รายงานจากท่านอบูบักร อิบนุ มุหัมมัด อิบนุอัมริบนิหัซมิน จากบิดาของเขา จากปู่ ของเขาเขา ร่อฎียัลลอฮุอันฮุม ว่า
“แท้จริงท่านสูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ได้เขียนสาส์นส่งไปยังชาวเยเมน ซึ่งปรากฏข้อความตอนหนึ่งว่า
“จะไม่มีการกระทบอัลกุรอาน นอกจากผู้สะอาดเท่านั้น” (บันทึกหะดิษโดยอันนะซาอีย์ ,อัดดารุกฏนี และอัลอัษร็อม)อิบนุอับดิรบัร ได้กล่าวเกี่ยวกับหะดิษนี้ว่า มันเป็นหะดิษที่คล้ายกับหะดิษตะวาติร เพราะผู้คนส่วนใหญ่ยอมรับ
รายงานจากอับดิลลาฮ์ อิบนิอุมัร ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านสูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ได้กล่าวว่า
“จะไม่มีการกระทบอัลกุรอาน นอกจากผู้สะอาด”หะดิษนี้อัลฮัยษะมี ได้ระบุไว้ในหนังสือ “มัจมะอุอัซวาอิด” โดยได้กล่าวว่า "บรรดาผู้รายงานหะดิษเชื่อถือได้"
ตามนัยของหะดิษนี้ ชี้ให้เห็นว่า ไม่อนุญาตให้จับต้องอัลกุรอาน นอกจากผู้ที่สะอาด
และเพราะการให้เกียรติยกย่องอัลกุรอานเป็นเรื่องที่จำเป็น และไม่ถือเป็นการให้เกียรติในการที่จะสัมผัสอัลกุรอานด้วยมือที่มีฮะดัษ(หะดัษเล็ก หรือไม่มีน้ำละหมาด)
บรรดานักนิติศาสตร์อิสลามได้มีความเห็นตรงกันว่า ผู้ที่ไม่มีน้ำละหมาดนั้นอนุญาตให้อ่านอัลกุรอาน หรือมองอัลกุรอานได้ โดยแตะต้องหรือสัมผัส และเช่นเดียวกันพวกเขาอนุญาตให้เขาสัมผัสอัลกุรอานได้เพื่อศึกษาเล่าเรียน เพราะว่าเด็กนั้นยังไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ถูกบังคับ แต่ที่ดีควรจะมีน้ำละหมาด
แต่ทว่า “ผู้สะอาด” นั้นเป็นคำที่มีความหมายรวม ใช้กับผู้ที่ปราศจากหะดัษใหญ ใช้กับผู้ที่สะอาดปราศจากหะดัษเล็ก ใช้กับคนมุมินผู้ศรัทธา ใช้กับผู้ที่ปราศจากนะญิสก็ได้
ส่วนอายะที่ว่า
لاَ يَمَسُّ الْقُرْآنَ إِلاَّ طَاهِرٌ
นั้นตามตัวอักษรแล้ว สรรพนาม “ฮู” นั้นกลับไปหา “กอตาบุนมักนูน” คือคัมภีร์ที่ถูกรักษา อันหมายถึง “เลาฮิลมะฮฺฟูซ” เพราะได้ถูกระบุอยู่ที่สุด ส่วนคำว่า “อัลมุเฏาะฮะรูน” นั้นหมายถึง “บรรดามะลาอีกะฮฺ” ทั้งนี้เป็นไปในทำนองเดียวกับอายะฮ์ที่ว่า
“(โองการเหล่านั้น) อยู่ในแผ่นจารึกอันทรงเกียรติ ที่ได้รับการเทิดทูน ได้รับความบริสุทธิ์ ด้วยมือของอาลักษณ์(มะลาอิกะฮ์) ผู้ทรงเกียรติทรงคุรธรรม”
อิบนุอับบาส อัชชะอฺบี อัฏเฏาะฮาก เซด อิบนุอาลี อัลมุอัยยิดลิลลาฮ์ ดาวูด อิบนุหัซมิน ฮัมมาด อิบนุอบีสุลัยมาน มีความเห็นว่า
“อนุญาตให้ผู้มีหะดัษเล็กกระทบอัลกุรอานได้ ส่วนการอ่านโดยไม่แตะต้องอัลลกุรอาน นั้นก็เป็นที่อนุญาต โดยมติเอกฉันท์ของบรรดานักวิชาการ"
ทัศนะของมัซอับมาลิกีย์ และอัชชาฟีอีย์ ได้ห้าม ผู้มีหะดัษเล็กสัมผัสอัลกุรอาน ถึงแม้จะมีสิ่งขวางกันก็ตาม
ผู้ตามมัซอับอัชชาฟีอีย์ กล่าวว่า ห้ามแบกหรือหิ้วอัลกุรอาน สัมผัสอกระดาษที่เขียนอัลกุรอานและคำอธิบายข้างๆ ปกติติดอยู่กับเล่ม อนุญาตพลิกอัลกุรอานด้วยไม้ชี้ อนุญาตให้แบกหรือหิ้วที่มีอัลกุรอานเขียนอยู่ เช่นผ้าที่คลุมอัลกะบะฮ์
แต่สำหรับทัศนะของมัซฮับฮะนาฟีย์ และฮัมบาลีย์ บอกว่า สัมผัสได้ถ้าถ้าสิ่งขวางกั้นที่สะอาด
ห้ามขายอัลกุรอานถึงแม้จะเป็นคนมุสลิมก็ตาม ห้ามเอาอัลกุรอานมาหนุนนอน
กรณีคนต่างศาสนิก(กาฟิร) มี 2 ทัศนะ คือ
1.ห้ามคนคนต่างศาสนิก ที่จะสัมผัสอัลกุรอานและครอบครองอัลกุรอาน และห้ามมสลิมห้ามเขาเอาไปครอบครอง
2.คนต่างศาสนิกสัมผัสหรือจับอัลกุรฺอานได้ อ่านศึกษาดูได้ เพราะอัลกุรฺอานประทานลงมาแก่มนุษยชาติอยู่แล้ว ฉะนั้นคนต่างศาสนิกต้องการศึกษาอัลกุรฺอานก็สามารถจับอัลกุรฺอานศึกษาได้ ซึ่งปัจจุบันก็มีการแปลออกมาหลายภาษา, ภาษาไหนที่พวกเขาถนัดก็สามารถนำมาอ่านศึกษาได้นั่นเอง, เพียงแต่แนะนำให้เขาทราบว่า เมื่อศึกษาเสร็จแล้วพยายามวางอัลกุรฺอานในสถานที่เหมาะสม ห้ามวางบนพื้น
เช็คอับดุลอะซีซ บิน บาซ กล่าว่า
"لا حرج أن يمس الكافر ترجمة معاني القرآن الكريم باللغة الإنجليزية أو غيرها من اللغات ؛ لأن الترجمة تفسير لمعاني القرآن ، فإذا مسها الكافر أو من ليس على طهارة فلا حرج في ذلك ؛ لأن الترجمة ليس لها حكم القرآن ، وإنما لها حكم التفسير ، وكتب التفسير لا حرج أن يمسها الكافر ، ومن ليس على طهارة ، وهكذا كتب الحديث والفقه واللغة العربية
อัลหัมดุลิลละฮ
การเฟรสัมผัสอัลกุรอ่านที่แปลความหมายเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่นจากนั้น ไม่เป็นไร เพราะแท้จริงการแปลความหมายนั้น คือ การอรรถาธิบายความหมายอัลกุรอ่าน เท่านั้น ดังนั้น เมื่อ กาเฟร หรือผู้ที่ไม่สะอาด(ไม่มีน้ำละหมาด) สัมผัสกับมัน ก็ไม่เป็นไร เพราะ การแปลความหมายนั้น สำหรับมันไม่ใช่ หุกุมของอัลกุรอ่าน แต่ความจริง สำหรับมันคือ หุกุมตัฟสีรอัลกุรอ่านเท่านั้น และบรรดาหนังสือตัฟสีร นั้น ย่อมไม่เป็นไร ต่อการที่กาเฟรและ ผู้ที่ไม่สะอาด สัมผัสมัน และในทำนองเดียวกันนี้ คือ บรรดาหนังสือหะดิษ ,ฟิกฮ และภาษาอาหรับ”
วัลลอฮุ วะลียุตเตาฟิก
มัจญละฮอัลบะหูษอัลอิสลามียะฮ ฉบับที่ 45 หน้า 115
والله أعلم بالصواب
✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น