อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556

สิ่งที่อุตริกรรมขึ้นมาใหม่เกี่ยวกับการเศาะละวาตท่านนบี



คำนำบท

ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่สมบูรณ์ในทุกแง่มุมของการดำเนินชีวิตใช่เพียงแต่ทฤษฎีเท่านั้นแต่อิสลามนั้น เป็น ศาสนาที่เน้นหนัก และส่งเสริมให้ทำการปฏิบัติโดยเฉพาะในเรื่องของการปฏิบัติศาสนกิจ และในการปฏิบัติศาสน กิจดังที่กล่าวมานั้น ศาสนาอิสลามก็เอาใจใส่และเข้มงวดเป็นอย่างยิ่ง เพราะการปฏิบัติศาสนกิจเป็นข้อหนึ่งใน หลักการอิสลาม เป็นข้อชี้วัดแก่บุคคลหนึ่งที่แสดงออกมาโดยกายภายนอกหลังจากที่บุคคลนั้น ๆ มีความศรัทธา แล้ว และบุคคลคนหนึ่งนั้นมีความศรัทธามากน้อยสักเพียงใดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับการปฏิบัตินั่นเอง

การปฏิบัติศาสนกิจที่อัลฺลอฮฺทรงตอบรับนั้นมีหลักการอยู่สองประการด้วยกันคือ

หนึ่งคือ- การตั้งเจตนาบริสุทธิ์ใจโดยมุ่งหวังในความเมตตาจากอัลฺลอฮฺเท่านั้น

อัลฺลอฮฺ(สุบหานะฮูวะตะอาลา)ทรงตรัสว่า-

وَمَا أُمِرُواْ إِلَا لِيَعْبُدُوا اللهَ مُخْلِصِينَ لَهُ الدِينَ حُنَفَاءَ وَيُقِيمُواْ الصَلَاةَ وَيُؤْتُوا الزَكَوةَ وَذَلِكَ دِينُ القَيِّمَةِ

“และพวกเขามิได้ถูกบัญชาให้กระทำอื่นใด นอกจากเป็นผู้ภักดีต่ออัลฺลอฮฺ เป็นผู้มีความบริสุทธิ์ใจ ต่อศาสนาของพระองค์ เป็นผู้ที่อยู่บนแนวทางอันเที่ยงตรง และปฏิบัติละหมาด และจ่ายซะกาตฺ และนั่น แหละคือ ศาสนาอันเที่ยงตรง ”
สูเราะ อัลบัยฺยินะฮฺ ,98 :  5

จากท่านอุมัร(เราะฎิยัลฺลอฮฺอันฮู)ว่า ท่านนบี (ศ๊อลฺลัลฺลอฮุอะลัยฮิวะสัลฺลัม)) กล่าวว่า-

إنما الأعمال بالنيات وإنما لكل امرئ ما نوي

“แท้จริงการกระทำทั้งหลายขึ้นอยู่กับการเจตนาเท่านั้น และแน่นอนทุกคนย่อมได้รับตามที่ได้เจตนาไว้ ”
อัลบุคอรีย์,เศาะหีห์ , หมวด อีมาน, บรรพ การงานทั้งหลายขึ้นอยู่กับการตั้งเจตนา,เลขที่ : 1. อิบนุ คุซัยมะฮฺ ,เศาะหีห์ อิบนุคุซัยมะฮฺ ,หมวด วุฎูอฺ บรรพ การอาบน้ำละหมาดและสิ่งที่ส่งเสริมในการอาบน้ำละหมาด, เลขที่ : 143

ท่านอิบนุ ศอลีหฺ อาลี บัสฺสามกล่าวว่า ถ้าหากบุคคลหนึ่งคนใดมีเจตนาที่ดีและปฏิบัติเพื่อหวังในความโปรดปราน จากอัลฺลอฮฺ แน่นอนการงานของเขาจะถูกตอบรับ (อิบนุ ศอลีหฺ อาลีบัสฺสาม, ตัยสิรุลอะลาม ชัรหุลอุมดะตุล อะหฺกาม ,อัลมุอัสฺสะสะฮฺ อัสฺสะอูดียะฮฺ,ไคโร,1960,เล่มที่1,หน้า : 10)

สองคือ- ต้องสอดคล้องกับแบบฉบับของท่านนบี (ศ๊อลฺลัลฺลอฮุอะลัยฮิวะสัลฺลัม) คือ การปฏิบัติตามอย่างเคร่ง ครัดในสิ่งที่ท่านนบี (ศ๊อลฺลัลฺลอฮุอะลัยฮิวะสัลฺลัม) ได้พูด ปฏิบัติ และยอมรับ โดยเฉพาะในเรื่องของการอิบาดะฮฺ เพราะพื้นฐานของการอิบาดะฮนั้นคือสิ่งที่ว่างเปล่า กล่าวคือไม่มีมาตั้งแต่เดิม นอกจากจะ ได้มาจากวะหฺยู (การวิวรณ์) เท่านั้น ฉะนั้นจึงไม่อนุญาตแก่ใครคนหนึ่งคนใดทำการปฏิบัติในสิ่งที่ไม่สอดคล้อง กับแบบฉบับของ ท่านนบี (ศ๊อลฺลัลฺลอฮุอะลัยฮิวะสัลฺลัม)โดยเด็ดขาด

อัลฺลอฮฺ(สุบหานะฮูวะตะอาลา)ทรงตรัสว่า-

وَماَ آتَاكُمُ الرَسُولُ فَخُذُوهُ وَمَا نَهَاكُمْ عَنهُ فَانْتَهُوا

“และอันใดที่เราะสูลนำมายังพวกเจ้าก็จงยึดเอาไว้และอันใดที่ท่านได้ห้ามพวกเจ้า พวกเจ้าก็จงละเว้น เสีย ”
สูเราะอัลฮัชร์, 59: 7

จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ(เราะฎิยัลฺลอฮฺอันฮา)ว่า ท่านนบี (ศ๊อลฺลัลฺลอฮุอะลัยฮิวะสัลฺลัม) กล่าวว่า-

من أحدث في أمرنا هذا ماليس منه فهو ردٌّ

“ผู้ใดที่อุตริสิ่งใหม่ขึ้นในเรื่องของเรานี้ อันเป็นสิ่งที่ไม่มีมูลฐานจากมัน สิ่งนั้นย่อมไม่เป็นที่ยอมรับ ”
อัลบุคอรีย์,เศาะหีห์ ,หมวด ศุลหุ,บรรพ อีซาอิศเฏาะละหุอะลาศุลหีเญาะรินฟัศฺศุลหุมัรดูดุน,เลขที่ : 2697 .มุสลิม,    เศาะหีห์ ,หมวด อักฎียฺยะฮฺ ,บรรพ นักฎิลอะหฺกามุลบาฏีละฮฺวะรอดฺดิลมุหละษาติลอุมูร,เลขที่ : 1718.

ความหมายของอัลกุรอานและหะดิษข้างต้นนั้นชี้ให้เราเห็นว่า การปฏิบัติในสิ่งที่สอดคล้องกับแบบฉบับของท่าน นบีนั้นเป็นหนึ่งในสองของหลักการที่จะเป็นสาเหตุทำ ให้การปฏิบัติศาสนกิจของเรานั้นถูกตอบรับ มิฉะนั้นก็จะ ถูกตีกลับอย่างแน่นอน

ดังกล่าวข้างต้นนั้นเป็นสองหลักการที่ขาดอันหนึ่งอันใดเป็นมิได้

ท่านอิบนุ เราะญับ กล่าวว่า บนพื้นฐานจากหลักการทั้งสองข้างต้นรวมกัน การงานของคนคนหนึ่งก็จะสมบูรณ์ (อิบนุเราะญับ, ญามีอุลอุลูมวัลหุกมุ ฟีชัรหุ คอมสีนะหะดีษ มิน ญะวามีอฺอัลกะลุม ,มุอัสฺสะสะฮฺ อัรฺริสาละฮฺ, เบรุต-เลบานอน,2002,หน้า : 72.)
ท่านอัลฟุฎีล บิน อิยาฎ กล่าวในการตีความและให้ความหมายของโองการอัลกุรอานที่ว่า-

ِيَبْلُوَكُمْ أَيُّكُمْ أَحْسَنُ عَمَلاَ

“เพื่อทดสอบพวกเจ้าว่า ผู้ใดบ้างในหมู่พวกเจ้าที่มีผลงานดียิ่ง ”
สูเราะอัลมุลกุ ,67:  2

คำว่า(ผลงานที่ดียิ่งก็คือ - บริสุทธิ์และถูกต้อง กล่าวคือ การปฏิบัติศาสนกิจที่ถือว่าถูกตอบรับนั้น จะต้องกระทำ ด้วยความบริสุทธิ์ใจและถูกต้องตามแบบฉบับของท่านนบีด้วย) (อัลบะเฆาะวีย์,แหล่งเดิม,เล่มที่4,หน้า : 340)

ข้างต้นนั้นคือ สองหลักการที่จะทำให้การปฏิบัติศาสนกิจของบุคคลคนหนึ่งนั้นถูกตอบรับ แต่ในขณะเดียวกันนั้น ก็มีสิ่งที่ตรงกันข้ามกับหลักการสองประการที่กล่าวมาข้างต้นคือ

หนึ่งคือ-การตั้งภาคีต่ออัลฺลอฮฺคือกระทำเพื่อหวังสิ่งตอบแทนจากผู้อื่นนอกอัลลอฮฺ

สองคือ- อุตริกรรมหรือบิดอะฮฺ

ซึ่งสองประการดังที่กล่าวมานั้นจะมาทำลายและบั่นทอนการปฏิบัติศาสนกิจของเรา และเพื่อเป็นข้อเตือนใจแก่ผู้ ที่สนใจว่าสิ่งดังกล่าวนั้น เป็นสิ่งที่อันตรายอย่างยิ่ง


ความหมายของอุตริกรรม

1 ความหมายทางด้านภาษา

คำว่า (بدع ) ประกอบด้วยคำสามคำ คือ(الباء )และ(الدال )และ(العين )ซึ่งความหมายในด้านภาษา นั้นมี 2 ความหมายด้วยกันคือ

หนึ่ง-คือ สิ่งที่ถูกสร้าง หรือ เนรมิตขึ้นมาใหม่โดยที่ไม่มีแบบอย่างให้เห็นมาก่อน (อะหฺมัด บิน ฟาริส ,แหล่งเดิม ,หน้า : 101) ตัวอย่างเช่น ชั้นฟ้าและแผ่นดินดังที่เราได้เห็นนั้นถือว่า เป็นสิ่งที่ถูกอุตริ หรือ ถูกเนรมิต (بدع ) ขึ้นมาใหม่ เพราะว่า ชั้นฟ้าและแผ่นดินนั้นไม่เคยมีแบบอย่างดังที่เราได้เห็นได้สัมผัสมาก่อน ดังโองการอัลกุรอาน ที่พระองค์ทรงแจ้งให้เรารู้คือ

อัลฺลอฮฺ(สุบหานะฮูวะตะอาลา)ทรงตรัสว่า-

بَدِيعُ السَمَاوَاتِ وَالأَرْضِ

“พระองค์เป็นผู้ประดิษฐ์ชั้นฟ้าและแผ่นดิน”

สูเราะฮฺ อัลบะเกาะเราะฮฺ ,2 : 117

สอง-คือ เหน็ดเหนื่อยและหมดเรี่ยวแรงเช่นเรากล่าวว่า

(أبدعت الإبل إذا تركت في الطريق )

(อูฐนั้นเริ่มหมดเรี่ยวแรง เมื่อมันหยุดพักระหว่างทาง)

เคาะลิล บิน อะหฺมัด,แหล่งเดิม,หน้า : 60

ดังกล่าวข้างต้นคือ ความหมายของคำว่า(بدع )ทางด้านภาษา

2 ความหมายทางด้านวิชาการ

ส่วนความหมายทางด้านวิชาการของบิอะฮฺนั้น ตัวบทของหะดิษใช้คำสองคำด้วยกันคือ

หนึ่งคือ-หะดิษใช้คำว่า (بدعة )

จากท่านอิรบาฎ บิน สารียฺยะฮฺ (เราะฎิยัลฺลอฮฺอันฮู)ว่า ท่านนบี (ศ๊อลฺลัลฺลอฮุอะลัยฮิวะสัลฺลัม) กล่าวว่า-

فإن كل محدثة بدعة وكل بدعة ضلالة

“ดังนั้นแท้จริง ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่คือ บิดอะฮฺ และทุกสิ่งที่เป็นบิดอะฮฺคือความหลงผิด ”

อิบนุ มาญะฮฺ, สุนัน, หมวดมุกอดฺดิมะฮฺ, บรรพ ออกห่างจากอุตริกรรมต่างๆ เลขที่ : 45

สองคือ-หะดิษใช้คำว่า (إحداث )

ท่านหญิงอาอิชะฮฺ(เราะฎิยัลฺลอฮฺอันฮา)ว่า ท่านนบี(ศ๊อลฺลัลฺลอฮุอะลัยฮิวะสัลฺลัม)กล่าวว่า-
من أحدث في أمرنا هذا ما ليس منه فهو رد

“ใครก็ตามที่ประดิษฐ์สิ่งใหม่ขึ้นในกิจการของเรานี้ ซึ่งไม่มีพื้นฐานจากมัน ถือว่าถูกตีกลับ ”

อัลบุคอรีย์, เศาะหีห์ ,หมวด ศุลหุ ,บรรพ อีซาอิศเฏาะละหุอะลาศุลหีเญาะรินฟัศฺศุลหุมัรดูดุน,เลขที่ : 2697 . มุสลิม,    เศาะหีห์, หมวด อักฎียฺยะฮฺ, บรรพ นักฎิลอะหฺกามุลบาฏีละฮฺวะรอดฺดิลมุหละษาติลอุมูร, เลขที่ : 1718

สองหะดิษดังข้างต้นนั้นพอสรุปกฏเกณฑ์ของบิดอะฮฺ(อุตริกรรม)ได้ดังนี้คือ

หนึ่งคือ- เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ดังใจความหะดิษ(أحدث )(สิ่งใหม่ที่ประดิษฐ์ขึ้นมา)

สองคือ- สิ่งใหม่ดังกล่าวนั้นเป็นสิ่งที่พาดพิงไปยังศาสนาดังใจความหะดิษ( في أمرنا ) (ในกิจการของเรานี้) คำว่า กิจการของเรานี้ก็คือศาสนาอิสลามนั่นเอง

สามคือ- สิ่งใหม่ดังกล่าวนั้นไม่มีพื้นฐานใดๆในศาสนายอมรับไม่ว่าจะเป็นการเฉพาะหรือการทั่วไปดังใจ ความหะดิษ( ليس منه )คือไม่มีพื้นฐานจากมัน คำว่ามันก็คือ(กฏศาสนบัญญัติต่างๆในเรื่องของศาสนา)

ท่านอิบนุ หะญัรกล่าวว่า ความหมายที่แท้จริงของบิดอะฮฺก็คือ สิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่โดยที่ไม่มีตัวบทมารองรับ ไม่ว่าจะเป็นตัวบทในทางที่เจาะจงหรือทั่วไป (อิบนุ หะญัร,แหล่งเดิม,หน้า : 254)

ดังกล่าวข้างต้นนั้นคือความหมายของคำว่าบิดอะฮฺที่ได้มาจากการวิเคราะห์จากอัลหะดิษของท่าน (ศ๊อลฺลัลฺลอ ฮุอะลัยฮิวะสัลฺลัม) ส่วนความหมายของบิดอะฮฺตามทัศนะของนักวิชาการนั้น ท่านมุหัมฺมัด บิน หุสัยนฺ อัญฺญัยฺ ซานีย์ ได้ให้ทัศนะว่า บิดอะฮฺนั้นคือ สิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ในศาสนาของอัลฺลอฮฺ โดยที่สิ่งดังกล่าวนั้นไม่มีตัวบท หลักฐานใด ๆ ที่จะมารองรับหรือชี้ประเด็นที่อนุญาตให้กระทำในสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ นั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวบทที่เฉพาะ เจาะจงหรือตัวบทที่เป็นการทั่วไป (มุหัมฺมัด บิน หุสัยนฺ อัจญฺญัยฺซานีย์, เกาะวาอิดุลมะอฺริฟะตี อัลบิดอุ,ดารุล อิบนุลเญาซีย์, มัมละกะฮฺ อัลอะเราะบียฺยะฮฺ,ม.ป.ป. ,หน้า : 24)

3 หลักฐานที่ห้ามเกี่ยวกับอุตริกรรม

ส่วนหลักฐานที่ห้ามปฏิบัติหรืออุตริกรรมในเรื่องศาสนานั้น ถ้าเราพิจารณาจากตัวบทหลักฐานข้างต้น เราก็จะ ทราบในทันทีว่า โองการอัลกุรอานและหะดิษดังกล่าวข้างต้นก็เป็นหลักฐานส่วนหนึ่งที่ห้ามทำอุตริกรรมต่าง ๆ ในศาสนาโดยเด็ดขาดโดยชัดเจนแล้ว แต่เพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้นผู้วิจัยก็ขอนำเสนอหลักฐานต่าง ๆ ที่ห้ามและตำ หนิแก่ผู้ใดก็ตามแต่ที่ทำในสิ่งที่เป็นบิดอะฮฺ(อุตริกรรม)คือ

อัลฺลอฮฺ(สุบหานะฮูวะตะอาลา)ทรงตรัสว่า-

أَمْ لَهُمْ شُرَكَـؤُاْ شَرَعُواْ لَهُم مِنَ الدِّينَ مَا لمََ يَأذَنْ بِهِ اللهِ

“หรือว่าพวกเขามีภาคีต่างๆที่ได้กำหนดศาสนาแก่พวกเขา ซึ่งอัลฺลอฮฺมิได้ทรงอนุมัติ”

สูเราะฮฺ ซูรอยฺ, 42: 21

จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ(เราะฎิยัลลอฮฺอันฮา)ว่า ท่านนบี(ศ๊อลฺลัลฺลอฮุอะลัยฮิวะสัลฺลัม)กล่าวว่า-

من أحدث في أمرنا هذا ما ليس منه فهو رد

“ใครก็ตามที่ประดิษฐ์สิ่งใหม่ขึ้นในกิจการของเรานี้ ซึ่งไม่มีพื้นฐานจากมัน ถือว่าถูกตีกลับ ”

อัลบุคอรีย์, เศาะหีห์ ,หมวด ศุลหุ ,บรรพ อีซาอิศเฏาะละหุอะลาศุลหีเญาะรินฟัศฺศุลหุมัรดูดุน,เลขที่ : 2697 . มุสลิม,    เศาะหีห์, หมวด อักฎียฺยะฮฺ, บรรพ นักฎิลอะหฺกามุลบาฏีละฮฺวะรอดฺดิลมุหละษาติลอุมูร, เลขที่ : 1718

ดังกล่าวข้างต้นนั้นคือโองการอัลกุรอานและอัลหะดิษที่กล่าวมาในเรื่องของบิดอะฮฺ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องห้ามโดยเด็ด ขาดในมุมมองของศาสนา

ท่านสุฟยาน อัษเษารีย์ กล่าวว่า บิดอะฮฺนั้นเป็นสิ่งที่ชัยฏอนรักมากกว่าสิ่งที่เป็นมะอาศีย์(สิ่งที่เป็นบาบ)ทั้งหลาย เพราะว่า แท้จริงแล้ว ผู้ที่กระทำความชั่วนั้น สักวันหนึ่งเขาจะต้องกลับเนื้อกลับตัว แต่ผู้ที่ทำบิดอะฮฺนั้นเขาจะไม่ ทำการกลับเนื้อกลับตัว (มุหัมฺมัด บิน หุสัยนฺ อัจญฺญัยฺซานีย์, แหล่งเดิม,หน้า :  31)

กล่าวคือ บิดอะฮฺกับ ความชั่วนั้นมีความแตกต่างกัน เพราะว่าความชั่วโดยทั่วไปนั้นคนเรามักจะรู้ทันทีว่า มันเป็น เรื่องที่มีโทษและบาปในศาสนา และเมื่อเป็นเช่นนั้น สักวันหนึ่งคนที่ทำความชั่วเหล่านั้นก็จะสำนึกผิด กลับเนื้อ กลับตัวสู่ความดีเพราะเขารู้ดีว่าดังกล่าวนั้นเป็นบาป แต่ในทางกลับกัน บิดอะฮฺนั้นมันจะไม่เกิดขึ้นเว้นแต่ในเรื่อง ของศาสนาเท่านั้นสำคัญคือผู้ที่กระทำบิดอะฮฺ เขาก็จะคิดไปว่า การกระทำของเขาดังกล่าวนั้นเป็นเรื่องของ ศาสนา เพราะก่อนที่เขาจะกระทำขึ้นมาเขาก็มีเจตตาว่า การกระทำดังกล่าวเป็นสิ่งที่ทำให้เขานั้นมีความใกล้ชิด ต่อพระองค์อัลฺลอฮฺ (สุบหานะฮูวะตะอาลา)และเมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว เขาก็จะไม่กลับเนื้อกลับตัวเป็นอันขาด นี่คือ ความหมายจากคำพูดของท่านสุฟยาน อัษฺเษารีย์ข้างต้น (ดังกล่าวข้างต้นคือ ความเข้าใจของผู้วิจัยจากคำกล่าว ของท่านสุฟยาน อัษฺเษารีย์.)

ฉะนั้นเมื่อเรารู้และทราบแล้วว่าพิษภัยของการกระทำบิดอะฮฺนั้นเป็นอย่างไร สิ่งที่เราจะต้องปฏิบัติต่อไปคือ ต้องออกห่างจากบิดอะฮฺในศาสนาทุกรูปแบบโดยเด็ดขาด

บิดอะฮฺในการเศาะละวาตต่อท่านนบี(ศ๊อลฺลัลฺลอฮุอะลัยฮิวะสัลฺลัม)นั้นมีมากมายเกินที่จะกล่าวไว้ ณ ตรงนี้ ทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนก็จะหยิบยกประเด็นที่เราได้ประสบพบเจอกันบ่อยที่สุด และที่สำคัญผู้เขียนจะ พยายามอธิบายโดยนำกฏเกณฑ์ต่างๆที่จะมากำหนดว่า สิ่งเหล่านั้นถือว่าเป็นบิดอะฮฺหรือไม่อย่างไร ทั้งนี้ผู้ที่อ่าน จะได้นำกฏเกณฑ์อันนี้ไปใช้และจะได้รู้ว่า สิ่งใดๆก็แล้วแต่ที่ผู้อ่านได้ไปประสบมา ว่ามันเป็นบิดอะฮฺหรือไม่ ถ้าหากว่าเป็นบิดอะฮฺ มันมีเหตุผลอะไร อย่างไร โดยที่ผู้วิจัยได้แบ่งเป็นหัวข้อดังต่อไปนี้คือ


อุตริกรรมในด้านความประเสริฐของการเศาะละวาต

-การกำหนดความประเสริฐของการเศาะละวาตของนักวิชาการ

แท้จริงแล้วการประกอบอิบาดะฮในศาสนานั้นจะต้องเป็นไปตามคำสั่งของอัลฺลอฮฺ (สุบหานะฮูวะตะอาลา) โดยผ่านการปฏิบัติของท่านเราะสูล (ศ๊อลฺลัลฺลอฮุอะลัยฮิวะสัลฺลัม) และในเรื่องราวของคุณค่าความประเสริฐไม่ ว่าจะเป็นเรื่องใดก็แล้วแต่ ก็ไม่มีใครที่จะสามารถมากำหนดได้ว่า การปฏิบัติสิ่งนั้นหรือสิ่งนี้จะได้ภาคผลบุญมาก เท่านั้นเท่านี้ นอกจากสิ่งที่อัลฺลอฮฺและ เราะสูลของพระองค์ทรงแจ้งไว้เท่านั้น การเศาะละวาตต่อท่านนบี (ศ๊อลฺลัลฺลอฮุอะลัยฮิวะสัลฺลัม) ก็เข้าในกฏเกณฑ์ดังกล่าวด้วย ฉะนั้นความประเสริฐของการเศาะละวาต ที่ถูกกำ หนดโดยนักวิชาการโดยที่ไม่มีหลักฐานที่จะมารองรับนั้นจึงถือว่าเป็นบิดอะฮฺโดยไม่ต้องสงสัย

ท่านอะหฺมัด สัยฺยิด อัชฺชาวี กล่าวว่า ผู้ใดก็ตามที่กล่าวเศาะละวาตต่อไปนี้คือ

ต่อไปนี้คือส่วนหนึ่งของความประเสริฐที่กำหนดโดยนักวิชาการของผู้ที่ทำการเศาะละวาตต่อท่านนบี (ศ๊อลฺลัลฺลอ ฮุอะลัยฮิวะสัลฺลัม) จะได้รับคือ

اللهم صل وسلم وبارك على سيدنا محمد وعلى آله عدد انعام الله وافضال

“โอ้อัลฺลอฮฺ ขอได้โปรดประทานเราฮฺมะฮฺ เศาะละวาต สลาม และ     บะเราะกะฮฺให้แก่นายของพวกเรา มุหัมฺมัด (ศ๊อลฺลัลฺลอฮุอะลัยฮิวะสัลฺลัม) และครอบครัวของท่าน เท่ากับจำนวนนิอฺมะฮฺ และความโปรด ปรานต่าง ๆ ของอัลฺลอฮ ฺ(สุบหานะฮูวะตะอาลา)”

ท่านอะหฺมัด สัยฺยิด อัชฺชาวี กล่าวต่อว่า เศาะละวาตนี้ สามารถเปิดประตูความผาสุขทั้งในโลกดุนยา และอาคิ เราะฮฺ ให้นิอฺมะฮฺสุขภาพพลานามัยในชีวิต และทำให้ได้รับพร และผลบุญที่ยิ่งใหญ่จากอัลฺลอฮฺ (สุบหานะฮู วะตะอาลา) (หะนาฟี มุฮำหมัด, 99เศาะละวาตต่อท่านนบี ,มานพ วงค์เสงี่ยม, กรุงเทพฯ, ม.ป.ป. ,หน้า : 40.)

ดังกล่าวข้างต้นคือ ความประเสริฐของการเศาะละวาตต่อท่านนบี (ศ๊อลฺลัลฺลอฮุอะลัยฮิวะสัลฺลัม) ที่กำหนดโดย นักวิชาการ ซึ่งไม่มีหลักฐานที่เชื่อถือได้ ฉะนั้นทัศนะข้างต้นเป็นเพียงทัศนะของนักวิชาการเท่านั้น เพราะท่าน อะหฺมัด สัยฺยิด อัชฺชาวี ไม่มีความรู้แน่ว่า การกระทำสิ่งนั้นจะได้ผลบุญดังกล่าวข้างต้น นอกจากสิ่งที่ท่านนบี ได้แจ้งไว้เท่านั้น

ท่านมุหัมฺมัด บิน หุสัยนฺ อัจญฺญัยฺซานีย์ กล่าวว่า ทุกๆการอิบาดะฮฺที่มีพื้นฐานมาจากการพาดพิงไปยังความคิด ทัศนะ หรืออารมณ์ อย่างเช่นคำพูดของบรรดานักวิชาการ หรือคำพูดของผู้ที่เคร่งครัดในศาสนา หรือประเพณี ของแต่ละท้องถิ่น นิยายปรัมปราและสิ่งที่ได้มาจากความฝัน ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น ถือว่าเป็นบิดอะฮฺ (มุหัมฺมัด บิน หุสัยนฺ อัจญฺญัยฺซานีย์ ,แหล่งเดิม, หน้า : 68)

จากคำกล่าวของท่านมุหัมฺมัด บิน หุสัยนฺ อัจญฺญัยฺซานีย์ ข้างต้นนั้นถือว่าเป็นกฏเกณฑ์ที่จะนำไปเทียบเคียงว่า ความประเสริฐของการเศาะละวาตข้างต้นนั้นถือว่า เป็นบิดอะฮฺ และผู้อ่านก็สามารถที่จะนำกฏเกณฑ์ดังกล่าวนำ ไปเทียบเคียงได้ทุกสภาพการณ์

อุตริกรรมในด้านสำนวนของการเศาะละวาต

-การเพิ่มคำว่า( سيِّدنا )ในการกล่าวเศาะละวาต

ดังที่ได้อธิบายมาแล้วข้างต้นว่า การประกอบอิบาดะฮฺในอิสลามนั้นจะต้องเคร่งครัดในการปฏิบัติตามแบบอย่าง ซึ่งจะเป็นกฏเกณฑ์อย่างหนึ่งว่า การงานเหล่านั้นจะถูกตอบรับหรือไม่ การเศาะลาะวาตต่อท่านนบี (ศ๊อลฺลัลฺลอฮุ อะลัยฮิวะสัลฺลัม) ก็เช่นเดียวกัน ที่จำเป็นจะต้องปฏิบัติตามแบบอย่างของท่านนบีโดยเคร่งครัด ส่วนการเพิ่ม สำนวนในการเศาะละวาตต่อท่านนบีนั้นถ้าไม่ได้เกี่ยวข้องกับเวลาและสถานที่นั้น ก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ที่ผู้เขียน จะอธิบายต่อไปนี้นั้นเป็นการเพิ่มโดยเกี่ยวข้องกับเวลาและสถานที่ คือการเพิ่มคำว่า( سيِّدنا )ในการเศาะละวาต ในการอ่านตะชะฮฺฮุด

ท่าน อัสนะวีย์ กล่าวว่า เป็นการดีกว่าที่จะเพิ่มคำว่า( سيِّدنا )ในการเศาะละวาตต่อท่าน  นบี (ศ๊อลฺลัลฺลอฮุอะลัย ฮิวะสัลฺลัม) เพราะดังกล่าวนั้น เป็นมารยาทที่ดีในการที่เรานั้นจะให้ความเคารพต่อท่าน (อัสฺสะคอวีย์ ,แหล่งเดิม, หน้า : 149) คือ

اللهم صل على سيِّدنا محمد...إلى آخر

“ข้าแด่อัลฺลอฮฺ ได้โปรดเศาะละวาตต่อนายของเรา คือ มุหัมฺมัด (ศ๊อลฺลัลฺลอฮุอะลัยฮิวะสัลฺลัม) ด้วยเถิด ”

ท่านอัลบานีย์กล่าวไว้ในการตรวจทานหนังสือคุณค่าของการเศาะละวาตต่อท่านนบี (ศ๊อลฺลัลฺลอฮุอะลัยฮิวะ สัลฺลัม) ที่เขียนโดยท่าน อิสมาอีล บิน อิสหาก อัลญะฮฺดีย์ อัลกอฎีย์ อัลมาลิกีย์ ว่า หะดิษที่รายงานโดยท่าน อบีมัสอูด อัลอันศอรีย์ (หะดิษดังกล่าวบันทึกโดยท่านอิสมาอีล บิน อิสหาก อัลญะฮฺดีย์ อัลกอฎีย์ อัลมาลิกีย์: WWW.Ourpetclup.COM สืบค้น 28 มิ.ย.2551) คือ

اللهم صل على سيدنا محمد وعلى آل محمد كما صليت على آل إبراهيم وبارك على محمد وعلى آل محمد كما باركت على آل إبراهيم في العالمين إنك حميد مجيد

ว่า เป็นหะดิษที่ถูกต้อง (อิสมาอีล บิน อิสหาก อัลญะฮฺดีย์ อัลกอฎีย์ อัลมาลิกีย์,ตรวจทานโดย อัลอัลบานีย์, เศาะหีห์,WWW.Ourpetclup.COM, สืบค้น 28 มิ.ย.2551.) แต่ผู้เขียนไปดูที่ต้นฉบับของหะดิษดังกล่าวที่บันทึก โดยท่าน อิสมาอีล บิน อิสหาก อัลญะฮฺดีย์ อัลกอฎีย์ อัลมาลิกีย์ ปรากฏว่าไม่มีคำว่า( سيِّدنا )แต่อย่างใด (อิสมาอีล บิน อิสหาก อัลญะฮฺดีย์ อัลกอฎีย์ อัลมาลิกีย์ แหล่งเดิม : WWW.Ourpetclup.COM  สืบค้น :  28 มิ.ย. 2551) ซึ่งดังกล่าวนั้นอาจจะมีความผิดพลาดอย่างไรนั้นผู้เขียนไม่ทราบด้วยประการทั้งปวง

แต่ในทางตรงกันข้าม ทางคณะฟะตาวาย์ อัลฺลุจญนะฮฺ อัดฺดาอิมะฮฺ ได้ตอบคำถามที่ ว่า สามารถเพิ่มคำว่า( سيِّدنا )ในการเศาะละวาตต่อท่านนบี(ศ๊อลฺลัลฺลอฮุอะลัยฮิวะสัลฺลัม)ได้หรือไม่ โดยทางคณะได้ตอบคำถามดัง กล่าวว่า การกล่าวเศาะละวาตตามที่ได้มีรายงานมานั้น ไม่มีคำว่า( سيِّدنا )แต่อย่างใด ดังนั้นจึงไม่อนุญาตให้เพิ่ม คำดังกล่าวลงไปในการเศาะละวาตต่อท่านนบีเพราะการปฏิบัติอิบาดะฮฺ นั้นจะต้องมีคำสั่งโดยการวิวรณ์เท่านั้น (อะหฺมัด บิน อับดุรฺร็อซฺซาก อัดฺดุวัยชฺ ,ฟะตาวาย์ อัลฺลุจญนะฮฺ อัดฺดาอิมะฮฺ ,ริยาฎ อัสฺสะอูดีย์,1421ฮฺ ,เล่มที่7,หน้า :  65) และประเด็นที่มีผู้ถามว่า แล้วในกรณีที่ท่านนบีได้กล่าวว่า-

أنا سيد ولد آدم يوم القيامة ولا فخر

“ฉันคือ นายของลูกหลานอดัมในวันกิยามะฮฺและในวันนั้นไม่มีใครที่ภาคภูมิใจมากไปกว่าฉัน ”

จากหะดิษดังกล่าวนั้น ท่านนบี(ศ๊อลฺลัลฺลอฮุอะลัยฮิวะสัลฺลัม)ได้กล่าวไว้เป็นการทั่วไป โดยที่มิได้เจาะจงสถานที่ แต่อย่างใดเฉกเช่นการเพิ่มคำว่า( سيِّدنا )โดยที่ไม่เกี่ยวข้องกับเวลาและสถานที่ เช่น การกล่าวเศาะละวาตต่อ ท่านโดยเอกเทศ ถือว่า ไม่เป็นไร แต่ถ้าในละหมาดแล้วละก็ จำเป็นจะต้องปฏิบัติตามสิ่งที่ได้มีรายงานมาโดย หะดิษที่เชื่อถือได้เท่านั้น

ท่าน มุหัมฺมัด บิน หุสัยนฺ อัจญฺญัยฺซานีย์ กล่าวว่า การปฏิบัติเกินไปในเรื่องของการอิบาดะฮฺ โดยการเพิ่มสิ่งหนึ่ง สิ่งใดไปจากสิ่งที่ศาสนากำหนดไว้ ถือว่า เป็นบิดอะฮฺ (มุหัมฺมัด บิน หุสัยนฺ อัจญฺญัยฺซานีย์ ,แหล่งเดิม, หน้า :  119.)


อุตริกรรมในด้านเวลาและสถานที่ในการเศาะละวาต

-การกำหนดเวลาในการเศาะละวาต

การเศาะละวาตนี้มีชื่อว่า เศาะละวาตอัลฟาติหฺ เป็นงานการประพันธ์ของ อัลบากิร สัยฺยิด มุหัมฺมัด อัลบักรี ท่านได้กล่าวถึงความประเสริฐของการอ่านเศาะละวาตนี้ว่า

-ผู้ใดที่อ่านเศาะละวาตนี้ทุกๆครั้งหลังจากการละหมาดห้าเวลา บรรดาบาบเล็ก ๆ ทั้งหมดจะได้รับการอภัยโทษ จากอัลฺลอฮฺ(สุบหานะฮูวะตะอาลา)และหัวใจและจิตใจของเขาจะสงบสุข

-ผู้ใดอ่านเศาะละวาตนี้ 21 ครั้งทุกๆวัน อัลฺลอฮฺ(สุบหานะฮูวะตะอาลา)จะทรงทำให้ริซกีของเขากว้างขวาง และครอบ ครัวของเขาจะปลอดภัยจากความยากลำบาก พร้อมกับห่างใกลจากการลงโทษในนรก

-ถ้าหากว่า อ่าน 100 ครั้งทุกวัน จะทำให้ได้คู่ครองได้ง่าย ทั้งสำหรับชายและหญิง

-ถ้าหากว่า อ่าน 1000 ครั้ง ในคืนวันจันทร์ หรือ คืนพฤหัส หรือ คืนศุกร์ จะทำให้ฝันว่าได้พบกับท่านนบี (ศ๊อลฺลัลฺลอฮุอะลัยฮิวะสัลฺลัม)ด้วยการอนุมัติจากอัลฺลอฮ ฺ(สุบหานะฮูวะตะอาลา) กล่าวคือให้อ่านหลัง ละหมาดหาญะฮฺ

ดังกล่าวข้างต้นเป็นการกำหนดคุณค่าและเวลาในการเศาะละวาตต่อท่านนบี(ศ๊อลฺลัลฺลอฮุอะลัยฮิวะสัลฺลัม) (หะนาฟี มุฮำหมัด,แหล่งเดิม, หน้า :  30) ส่วนประเด็นของความประเสริฐนั้น ผู้เขียนได้ทำการอธิบายไว้แล้ว  แต่ ณ ตรงนี้ ผู้เขียนจะทำการอธิบายในส่วนที่เกี่ยวกับการกำหนดเวลาในการเศาะละวาตเท่านั้นคือ

การเศาะละวาตต่อท่านนบีที่ประพันธ์โดย ท่าน อัลบากิร สัยฺยิด มุหัมฺมัด อัลบักรี ถือว่า เป็นบิดอะฮฺอย่างหนึ่งใน การเศาะละวาตต่อท่านนบี เพราะเป็นการกำหนดเวลาในการเศาะละวาตต่อท่านนบีโดยที่ไม่มีตัวบทหลักฐาน ใดมารองรับ ดังที่เราทราบแล้วว่า การประกอบอิบาดะฮฺนั้นจะต้องได้มาด้วยวะหฺยู(การวิวรณ์)เท่านั้น แล้วท่าน อัลบากิร สัยฺยิด มุหัมฺมัด อัลบักรี รู้ได้อย่างไรว่า ถ้าทำการเศาะละวาตต่อท่านนบีในเวลานั้น จำนวนนั้น จะได้ผลบุญอย่างนั้น ซึ่งดังกล่าวนั้นไม่มีทางเป็นไปได้อย่างแน่นอน

คณะฟะตาวาย์ อัลฺลุจญนะฮฺ อัดฺดาอิมะฮฺ ได้ตอบคำถามที่ว่า การเศาะละวาตดังกล่าวข้างต้นนั้น สามารถกระทำ ได้หรือไม่ โดยที่ทางคณะได้ตอบคำถามดังกล่าวว่า และการเศาะละวาตที่ดีนั้นคือ การอ่านเศาะละวาตที่ท่านนบี (ศ๊อลฺลัลฺลอฮุอะลัยฮิวะสัลฺลัม)ได้สอนเศาะหาบะฮฺของท่าน และการเศาะละวาตที่ท่านนบี (ศ๊อลฺลัลฺลอฮุอะลัย ฮิวะสัลฺลัม)สอนนั้น ได้ดำเนินเรื่อยมาตราบจนปัจจุบัน เพราะการเศาะละวาตต่อท่านนบีนั้น ถือว่า เป็นบทบัญญัติ อย่างหนึ่งในอิสลาม ส่วนการเศาะละวาตที่มีชื่อว่า เศาะละวาตุลฟาติหฺนั้น ถือว่าเป็นบิดอะฮฺ จำเป็นอย่างยิ่งที่ จะต้องออกห่าง อันเนื่องจากสิ่งดังกล่าวนั้น ไม่มีการรายงานมาจากท่านนบีแต่อย่างใด (อะหฺมัด บิน อับดุร ฺร็อซฺซาก อัดฺดุวัยชฺ,แหล่งเดิม, หน้า :  66)

ท่านมุหัมฺมัด บิน หุสัยนฺ อัจญฺญัยฺซานีย์ กล่าวว่า ทุกๆการอิบาดะฮฺที่ศาสนาได้บัญญัติไว้ โดยที่การบัญญัตินั้นมี ลักษณะที่เกี่ยวข้องกับเวลาสถานที่ และหากว่ามีการเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะดังกล่าวแล้ว ถือว่า สิ่งเหล่านั้น เป็นบิดอะฮฺ  (มุหัมฺมัด บิน หุสัยนฺ อัจญฺญัยฺซานีย์ ,แหล่งเดิม, หน้า : 110)

การเศาะละวาตต่อท่านนบี(ศ๊อลฺลัลฺลอฮุอะลัยฮิวะสัลฺลัม)ในการอ่านตะชะฮฺฮุดนั้น เป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง กับเวลาและสถานที่ ดังนั้นจึงไม่อนุญาตให้มีการเพิ่ม โดยวิธีการใดๆทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสำนวน ผลบุญ หรือ เวลาและสถานที่ เพราะการกระทำดังกล่าวนั้นถือว่า เป็นบิดอะฮฺในศาสนาที่ท่านนบี (ศ๊อลฺลัลฺลอฮุอะลัย ฮิวะสัลฺลัม)ได้ตำหนิและสั่งห้ามเอาไว้

จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ(เราะฎิยัลฺลอฮฺอันฮา)ว่า ท่านนบี(ศ๊อลฺลัลฺลอฮุอะลัยฮิวะสัลฺลัม)กล่าวว่า-

من أحدث في أمرنا هذا ما ليس منه فهو رد

“ใครก็ตามที่ประดิษฐ์สิ่งใหม่ขึ้นในกิจการของเรานี้ ซึ่งไม่มีพื้นฐานจากมัน ถือว่าถูกตีกลับ ”

(อัลบุคอรีย์, เศาะหีห์ หมวด ศุลหุ, บรรพ อีซาอิศเฏาะละหุอะลาศุลหีเญาะรินฟัศฺศุลหุมัรดูดุน, เลขที่ :   2697 . มุสลิม,     เศาะหีห์ , หมวด อักฎียฺยะฮฺ ,บรรพ นักฎิลอะหฺกามุลบาฏีละฮฺวะรอดฺดิลมุหละษาติลอุมูร, เลขที่ : 1718)

ดังกล่าวข้างต้นนั้นคือ ส่วนหนึ่งของบิดอะฮฺในการเศาะลาะวาตต่อท่านนบี(ศ๊อลฺลัลฺลอฮุอะลัยฮิวะสัลฺลัม) ดังที่ ผู้เขียนได้กล่าวไว้แล้วในตอนต้นว่า บิดอะฮฺในการเศาะละวาตต่อท่านนบี (ศ๊อลฺลัลฺลอฮุอะลัยฮิวะสัลฺลัม) นั้นมีมากมายเกินกว่าที่จะนำมากล่าวไว้ทั้งหมด แต่ที่ผู้วิจัยพยายามที่จะให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์ในข้างต้นนั้นคือ ส่วนหนึ่งของกฏเกณฑ์ต่างๆที่จะเป็นตัวชี้วัดว่า สิ่งเหล่านั้นเป็นบิดอะฮฺหรือไม่ คือ

-ทุกๆการอิบาดะฮฺที่มีพื้นฐานมาจากการพาดพิงไปยังความคิด ทัศนะ หรืออารมณ์ อย่างเช่นคำพูดของบรรดา นักวิชาการ หรือคำพูดของผู้ที่เคร่งครัดในศาสนา หรือประเพณีของแต่ละท้องถิ่น นิยายปรัมปราและสิ่งที่ได้มา จากความฝัน ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น ถือว่าเป็นบิดอะฮฺ

-การปฏิบัติเกินไปในเรื่องของการอิบาดะฮฺ โดยการเพิ่มสิ่งหนึ่งสิ่งใดไปจากสิ่งที่ศาสนากำหนดไว้ ถือว่า เป็นบิดอะฮฺ

-ทุกๆการอิบาดะฮฺที่ศาสนาได้บัญญัติไว้ โดยที่การบัญญัตินั้นมีลักษณะที่เกี่ยวข้องกับเวลาสถานที่ และหากว่ามี การเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะดังกล่าวแล้ว ถือว่า สิ่งเหล่านั้นเป็นบิดอะฮฺ




والله أعلم بالصواب

✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿



โดย อ.หมะสุกรี  โอะขะหรี







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น