#แนวคิดและอุดมการณ์
มุสลิมในยุคปัจจุบันต่างจากมุสลิมในยุคแรกๆของอิสลาม กล่าวคือในยุคแรกๆ นั้นมุสลิมมิได้แยกออกเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อย แต่ปัจจุบันนี้มุสลิมได้แตกออกเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อย ซึ่งมีความแตกต่างกันทั้งแนวคิด ความเชื่อ และการปฏิบัติ ความจริงข้อนี้คงไม่มีใครปฏิเสธได้
การศึกษาว่ากลุ่มใดมีแนวคิด ความเชื่อ และแนวปฏิบัติในลักษณะใด ย่อมเป็นการดีต่อเราอย่างยิ่ง เพราะจะได้ไม่หลงไปสู่กลุ่มแนวคิดที่ไม่ถูกต้อง หรือเพื่อจะได้ร่วมงาน สนับสนุน และเป็นมิตรกับกลุ่มที่มีแนวคิด ความเชื่อ และการปฏิบัติที่ถูกต้อง
กลุ่มอิควานุ้ลมุสลิมีน ก็นับว่าเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่บทบาทในปัจจุบันและในอดีตที่ไม่ไกลเกินไปนัก กลุ่มนี้ได้รับการก่อตั้งโดยเชคฮะซัน อัลบันนาในปี ฮ.ศ 1324 หรือใน ค.ศ 1906
คือหลังจากระบบการปกครองแบบค่อลีฟะห์(อุษมานียะห์)ล่มสลายไปสี่ปี โดย ประมาณ การล่มสลายนั้นมีผลสูงมากต่อแนวคิดแบบอิควานนิยมของเชคฮะซัน อัลบัน-นา คือเป็นแนวคิดที่จะให้ระบบการปกครองแบบอิสลามเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งซึ่งก็ คือระบบค่อลีฟะห์ เพราะเชื่อว่ามุสลิมภายใต้ระบบนี้เท่านั้นจะสามารถยับยั้งความอธรรมต่างๆที่ เกิดขึ้นและสามารถจะต่อสู้กับศัตรูทั้งหลายที่รุมทำร้ายพี่น้องมุสลิมอยู่ ทั่วทุกมุมโลก ในเบื้องต้นนั้นเป็นแต่เพียงแนวคิดลักษณะทฤษฎีที่ยังขาดรายละเอียดและการวาง แผนดำเนินงานที่ชัดเจน แต่ต่อมาก็ได้มีการวางรากฐานที่ชัดเจนขึ้น มีการจัดรูปแบบขององค์กรที่เด่นชัดขึ้น
แนวคิดดังกล่าวได้แพร่หลายออกไปสู่มุสลิมในส่วนต่างๆ ของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกอาหรับ ในประเทศไทยก็มีผู้นำแนวคิดดังกล่าวมาเผยแพร่ซึ่งส่วนใหญ่ฝังตัวอยู่ในหมู่ นิสิตนักศึกษา แต่ในประเทศอียิปต์นั้นแนวคิดดังกล่าวนี้เป็นที่แพร่หลายมากทีเดียวโดยเฉพาะ ในหมู่คนหนุ่มสาว
ท่านฮะซันอัลบันนากล่าวถึงจุดยืนของกลุ่มอิควานฯที่ตนก่อตั้งขึ้นไว้ดังนี้
(إن الإخوان المسلمين دعوة سلفية ، وطريقة سنية ، وحقيقة صوفية وهيئة سياسية ، وجماعة رياضية ، ورابطة علمية وثقافية ، وشركة اقتصادية ، وفكرة اجتماعية ) الموسوعة الميسرة ج 1 ص 250
“แท้จริงอิควานุ้ลมุสลิมีนคือการเรียกร้องแบบซะลัฟ แนวทางแบบซุนนะห์ ข้อเท็จจริงแบบซูฟี เป็นองค์กรการเมือง ทีมกีฬา สมาคมทางวิชาการและวัฒนธรรม บริษัททางธุรกิจ และแนวคิดทางสังคม”
จากจุดยืนโดยรวมของกลุ่มอิควานฯที่ผู้ก่อตั้งได้กล่าวไว้ เราพอเข้าใจได้ว่ามันเป็นการประสมประสานความแตกต่างหลากหลายเข้าไว้ด้วยกัน นั่นก็คือคำว่าซะลัฟและซูฟี แนวทางแบบซูฟีนั่นเกิดขึ้นหลังจากยุคของซะลัฟ คือหลังจากยุคศ่อฮาบะห์ ตาบิอีน และตาบิอิตตาบิอีน บิดอะห์ต่างๆมักเกิดจากกลุ่มซูฟีเสียเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นการประสานระหว่างคำว่าซูฟีและซุนนะห์นั้น จึงเป็นเรื่องที่เข้าใจยากและทำยากเพราะมันเป็นสิ่งที่ตรงกันข้าม แต่เนื่องด้วยแนวคิดดังกล่าวนี้ต้องการพลังมวลชนสนับสนุนจึงต้องประสานแนว คิดต่างๆ ไว้ในเวลาเดียวกัน โดยถือหลักว่าเราจะร่วมมือกันในส่วนที่เราตรงกันและจะไม่ว่ากันในส่วนที่เรา ต่างกัน
ลักษณะเด่นของกลุ่มอิควาน ฯตามที่ผู้ก่อตั้งได้ย้ำไว้มีดังนี้คือ
๑. ต้องพยายามออกห่างจากการขัดแย้ง(ไม่ว่าเรื่องนั้นจะเป็นเรื่องหลักการศรัทธาก็ตาม)
๒. ต้องออกห่างจากผู้หลักผู้ใหญ่ที่มีอำนาจและหน้าตาในสังคม
๓. ต้องหลีกเลี่ยงกลุ่มต่างๆ (คือหลีกเลี่ยงที่จะไปอยู่กลุ่มหนึ่งกลุ่มใดเฉพาะ)
๔. ให้ความสำคัญกับการจัดตั้งอย่างเป็นระบบและดำเนินแผนเป็นขั้นเป็นตอน
๕. ปลุกกระแสในเชิงปฏิบัติและผลิตผลงานในลักษณะการโฆษณาและประชาสัมพันธ์(กลุ่มของตน)
๖. ให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อคนหนุ่มสาว
๗. ให้มีการขยายไปทั้งชนบทและในเมือง
ขั้นตอนการปฏิบัติงานจริงเพื่อให้ลุแก่เป้าหมายดังกล่าวมีดังนี้
๑. การแนะนำ (การเรียกร้องเชิญชวน)
๒. การจัดตั้ง (กลุ่มของตนขึ้นต่างหาก)
๓. การปฏิบัติ (ลุกขึ้นต่อสู้)
ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้ลุแก่วัตถุประสงค์หลัก คือการหวนคืนกลับมาของระบบค่อ-ลีฟะห์ ดังนั้นจุดต่างระหว่างกลุ่มอิควานฯกับกลุ่มมุสลิมอื่นๆ จึงแยกได้ชัดเจนตรงเป้าหมายหลักอยู่ที่การได้มาซึ่งระบบการปกครองแบบอิสลาม ดังนั้นกลุ่มอิควานฯ สามารถจะร่วมกับมุสลิมกลุ่มใดๆก็ได้หากกลุ่มนั้นสนับสนุนแนวคิดของกลุ่มตน เพื่อลุแก่เป้าหมายสูงสุดก็คือการจัดตั้งระบบค่อลีฟะห์ทั้งหมดนี้เป็นเพียงบทสรุปสั้นๆ เกี่ยวกับที่มาของญะมาอะห์ดังกล่าว
วิเคราะห์อิควานทั้งในอดีตและปัจจุบัน
ผู้นำคนแรกของญะมาอะหรือกลุ่มอิควานฯ คือ ฮะซันอัลบันนา ฮะซันบันนาคือใคร? คำถามนี้มีความสำคัญมากหากไม่รู้จักบุคคลท่านนี้แล้วเราก็คงไม่รู้จัก ญะมาอะห์อิควานฯ
ท่านฮะซันบันนนาเกิดที่หมู่บ้านมะมูดียะห์ อำเภอบุฮัยเราะห์ ประเทศอียิปต์ เมื่อปี ค.ศ. 1904 ท่านศึกษาระดับประถมและมัถยมที่บ้านเกิดและศึกษาระดับอุดมศึกษา ณ เมือง ดะมันฮูร สำเร็จการศึกษาจากสถาบันดารุ้ลอุลูม ท่านเป็นคนเรียนเก่งและฉลาด หลังจากสำเร็จการศึกษาก็ได้รับบรรจุให้เป็นครูสอนอยู่วิทยาลัยฝึกหัดครูอยู่ หลายปี แต่ก็ลาออกในปี ค.ศ. 1946 สาเหตุเพราะท่านได้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์รายวันซึ่งเป็นของกลุ่มอิควานุ้ลมุ สลิมีน
หลังจากฮะซันอัลบันนาเสียชีวิต ก็ได้มีการสืบทอดตำแหน่งผู้นำอิควานฯ มาโดยลำดับ ดังนั้นการรู้จักแนวคิดความเชื่อของผู้นำอิควานฯ ในแต่ละยุค จึงเป็นส่วนสำคัญที่จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในแนวคิดความเชื่อ แบบอิควานฯ ตลอดจนทราบถึงรูปแบบและแนวทางปฏิบัติของพวกเขาด้วย
แนวทางที่ค้านซุนนะห์และเตาฮีด
เชคฮะซันอัลบันนา เติบโตมาในบรรยากาศของนิกายซูฟี ที่กล่าวเช่นนี้ก็เพราะว่าท่านพูดถึงตัวเองไว้ดังนี้
"ข้าพเจ้าสมาคมกับกลุ่มฮัซซอฟียะห์ ณ เมือง ดะมันฮูร และข้าพเจ้าก็เข้าร่วมการชุมนุม(ตามแบบของซูฟีนิกายฮัซซอฟียะห์) อยู่เป็นนิจ ทุกคืน ณ มัสยิดเตาบะห์ " แล้วท่านก็เล่าต่อไปว่า "ซัยยิดอับดุลวะฮาบผู้เป็นหัวหน้าสายฏ่อรีเกาะห์ฮัซซอฟียะห์ อัชชาซิลียะห์ ก็มาเช่นกัน ข้าพเจ้าได้รับฏ่อรีเกาะห์สายดังกล่าวจากท่านและท่านก็อนุญาตให้ข้าพเจ้าได้ ปฏิบัติตัวตามขั้นตอนของฏ่อรีเกาะห์ดังกล่าวทุกประการ"
เชคฮะซันอัลบันนามีส่วนร่วมก่อตั้งสมาคมซูฟีสายฮัซซอฟียะห์อัชชาซิลียะห์ ท่านกล่าวว่า
"เราเห็นสมควรก่อตั้งสมาคมฟื้นฟูซึ่งก็คือสมาคมการกุศลฮัซซอฟียะห์ ข้าพเจ้าได้รับเลือกเป็นเลขาสมาคม ฯ และก็แปลงเป็นสมาคมอิควานุ้ลมุสลิมีนในกาลต่อมา"
น้องชายท่านที่ชื่อว่าอับดุรเราะห์มานเล่าถึงวงซิกรุ้ลเลาะห์ที่ท่านฮะซัน อัลบันนาเข้าร่วมไว้ดังนี้ " หลังละหมาดอิชาอาอฺพี่ชายข้าพเจ้าจะเขาร่วมวงซิกรุ้ลเลาะห์กับบรรดาพี่น้อง สายฮัซซอฟียะห์ หัวใจของเขา (ฮะซันอัลบันนา) เต็มเปี่ยมไปด้วยรัศมีของอัลเลาะห์ ฉันก็เข้าไปนั่งร่วมซิกรุ้ลเลาะห์ด้วย " เขาเล่าไปถึงตอนที่ว่า " คืนนั้นดูสงบและหาได้มีเสียงอื่นใดเว้นแต่เสียงของผู้ซิกรุ้ลเลาะห์หรือแสง สว่างอันเรืองรอง ทันใดนั้นแสงสว่างจากฟากฟ้าก็ปกคลุมสถานที่ดังกล่าว ความสูงส่งของพระผู้อภิบาลก็หล่อหลอมเขาไว้ (หมายถึงเชคฮะซัน) กายใจมลายไปหลอมรวมเป็นสิ่งเดียว ทุกสิ่งทุกอย่างหายไปจากการมีอยู่ จนกระทั้งท่านรำพึงด้วยเสียงอันอ่อนหวานและขับขานเป็นบทกลอนอันเพราะพริ้ง ขึ้นว่า
อัลเลาะห์กล่าวว่าจงละทิ้งสิ่งที่มีอยู่และสิ่งที่อยู่ในมัน หากเจ้ายังสงสัยใน
ความสำคัญอันสมบูรณ์ยิ่งของข้าฯ
ทุกสิ่งทุกอย่างอื่นจากอัลเลาะห์และความจริงของมัน
หาได้มีอยู่จริงจะโดยละเอียดหรือโดยรวมก็ตาม
เชคอะห์หมัดนัจมี กล่าวว่า " บทกลอนดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความเชื่อแบบวะห์ดะติ้ลวุญูด (ทุกสิ่งที่เห็นคือสิ่งเดียวกันนั่นก็คืออัลเลาะห์) และชี้ให้เห็นถึงบิดอะห์การซิกรุ้ลเลาะห์แบบซูฟี
บทสรุปในเรื่องนี้คือหากว่าผู้ที่จะเรียกร้องไปสู่การญิฮาดยังไม่สะอาดใน ด้านอะดีดะห์ ก็ย่อมจะไม่สามารถพาผู้คนไปสู่ทิศทางที่ถูกต้องได้ เพราะตัวเองหลงทางและเป็นเหตุให้ผู้อื่นหลงทางด้วย
ผู้นำอิควานฯในยุคต่อๆมาก็ไม่ให้ความสำคัญในเรื่องเตาฮีดและอะกีดะห์ และยังมีความเข้าใจผิดๆ ในเรื่องดังกล่าวอีกด้วย เช่น อุมัรตะละมัซซานี อิควานชั้นแนวหน้าเคยกล่าวว่า "มีบางคนอ้างว่าท่านร่อซู้ลนั้นสามารถขออภัยโทษ(จากอัลเลาะห์)ให้แก่ผู้มาหา ตอนท่านยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น ฉันไม่ทราบแน่ชัดว่าเพราะอะไรถึงไปจำกัดโองการ(ความหมายอัลกุรอ่าน)ไว้แต่ เพียงว่าเป็นการขอของร่อซู้ลในยามที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ในโองการ( อัลกุรอ่าน)หาได้ระบุการจำกัดเช่นนั้นไม่ ดังนั้นฉันจึงโน้มเอียงไปในทางทัศนะที่บอกว่า ท่านร่อซู้ลนั้น สามรถจะขออภัยโทษให้แก่ผู้ไปหาท่านได้ไม่ว่าท่านจะยังมีชีวิตอยู่หรือตายไป แล้ว ไม่มีเหตุผลอันใดที่จะแข็งขันดึงดันปฏิเสธการเชื่อมั่นในกะรอมะห์ของบรรดาวะ ลีทั้งหลาย และเชื่อมั่นในการมุ่งหาบรรดาวะลีเหล่านั้น ณ สุสานของพวกเขาเพื่อขอดุอาในสุสานนั้นยามเมื่อเกิดความทุกข์ร้อน กะรอมาตของบรรดาวะลีเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงมั๊วอฺญิซาตของบรรดานะบีทั้งหลาย"
มุสตอฟา สุบาอี้ย์ ผู้นำอิควานในประเทศซีเรียก็ไม่ต่างไปจากผู้นำอิควานฯ ที่ได้กล่าวถึงไปแล้ว ซึ่งเคยกล่าวเป็นบทกลอนไว้ดังนี้ว่า
โอ้ผู้ขับขี่พาหนะมุ่งสู่บ้านหลังนั้นและดินแดนต้องห้าม
มุ่งสู่ความดีแสวงหานายแห่งมนุษยชาติ
หากความพยายามของท่านที่มุ่งหาคนที่ท่านเลือกเป็นเรื่องสมควร
ความพยายามของฉัน เช่นฉัน ต่อผู้สำคัญยิ่ง มันเป็นสิ่งจำเป็น
โอ้นายของฉัน โอ้สุดที่รักของอัลเลาะห์ ฉันได้มายัง
ประตูบ้านของท่านเพื่อมาร้องเรียกให้ฉันได้หายเจ็บป่วย
โอ้นายของฉันความเจ็บปวดได้รุมเร้าเรือนร่างของฉัน
จากความรุนแรงของความเจ็บปวด ฉันไม่อาจลืมเลือนและหลับลง
ญาติพี่น้องที่รุมล้อมต่างหลับใหล
มีฉันเพียงลำพังที่ข่มตาหลับแต่หลับไม่ลง
ฉันมีชีวิตอยู่มายาวนานล้วนเป็นการทำงานทั้งสิ้น
แต่มาบัดนี้หาได้มีอะไรเว้นแต่เป็นเพียงถ้อยคำและปากกา
โอ้นายของฉันความใฝ่ฝันถวิลหาการญิฮาดของข้าฯช่างยาวนาน
หากท่านจะกรุณาขอดุอาต่ออัลเลาะห์ผู้ทรงสูงส่งให้ฉันกลับไปอีกครั้งหนึ่ง
ไม่ให้ความสำคัญในเรื่องชิรกุ้ลกุโบร
ฮะซันตุรอบี ผู้นำอิควานฯ ในประเทศซูดานก็เป็นอีกคนหนึ่งที่ละเลยในเรื่องของชิรกฺบิ้ลลา (การตั้งภาคีต่ออัลเลาะห์) เขากล่าวในลักษณะประชดประชันกลุ่มอันศอรซุนนะห์ในประซูดานไว้ดังนี้ " พวกเขา(กลุ่มซุนนะห์) ให้ความสำคัญเฉพาะด้านอะกี-ดะห์และชิรกุ้ลกุบูร ( ชิรกฺของพวกกุโบรนิยม) แต่พวกเขาไม่เคยให้ความสำคัญต่อชิรกุ้ลสิยาซะห์ ( ชิรกฺให้ด้านการเมือง) ก็จงปล่อยให้พวกกุโบรฺนิยมเขาฏ่อวาฟ (เดินเวียนรอบ) กุโบรฺกันไปเถิด จนกว่าเราจะมุ่งหน้าถึงโดมแห่งรัฐสภา"
แกนนำอิควานอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นคนซาอุฯ ผู้มีนามว่าอับดุลเลาะห์อัซซาม กล่าวถึงเรื่องชิรกฺ (การตั้งภาคีต่ออัลเลาะห์) ไว้ว่า " แท้จริงเรื่องการต่อสู้กับชิรกฺ เท่าที่ผู้รู้ในยุคอดีต เช่น มุฮำหมัด อิบนุ อับดุลวะฮาบได้กระทำ โดยได้ต่อสู้กับผู้เคารพเจว็ดและหลุมฝังศพ มันหมดยุคหมดสมัยแล้ว แต่ได้มีชิรกฺ(การตั้งภาคีต่ออัลเลาะห์) ในรูปแบบอื่นเข้ามาแทนที่ ซึ่งก็คือชิรกฺของการนำกฏหมายของมนุษย์มาบังคับใช้แทนบทบัญญัติของอัลเลาะ ห์"
ซัยยิตกุฏุบ ผู้รู้อีกท่านหนึ่งของญะมาอะห์อิควาน ฯ ได้กล่าวว่า " การเคารพเจว็ดที่ท่านนะบีอิบรอฮีมเรียกร้องลูกหลานและครอบครัวตลอดจนผู้คน ทั้งหลายให้ออกห่างนั้น หาใช้เป็นการเรียกร้องในรูปแบบที่ผิวเผินตามอาหรับโบราณถือปฏิบัติกันมาจาก การเคารพต้นไม้หรือหินที่ถูกแกะสลักเป็นรูปร่าง เพราะภาพผิวเผินเหล่านั้นไม่อาจครอบคลุมถึงการตั้งภาคีรูปแบบอื่นทั้งหมด การหยุดอยู่ ณ รูปแบบการตั้งภาคีดังกล่าวเป็นการกีดกั้นเรามิให้ล่วงรู้ถึงรูปแบบการตั้ง ภาคีอื่นๆ ที่หาสิ้นสุดมิได้ เป็นการกีดกั้นเราที่จะมองด้วยสายตาที่ถูกต้องแม่นยำต่อการตั้งภาคีในรูปแบบ อื่นๆ ที่ครอบงำมนุษย์ อันเป็นญาฮิลียะห์ในยุคใหม่" คำพูดของซัยยิดกุฏุบ อาจเข้าใจยากเล็กน้อยแต่ถ้าผู้อ่านคิดตามและพยายามทำความเข้าใจก็จะทราบได้ เองว่า เขาต้องการอธิบายถึงอะไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตั้งภาคีต่ออัลเลาะห์ในยุคปัจจุบัน ซึ่งก็คือระบบการเมืองที่ไม่นำหลักการของอัลเลาะห์มาบังคับใช้อย่างครบถ้วน อิควานฯ มองว่านั้นคือชิรกฺแห่งการบริหารและปกครอง
บิดอะห์ตัฟวีฏ
ตัฟวีฎ คือการยุติที่จะไม่พูดถึงความหมายของพระนามและคุณลักษณ์ของอัลเลาะห์ มีคนเข้าใจผิดคิดว่าวิธีการดังกล่าวเป็นแนวทางของซะละฟุซซอและห์ (บรรพชนที่ดีทั้งหลายในยุคต้นอิสลาม) แท้ที่จริงแล้วบรรดาบรรพชนเหล่านั้นหาได้ละเว้นความหมายของพระนามและคุณ ลักษณ์ของอัลเลาะห์ไม่ แต่ที่พวกเขาละเว้นก็คือการกล่าวถึงรูปแบบและวิธีการต่างหาก เช่น คำพูดของ อิหม่ามมาลิก ที่กล่าวถึงการอยู่เหนือบัลลังก์ของอัลเลาะห์ว่า "การอยู่เหนือบัลลลังก์ของอัลเลาะห์เข้าใจได้ (ตามความหมายของศัพท์) แต่วิธีการจะเป็นเช่นใดนั้นไม่ทราบ การถามถึงวิธีการดังกล่าวนั้นเป็นบิดอะห์ " สิ่งที่อิหม่ามมาลิกปฏิเสธนั้นคือวิธีการมิใช่ความหมาย แต่คำว่าตัฟวีฎหมายถึงปฏิเสธที่จะพูดถึงทั้งวิธีการและความหมาย ซึ่งไม่ใช่แนวทางของซะละฟุซซอและห์ แต่ประการใด
ฮะซันอัลบันนา กล่าวว่า "การค้นคว้าในเรื่องดังกล่าวนี้ (เรื่องพระนามและคุณลักษณ์ของอัลเลาะห์) หาผลสรุปที่สิ้นสุดมิได้ เว้นแต่สิ่งเดียวเท่านั้นคือการตัฟวีฎต่ออัลเลาะห์ตะอาลา" และยังกล่าวอีกว่า " เราเชื่อมั่นว่าทัศนะของซะลัฟ ฯ คือการยุติ(ที่จะทำความเข้าใจในพระนามและคุณลักษณ์ของอัลเลาะห์ในกรณีที่ดู คล้ายกับสิ่งถูกสร้าง) และมอบมันคืนสู่อัลเลาะห์ ตะบาร่อก้า วะตะอาลา และเป็นแนวทางที่ควรแก่การยึดถือมากที่สุด"
คำพูดในเชิงดูหมิ่นนะบีของอัลเลาะห์
ซัยยิดกุฏุบ กล่าวไว้ในหนังสือ "อัตตัศวีร อัลฟันนี้ ฟิ้ลกุรอ่าน" ดังนี้ " ดูตัวอย่างนะบีมูซา (อะลัยฮิซซะลาม) ท่านเป็นผู้นำที่มีอุปนิสัยเร่าร้อนและเห็นแก่พวกพวกพ้อง" เชคอับดุลอะซีซ บินบาซ กล่าวว่า " การดูหมิ่นนะบีถือว่าริดดะห์ (หมายถึงตกศาสนาหากจงใจ)"
อะบุ้ลฮะซัน อัลเมาดูดี่ ก็เป็นอีกคนหนึ่งที่พูดถึงร่อซูลุ้ลเลาะห์ในทางที่ไม่เหมาะสม เขากล่าวว่า " เวลาผ่านพ้นล่วงเลยมานานถึง 13๐0 ปี (หลังจากที่ท่านร่อซู้ลได้พูดถึงดัจญ้าล) ดัจญ้าลก็ยังไม่ปรากฏ แสดงว่าการคาดคะเนของร่อซู้ลนั้นไม่ถูกต้อง"
ฮะซันตุรอบี่ หัวหน้าอิควานฯ ในซูดาน กล่าววิจารณ์ฮะดีษแมลงวัน คือเมื่อแมลงวันตกลงไปในอาหาร ท่านนะบีสั่งให้กดมันจมแล้วค่อยตักทิ้งเพราะปีกข้างหนึ่งมีโรคแต่ปีกของมัน อีกข้างหนึ่งมียา ซะฮันตุรอบีกล่าววิจารณ์ว่า " เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องทางการแพทย์ ซึ่งเราต้องถือคำพูดของแพทย์แม้จะเป็นกาเฟรก็ตาม เราคงไม่ยึดถือคำพูดของร่อซู้ล ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เพราะท่านไม่ใช้ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องดังกล่าว"
มุฮำหมัดฆ่อซาลี กล่าวว่า " อะบูซัรรฺ (ศ่อฮาบะห์อาวุโสท่านหนึ่ง) เป็นสังคมนิยม เขาได้แนวคิดแบบสังคมนิยมมาจากท่านร่อซู้ล ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม"
แนวคิดแบบสังคมนิยม
มุฮำหมัดฆ่อซาลี กล่าวว่า " อิสลามคือพี่น้องร่วมศาสนา เป็นสังคมนิยมในเรื่องดุนยา" มุสต่อฟาสุบาอี ผู้นำอิควานฯ ในซีเรีย เขียนหนังสือไว้เล่มหนึ่งโดยให้ชื่อว่า อิสลามคือสังคมนิยม หรือ อิชติรอตีกี้ยุ้ลอิสลาม
มุฮำหมัดฆ่อซาลี กล่าวไว้ว่า " การบรรลุเป้าหมายต่างๆเหล่านั้น (หนึ่งในนั้นก็คือการจัดระเบียบสังคมมุสลิม) ต้องอาศัยการลอกแบบบางส่วนจากสังคมนิยมในยุคใหม่เหมือนดังที่เคยลอกแบบบาง ส่วนมาจากระบบประชาธิปไตย"
กล่าวหาสังคมมุสลิมโดยรวมว่าเป็นกาเฟร
ซัยยิดกุฏุบ กล่าวว่า "ปัจจุบันนี้หาได้มีประเทศมุสลิมเลยในโลก และหาได้มีสังคมที่เป็นมุสลิมที่มีกฏเกณฑ์ของสังคมตั้งมั่นอยู่บนบทบัญญัติ ของอัลเลาะห์และความเข้าใจแบบอิสลาม" เขายังกล่าวอีกว่า "มนุษยชาติโดยรวม ซึ่งรวมถึงบรรดาผู้ที่กล่าวว่า ลาอิลาฮะอิ้ลลัลลอฮ์ บนหออะซาน ทั่วทุกมุมโลก พวกเขากล่าวโดยได้เป้าหมาย ปราศจากโลกแห่งความเป็นจริงพวกนี้มีบาปหนาและจะต้องได้รับโทษรุนแรงในวันกิยามะห์ เพราะพวกนี้หลุดออกจากศาสนาสู่การเคารพคนด้วยกันหลังจากที่ครั้งหนึ่งเคย อยู่ในศาสนาของอัลเลาะห์"
ชื่นชมชีอะห์-บิดอะห์ แต่กล่าวหาซุนนะห์
ด๊อกเตอร์ยูซุบกอรฎอวี กล่าวว่า " อีหร่านซึ่งคนส่วนใหญ่เป็นชีอีอะห์นิกายอิหม่ามสิบสอง ขบวนการเคลื่อนไหวของอิหม่ามโคมัยนีได้เริ่มขึ้น เป็นขบวนการที่ปกครองโดยผู้รู้แทนการรอคอยอิหม่ามที่ยังไม่ปรากฏ(ชีอะห์ ศรัทธาเรื่องการรอคอยอิหม่ามคนที่สิบสองจะกลับมาปกครองโดยธรรม) ท่านได้ต่อสู้กับทรราช (ซาร์) และความเสื่อมทรามของเขา ท่านได้รับความทุกข์ยากเพื่อหนทางดังกล่าวดังที่เห็น ..."
สะอี๊ดฮะวา นับเป็นผู้นำคนสำคัญของอิควาน ฯ อีกคนหนึ่งที่ชื่นชมแนวทางที่เป็นบิดอะห์ทางความเชื่อ เขากล่าวว่า "หลายยุคสมัยที่ผ่านมา สำหรับบรรมุสลิมมีผู้รู้ผู้นำในทุกด้าน ผู้นำในด้านหลักการศรัทธาเชื่อมั่น ผู้นำในด้านฟิกห์ (นิติศาสตร์อิสลาม) ผู้นำในด้านตะเศาวุฟ และวิธีการมุ่งสู่อัลเลาะห์ ผู้ทรงสูงส่ง ผู้นำทางด้านหลักการศรัทธาเชื่อมั่นได้แก่อะบุลฮะซัน อัลอัชอะรีและอะบูมันซูร อัลมาตุรีดี่"
อาเอดอัลกอรนี่ นักพูดรุ่นใหม่ของซาอุฯ มีความโน้มเอียงไปทางแนวคิดแบบอิควานฯ เขาได้ชื่นชมผู้นำของอิควาน ฯ ในแต่ละยุคแม้จะมีหลักความเชื่อที่ผิดเพี้ยนก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นซัยยิดกุฏุบ อะบุ้ลฮะซันอัลเมาดูดี่ มุฮำหมัด อะห์หมัดรอชิด ท่านเชคอับดุลมาลิก ร่อมะฎอนี่ อัซซะละฟี กล่าววิจารณ์เชคอาเอด อัลกอรนี่ ไว้ว่า "นี่หรือคือผู้ยึดมั่นในซุนนะห์และเดินตามแบบอย่างของซะลัฟ เขาทำกันอย่างนี้หรือ"
ฏอริก อัซซุวัยดาน หนึ่งในแกนนำของอิควาน ฯ ในยุคปัจจุบัน กล่าวว่า " จุดร่วมระหว่าง (ซุนนะห์และชีอะห์) มีมากมายเหลือเกิน ส่วนจุดต่างนั้นมีน้อยมาก ขอยกตัวอย่างเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งที่พี่น้องชาวชีอะห์ภาคภูมิใจ นั่นก็คือการให้เกียรติและให้ความยิ่งใหญ่ต่ออะห์ลุลบัยต์ (ครอบครัวและ สายตระกูลของนบี) อะลัยฮิสสลาม เมื่อได้วิเคราะห์ประเด็นนี้จากแนวทางของชาวซุนนะห์ ปรากฏว่าพวกเขาก็ยกย่องให้เกียรติแก่อะห์ลุลบัยต์เช่นกัน แต่ก็ด้อยกว่าการยกย่องให้เกียรติของชีอะห์ ฉันกล้าพูดเช่นนี้ต่อพี่น้องชาวซุนนะห์โดยไม่ลังเล เพราะจำเป็นที่พวกเขาจะต้องรัก เทิดทูน และให้ความยิ่งใหญ่ต่ออะห์ลุลบัยต์ ฉันพูดเช่นนี้หาใช่เป็นการเอาใจ แต่มันคือศาสนา ศาสนาที่ปรากฏในกิตาบุ้ลเลาะห์และซุนนะห์ของนะบี และต้องปรากฏในทางปฏิบัติที่ชัดเจน ส่วนเราชาวซุนนะห์ เรารักและให้เกียรติอะห์ลุลบัยต์น้อยเกินกว่าที่ควรเป็น ดังนั้นจำเป็นที่จะต้องแสดงออกในเรื่องดังกล่าวให้มากกว่านี้"
อุมัร ตะละมัซซานี่ ก็นับเป็นผู้นำอิควาน ฯ อีกคนหนึ่งที่ยืนยันยันว่า อิควานฯ ไม่ตำหนิปฏิวัติอิสลามในอีหร่าน เขากล่าวว่า " ฉันไม่พบว่ามีสมาชิกอิควาน ฯ คนใดในโลกประณามอีหร่าน (หลังการปฏิวัติ) "
ซัลมาน เอาดะห์ นักพูดรุ่นใหม่ของซาอุฯ ที่โน้มเอียงไปในทางแนวคิดแบบอิควานกล่าวไว้ว่า " โอ้พี่น้องทั้งหลาย นักเคลื่อนไหวอิสลามในยุคสมัยนี้มีอยู่ในทุกส่วน หากท่านมองไปในด้านการดะอ์วะห์สู่อัลเลาะห์ ท่านก็จะพบว่ามีวีรบุรุษที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางและมีผลต่อสังคมของ เขาอย่างใหญ่หลวง ชื่อที่โดดเด่นที่สุดเห็นจะได้แก่ เชคฮะซัน อัลบันนา เชคอะบุลอะอ์ลา อัลเมาดูดี่ และท่านอื่นๆ ที่เป็นนักสร้างสรรค์ในยุคใหม่ และหากมองในด้านวัฒนธรรมและนักคิด เราก็จะพบบุคคลเช่นท่านอาจารย์ซัยยิดกุฏุบและมุฮำหมัดกุฏุบ เป็นต้น "
ขบถต่ออำนาจรัฐแม้จะเป็นมุสลิม
มุฮำหมัดรอชิด กล่าวว่า "การขบถต่อผู้นำที่อธรรมเป็นแบบอย่างของคนยุคเก่า" จากหนังอัลมะซาร ของมุฮำหมัดรอชิด
อับดุลเลาะห์นาเศียห์อะละวาน นักคิดนักเขียนของอิควานฯ กล่าวว่า "บรรดามุสลิมไม่อาจก่อตั้งระบบปกครองได้ ... จากการปฏิวัติทางทหาร คงไม่เหลือทางเลือกเบื้องหน้าพวกเขาที่จะแก้ปัญหาในทางปฏิบัติที่สมเหตุผล ได้ เว้นแต่จะต้องอาศัยวิธีการมวลชนปฏิวัติ"
ที่กล่าวมาแล้วนี้เป็นเพียงตังอย่างแนวคิดความเชื่อ ของผู้นำกลุ่มอิควานฯ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่จะค้านกับแนวทางของซะลัฟหรือบรรพชนในยุคต้นๆ อิสลาม แม้ว่าพวกเขาจะมีเจตนาดีเพียงใดก็ตาม พวกเขาก็ไม่อาจบรรลุเป้าหมายที่คาดหวังไว้ได้เพราะทิศทางและวิธีการไม่เป็น ไปตามแบบอย่างของบรรพชนที่ดีทั้งหลาย การรวมคนโดยไม่แยกแยะความถูกผิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องหลักการศรัทธาเชื่อ มั่น เพื่อหวังเป็นฐานสู่การสร้างระบบค่อลีฟะห์ ไม่ใช่แนวทางของบรรดานะบีและร่อซู้ลของอัลเลาะห์ ศาสนาอิสลามตามที่บรรดานะบีของอัลเลาะห์นำมาประกาศสอนนั้น คือการเรียกร้องผู้คนไปสู้การเคารพกราบไหว้อัลเลาะห์ ปราศจากการตั้งภาคีใดๆต่อพระองค์ และเรียกร้องไปสู่การปฏิบัติตามศาสดาของอัลเลาะห์โดยไม่โต้แย้งด้วยเหตุผล ใดๆ นั่นคือรากฐานอันมั่นคงที่จะสร้างความสามัคคีและมีพลังอย่างแท้จริง หาใช่การรอมชอมในเรื่องผิดๆ โดยอาศัยหลักที่ว่า แสวงจุดร่วมสงวนจุดต่าง หลักการดังกล่าวนี้หาใช่หลักการที่มาจากอัลเลาะห์ และไม่ใช่คำสอนของศาสดาใดๆ ของอัลเลาะห์ อีกทั้งไม่มีบรรพชนในยุคต้นอิสลามท่านใดสอนไว้เช่นนั้น
โดย ชมรมอัซซะละฟิยูน
แปลและเรียบเรียง โดย อ.อิสฮาก พงษ์มณี
ที่มา:http://www.thaisalafi.com/ตอบโต้/อิควาน-อัลมุสลิมูน/24-อะกีดะห์ผู้นำอิควานุ้ลมุสลิมีน.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น