อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อาซานละหมาดวันศุกร์


الأذان والإقامة

การอะซานละหมาดวันศุกร์นั้นในสมัยของท่านรสูลุลลอฮฺ, ท่านอบูบักร และท่านอุมัรจะอะซานเพียงครั้งเดียวเท่านั้น

 ท่านอัสสาอิบ บุตรของยะซีด (กล่าวว่า)
“ แท้จริงการอะซาน ปรากฏว่าเกิดขึ้นครั้งเดียวขณะอิมามนั่งบนมินบัรในวันศุกร์ในสมัยของท่านรสูลุลลอฮฺ, ท่านอบูบักร และท่านอุมัร"  (บันทึกโดยบุคอรีย์ หะดีษที่ 861, นะสาอีย์ หะดีษที่ 1375 และอบูดาวูด หะดีษที่ 919

 ส่วนกรณีที่มีการอะซานสองครั้งโดยครั้งแรกอะซานก่อนเข้าเวลาละหมาดวันศุกร์ และครั้งที่สองขณะอิมามนั่งบนมินบัรเกิดขึ้นในสมัยของเคาะลีฟะฮฺอุษมาน บุตรของอัฟฟาน

ท่านอัสสาอิบ บุตรของยะซีดกล่าวว่า
 “ ปรากฏว่าในสมัยของท่านอุษมาน จำนวนของมุสลิมเพิ่มมากขึ้น ท่านอุษมานจึงสั่งใช้ให้ (เพิ่ม) อะซานครั้งแรกที่เซารออ์ ( คือสถานที่ซึ่งอยู่ในตลาดของเมืองมะดีนะฮฺมีไว้สำหรับเฉพาะอะซานในวันศุกร์)"(บันทึกโดยอะหฺมัด หะดีษที่ 15169)

 สรุปว่าการอะซานในวันศุกร์นั้นที่ถูกต้องคือการอะซานเพียงครั้งเดียวขณะที่อิมามนั่งบนมินบัรเท่านั้น

 ส่วนกรณีที่มุสลิมมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เช่นนี้ศาสนาอนุญาตให้เพิ่มการอะซานครั้งแรกก่อนเข้าเวลาละหมาดวันศุกร์ ทั้งนี้เพื่อเตือนให้พวกเขาเตรียมตัวมาละหมาดวันศุกร์ที่มัสญิด และอะซานอีกครั้งหนึ่งขณะอิมามนั่งบนมินบัร

อนึ่ง ในปัจจุบันโอกาสที่จะทำให้พี่น้องมุสลิมเพิกเฉย หรือละเลยต่อการทราบถึงเวลาของการละหมาดวันศุกร์คงมีโอกาสเกิดขึ้นได้ยาก เพราะในปัจจุบันเรามีนาฬิกาบอกเวลา หรือมีการอะซานที่ใช้เครื่องขยายเสียง เช่นนั้นจึงไม่มีความจำเป็นอันใดที่จะต้องเพิ่มการอะซานก่อนเวลาละหมาดวันศุกร์อีก

 หากจะต้องการจะเพิ่มการอะซานจริงๆ จะต้องเข้าเงื่อนไขเสมือนในสมัยเคาะลีฟะฮฺอุษมาน บุตรของอัฟฟาน

 แต่ปัจจุบันถือว่าไม่อยู่ในเงือนไขนั้นอีกแล้ว

 ดังนั้นการอะซานเพียงครั้งเดียวขณะอิมามนั่งบนมินบัรถือว่าเหมาะสมและสอดคล้องกับแนวทางของท่านรสูลุลลอฮฺมากกว่า


والله أعلم بالصواب

✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿

1 ความคิดเห็น: