อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพฤหัสบดีที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2557

ให้กล่าวอะอูซุบิลาฮฺฯเฉพาะในร็อกอะฮฺแรกหรือไม่



มีสุนนะฮฺให้กล่าว “อะอูซุบิลาฮฺฯ”  หลังจากอ่านดุอาอฺอิฟติตะฮฺ ก่อนจะอ่านฟาติหะฮฺ

พระองค์อัลลอฮฺตะอาลา ตรัสว่า

فإذاقرأتالقرآنفاستعذباللهمنالشيطانالرجيم

“เมือเจ้าต้องการอ่านอัลกุรอาน ก็จงขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺให้พ้นจากชัยฏอนที่ถูกสาปแช่ง” (อัลกุรอาน สูเรนาะฮฺอันนะฮฺลิ 98)

โดยให้กล่าว่า

أَعُوْذُ بِاللهِ مِنَ الشَّيْطَانِ الرَّجِيْمِ

คำอ่าน ( อะอูซุบิลลาฮิ มินัช ชัยฏอนิร เราะญีม )

ความหมาย “ ข้าขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺ ให้พ้นจากชัยฏอนผู้ถูกสาปแช่ง ”

หรือกล่าวว่า

أَعُوْذُ بِاللهِ السَّمِيْـعِ العَلِيمِْ مِنَ الشَّيْطَانِ الرَّجِيمِْمِنْ هَـمْزِهِ، وَنَفْخِهِ وَنَفْثِهِ

คำอ่าน ( อะอูซุบิลลาฮิส สะมีอิล อะลีม, มินัช ชัยฏอนิร เราะญีม, มิน ฮัมซิฮี วะ นัฟคิฮี วะ นัฟษิฮฺ )

ความหมาย “ ข้าขอความคุ้มครองต่อพระองค์ ผู้ทรงได้ยินและรอบรู้ยิ่งให้พ้นจากชัยฏอนผู้ถูกสาป แช่ง จากการกระซิบของมัน การพ่นและเป่ามนตร์ของมัน ”
(บันทึกโดยอาบูดาวูดและอัตติรมิซีย์)

มีสุนนะฮฺให้กล่าว "อะอูซุบิลลาฮฺ"ค่อยๆ

ในหนังสือ "มุฆนี" กล่าว่า
"ท่านนบี จะกล่าว "อะอูซุบิลลาอฺ ค่อยๆ โดยไม่ออกเสียงให้ดัง ในเรื่องนี้ไม่พบว่ามีการขัดแย้งกัน" 

อิมมาชาฟิอี มีความเห็นว่า
“ในการละหมาดที่อ่านดังให้เลือกอ่านได้ทั้งสองอย่าง จะอ่านดังหรืออ่านค่อยก็ได้”

สำหรับกรณีว่า ให้กล่าว อะอูซุบิลลาฮฺ ครั้งเดียวเพียงร็อกอะฮฺแรก หรือให้กล่าวในทุกๆร็อกอะฮฺนั้น นักวิชาการมีความเห็นต่างกัน ทั้งสองกรณี แต่ที่ถูกต้องที่มีหลักฐานรองรับตามแบบฉบับของท่านรสูล   (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) นั้นคือ ให้กล่าว "อะอูซุบิลลาฮฺ" เฉพาะในร็อกอะฮฺแรกเท่านั้น

รายงานจากท่านอบีหุร็อยเราะฮฺ (ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ) เล่าว่า
“ปรากฏว่าท่านรสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) นั้น เมื่อท่านลุกขึ้นมาในร็อกอะฮฺที่สองท่านจะเริ่มอ่าน “อัลฮัมดุลิลลาฮฺ ร้อบบิลอาละมีน” เลย โดยไม่มีการหยุดนิ่ง” (บันทึกหะดิษโดยอิมามมุสลิม

ท่านอัชเชากานี กล่าว่า
"ที่ถูถต้องที่สุดคือให้ปฏิบัติเฉพาะที่มีแบบฉบับมาเท่านั้น คือกล่าว "อะอูซุบิลลาฮฺฯ" เฉพาะในร็อกอะฮฺแรก"

ท่านอิบนุลก็อยยิม (ร่อหิมะฮุลลอฮฺ) กล่าวว่า
“บรรดานักนิติศาสตร์อิสลาม ได้มีความเห็นขัดแย้งกันว่า “ช่วงนี้เป็นที่ๆจะต้องมีการกล่าวอะอูซุบิลลาฮฺหรือไม่” หลังจากที่มีความเห็นตรงกันว่า “ในช่วงนี้ไม่มีการอ่านดุอาอฺอิฟติตาฮฺ” ในเรื่องนี้มีสองทัศนะด้วยกัน ซึ่งมีรายงานจากอมามอะหฺมัดทั้งคู่ สหายของอิมามอะฮฺมัดบางคนถือว่าเป็นการอ่านครั้งเดียวไปจนจบ หรือว่าเป็นการอ่านเฉพาะร้อกอะฮฺเท่านั้น ถ้าถือเป็นการอ่านครั้งเดียว การกล่าวอะอูซุบิลลาฮฺเพียงครั้งเดียวก็เป็นการเพียงพอ แต่ถ้าถือว่าเป็นการอ่านของแต่ละร็อกอะฮฺเป็นเอกเทศเฉพาะร้อกอะฮฺนั้น ก็ให้กล่าวอะอูซุบิลลาฮฺฯ ทุกร็อกอะฮฺไป แต่ทั้งสองฝ่ายมีความเห้นตรงกันว่า “การอ่านดุอาอฺอิฟติตะฮฺนั้นถือเป็นการอ่านครั้งเดียวของละหมาดจนกระทั้งเสร็จ ดังนั้นการกล่าวอะฮูซุบิลลาฮฺเพียงครั้งเดียว (ในร็อกอะแรก) จึงมีหลักฐานชัดเจนกว่า เพราะมีหะดิษเศาะเฮียะฮฺเป็นหลักฐานอยู่  โดยอิบนุก้อยยิมได้กล่าวถึงหะดิษที่รายงานโดยอบูหุร้อยเราะฮฺ พร้อมทั้งกล่าวเสริมว่า “ที่ถือวากล่าวอะอูซุบิลลาฮฺฯเพียงครั้งเดียวก้พอนั้น เพราะว่าสิ่งที่คั่นระหว่างการอ่านนั้นมิใช่การนิ่ง แต่เป็นคำซิกรุลลอฮฺ ดังนั้นจึงเหมือนกับการอ่านครั้งเดียวที่มีทั้งตะมีด ตัสเบียฮฺ ตะฮฺลีล และศอละวาตนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) และอื่นๆเข้าไปแทรกอยู่ด้วย"

والله أعلم بالصواب



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น