อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประชาชาติที่แตกออกเป็น 73 จำพวก



ท่านอับดุลลอฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านนะบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวว่า


فقد روى الترمذي عن عَبْدِ الله بنِ عَمْرٍو قَالَ: قالَ رَسُولُ الله صلى الله عليه وسلم: "وَتَفْتَرِقُ أُمّتِي عَلَى ثَلاَثٍ وَسَبْعِينَ مِلّةً كُلّهُمْ فِي النّارِ إِلاّ مِلّةً وَاحِدَةً، قَالَ ومَنْ هِيَ يَا رَسُولَ الله؟ قَالَ: مَا أَنَا عَلَيْهِ وَأَصْحَابِي". 

 “ประชาชาติของฉันจะประสบกับสิ่งต่างๆในสิ่งที่ชาวยิวประสบมาแล้วโดยเดินตามรอยท้าวของพวกเขาแบบก้าวต่อก้าว จนกระทั่งว่าถ้าชาวยิวคนหนึ่งได้เดินเข้าไปหาแม่ของเขาเพื่อจะมีเพศสัมพันธ์อย่างเปิดเผย คนของประชาชาติของฉันก็จะทำอย่างเช่นเดียวกัน ชาวยิวจะแตกออกเป็น 72 กลุ่ม ประชาชาติของฉันจะแตกออก 73 กลุ่มและทุกกลุ่มจะอยู่ในนรกเว้นแต่กลุ่มเดียว'”

                  มีคนถามว่าท่านนะบีว่า
“แล้วกลุ่มนั้นเป็นกลุ่มไหนกัน?”

                  ท่านนะบีตอบว่า
 “คือกลุ่มที่ดำเนินตามในสิ่งที่ฉันและสหาย(เศาะหาบะฮฺ) ของฉันเป็นอยู่ขณะนี้” (บันทึกหะดิษโดยอัตติรมีซีย์)

                     หะดีษนี้เป็นที่รู้จักและได้รับการเอ่ยถึงในทุกยุคสมัย อันที่จริงแทบจะไม่มีใครพูดหัวข้อที่มีความขัดแย้งโดยที่ไม่ได้เอ่ยถึงมัน บ่อยครั้งที่หะดีษนี้ถูกอ้างถึงอย่างไม่เหมาะสมและคนฟังไม่สามารถเข้าใจถึงนัยยะของมันได้อย่างสมบูรณ์ฉะนั้นฉันต้องการที่จะพูดถึงหะดีษนี้และอธิบายให้มีความกระจ่างชัดมากกว่านี้ในสิ่งที่มันได้บอกกับเรา

                    หะดีษนี้มิได้ถูกบันทึกทั้งในเศาะฮี้ย์บุคอรีย์และมุสลิม ดังกล่าวนี้มิได้หมายความว่าหะดีษนี้ไม่เศาะฮี้ย์ อย่างไรก็ตาม มันเป็นไปได้ที่ท่านทั้งสองไม่อ้างถึงมันเพราะว่ามันมิได้อยู่ในมาตรฐานที่สูงพอของหะดีษเศาะฮีย์ของท่านทั้งสอง

                หะดีษนี้ถูกพบในสุนันทั้งสี่และมุสนัดของอิมาม อะฮ์มัดที่มีสายรายงานแตกต่างกัน นักปราชญ์(อุละมาอ์)บางท่านบอกว่ามันเป็นหะดีษเศาะฮี้ย์หรือขั้นต่ำสุดเป็นหะดีษหะซัน เช่น อัต ตริมีซีย์  อัล ฮากิม อัซ ซาฮาบีย์ อิบนุ ตัยมียะฮ์ อัช ชาตีบีย์ และอิบนุ ฮาญัร อัล อัซกอลานีย์ และบางท่านก็บอกว่ามันเป็นหะดีษอ่อน(เฎาะอีฟ) เช่น อิบนุ ฮัซม์ และอิบนุ อัล วะซีร์

                ทัศนะที่ถูกต้องที่สุดถือว่ามันเป็นหะดีษเศาะฮี้ย์โดยพิจารณาถึงสายรายงานจำนวนมากที่ได้มาถึงเราที่บางสายรายงานได้เพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับสายรายงานอื่นๆที่มีความบกพร่อง อย่างไรก็ตามเราไม่ปฏิบัติราวกับว่ามันเป็นเพียงหะดีษเดียวในโลกที่พูดถึงประเด็นความขัดแย้งในหมู่มุสลิม

                ท่านนะบี ศ็อลลัลอฮุ อะลัย วะซัลลัม เน้นย้ำหลายโอกาสในความจริงที่ว่าประชาชาติมุสลิมเป็นประชาชาติแห่งศรัทธาที่ดีเลิศที่ถูกอุบัติขึ้นมาในโลก ดังนั้นไม่สมควรที่ใครจะตีความหะดีษเกี่ยวกับ 73 จำพวกที่ประชาชาติก่อนๆถูกแบ่งกลุ่มน้อยกว่าจะเป็นประชาชาติที่ดีกว่าหรือได้รับความทุกข์ทรมานน้อยกว่า

                เรามีหะดีษต้นหนึ่งที่ท่านนะบี มุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัย ฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
 “ประชาชาติของฉันเป็นประชาชาติที่ได้รับความเมตตา จะมิได้รับการลงโทษในวันแห่งการตอบแทน แต่จะได้รับการลงโทษในโลกนี้แทนด้วยกับความแตกแยก ความไม่สามัคคี และการนองเลือด”(มุสนัด อิมามอะฮ์มัด สุนัน อบูดาวูด และมุสตะดร๊าก อัล ฮากิม)
มันเป็นหะดีษเศาะฮี้ย์ มันจึงชี้ให้เห็นว่าอัลลอฮ์แสดงให้เห็นถึงความเมตตาต่อประชาชาติอิสลามและการลงโทษจะเกิดขึ้นในโลกนี้แทนวันโลกหน้า

                ประชาชาติอิสลามเป็นประชาติที่อัลลอฮ์ได้ยกย่องอย่างสูง ทั้งอัล กุรอานและซุนนะฮ์ได้บอกถึงความจริงนี้ในถ้อยคำที่ชัดเจนที่สุดที่ดีกว่าประชาชาติต่างๆที่ได้ดำเนินตามคัมภีร์ก่อนๆในยุคสมัยของพวกเขา นั่นคือชาวยิวและชาวคริสเตียน นี่คือสิ่งที่ทำไมอัลลอฮ์ถึงกล่าวว่า

 “พวกเจ้านั้นเป็นประชาชาติที่ดียิ่งซึ่งถูกให้อุบัติขึ้นสำหรับมนุษยชาติ”(สูเราะฮฺ อาล อิมรอน3:110)

 และอัลลอฮ์ยังกล่าวอีกว่า “และในทำนองเดียวกัน เราได้ให้พวกเจ้าเป็นประชาชาติที่เป็นกลาง...”(สูเราะฮฺอัลบากอเราะฮฺ2:143)

                ท่านนะบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัมได้เน้นย้ำในหลายโอกาสถึงความจริงที่ว่า ประชาชาติอิสลามเป็นประชาชาติที่ที่ดีที่สุดที่อุบัติขึ้นมาบนโลก  ดังนั้นไม่สมควรที่ใครจะตีความหะดีษเกี่ยวกับ 73 จำพวกที่ประชาชาติก่อนๆถูกแบ่งจำพวกน้อยกว่าจะดีกว่าหรือได้รับความทุกข์ทรมานน้อยกว่า

                ท่านอิบนุ มัสอูดเล่าว่าเขาได้อยู่ร่วมกับคนบางคนที่ท่านนะบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ถามพวกเขาว่า
 “พวกท่านต้องการที่จะเป็นหนึ่งในสี่ของชาวสวรรค์ไหม?”
 เมื่อพวกเขาตอบกลับว่าพวกเขาต้องการเป็นอย่างนั้น ท่านนะบีถามพวกเขาว่า
 “พวกท่านต้องการที่จะเป็นหนึ่งในสามของชาวสวรรค์ไหม?”
เมื่อพวกเขาตอบกลับว่าพวกต้องการเป็นอย่างนั้น ท่านนะบีถามพวกเขาว่า
“พวกท่านต้องการที่จะเป็นครึ่งหนึ่งของชาวสวรรค์ไหม?”
 เมื่อพวกเขาตอบกลับว่าพวกต้องการเป็นอย่างนั้น  ท่านนะบีกล่าวว่า
 “ขอสาบานด้วยอัลลอฮ์ในสิ่งที่ชีวิตของมุฮัมมัดอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์  ฉันหวังว่าพวกท่านจะเป็นครึ่งหนึ่งของชาวสวรรค์ นี่เป็นเพราะว่าจะไม่มีใครได้เข้าสวรรค์เว้นแต่ชีวิตที่ยอมจำนนต่ออัลลอฮ์และพวกท่านมิได้อยู่ในหมู่ผู้ตั้งภาคีประหนึ่งดังขนสีขาวเส้นหนึ่งที่แซมอยู่ในวัวสีดำหรือขนสีดำที่แทรมอยู่ในวัวสีแดง” (เศาะฮี้ย์บุคอรีและเศาะฮี้ย์มุสลิม)

                ในหะดีษนี้ ท่านนะบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ทำให้มันกระจ่างชัดแล้วว่าครึ่งหนึ่งของชาวสวรรค์จะอยู่ในหมู่ผู้ที่ดำเนินตามท่าน

                อัลลอฮ์ทรงอภัยโทษให้กับประชาชาตินี้ในสิ่งที่มันได้ตกไปสู่การทำผิดหรือการหลงลืม อัลกุรอานสั่งให้เราวิงวอนขอดุอาว่า
“..โอ้พระเจ้าของเรา! โปรดอย่าเอาโทษแก่เราเลย หากพวกเราหลงลืมหรือผิดพลาดไป..”(สูเราะอัลบากอเราะฮฺ 2:286)

          ท่านนะบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวว่า อัลลอฮ์ทรงอภัยโทษให้กับประชาชาตินี้ในสิ่งที่ได้กระทำความพลั้งพลาดไป การหลงลืม หรือการถูกบีบบังคับ  นี่เป็นหลักการของชะรีอะฮ์ที่ไม่อาจโต้แย้งได้ซึ่งนักปราชญ์อิสลามและนักนิติศาสตร์ทั้งหมดต่างก็ยอมรับ(ในหลักการตรงนี้)

                ยิ่งไปกว่านั้น อัลลอฮ์ทรงช่วยให้ประชาชาตินี้พ้นจากความยากลำบากหรือการลงโทษที่ประชาชาติก่อนๆได้รับ อัลลอฮ์ทรงตรัสว่า

 “..และจะปลดเปลื้องออกจากพวกเขาซึ่งภาระหนักของพวกเขาและห่วงคอ ที่ปรากฏอยู่บนพวกเขา..” สูเราะฮฺอัลอะอฺรอฟ7:157)
                กลับไปสู่หะดีษ 73 จำพวก  ความจริงที่ว่ามุสลิมจะแตกออกเป็นกลุ่มจำนวนมากกว่าได้สร้างความงงงวยให้กับนักปราชญ์บางท่านตลอดยุคสมัย อย่างไรก็ตามก็มีคำตอบที่เป็นไปได้จำนวนมากต่อความงงงวยนี้

                ประการแรก ยุคสมัยของมุสลิมคือยุคสมัยที่ยาวนานที่สุดเหนือประชาชาติอื่นๆ

                ประการที่สอง การแตกแยกในประชาชาติอิสลามถือว่าเป็นปัญหาน้อยกว่าการแตกแยกที่ประสบกับคนยุคก่อน  ความบกพร่องที่เกิดจากการแตกแยกในหมู่มุสลิม  ได้รับการถ่วงดุลที่มากกว่าด้วยความดีและผลประโยชน์ที่มุสลิมมีอยู่

                การมีอยู่ของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมิได้จำเป็นว่ากลุ่มนั้นจะต้องมีสมาชิกเป็นจำนวนมาก คนหนึ่งที่ดำเนินตามความคิดของเขาเองก็สามารถจัดตั้งกลุ่มขึ้นมาได้  ฉะนั้นมันเป็นไปได้มากที่สมาชิกของ 72 จำพวกอาจจะมีเปอร์เซ็นต์น้อยมากเมื่อเทียบกับในประชาชาติอิสลามทั้งหมด

          ปัญหาที่แท้จริงอยู่กับพวกที่คิดไปเองว่าพวกเขาเป็น “กลุ่มที่รอดพ้น” ที่แยกออกมาจากกลุ่มอื่นๆทั้งหมด ที่บอกว่าทุกคนหลงผิดและประณามพวกเขา ท่านนะบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัมกล่าวว่า
“ถ้ามีคนหนึ่งพูดว่าคนนั้นจะถูกลงโทษในนรก ฉะนั้นเขาเป็นคนที่น่ารังเกียจที่สุดในหมู่พวกเขา”

          เราจะต้องจำไว้เสมอว่านะบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัมได้บอกว่า อีก 72 จำพวกนั้นยังคงเป็นมุสลิม ท่านกล่าวว่า
“ประชาชาติของฉันจะแตกออกเป็น 73 จำพวก”
 นี่หมายความว่าผู้ที่ดำเนินตามกลุ่มของพวกเขานั้นมิได้เป็นผู้ปฏิเสธศรัทธา(กาฟิร์)และผู้กลับกลอก(มุนาฟิก) พวกเขาเป็นมุสลิมและเป็นผู้ศรัทธา นี่มิได้หมายความจะไม่มีผู้กลับกลอกและผู้ปฏิเสธศรัทธาเลยแม้แต่น้อยในหมู่พวกเขา แต่กระนั้นส่วนใหญ่พวกเขายังมีความศรัทธา ถึงแม้ว่าพวกเขาจะมีทรรศนะที่ไม่ถูกต้องและข้อบกพร่องก็ตาม นี่เป็นหนทางที่นักปราชญ์ส่วนใหญ่เข้าใจถึงหะดีษ 73 จำพวก อย่างเช่น อิบนุ ตัยมียะฮ์ และอัล ชาฏีบีย์

          คำตักเตือนถึงไฟนรกที่ได้อ้างอยู่ในหะดีษนี้มิได้หมายความว่าคำตักเตือนนี้จะดำเนินไปสู่ทุกคน อิบนุ ตัยมียะฮ์กล่าวว่า หะดีษนี้มิได้เป็นคำตักเตือนที่รุนแรงไปกว่าอายะฮ์ที่กล่าวว่า
“แท้จริงบรรดาผู้ที่กินทรัพย์สินของบรรดาเด็กกำพร้าด้วยความอธรรมนั้น แท้จริงพวกเขากินไฟเข้าไปในท้องของพวกเขาต่างหาก และพวกเขาก็จะเข้าสู่เปลวเพลิง”( สูเราะฮฺอันนิสาอ์4:10)
 “ผู้ใดกระทำเช่นนั้น โดยเจตนาละเมิดและข่มเหงแล้ว เราก็จะให้เขาเข้าไฟนรกและนั่นเป็นสิ่งที่ง่ายดายแก่อัลลอฮ์”(สูเราะฮฺอันนิสาอ์ 4 :30)       
อย่างไรก็ตามอายะฮ์เหล่านี้ มิได้เป็นหลักฐานให้เราถือว่ามีบุคคลเฉพาะกำลังเดินไปสู่นรก เนื่องจากพวกเขาอาจจะสำนึกผิดในบาปของพวกเขาหรือพวกเขาอาจจะกระทำความดีอื่นๆที่จะลบล้างบาปของพวกเขา อัลลอฮ์อาจจะลบล้างความผิดของพวกเขาโดยการที่พวกเขาได้รับความทุกข์ทรมาณด้วยความยากลำบากหรือสิ่งที่คล้ายกันนี้  มันมิใช่เป็นการปฏิบัติของคนยุคแรกของเราที่จะนำตัวของพวกเขาไปหมกมุ่นกับกลุ่มเหล่านี้

อัช ชาฏีบีย์ได้อธิบายในจุดตรงนี้อย่างกระจ่างชัดในหนังสือของท่านที่มีชื่อว่า อัล มุวาฟาเกาะฮ์ อิบนุตัยมียะฮ์ได้พูดในงานเขียนของท่านหลายชิ้นด้วยกันว่า  ใครก็ตามจากหนึ่งใน 72 จำพวกที่เป็นผู้กลับกลอกเขาเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธาในหัวใจของเขา ใครก็ตามจากพวกเขาที่มิได้เป็นผู้กลับกลอกแต่ในความเป็นจริงเขาศรัทธาในอัลลอฮ์และเราะซูลของพระองค์หาใช่เป็นผู้ปฏิเสธศรัทธาไม่  แม้ว่าจะผิดพลาดอะไรก็ตามในการตีความที่พวกเขาอาจจะมี  เมื่อบรรดาผู้ศรัทธากล่าวว่า
“...ข้าแต่พระเจ้าของเราทรงโปรดอภัยให้แก่เราและพี่น้องของเราผู้ซึ่งได้ศรัทธาก่อนหน้าเรา...” 59 :10

 เราหมายความว่ามุสลิมทั้งหมดในยุคอดีต ถึงแม้ว่าพวกเขาทำความผิดในการตีความ ได้กระทำที่ขัดแย้งกับสุนนะฮ์ หรือกระทำบาปบางอย่าง พวกเขายังคงเป็นพี่น้องของเราที่ล่วงหน้าไปก่อนเราและพวกเขาทั้งหมดอยู่ภายใต้หลักการทั่วๆไปในการให้อภัย ถึงแม้ว่าพวกเขาจะอยู่ในหนึ่ง 72 จำพวกก็ตาม แต่ละคนในกลุ่มเหล่านี้มีจำนวนมากที่ไม่ได้เป็นผู้ปฏิเสธศรัทธา พวกเขาเป็นผู้ศรัทธาที่หลงผิดและได้ทำบาปบางอย่างที่ทำให้พวกเขาสมควรได้รับคำตักเตือนถึงการลงโทษ
หะดีษนี้จะต้องได้รับการพิจารณาในมุมมองที่ถูกต้อง ถึงแม้ว่าเราอาจจะมองแล้วว่าเป็นหะดีษเศาะฮี้ย์ แต่เราจะต้องไม่ตีความหมายเกินเลยไปกว่าความหมายที่แท้จริงของมัน เราต้องไม่อนุญาติให้นำหะดีษนี้มาใช้จนทำให้มีการแตกแยกกันมากขึ้นระหว่างมุสลิมและยุยงความขัดแย้งในหมู่ผู้ศรัทธา



والله أعلم بالصواب

✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿


ชัยค์ ดร. ซัลมาน อัล เอาดะฮ
อาอิช แปลและเรียบเรียง
http://www.fityah.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น