อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557

สามีคอยแบ่งเบาภาระภรรยา


เราในฐานะสามี ผู้ได้รับมอบการปกครองจากบิดามารดาของฝ่ายภรรยา และถูกมอบความไว้วางใจจากผู้เป็นภรรยาและบิดามารดาของนาง ที่จะคอยดูแลเอาใจใส่แก่นาง ไม่ว่าในความเป็นอยู่ เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ค่าเลี้ยงดู อาหารการกิน ตลอดการสร้างความอบอุ่นให้แก่ครอบครัว เป็นผู้คอยให้คำปรึกษาและช่วยแก่ปัญหาต่างๆ คอยแนะนำอบรมให้อยู่ในร่องรอยศาสนา จึงถือว่าเป็นอามานะฮฺหน้าที่อันยิ่งใหญ่สำหรับสามีอันพึงมีต่อภรรยาของเขา

และถึงแม้ว่างานบางอย่างจะเป็นหน้าที่ของภรรยา แต่เราในฐานะสามีก็คอยแบ่งเบาภาระตรงนี้บ้าง โดยเฉพาะปัจจุบันภรรยาต้องออกไปทำงานนอกบ้าน กลับมาก็ต้องปฏิบัติหน้าที่ของนางในบ้าน ไม่ว่าต้องดูแลลูกๆ ทำกับข้าว ทำความสะอาดบ้าน ซักผ้า รีดผ้า หน้าที่ของนางเหล่านี้ นางอาจทำไม่ทัน หรือไม่เป็นที่พอใจสามี สามีก็ควรช่วยเหลือให้การปลอบใจนางบ้าง ไม่ใช่ปฏิเสธให้ภรรยาทำเพียงลำพัง อย่างน้อยก็คอยช่วยเหลือนางในสิ่งเล็กๆน้อยๆ ที่สามารถช่วยเหลือนางได้


ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

«أَكْمَلُ الْمُؤْمِنِينَ إِيمَانًا أَحْسَنُهُمْ خُلُقًا وَخِيَارُكُمْ خِيَارُكُمْ لِنِسَائِهِمْ خُلُقًا» (الترمذي برقم 1162، وقال حديث حسن صحيح)

ความหมาย “ผู้ศรัทธาที่มีความสมบูรณ์ยิ่งในการศรัทธาคือ ผู้ที่มีลักษณะนิสัยที่ดีงามยิ่ง และผู้ที่ดีเลิศในกลุ่มพวกท่านคือ ผู้ที่มีนิสัยดีต่อภรรยาของพวกเขา” 
(สุนันอัต-ติรมิซีย์ 3/466 หมายเลขหะดีษ 1162 ท่านบอกว่าเป็นหะดีษ หะซัน เศาะฮีหฺ)

والله أعلم بالصواب



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น