การที่วะลีย์จะจัดการแต่งงานให้แก่สตรีมุสลิมะฮ์คนหนึ่งนั้น
การรับความคิดเห็นจากนาง หรือได้รับความยินยอมหรือได้รับอนุญาตจากนางนั้น
มีความแตกต่างกัน 3 สภาพด้วยกันคือ
1.การจัดการแต่งงานนิกะฮฺหญิงผู้ที่มีอายุน้อยที่ไม่เคยผ่านการแต่งงาน
2.การจัดการแต่งงานนิกะฮฺหญิงผู้ที่บรรลุนิติภาวะ
ที่ยังไม่ได้ผ่านการแต่งงาน (แม้จะเป็นหญิงแก่ชราก็ตาม)
3.การจัดการแต่งงานนิกะฮฺหญิงหม้ายหรือหญิงผู้ที่ผ่านการแต่งงานมาแล้ว
การได้รับอนุญาตจากหญิงผู้ที่จะทำการแต่งงานซึ่งมีอายุน้อยที่ไม่เคยผ่านการแต่งงาน
การจัดการแต่งงานให้กับหญิง
ซึ่งนางนั้นยังมีอายุน้อย และไม่เคยผ่านการแต่งงานนั้น
นักวิชาการไม่มีความขัดแย้งกันแต่ประการใด ว่า
พ่อของนางนั้นมีสิทธิ์ที่จะจัดการแต่งงานให้แก่เธอ โดยที่ไม่ต้องได้รับฟังความเห็น
หรืออนุญาตใดๆจากเธอ
ซึ่งมีรายงานหะดิษมาว่า
ท่านอบูบักร อัศศิดดิก ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ ได้จัดการแต่งงานลูกสาวของท่าน คือ ท่านหญิงอาอิชะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮา ให้แก่ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ในขณะที่เธอมีอายุน้อย คือ 6 ขวบ และให้เธอได้เข้าร่วมห้องหอกับรสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ในขณะที่เธอมีอายุได้ 9 ขวบ (บันทึกหะดิษโดยอิมามบุคอรีย์ และมุสลิม)
ท่านอิมามเชากานีย์ ร่อฮิมาฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า
“ในหะดิษนั้น มีสิ่งบ่งบอกถึงว่า ให้พ่อจัดการแต่งงานลูกสาวของตน ก่อนที่จะบรรลุนิติภาวะได้ และได้กล่าวเช่นเดียวกันว่า ในหะดิษนั้นมีสิ่งที่บ่งบอกถึงว่า อนุญาตให้จัดการแต่งงานสตรีที่มีอายุน้อยให้แก่ชายที่มีอายุมากได้ ซึ่งอิมามบุคอรีย์ก็ได้จัดหมวดหมู่ที่เกี่ยวกับเรื่องราวดังกล่าวไว้ ได้นำหะดิษของท่านอาอิชะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮา มากล่าว และเล่าในอัลฟัตฮ์ว่า มีการเห็นพ้องต้องกัน ในเรื่องดังกล่าว” (หนังสือ “ไนยลุลเอาฏ้อร” เล่มที่ 6 หน้าที่ 128-129)
ท่านอิมามเชากานีย์ ร่อฮิมาฮุลลอฮฺ ยังได้กล่าวอีกว่า
“อิบนุลมุนซิรได้กล่าวว่า
“นักวิชาการทุกคนที่เราจดจำจากพวกเขาได้เห็นพ้องต้องกันว่า การที่พ่อจัดการแต่งงานให้แก่ลูกสาวของตน ที่ยังมีอายุน้อยอยู่นั้น มันเป็นสิ่งที่ใช้ได้ เมื่อเขาได้จัดการแต่งงานเธอให้แก่ผู้ที่มีคุณสมบัติครบ” (หนังสือ “อัลมุฆนี” เล่ม 6 หน้าที่ 487)
ท่านชัยค์ ดร.ซอและฮฺ อัลเฟาซาน กล่าวว่า
“และในการจัดการแต่งงานให้แก่อาอิชะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮา ของอบูบักร์ ร่อฎียัลลอฮุอันฮ์ ในขณะที่เธอมรอายุได้ 6 ขวบ ให้แก่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมนั้น มันเป็นการโต้ตอบพวกปฏิเสธการจัดการแต่งงานผู้ที่มีอายุน้อยให้แก่ผู้มีอายุมาก พวกเขาทำให้เกิดภพที่เสียในเรื่องดังกล่าว และถือว่ามันเป็นสิ่งน่าเกลียด และอันนี้ไม่ใช่อะไรอื่น นอกจากความโง่เขลาของพวกเขาเท่านั้น หรือพวกเขานั้นเป็นผู้บ่อนทำลาย”
การได้รับอนุญาตจากหญิงผู้ที่จะทำการแต่งงานที่บรรลุศาสนภาวะซึ่งไม่เคยผ่านการแต่งงาน
สตรีที่ยังไม่ผ่านการแต่งงาน
แต่บรรลุศาสนภาวะแล้ว การที่ผู้ปกครองจะทำการจัดแต่งงานนิกะฮฺให้แก่นางได้นั้น
ต้องได้รับความเห็น หรือได้รับอนุญาตจากนางเสียก่อนเท่านั้น
และการอนุญาตของเธอนั้นคือ การนิ่งของเธอนั้นเอง
รายงานจากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า
ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวว่า
: ولا تنكح البكر حتى تستأذن]
قالوا : يا رسول الله
! وكيف إذنها ؟ قال
: [أن تسكت]
.
“และสตรีที่ยังไม่ผ่านการแต่งงานมานั้น
จะไม่มีใครมาแต่งงานให้แก่นางได้ จนกว่าจะมีการขออนุญาตจากเธฮเสียก่อน
พวกเขากล่าวว่า โอ้ ท่านรสูลุลลอฮฺ แล้วการอนุญาตของเธอเป็นอย่างไร? ท่านรสูลศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวว่า การที่เธอนิ่ง” (บันทึกหะดิษโดยบุคอรีย์ และมุสลิม)
จากหลักฐานหะดิษ
จำเป็นที่จะได้รับอนุญาตจากหญิงผู้จะถูกจัดการแต่งงาน
ซึ่งนางเป็นหญิงไม่เคยผ่านการแต่งงานมาก่อน และนางได้บรรลุตามบัญญัติศาสนภาวะแล้ว
ถึงแม้ผู้ที่จะจัดการแต่งงานให้แก่นางนั้น จะเป็นบิดาของนางก็ตาม และการนิ่งเฉยของนาง
ศาสนาถือว่านางยินยอมให้วะลีย์จัดการแต่งงานให้นางแล้ว
ส่วนการที่นางพูดออกมาเป็นคำพูดนั้นก็เป็นที่ชัดเจนอยู่ในคำพูดของนางอยู่แล้ว และเป็นทัศนะที่ถูกต้อง
จากคำกล่าวของบรรดาผู้รู้
อัลลอัลลามะฮ์ อิบนุล กอยยิม
ได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า
“และอันนี้ คือ คำกล่าวของส่วนใหญ่ของสลัฟ และแนวความคิดของอิมามอบูหะนีฟะฮ์ และอะหฺมัด ในรายงานหนึ่งจากท่าน และมันก็เป็นคำกล่าวที่เรานำมาใช้ในการปฏิบัติตามอัลลอฮฺ ที่เราไม่เชื่อถือสิ่งอื่นใด นอกเหนือจากสิ่งดังกล่าว และมันเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับข้อชี้ขาดของท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม การสั่งใช้ของท่าน และการสั่งห้ามของท่าน” (หนังสือ “อัลฮัดย์ เล่มที่ 5 หน้าที่ 96)
การได้รับอนุญาตจากหญิงผู้ที่จะทำการแต่งงานที่ผ่านการแต่งงานแล้ว(หญิงหม้าย)
สตรีที่ผ่านการแต่งงานแล้ว
การที่วะลีย์ของนางจะจัดการแต่งงานให้แก่นางได้นั้น ต้องได้รับอนุญาตจากนางเสียก่อน
โดยต้องได้รับอนุญาตจากนางด้วยคำพูดออกมาของนาง การนิ่งเฉยของนาง
ไม่ถือว่าได้รับอนุญาตจากนางแล้ว วะลีย์จึงไม่สามารถแต่งงานให้แก่นางได้
รายงานจากท่านอิบนุอับบาส ร่อฎียัลลอฮุอันฮ์ เล่าว่า
แท้จริงท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวว่า
أن النبي صلى الله عليه وسلم قال:
" والبكر تستأمر وإذنها سكوتها"
رواه مسلم
“หญิงหม้ายนั้น นางมีสิทธิ์ (ตอบรับการแต่งงาน)
ด้วยตัวของนางมากกว่าวะลีย์ของนาง ส่วนหญิงบริสุทธิ์นั้น นางจะต้องถูกขอคำสั่ง
(จากวะลีย์ของนางด้วย) ซึ่งการยินยอมของนางคือการนิ่ง”(
บันทึกโดยมุสลิม หะดีษที่ 4121)
อัลลอัลลามะฮ์ อิบนุล กอยยิม
ได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า
“ส่วนสตรีที่ได้ผ่านการแต่งงานมาแล้วนั้น เราก็ไม่ทราบว่ามีความขัดแย้งใดๆ ในหมู่นักวิชาการในการอนุญาตของนางด้วยการพูดออกมา เพื่อการบอกเล่า และอีกอย่างหนึ่งนั้น ลิ้นนั้นมันเป็นสิ่งที่จะแสดงออกมาถึงสิ่งที่มีอยู่ในหัวใจ และมันเป็นสิ่งที่ถูกยึดถือ ในทุกที่ที่การอนุญาตถูกยึดถือในที่นั้น” (หนังสือ “อัลมุฆนี เล่มที่ 6 หน้าที่ 493)
ชัยคุลอิสลาม อิบนุ ไตยมียะฮ์ ร่อหิมะฮุลลอฮฺ
ได้กล่าวในเรื่องนี้ว่า
“สตรีนั้นไม่สมควรแก่คนหนึ่งคนใด ที่จะไปแต่งงานให้แก่นางนอกจากด้วยการอนุญาตของนางเท่านั้น เหมือนกับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ได้ใช้ แล้วหากนางไม่ชอบสิ่งดังกล่าว ก็ไม่มีใครที่จะมาบังคับให้นางแต่งงานได้ นอกจากสตรีที่ยังไม่ได้ผ่านการแต่งงานมาก่อน ที่มีอายุน้อยเท่านั้น พ่อของเธอนั้นสามารถที่จะแต่งงานให้แก่เธอได้ และเธอนั้นไม่มีการอนุญาตใดๆ ส่วนสตรีที่บรรลุศาสนภาวะ ที่ผ่านการแต่งงานมาแล้วนั้น ก็ไม่อนุญาตให้แต่งงานให้แก่นาง โดยไม่มีการอนุญาตของนาง จะเป็นพ่อของนาง หรือคนอื่นก็ตาม ด้วยการเห็นพ้องต้องกันของบรรดามุสลิม แล้วพ่อ และปู่นั้นก็สมควรสำหรับเขาทั้งสอง ที่จักต้องมีการขออนุญาตจากนาง บรรดาผู้รูมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันไป ในเรื่องของการอนุญาตของนางว่า มันเป็นสิ่งที่จำเป็น หรือเป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้มีการกระทำ และที่ถูกต้องนั้น เห็นว่ามันเป็นสิ่งที่จำเป็น และจำเป็นต่อผู้ปกครองของสตรี ที่จักต้องมีความยำเกรงต่ออัลลอฮฺ ในเรื่องของผู้ที่เขาจะแต่งงานนางให้แก่เขา และมองดูคู่ครองของนางว่า เขามีคุณสมบัติครบหรือไม่ เพราะแท้ที่จริงแล้ว เขาแต่งงานให้นางก็เนื่องจากผลประโยชน์ของนาง ไม่ใช่ผลประโยชน์ของตัวของเขาเอง” (หนังสือ “มัจญ์มูอุลฟะตาวา” เล่มที่ 32 หน้าที่ 39-40)
สรุป การที่วะลีย์จะจัดการแต่งงานให้กับหญิงมุสลิมคนหนึ่งนั้น
การได้รับอนุญาตจากหญิงผู้นั้นมีความแตกต่างกัน คือ หากหญิงนั้นยังมีอายุน้อย
ไม่เคยผ่านการแต่งงานมาก่อน วะลีย์จัดการแต่งงานให้นางได้เลย
โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากนาง หากหญิงนั้นบรรลุศาสนภาวะแล้ว
แต่ไม่เคยผ่านการแต่งงาน ก็ต้องได้อนุญาตจากนางก่อน
การนิ่งของนางถือว่านางอนุญาตแล้ว และสำหรับหญิงหม้ายนั้น
ต้องได้รับความยินยอมอย่างชัดเจนจากปากของนาง
والله أعلم بالصواب
✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น