อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การสัมผัสอวัยวะเพศขณะมีน้ำละหมาด



                     กรณีที่อวัยวะเพศ ไม่ว่าสัมผัสอวัยวะเพศของตนเองหรือของผู้อื่น จะเป็นของเพศเดียวหรือเพศตรงข้ามก็ตาม มีความขัดแย้งกัน ว่า จะทำให้เสียน้ำละหมาดหรือไม่ โดยแบ่งออกเป็น 3 ทัศนะ คือ

ทัศนะแรก การสัมผัสอวะเพศดังกล่าวไม่ทำให้เสียน้ำละหมาด ไม่ว่าจะมีความรู้สึกทางเพศหรือไม่ก็ตาม

ทัศนะที่ 2  ทำให้เสียน้ำละหมาดถึงแม้จะไม่มีความสึกทางเพศก็ตาม

ทัศนะที่ 3 หากการสัมผัสอวัยเพศแล้ว มีความรู้สึกทางเพศจะทำให้เสียน้ำละหมาด แต่หากไม่มีความรู้สึกทางเพศ จะไม่เสียน้ำละหมาด

ทัศนะที่ว่าไม่เสียน้ำละหมาดโดยอ้างอิงหลักฐานดังนี้

รายงานจากท่านฏ็อลกิล บุตรของอะลี ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าวว่า
มีชายคนหนึ่งถามท่านรสูลลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เกี่ยวกับบุคคลหนึ่งสัมผัสอวัยวะเพศของเขา ถือว่าเขาเสียน้ำละหมาดหรือไม่ ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ตอบว่า ไม่เสีย แท้จริง อวัยวะเพศถือเป็นส่วนหนึ่งจากร่างกายของท่าน (บันทึกหะดิษโดยบุคอรีย์ มุสลิม อบูดาวูด อัตติรมีซีย์ โดยท่านอิบนุ หิบบาน ถือว่าหะดิษนีเศาะเฮียะฮฺ ,อิบนิลมะดีนี กล่าวว่า หะดิษบทนี้ดียิ่งกว่าหะดิษที่รายงานโดยยุสเราะฮฺเสียอีก)

และหะดิษที่รายงานโดยอุมัร อะลี อิบนุมัสอู๊ด อิบนุอับบาส

 อบูอุร็อยเราะฮฺ กล่าว่า 
"ความจริงพวกเขาไม่ถือว่าการกระทบอวัยวะเพศนั้นเป็นหะดัษ จนกระทั้งอะลี ได้กล่าว่า ฉันไม่สนใจที่จะสัมผัสมัน"
ผู้ที่มีทัศนะนี้คือผู้ที่ตามมมัซอับฮานาฟีย์

ทัศนะที่ว่าทำให้เสียน้ำละหมาดถึงแม้จะไม่มีความสึกทางเพศก็ตามโดยอาศัยหลักฐานดังนี้

 ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัย ฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

مَنْ مَسَّ ذَكَرَهُ فَلْيَتَوَضَّأْ

“ ผู้ใดที่สัมผัสโดนวัยเพศของเขา เขาจงอาบน้ำละหมาด ”
(บันทึกโดยอาบูดาวูด)

รายงานหนึ่ง ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

منْ مَسَّ ذَكَرَهُ فَلا يُصَلِّ حَتَّى يَتَوَضَّأْ

“ ผู้ใดที่สัมผัสโดนวัยเพศของตนเอง เขาจงอย่าละหมาด จนกว่าเขาจะอาบน้ำละหมาดให้เรียบร้อย เสียก่อน ” (บันทึกโดยมุสลิม,อาบูดาวูด,อัดติรมิซีย์และอันนะซาอีย์)

 ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

أَيُّمَا رَجُلٍ مَسَّ فَرْجَهُ فَلْيَتَوَضَّأْ و َأَيُّمَا امْرَأَةٍ مَسَّتْ فَرْجَهَا فَلْتَتَوَضَّأْ

“ ชายใดสัมผัสโดนอวัยวะเพศตนเองเขาจงอาบน้ำละหมาด และหญิงใดที่สัมผัสโดนอวัยวะเพศตนเอง เธอจงอาบน้ำละหมาด ” (บันทึกโดยอะหมัดและอัดฏ้อบรอนีย์)

ท่านรอซูลุล ลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวไว้อีกว่า

مَنْ أَفْضَى بِيَدِهِ إِلَى فَرْجِهِ لَيْسَ دُونَهُ حِجَابٌ  فَقَدْ وَجَبَ عَلَيْهِ الْوُضُوءُ

“ ผู้ใดที่ยื่นมือไปโดนอวัยวะเพศของตนเองโดยไม่มีสิ่งปิดกั้น แน่นอนการอาบน้ำละหมาดใหม่ถือว่าจำ เป็นบนเขาแล้ว ”  
(บันทึกหะดิษโดยอัลฮากิมและอิบนิอับดิลบัรรฺ)


ผู้ที่มีทัศนะเช่นนี้คือ ผู้ที่ตามทัศนะของมัซฮับมาลิกีย์ ชาฟีอีย์ และฮัมบาลีย์ 

โดยกลุ่มมาลีกี หากสัมผัสอวัยวะเพศโดยเจตนา หรือหลงลืมโดยไม่มีสิ่งขว่างกั่น ทำให้เสียน้ำละหมาด แต่หากสัมผัสลูกอัณฑะ ทวารหนัก หรือทวารเบาของเด็กไม่ว่าหญิงหรือชายที่ยังไม่บรรลุศาสนาภาวะ ไม่ถือว่าเสียน้ำละหมาด จะเป็นของคนเป็นหรือคนตายก็ตาม

ทัศนะที่ว่า หากการสัมผัสอวัยเพศแล้ว มีความรู้สึกทางเพศจะเสียน้ำละหมาด แต่หากไม่มีความรู้สึกทางเพศ จะไม่เสียน้ำละหมาด 

โดยอาศัยหะดิษที่รายมาจกท่านฏ็อลกิล จากหลักฐานของทัศนะแรก ที่ว่าอวัยเพศก็เหมือนอวัยวะอื่นๆ ถ้าหากสัมผัสแล้วไม่มีความรู้สึกทางเพศ ก็ไม่เสียน้ำละหมาด  เช่นนี้สอดคล้องกับหะดิษที่ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า บุคคลใดที่สัมผัสอวัยวะเพศของเขา เขาจงอาบน้ำละหมาดไหม่

เชคอัลบานีย์ ร่อฮิมาฮุลลอฮฺ กล่าวว่า
แท้จริง อวัยวะเพศถือว่าเป็นส่วนหนึ่งจากร่างกายของท่าน เป็นการบ่งบอกถึงสัมผัส(อวัยวะเพศ) ซึ่งไม่วาญิบจะต้องอาบน้ำละหมาดใหม่ หากว่าไม่มีความรู้สึกทางเพศเพราะถือเมือนหนึ่งการสัมผัสอวัยวะร่างกาย

والله أعلم بالصواب

✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿

1 ความคิดเห็น:

  1. จะเป็นการดีไหมครับ หากข้อมูลที่เอามา ได้อ้างอิงมาจากคำฟัตวาของอุลามาฮหรือหนังสือ

    ตอบลบ