ศาสนาไม่อนุญาตให้หญิงมุสลิมะฮฺคนหนึ่งคนใด
จัดการแต่งงาน โดยที่นางไม่มีวะลีย์ (ผู้ปกครอง) หรือนางจะจัดการแต่งงานให้กับตนเองไม่ได้
และการแต่งงานนั้นจะไม่เกิดขึ้นด้วยคำพูดของนาง
การมีวะลีย์ถือเป็นเงื่อนไขในความถูกต้องของพิธีการแต่งงาน จึงวาญิบที่นางจะต้องมีวะลีย์ในการจัดการแต่งงานให้แก่นางทุกกรณี
นั้นคือ ไม่ว่าหญิงที่จะจัดการแต่งงานนั้น จะเป็นผู้ที่มีอายุน้อย บรรลุศาสนภาวะ
หรือยังไม่บรรลุศาสนภาวะ หรือแก่ชราภาพแล้วก็ตาม หรือไม่ว่าหญิงนั้นจะเป็นสาวโสด
หรือผ่านการแต่งงานมาแล้วก็ตาม และวะลีย์ที่จะทำนิกะฮฺนั้นจะเป็นวะลีย์อักร็อบ
หรือวะลีย์ลำดับใกล้ชิด อันได้แก่ ญาติผู้ชายที่ใกล้ชิดที่สุด ของหญิงผู้นั้นนั้น เช่น
พ่อของนาง ปู่ของนาง พ่อของปู่ของนาง...ตามลำดับความใกล้ชิด หรือวะลีย์อับอัด
หรือวะลีย์ลำดับไกลออกไป ได้แก่ วะลีย์สุลฏอน(วะลีย์อาม) ซึ่งเป็นประมุขของประชากรมุสลิม
หรือวะลีย์หากิม(กอฎีย์) หรือผู้ปกครอง ผู้นำ หรือผู้พิพากษา ก็ตาม
ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ
อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวว่า
“ لا نكاح إلا بولي ”
ความว่า “ไม่ถือว่าเป็นการแต่งงาน
(หรือการแต่งงานใช้ไม่ได้) ยกเว้นจะต้องมีวะลีย์เท่านั้น” (บันทึกโดยอบูดาวูด ลำดับหะดีษที่ 2085
ซึ่งเชคอัลบานีย์ระบุว่า หะดีษข้างต้นเศาะเฮียะฮฺ)
รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺเล่าว่า
ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวว่า
“ أيما امرأة نكحت بغير إذن وليها فنكاحها باطل فنكاحها باطل فنكاحها باطل ”
ความว่า “สตรีท่านใดที่แต่งงานโดยมิได้รับอนุญาตจากวะลีย์ของนาง
เช่นนี้การแต่งงานของนางนั้น ถือว่าเป็นโมฆะ, การแต่งงานของนางนั้น ถือว่าเป็นโมฆะ
และการแต่งงานของนางนั้น ถือว่าเป็นโมฆะ”(บันทึกโดยติรฺมิซีย์
หะดีษที่ 1102, อบูดาวูด หะดีษที่ 2083, อิบนุมาญะฮฺ หะดีษที่ 1879, ซึ่งเชคอัลบานีย์ระบุว่า
หะดีษข้างต้น เศาะเฮียะฮ อ้างอิงจากหนังสือ “อิรฺวาอุลเฆาะลีล” ลำดับหะดีษที่ 1840)
รายงานจากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺเล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวว่า
“ لا تزوج المرأة المرأة ولا تزوج المرأة نفسها فإن الزانية هي التي تزوج نفسها ”
ความว่า “สตรีจะไม่แต่งงานกับสตรี
และสตรีจะไม่แต่งงานด้วยตัวของนางเอง แท้จริงสตรีที่ทำซินาคือ
การที่นางแต่งงานด้วยตัวของนางเอง (โดยไม่มีวะลีย์ของนาง)” (บันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ
ลำดับหะดีษที่ 1872 ซึ่งเชคอัลบานีย์ระบุว่าเป็นหะดีษเศาะเฮียฮฺ)
สำหรับการจัดการแต่งงานของหญิงหม้ายนั้น
นอกจากต้องมีวะลีย์แล้ว
จำเป็นที่จะต้องได้รับอนุญาตจากนางด้วยวาจาของที่จะจัดการแต่งงานชายใดกับนางอีกด้วย
หมายความว่านางยินยอมด้วยตัวของนางเอง ว่าด้วยการตอบรับการแต่งงานของผู้มาสู่ขอด้วยคำพูดจากใจของนาง
รายงานท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺเล่าว่า
ท่านรสูลุลลอฮฺฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ
อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวว่า
: [لا تنكح الأيم حتى تستأمر ، ولا تنكح البكر حتى تستأذن]
قالوا : يا رسول الله
! وكيف إذنها ؟ قال
: [أن تسكت]
.
“ไม่อนุญาตให้หญิงหม้ายนิกาหฺ จากกว่านางจะถูกขอคำสั่งเสียก่อน และหญิงบริสุทธิ์ (ผู้หญิงที่ไม่เคยผ่านการแต่งงานมาก่อน)
จะไม่แต่งงานจนกว่านางจะถูกขออนุญาตเสียก่อน บรรดาเศาะหาบะฮฺกล่าวถามว่า การยินยอมของนางเป็นเช่นไร? ท่านรสูลตอบว่า
คือการนิ่งของนางนั่นเอง” (บันทึกโดยบุคอรีย์ หะดีษที่ 6970)
รายงานจากนางค็อนสาอ์ อัลอันศอรียะฮฺเล่าว่า
إن أباها زوجها وهي ثيب فكرهت ذلك فأتت رسول اللّه صلى اللّه عليه وآله وسلم فرد نكاحها.
“ แท้จริงมีบิดา (ผู้หนึ่ง)
แต่งงานลูกสาว (ของเขา) ซึ่งนางเป็นหญิงหม้าย
แต่ทว่านางรังเกียจการแต่งงานครั้งนั้น นางจึงมาหาท่านรสูลุลลอฮฺ ท่านรสูลจึงยกเลิกการแต่งงานของนาง
(ทันที)”(บันทึกหะดิษโดยบุคอรีย์
อบูดาวูด ติรฺมีซีย์)
และเมื่อหญิงมีวะลีย์ที่จะทำการแต่งงานให้กับนางแล้ว
วะลีย์ของนางอาจจะมอบหมายให้ผู้อื่นแต่งงานแทนได้
เพราะวะลีย์รับรู้และยอมรับการแต่งงานของนางแล้ว
والله أعلم بالصواب
✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿
ญะซากัลลาฮุคอยรอนจร้า....
ตอบลบ