อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556

ข้อห้ามสำหรับผู้มีญะณาบะฮ์




ศาสนาอิสลามมีบัญญัติห้ามมิให้ผู้มีญะนาบะฮ์ปฎิบัติประการต่อไปนี้


1.ห้ามทำละหมาดทุกประเภท สุหนัตและฟัรฎู  (รวมทั้งละหมาดญะนาซะฮ์ด้วย)


إِنَّ اللهَ تَعَالَى لاَ  يَقْبَلُ  صَلاَةَ أَحَدِكُمْ إِذَا أَحْدَثَ حَتَّى يَتَوَضَّأَ


“แท้จริงอัลลอฮ์จะไม่ทรงตอบรับการละหมาดของคนใดในหมู่พวกท่านเมื่อเขามีฮะดัษ  จนกว่าเขาจะอาบน้ำละหมาดเสียก่อน”

                                                                                                                                                                                                                เมื่อการมีฮะดัษเล็กเป็นอุปสรรคและข้อห้ามสำหรับการละหมาด การมีฮะดัษใหญ่ย่อมต้องถือเป็นกรณีสำคัญและจำเป็นมากกว่าสำหรับ การห้ามละหมาด

وَلاَ يَقْبَلُ اللهُ تَعَالَى صَلاَةً بِغَيْرِ طُهُوْرٍ

“แท้จริงอัลลอฮ์จะไม่ทรงตอบรับการละหมาดที่ปราศจากความสะอาด”
(บันทึกโดยมุสลิมและอัดติรมิซีย์)

   ความสะอาดในฮะดิษหมายถึงความสะอาดตามศาสนบัญญัติ ผู้ละหมาดจะต้องเป็นผู้สะอาดปราศจากฮะดัษเล็กและใหญ่

 2.ห้ามทำพิธีฏอว้าฟทั้งฟัรฎูและสุหนัต  ( คือ การเดินเวียนรอบอาคารบัยตุลลอฮ์ )

اَلطَّوَافُ بِالْبَيْتِ صَلاَة ٌإِلاَّ أَنَّ اللهَ قَدْ أَبَاحَ فِيْهِ الْكَلاَمَ

“การฏอว้าฟ  (เดินเวียนรอบ ) อาคารบัยตุลลอฮ์นั้น ถือเป็นการละหมาดหากแต่อัลลอฮ์ทรงอนุญาตให้พูดจา ในขณะฏอว้าฟได้”
(บันทึกโดยอัตติรมิซีย์)    

และอาคารบัยตุลลอฮ์นั้นอยู่ในมัสยิดอัลหะรอม  ผู้มีญะนาบะฮ์จึงไม่สามารถเข้าไปในมัสยิดได้

 3.ห้ามเข้าไปหยุดพักในมัสยิด  (โดยปราศจากความจำเป็น)


พระองค์อัลลอฮ์ทรงมีรับสั่งว่า

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آَمَنُوا لَا تَقْرَبُوا الصَّلَاةَ وَأَنْتُمْ سُكَارَى حَتَّى تَعْلَمُوا مَا تَقُولُونَ وَلَا جُنُبًا إِلَّا عَابِرِي سَبِيلٍ حَتَّى تَغْتَسِلُوا

“โอ้ผู้มีศรัทธาทั้งหลาย พวกท่านจงอย่าเข้าใกล้การละหมาดขณะที่พวกท่านมีอาการเมา จนกว่าพวกท่านจะรับรู้ถึงสิ่งที่พวกท่าน พูดออกมา และจงอย่าเข้าใกล้การละหมาดขณะที่พวกท่านเป็นผู้มีญะนาบะฮฺ (หมายถึงมัสยิดสถานที่ละหมาด) ยกเว้นพวกท่านเป็น ผู้ที่ต้องผ่านทางไปเท่านั้น จนกว่าพวกเจ้าจะอาบน้ำ...”
(อันนิซาอฺ :43)


وَلاَ أُحِلُّ الْمَسْجِدَ لِحَائِضٍ وَ لاَ جُنُبٍ

“ข้าพเจ้าไม่อนุญาตให้สตรีมีเฮด  (รอบเดือน) และผู้มีญะนาบะฮ์เข้ามัสยิดโดยเด็ดขาด”
(บันทึกโดยอาบูดาวู๊ด)


4.ห้ามจับและสัมผัสอัลกุรอาน   (โดยปราศจากความจำเป็น)

لاَ يَمَسُّ الْقُرْآنَ إِلاَّ طَاهِرٌ

“เฉพาะผู้ที่สะอาด (สะอาดปราศจากฮะดัษเล็กและใหญ่) เท่านั้นที่จะสัมผัสอัลกุรอานได้”
(บันทึกโดยอัดฏ็อบรอนีย์ อัดดารุกุฏนีย์ อัลฮาเก็ม)

ท่านคอลีฟะฮ์อาลีกล่าวว่า
 “และไม่เคยมีกรณีใดที่จะยับยั้งท่านรอซูลไม่ให้อ่านอัลกุรอานได้  นอกจากกรณีที่ท่านมีญะนาบะฮ์เท่านั้น” 

และสาวกของรอซูลบางท่านเล่าว่า
“ท่านรอซูลจะสอน อัลกุรอานพวกเราเสมอ ตลอดเวลาที่ท่านไม่มีญะนาบะฮ์” (บันทึกโดยอัดติรมิซีย์)

อนึ่ง   อนุญาตให้ผู้มีญะนาบะฮ์จับหรือสัมผัสอัลกุรอานได้เมื่อมีเหตุผลความจำเป็น  พบกุรอานตกหล่นอยู่ในที่สกปรกหรือเกรงว่าจะถูกทำลาย หรือเผาใหม้   และอนุญาตอ่านกุรอานได้เฉพาะโองการที่เป็นบทรำลึกหรือดุอาอ์ และเมื่อมีความจำเป็นเท่านั้น เช่น เพื่อการสอบ

ต่อไปนี้จากหนังสือฟะตาวาอัดดะอฺวะฮ ของเช็ค อิบนุบัซ หน้า 14 
الاجابة: 
يحرم على الحائض مس المصحف من غير حائل لقوله تعالى : ( لا يمسه إلا المطهرون ) ولما في الكتاب الذي كتبه رسول الله صلى الله عليه وسلم لعمرو بن حزم *" لا يمس المصحف إلا طاهر "* رواه النسائي وغيره وهو يشبه المتواتر لتلقي الناس له بالقبول ، قال شيخ الإسلام ابن تيمية رحمه الله : مذهب الأئمة الأربعة أن لا يمس المصحف إلا طاهر ، وأما قراءة الحائض للقرآن من غير مس فهي محل خلاف بين أهل العلم ، والأحوط أنها لا تقرأ القرآن إلا عند الضرورة كما إذا خشيت نسيانه ، والله أعلم (1 
ผู้หญิงสัมผัสคัมภีร์อัลกุรอ่านในขณะที่นางมีประจำเดือน มีข้อชี้ขาด(หุกุม)ว่าอย่างไร 
ตอบ 
ห้ามไม่ให้หญิงที่มีประจำเดือน สัมผัสกับอัลกุรอ่าน โดยไม่มีสิ่งกั้น เพราะคำตรัสของอัลลอฮผู้ทรงสูงส่งที่ว่า ( ไม่มีผู้ใดสัมผัสมันนอกจากบรรดาผู้ที่สะอาดเท่านั้น)(คำว่า “บรรดาผู้ที่สะอาด” ในที่นี้ หมายถึง มลาอิกะฮ ดังคำอธิบายข้างล่าง
ونقل ابن المنذر في "الأوسط" (2/103) أن معنى{ الْمُطَهَّرُونَ } : الملائكة، عن أنس وابن جبير ومجاهد والضحاك وأبي العالية. 
อิบนุอัลมันซีร ได้รายงานใน หนังสือ อัลเอาสัฏ (2/103) ว่า ความหมายของคำว่า “อัลมุเฏาะฮะรูน” คือ บรรดามลาอิกะฮ ซึ่งรายงานจาก อะนัส,อิบนุญุบัยร,มุญาฮิด,อัฎเฎาะหาก และอบีอาลียะฮ .) และ เพราะในหนังสือที่รซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เขียนส่งไปให้อัมริน บุตร หัซมิน มีใจความว่า “ เขาจะไม่สัมผัสกับมุศหัฟ(เล่มอัลกุรอ่าน) นอกจาก ผู้ที่สะอาดเท่านั้น (หะดิษบทนี้เฎาะอีฟ
อัลหาฟีซอิบนุหะญัร (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า ‍‏‍ 
= وفي إسناده سويد أبو حاتم، وهو ضعيفٌ، وذكر الطبراني في الأوسط أنه تفرد به 
และในสายรายงานของมัน มีผู้รายงานชื่อ สุวัยดฺ อบูหะติม และเขาเป็นผู้ที่หลักฐานอ่อน(เฎาะอีฟ) และอัฏฏอ็บรอนีย์ ได้ระไว้ในอัลเอาสัฏว่า เขารายงานเพียงผู้เดียว - ดู อัตตัลคีศ อัลหะบีร เล่ม 1 หน้า 131 ) 

- รายงานโดย อันนะสาอีย์ และอื่นจากเขา โดยที่มันคล้ายคลึงกับหะดิษมุตะวาตีร (หะดิษมุตะวาตีร หมายถึงหะดิษที่มีผู้รายงานจำนวนมาก ซึ่งโดยปกติแล้วย่อมเป็นไปไม่ได้ว่าพวกเขารวมหัวกันกล่าวเท็จ) เพราะบรรดาผู้คน(นักวิชาการ)ยอมรับมัน ,ชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะฮ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวว่า : ทัศนะของอิหม่ามทั้งสี่ คือ จะไม่สัมผัสกับอัลกุรอ่านนอกจากผู้ที่สะอาดเท่านั้น และสำหรับ การที่ผู้มีประจำเดือนอ่านอัลกุรอ่าน โดยไม่สัมผัสนั้น เป็นประเด็นที่มีความเห็นขัดแย้งกันระหว่างนักวิชาการ และเพื่อความรอบคอบที่สุด แท้จริง นางจะไม่อ่านอัลกุรอ่าน นอกจาก เมื่อมีความจำเป็น เช่น นางเกรงว่าจะลืมมัน วัลลอฮุอะอฺลัม 

والله أعلم بالصواب

✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น