อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556

มุอ์ตะซิละฮ์สำนักคิดนิยมเหนือหลักฐาน




ที่มาและความหมาย

                   กลุ่มมุอ์ตะซิละฮ์ คือกลุ่มที่มีความเชื่อว่า มนุษย์มีความเป็นอิสระแห่งเจตนารมณ์ หรือยึดหลักเหตุผลเป็นใหญ่ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าปรัชญาวิทยนิยม และพยายามที่จะสร้างความสอดคล้องกันระหว่างเหตุผลกับการเผยความจริงโดยพระเจ้า พยายามทำให้สิ่งที่ปรารถนาเป็นที่ปฏิบัติ และกีดกันสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา ความเป็นหนึ่งเดียวและความยุติธรรมเป็นหลักพื้นฐานของความเชื่อของมุอ์ตะซิละฮฺ พวกเขาจึงเรียกตัวเองว่า “พรรคแห่งเอกภาพและความยุติธรรมของพระเจ้า”  โดยพวกเขามีความเชื่อว่า ความยุติธรรมของพระเจ้าทำให้เป็นสิ่งจำเป็นว่ามนุษย์จะรับผิดชอบในการกระทำของตนเอง เขามีเสรีภาพและรับผิดชอบต่อการกระทำของเขา มนุษย์จึงเป็นผู้สร้างการกระทำตามใจชอบของเขาเอง อัลลอฮฺไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการสร้างมันขึ้น การที่มนุษย์จะยอมรับอิสลามและเชื่อฟังพระองค์อัลลอฮฺ หรือกลายเป็นผู้ไร้ศรัทธาและทำบาปนั้นอยู่ในอำนาจของเองทั้งสิ้น และอีกด้านหนึ่งอัลลอฮฺต้องการให้สิ่งถูกสร้างของพระองค์ทุกคนยอมรับอิสลามและเชื่อฟังพระองค์ พระองค์จึงสั่งเช่นนั้น และทรงห้ามมนุษย์จากการทำบาป เมื่อมนุษย์เป็นผู้สร้างการกระทำของเขาเอง จึงจำเป็นที่อัลลอฮฺจะต้องทรงให้รางวัลสำหรับการกระทำดีและกระทำชั่วของเขา อัลลอฮฺทรงปลอดภัยจากการทำผิด เพราะถ้าพระองค์สร้างสิ่งที่ผิดขึ้นมา พระองค์ก็จะผิด และถ้าพระองค์สร้างสิ่งที่ยุติธรรม พระองค์ก็จะทรงยุติธรรม

                     กลุ่มมุอ์ตะซิละฮฺตัดสินกันเป็นเอกฉันท์ว่า คนฉลาดสามารถจะทำได้แต่สิ่งดีงามเท่านั้น และความปรีชาญาณของพระองค์อัลลอฮฺมักจะคอยดูสิ่งที่ดีสำหรับข้าของพระองค์เท่านั้น ดังนั้นอัลลอฮฺจึงไม่สามารถโหดร้ายต่อพวกเขาได้ พระองค์ไม่อาจขอให้ข้าของพระองค์ทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ นอกจากนั้นเหตุผลยังชี้ให้เห็นว่าอัลลอฮฺไม่ได้วางภาระไว้บนผู้ใดมากกว่าที่เขาจะทนได้

ผู้ก่อตั้ง

 ท่านอิมามฮะซัน อัลบัสรี (Hasan al-Basri) ผู้ตั้งหลักแหล่งถาวรอยู่ในเมืองบัศเราะฮฺ เป็นนักวิชาการที่มีชื่อเสียงและจิตใจเสรีที่สุดคนหนึ่งในสมัยนั้น มีความรู้ด้านเหตุผลที่คนทั่วไปเข้าใจได้หรือเหตุผลที่มีลักษณะลึกลับที่คนส่วนน้อยเท่านนั้นที่จะเข้าใจได้ในคำสอนอิสลาม ท่านได้ร่ำเรียนหะดิษและวิชาอื่นๆมาจากผู้สืบเชื่อของท่านนบีมุหัมมัด ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลม มีแนวโน้มไปทางเชื่อในการใช้เหตุผล และอิสระภาพบางส่วนของมนุษย์และเป็นผู้ไกล่เกลี่ยสำนักคิดต่างๆของอิสลามในสมัยนั้นให้ปรองดองกัน ท่านมักจะเปิดสอนวิชาต่างๆ เกี่ยวกับอิสลามให้แก่ลูกศิษย์ของท่านในมัสยิดใหญ่แห่งเมืองบัศเราะฮฺ ศิษย์คนสำคัญของท่านมีชื่อว่า อะบู หุซัยฟะฮ์ วาซิล บินอะฏออ์ อัล-ฆ็อชซาล(ฮ.ศ.80-131) และหิชาม ซึ่งเป็นที่มีพลังที่ยิ่งใหญ่ มีความรู้ดีในเรื่องหะดิษและในวิชาต่างๆ เคยศึกษามาจากห้องบรรยายที่นครมะดีนะฮ์ ท่านวะซิล อิบนุ อะฏออ์ ได้มีความคิดบางเรื่องขัดแย้งกับท่านฮะซัน อัลบัสรีครูของท่าน จึงถอนตัวออกจากกลุ่ม และไปตั้งสำนักคิดของท่านเองซึ่งมีชื่อว่า มุอ์ตะซิละฮ์ หรืออะฮ์ลุล อิอ์ติซาล(ผู้ไม่เห็นพ้องด้วย หรือผู้คัดค้าน) ท่านมีทัศนะที่ขัดแย้งกับสำนักที่นครมะดีนะฮ์ ท่านเดินตามแนวปรัญญาของพวกฟาฏิมียะฮฺ (กลุ่มหนึ่งจากชีอะฮฺ) และรับหลักการที่คนเหล่านั้นได้วางไว้ และความคิดที่คนเหล่านั้นแสดงออกอยู่บ่อยๆ และได้จัดรูปคำสอนไว้เป็นรากฐานของความแตกต่างระหว่างสำนักคิดของท่านกับสำนักฝ่ายที่เชื่อว่าในการกำหนดสภาวะไว้เป็นหนังสือ

อันแท้จริง ผู้ให้กำเนิดสำนักคิดมุอ์ตะซิละฮฺ ในฐานะที่เป็นกระบวนการทางศาสนากลับไม่ใช่คนในกลุ่มมุอ์ตะซิละฮ์ แต่เขาคือ ญะฮฺม์ อิบนุ-ศ็อฟวาน (เสียชีวิต ฮ.ศ.175 หรือ ฮ.ศ.167) ผูถือหลักว่าอัลลอฮิทรงกำหนดสภาพของมนุษย์ไว้ล่วงหน้า วะซิล อิบนุ อะฏออ์ ได้ปฏิเสธหลักการนี้ของญะฮฺม์ แต่เห็นด้วยในเรื่องการปฏิเสธที่จะกำหนดลักษณะของอัลลอฮฺ  จึงนับได้ว่า ญะฮฺม์เป็นผู้ให้กำเนิดแนวความคิดมูลฐานของปรัชญามุอ์ตะซิละฮ์ 2 ประการ คือ

1.การยืนยันถึงความเป้นอิสระแห่งเจตนารมณ์อิสระของมนุษย์

2.การปฏิเสธความคิดที่ว่าคุณลักษณะของอัลลอฮฺอยู่ต่างหากแยกจากเนื้อแท้หรือแก่นแท้ของพระองค์

อิทธิพลของปรัชญามุอฺตะซิละฮฺ

สำนักคิดมุอฺตะวิละฮฺเป็นสำนักคิดที่มีอิทธิพลต่อบรรดาปัญญาชนอยู่หลายร้อยปี เมื่อได้รับการสนับสนุนจากผู้ปกครองอาณาจักรในสมัยนั้น ก็มีอิทธิพลเพิ่มขึ้นแก่นักคิดชาวอาหรับอย่างไม่มีมาก่อน นักวิชาการคนสำคัญๆ นักคณิตศาสตร์ นักฟิสิดส์ต่างก็สังกัดในสำนักมุอ์ตะซิละฮฺ เช่น ท่านซะมัคชะรี , อัล-ฮาเซ็น , อะบุล วะฟา และท่านอื่นๆ

ในตอนปลายสมัยอุมัยยะฮฺ สำนักคิดมุอ์ตะวิละฮ์มีหลักฐานมั่นคงขึ้น มีผู้สนับสนุนเป็นขุนนางในราชสำนัก รวมทั้งเจ้าชายยาซีด โอรสของเฆาะลีฟะฮ์ ชื่อ อัล-วาลีด ด้วย เมื่ออัล-วาลีด ประพฤติตนขี้เหล้าเมาหยำเป เจ้าชายยาซีดก็แข็งข้อต่อต้านบิดาโดยถือหลักการของมุอ์ตะซิละฮ์ก็เจริญรุ้งเรืองอย่างยิ่ง เพราะอัมร์ บิน อุบัยด์ มีส่วนอยู่ในการกบฏของยาซีดด้วย

ใน ฮ.ศ.171 ราชวงศ์อับบาสิยะฮ์เข้าแทนที่ราชวงศ์อุมัยยะฮ์จนถึง ฮ.ศ.679 ในระหว่างร้อยปีแรกในการปกครองของราชวงศ์นี้อาณาจักรอิสลามขยายต่อไป  ใน ฮ.ศ. 183 อัล-มันซูร เฆาะลีฟะฮฺที่ 2 ของราชศ์นี้ได้สร้างนครบัฆดาดขึ้นเป็นเมืองหลวงใหม่ อีกไม่นานต่อมาบัฆดาดก็เจริญรุ่งเรืองขึ้นในทางวัตถุยิ่งกว่ากรุงดามัสกัส และในทางวิชาการยิ่งกว่ากรุงบัศเราะฮ์และกูฟะฮ์ มีแต่กรุงคอนสแตนติโนเปิลเท่านั้นที่สามารถเทียบกันได้ มีการต่อต้านขนบธรรมเนียมประเพณีอาหรับที่เคยมีในสำนัก เพราะราชวงศ์นี้โปรดปรานชาวเปอร์เซีย เฆาะลีฟะฮ์อัล-มันซูร นั้นมีทัศนะที่เสรีมากจึงสนับสนุนเสรีภาพแห่งความคิดและความเชื่อในเรื่องเจตนรมณ์อิสระ เป้นอย่างมาก ทั้งๆที่ตนเองไม่ได้สังกัดอยู่ในสำนักคิดใด ทรงเป้นผู้ปกครองมุสลิมคนแรกที่สนับสนุนการศึกษาเรื่องต่างๆ จากตำราของต่างประเทศ ตัวพระองค์ทรงแปลงานด้านวิทยาศาสตร์และปรัชญามาเป็นภาษาอาหรับ การสนับสนุนเช่นนี้ ทำให้จิตใจแบบอนุรักษ์นิยมในหมู่นักการศาสนาที่ยึดแบบดังเดิม อ่อนลง และหันไปศึกษาปรัชญาของสำนักคิดมุอืตะซิละฮ์ สำนักคิดนี้จึงรุ่งเรืองต่อไป ถึงแม้เฆาะลีฟะฮ์ฮารูน อัร-รอซีด จะต่อต้านก็ตาม แต่ก็ยังได้รับการสนับสนุนอย่างเข็มแข็งจากนักปราชญ์ 2 ท่าน คือ อะบุลหุดัยล์ กับอิบรอฮีม บิน-ซัยยาร นัซซาม  สำหรับท่านอะบุลหุดัยล์ กระจายความคิดของมุอ์ตะซิละฮ์ไปในหมู่นักคิดด้วยความรู้อันกวางขวางของเขา ส่วนอิบรอฮีม บิน-ซัยยาร นัซซามเป็นศิษย์ของอะบุลหุดัยล์ก็ช่วยงานของผู้เป็นครูสมบูรณ์ขึ้นซึ่งในสมัยของอัล-มะอ์มูน ปรัชญาของสำนักคิดมุอ์ตะซิละฮ์ ก็แพร่หลายไปทั่วอาณาจักรอิสลิม เฆาะลีฟะฮ์ผู้นี้รับเอาหลักคำสอนของลัทธิมุอ์ตะวิละฮ์ และพยายามบังคับให้ผู้อื่นรับแนวความคิดดังกล่าวด้วย 
หลังจากสมัยมะอ์มูน ก้มีเฆาะลีฟะฮ์อีก 2 ท่าน ที่อุปถัมภ์สำนักคิดมุอ์ตะวิซิละฮ์ คืออัล-มุอ์ตะซิม และอัลวาษิก อะหฺมัด บิน ดาวูด ซึ่งเป้นนักปราชญ์ในสำนักมุตะซิละฮ์ และเป็นหัวหน้าผู้พิพากษา อาณาจักมุสลิมในราชสมัยเฆาะลีฟะฮ์ทั้งสองนี้ ได้เผยแพร่หลักการของมุอ์ตะซิละฮ์ไปทั่วทุกแห่ง สำนักคิดจึงเจริญรุ่งเรื่องมาก ได้มีการรวบรวมอรรถาธิบายอัล-กุรอาน โดยใช้หลักเหตุผลของมุอ์ตะซิละฮ์ซึ่งจัดทำโดยนักปราชญ์ของสำนักมุอ์ตะวิละฮ์ ในระยะเวลาเหล่านี้ 

นักปรัชญาคนสำคัญในกลุ่มมะอ์ตะซิละฮ์

1.วาวิล อิบนุ อะฏอ
ท่านเกิดในนครมะดีนะฮ์ เมื่อ อ.ศ.80 เสียชีวิต ฮ.ศ.131 ในหนังสืออัลมิลัลวัลนิฮัล ที่มีชื่อเสียงของท่าน คำสอนสำคัญๆของวาซิล ประกอบด้วยเรื่อง
   A การปฏิเธคุณลักษณะของพระเจ้า
   B การที่มนุษย์มีเจตนารมณ์อิสระที่จะเลือกการกระทำความดี
   C ความเชื่อที่ว่า คนทำบาปหนักนั้นย่อมไม่ใช่ผู้ศรัทธาหรือผู้ไร้ศรัทธา แต่อยู่กลางๆ ระหว่างนั้น และความเชื่อที่ว่าคนที่ทำบาปหนักนั้นย่อมตกนรก
   D ความเชื่อจากฝ่ายตรงข้ามกันที่ต่อสู้กันในสงครามอูฐ และจากผู้ที่ลอบปรงชีวิตท่านอุษมานและพันธมิตรของท่าน

2.อบุล หุซัย อัลลาฟ 
ท่านเกิด ฮ.ศ. 131 สิ้นชีวิต ฮ.ศ. 226 ท่านไม่ยอมรับว่าคุณลักษณะของอัลลอฮ์นั้นแยกจากแก่นแท้ของพระองค์ในความหมายใด เพราะท่านเกรงว่าคำสอนเรื่องเอกภาพจะเป็นโมฆะไป

3.อัน-นัซซาม
มีชวิตอยู่ในช่วงสมัยเฆาะลีฟะฮ์ อัล-มะมูน และอัล-มุอ์ตะซิม สิ้นชีวิตเมื่อ ฮ.ศ.231 ท่านศึกษาปรัชญากรีกเป็นอย่างดี และนำมาใช้ประโยชน์ในงานของท่าน ความคิดสำคัญๆของท่าน ดังนี้
-ปฏิเสธอำนาจของอัลลอฮ์เหนือความชั่ว
-ปฏิเสธเจตนารมณ์ของอัลลอฮ์ เจตนารมณ์ของพระองค์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับการกระทำของพระองค์
-การสามารถจะแบ่งอนุภาคทุกอันออกอย่างไม่มีที่สิ้นสุดได้
-สิ่งที่แท้จริงของมนุษย์ตือดวงวิญญาณ ร่างกายเป็นเพียงเครื่องมือของมัน

และท่านอื่นๆ 

หลักความเชื่อของกลุ่มมุอ์ตะซิละฮ์

หลักความเชื่่อเรื่องเอกภาพของอัลลอฮ์ พวกมุอ์ตะซิละฮ์มีความเชื่อดังนี้

-ปฏิเสธสภาพที่น่าปิติ พวกเขาถือว่าจะมีภาพไปไม่ได้หากไม่มีสถานที่และทิศทาง เมื่ออัลลออ์ไม่ทรงมีสถานที่และทิศทาง ดังนั้นจึงไม่สามารถมีภาพของพระงอค์ทั้งดลกนี้และโลกหน้า


-ความเชื่อที่ว่าอัล-กุรอาน คือพระวัจนะที่ทรงสร้างไว้ของอัลลออ์ อัล-กุรอานเป็นงานดั่งเดิมของอัลลอฮ์ มีมาพร้อมกับความเป็นรสูลแห่งอิสลาม

-ความโปรดปละพิโรธของอัลลอฮฺ ไม่ควรถือว่าเป็นคุณลักษณะของพระองค์ เพราะความโปรดปรานและเกรี้ยวกราด ก็ตือภาวะนั้น ย่อมไม่แน่นอนในขระที่แก่นแท้ของพระองค์ย่อมไม่เปลี่ยนรูปไป

สรุปเรื่องอื่นๆในความเชื่อของพวกมุอ์ตะซิละฮ์

-ปฏิเสธการให้รางวัลหรือลงโทษที่กระทำแก่ผู้ตายในหลุมศพ และการสอบถามโดยมลาอิกัต มุนกัร และนากีร

-ปฏิเสธการแสดงถึงวันปรโลก ยะฮ์ญูจและมะอ์ญูจ และการปรากฏตัวของอัลดัจญาล

-ปฏิเสธมลาอิกะฮ์ที่คอยบันทึก การกระทำ เพราะอัลลออ์ทรงทราบดีอยู่แล้วถึงการกระทำทั้งหลายของข้าของพระองค์

-พวกมุอ์ตะซิละฮ์บางท่านเชื่อว่าเป็นไปไม่ได้ที่ของตาชั่งมันมีอยู่จริง และที่กล่าวไว้ในอัลกุรอานเกี่ยวกับน้ำหนักและตาชั่ง ก็แค่หมายความว่าในวันนั้นจะมีความยุติธรรมอย่างเต็มที่ พวกเขาเชื่อว่าการกระทำไม่อาจมีน้ำหนัก สสารเท่านั้นที่มีน้ำหนัก

-ปฏิเสธความมีอยู่ของบ่อน้ำ อัดฮาอุด และสพานอัสสิรอ และไม่เชื่อว่าตอนนี้มีสวรรค์และนรกอยู่ แต่จะมีมาในวันพิพากษา

-ปฏิเสธปาฏิหาริย์(อัลกะรอมาต) ของนักบุญวะลี เพราะถ้ายอมรับก็อาจจะสับสนปนเปกับปาฏิหาริย์ของท่านรสูล

-พวกเขาไม่เชื่อในคำมั่นสัญญา พวกเขาเชื่อมั่นว่าอัลลอฮ์ไม่ทรงเจรจากับผู้ใด ไม่ว่าท่านรสูล มะลาอีกะฮ์ หรือผู้รองรับบัลลังก์ของอัลลอฮ์ หรือแม้แต่จะชำเลืองพระเนตรดู

-พวกเขาเชื่อว่าการกระทำพร้อมทั้งการพิสูจน์ว่าเป็นจริงนั้น รวมอยู่ในความศรัทธา และพวกเขาเชื่อว่าคนที่ทำบาปใหญ่หลวงย่อมอยู่ในนรกเสมอ

-ปฏิเสธเรื่องอัล-มิอ์รอจญ์ของท่านรสูล เพราะข้อพิสูจน์ของมันขึ้นอยู่กับหลักฐานของหะดิษแต่ละบท แต่ก็ไม่ได้ปฏิเสธการที่ท่านรสูลเดินทางไปถึงกรุงเยรูซาเล็ม

-พวกเขาเชื่อว่าคนที่ละหมาดเท่านั้น จึงจะสามารถเก็บเกี่ยวผลรางวัลของการละหมาด ผลประโยชน์ของมันก็ไม่ไปถึงคนอื่น

-ความเชื่อว่าคำสั่งของอัลลอฮ์ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ การละหมาดจึงไม่ได้มีไว้เพื่อความมุ่งหมายอย่างใดเลย ไม่มีใครได้อะไรจากมัน เพราะว่าผลของการละหมาดสอดคล้องกับชะตากรรมก็ไม่จำเป็นต้องขอ และถ้าไม่สอดคล้องกับชะตากรรมก็เป็นไปไม่ได้ที่จะได้มันมา

-พวกเขามักกำหนดไว้ว่ามะลาอีกะฮ์ที่เป็นผู้สาส์นของอัลลออ์มาให้ท่านรสูลนั้น มีความล้ำเลิศกว่ามนุษย์ผู้นำสาส์นของอัลลอฮฺ มาให้มนุษย์ คือบรรดานบีและรสูลต่างๆ

-พวกเขามีเหตุผลว่าจำเป็นต้องมีการแต่งตั้งอิมาม เหนืออุมมะฮ์

-ถือว่ารูปปั้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการได้รู้จักศรัทธา

-คัมภีร์อัล-กุรอานไม่ใช่สิ่งที่เป็นนิรันดร และเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้น

-นัยน์ตามนุษย์ไม่อาจแลเห็นอัลลอฮ์ได้

-ถือว่าละหมาดตะรอเวียะฮ์เป็นสิ่งที่ไม่มีสิทธิ์

-ภาพจริงๆของญิณเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ทางกายภาพ

-การละหมาดตอนหลังเมื่อพลาดละหมาดจริงนั้นเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น

-ผู้มีอำนาจตีความกฎหมายอิสลาม (มุจญ์ตะฮิด) ไม่อาจมีความคิดเห็นที่ผิดได้

-ชาวคริสเตียน ยิว และมาเยียนนั้นพอตายแล้วก็จะกลายเป็นฝุ่นละออง พวกเขาจะไม่ได้ขึ้นสวรรค์หรือนรก เด็กๆและสัตว์ชั้นต่ำก็เช่นเดียวกัน ผู้ไร้ศรัทธาซึ่งไม่มีความแจ่มแจ้งของพระผู้สร้างก็ไม่จำเป็นต้องรู้จักพระองค์เพราะเขาเป็นเหมือนสัตว์ และช่วยตัวเองไม่ได้

-พวกเขาเชื่อว่าคนบาปจะไม่อยู่ในนรกตลอดกาล แต่จะกลายเป็นไฟ อัลลอฮ์จะไม่ส่งผู้ใดไปนรก แต่ไฟนรกจะดึงดูดคนบาปไปสู่นรกเองตามธรรมชาติ

-พวกเขาเชื่อว่าจักรวาลประกอบด้วยของ 2 ชนิด คือ สสาร และลักษณะ สสารมีความเป็นอยู่ที่แยกจากกัน เช่น น้ำ ไฟ ดิน ฯลฯ ส่วนลักษณะนั้นไม่อาจอยู่แยกไปต่างหากได้  ต้องมีอยู่ในสสารเท่านั้น เช่น กลิ่น รส สี ฯลฯ  ลักษณะจะไม่คงอยู่เป็นอย่างเดียว ต้องเปลี่ยนแปลงและสูญสลายไปเสมอ

-พวกมุอ์ตะซิละฮฺ ถือว่าอัลลอฮ์ไม่มีคุณลักษณะนอกจากตัวตนของพระองค์ ตัวตนของพระองค์มีความเพียงพอในตัวเองและไม่ต้องมีลักษณะต่างหากใดๆอีก ถ้าอัลลอฮ์จะมีลักษณะต่างหากไปจากตัวตนที่แท้จริงของพระองค์แล้ว คุณลักษณะเหล่านั้นย่อมจะไม่อยู่ร่วมในความเป็นนิรันดร์กับพระองค์

-พวกเขาถือกันว่าอัลลอฮ์ไม่อาจทำอะไรอย่างไร้เหตุผลหรือไม่พึงปรารถนาได้

-การสร้างก็คือการกระทำอันเดียวของอัลลอฮ์ ซึ่งจะทำให้เกิดสิ่งนั้นขึ้นในบัลดลและถูกเก็บไว้ในภาวะแฝง นับตั้งแต่ภาวะแฝงดั้งเดิมที่ทุกอย่างที่มีอยู่ เช่น สินแร่ พืชพันธุ์ สัตว์และมนุษย์ได้วิวัฒนาการมาในกระบวนการแห่งกาลเวลา ทุกสิ่งเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน แต่ถูกเก็บซ่อนไว้ และเมื่อมาถึง สิ่งต่างๆเหล่านั้นก็จะถูกนำออกมาจากภาวะแฝงมาสู่ภาวะสำแดงออก

-พวกเขาเชื่อว่ามุสลิมที่เต็มไปด้วยบาปย่อมไม่ใช่มุสลิม หรือคนนอกศาสนา(กาฟิร) เขาอยู่ในตำแหน่งกลางๆ ไม่อาจเรียกเขาว่าผู้ศรัทธาได้ เพราะคำนี้เป็นคำยกย่อง ซึ่งไม่เหมาะสมแก่ผู้ทำบาป แต่ในฐานะที่เป็นผู้ศรัทธา โทษทัณฑ์ของเขาจึงเบาบางลง

สรุป
สำนักมุอ์ตะซิละฮ์ เป็นสำนักที่ใช้เหตุผลอธิบายศาสนา ถึงแม้ว่าหลักฐานจากอัลกุรอานหรือหะดิษจะค้านกับเหตุผลของพวกเขาก็ตาม พวกเขาถือว่าปรัชญาดีกว่าวะฮีย์ ปรัชญาให้ความจริงแท้อันสูงกว่า แต่วะฮีย์เป็นแต่เพียงก้าวแรกของสัจจะธรรมเท่านั้น และพวกเขาบางคนยังนับถือปรัชญากรีก และถือว่าเป็นส่วนประกอบที่เชื่อได้ของคำสอนในอัลกุรอาน ถือว่าอริสโตเติลกับอัลกุรอานจะต้องคล้องจองกัน จึงถือว่ากลุ่มมุตะซิละฮ์เป็นกลุ่มนอกรีต ขัดแย้งกับกิตาบุลลอฮ์และสุนนะฮ์ ไม่ใช่แนวทางของอลุลสุนนะฮ์ วัลญามาอะฮ์แต่อย่างใด



والله أعلم بالصواب

✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น