบูดาวูด)
รายงานจากท่านอบีหุร็อยเราะฮ์ ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ จากท่านรสูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ได้กล่าวว่า
“เมื่อคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกท่านพบว่าในท้องของเขามีบางสิ่งบางอย่างทำให้เกิดสงสัยแก่เขาว่า มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดออกจากท้องของเขาหรือไม่ ก็จงอย่าออกจากมัสยิดจนกว่าเขาจะได้ยินเสียงหรือได้กลิ่น” (บันทึกหะดิษโดยมุสลิม อบูดาวูด และติรฺมีซีย์)
ความมุ่งหมายนั้นใช้เจาะจงแค่เพียงได้ยินเสียงหรือได้กลิ่นเท่านั้น หากแต่ได้ยึดถือเอาความมั่นใจว่ามีสิ่งใดออกมาเป็นสำคัญ
อิบนุลบาร็อกได้กล่าวว่า
"ถ้าเพียงสงสัยว่ามีหะดัษเท่านั้น ยังไม่ต้องอาบน้ำละหมาดใหม่ จนกว่าจะแน่ใจว่าเสียจริงๆ ขนาดจะสาบานก็ได้"
ถ้าหากแน่ใจว่าเสียน้ำละหมาดแล้ว และสงสัยว่าได้อาบน้ำละหมาดใหม่หรือยัง ในกรณีนี้ จำเป็นจะต้องอาบน้ำละหมาดโดยมติเอกฉันท์ของบรรดานักปราชญ์มุสลิม
والله أعلم بالصواب
✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿
✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น