อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันจันทร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สิทธิและหน้าที่ของการเป็นพี่น้องในอิสลาม (ต้องตักเตือนและสอนเขา)





สิทธิต่าง ๆ ของมุสลิมที่เรากำลังพูดถึงอยู่นี้ ในขณะเดียวกันมันก็คือหน้าที่ที่บรรดามุสลิมถึงปฏิบัติต่อกันด้วย สิทธิและหน้าที่ต่าง ๆ ที่มุสลิมพึงปฏิบัติต่อกันนั้นได้ถูกกำหนดไว้ในอัลกุรอานและหะดีษเรียบร้อยล้ว สิทธิหน้าที่ที่จะกล่าวต่อไปนี้คือ

***** ต้องตักเตือนและสอนเขา *****

สำหรับมุสลิมแล้วการตักเตือนนั้น ถือเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ของร่อซูล (ซ.ล.) ของคัมภีร์ ของบรรดาผู้นำมุสลิม และบุคคลทั่วไป และการตักเตือนยังเป็นหน้าที่ ที่มุสลิมทุกคนไม่สามารถหลบหลีกได้ เขาจำต้องตักเตือนพี่น้องและเพื่อนฝูงของเขา หลักฐานที่บ่งชี้ว่าการตักเตือนกันนั้นเป็นวาญิบมีดังต่อไปนี้

ท่านนบี (ซ.ล.) กล่าวว่า "ศาสนาคือการตักเตือน" พวกเรา (เหล่าศอฮาบะฮฺ) กล่าวว่า ให้กับใคร? ท่านกลล่าวว่า "ให้อัลลอฮฺ คัมภีร์ของพระองค์ ร่อซูลของพระองค์ บรรดาผู้นำมุสลิมและบุคคลทั่วไป" (รายงานโดยมุสลิม)

ญารีร อิบนิ อัลดุลลอฮฺ เล่าว่า

"ฉันให้สัตยาบันกับท่านร่อซูลุลลอฮฺ (ซ.ล.) ว่า จะดำรงไว้ซึ่งการละหมาด จ่ายซะกาตและตักเตือนมุสลิมทุกคน" (รายงานโดบ อัลบุคอรีและมุสลิม)

การสอน การให้ความรู้ ความเข้าใจต่อมุสลิมนั้นหถือเป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกคนที่ีมีความรู้ความสามารถต้องสอนมุสลิมด้วยกัน

หลักฐานที่บ่งชีื้ว่ามุสลิมจำต้องสอนพี่น้องมุสลิมนั้นคือดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า

"เมื่ออัลลอฮฺ ทรงเอาคำมั่นสัญญาจากบรรดาผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจในคัมภีร์ว่า แน่นอนยิ่งพวกเจ้าจะต้องแจกแจงคัมภีร์นั้นให้แจ่มแจ้งแก่ประชาชนทั้งหลายและพวกเจ้าอย่างปิดบังมัน" (อาลิอิมรอน : 187)

นักวิชาการหลายท่านได้สรุปความหมายของอายะฮฺนี้ไว้ดังนี้

อัลหะซันและเกาเตาดะฮฺ กล่าว่า "อายะฮฺนี้ พูดถึงทุกคนที่มีความรู้ความเข้าใจในคัมภีร์ (ศาสนา) ดังนั้น ผู้ใดรู้สิ่งใดก็จงสั่งสอนสิ่งนั้น และพวกเจ้าจงระวังการไม่สอนไม่สั่ง (หรือการปิดบังวิชาความรู้) เพราะการไม่สอนไม่สั่งจะนำมาซึ่วความหายนะ"

มุฮัมมัด บุตรกะอับ กล่าวว่า " ไม่อนุญาตให้ผู้รู้คนใดยุติหรืออยู่เฉยกับการสอน การให้ความรู้ และไม่อนุญาตให้ผู้ไม่รู้อยู่นิ่งเฉยกับความไม่รู้ของเขา

อบูฮุร็อยเราะฮฺ (ร.ฎ.) กล่าวว่า "ถ้าหากอัลลอฮฺไม่เอาผิดกับชาวคัมภีร์ที่มีความรู้ (ที่เขาปิดบังความรู้แล้ว) แน่นอนฉันจะไม่สั่งสอนบอกกล่าวสิ่งใดกับพวกท่านเลย" แล้วท่านก็อ่านอายะฮฺนี้

"เมื่อพี่น้องมุสลิมมีความต้องการทางด้านทรัพย์สิน การช่วยเหลือด้วยการให้ทรัพย์สินนั่นถือเป็นวาญิบ (ความจำเป็น) เช่นเดียวกันถ้าหากพี่น้องมุสลิมมีความต้องการทางวิชาความรู้ การช่วยเหลืิอ หรือการให้ความรู้ก็ถือว่าเป็นวาญฺิบอีกเช่นเดียวกัน"

สรุปว่า การชี้แนะบอกกล่าวในสิ่งที่ก่อให้เกิดประโยชน ทั้งในเรื่องดุนยาและอาคีเราะฮฺ ถือเป็นสิ่งวาญิบ ตราบใดที่ผู้ชี้แนะมีความสามารถและพี่น้องมุสลิมมีความต้องการ

***มารยามในการตักเตือน

อีหม่ามซาฟิอีย์ ริฮีมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า "บุคคลใดตักเตือนพี่น้องของเขาอย่างลับ ๆ แท้จริงเาได้ตักเตือนแลประดับประดาให้กับเขาแล้ว และบุคคลใดตักเตือนพี่น้องของเขาอย่างเปิดเผย (ต่อหน้าผู้คน) แท้จริงเขาผู้นัั้นได้ประจานและทำให้พี้น้องของเขาอับอาย"

จากคำกล่าวของท่านอีหม่านซาฟิอีย์ ทำให้เราทราบถึงมารยาทของชาวสลัฟในการตักเตือนผู้อื่น ดังนั้นผู้ที่จะตักเตือนผู้อื่นจักต้องปฏิบัติตามสิ่งต่อไปนี้

1. ต้องออกห่างไกลจากการประจบประแจง :
เพราะบางครั้งการตักเตือนเป็นการประจบประแจงเป็นการเตือนเพื่อผลประโยชน์ของตนเองมิใช่เพื่อผลดีของผู้ที่ถูกเตือน

2. ต้องแสร้งทำเป็นไม่รู้ไม่เห้นสิ่งที่เกิดขึ้นต่อหน้า :
เพราะการแสร้งทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น ถือเป็นการปิดความไม่ดีของผู้อื่นอีกด้วย แต่เงื่อนไของการแสร้งทำเป้นไม่รู้มีอยู่ว่า ต้องทำเพื่อศาสนาและความบริสุทธิ์ฺของศาสนาพร้อมกับมุ่งหวังว่าเขาจะละทิ้งสิ่งไม่ดีนั้น

ส่วนการละทิ่งการแสร้งทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นในการตักเตือนนั้น ถืดว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเลินเล่อทั้งหน้าที่ของการตักเตือนและหน้าที่ของการเป็นพี่น้องในอิสลาม เมื่อเราเห็นบุคคลหนึ่งทำไม่ดีไม่งามเราต้องแสร้งทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ก่อน จนกระทั่งเรามั่นใจว่า ถ้าเราปล่อยเขาทำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ โดยไม่ตักเตือน เขาก็ไม่ละทิ้งการกระทำที่ไม่ดีนี้และไม่มีทีท่าว่าเาจะปรับปรุงตัวเองให้ดีึข้น เมื่อเรามั่นใจอย่างนี้ เราจะต้องตกัเตือนเขาทันที โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องตักเตือนเขาด้วยดีด้วยเหตุด้วยผลและในสถานที่ที่เหมาะสม มิใช่เป็นการประจานหรือทำให้เขาอับอาย

3. ข้อตำหนิที่เขาตักเตือนพี่น้องของเขานั้นต้องเป็นข้อตำหนิที่พี่น้องเขาไม่รู้ตัวเอง :
การปฏิบัติเช่นนี้เป็นการแปรตัวบทของหะดีษ ออกสู่รูปแบบของการปฏิบัติอย่างแท้จริงหะดีษดังกล่าวก็คือ "มุอฺมินเป็นกระจกเงาซึ่งกันและกัน"

4. ผู้ถูกตักเตือนต้องยอมรับและขอให้ผู้ตักเตือนบอกกล่าวข้อตำหนิอื่น ๆ อีก :
เพราะอุมัรฺ บุตรค็อฏฏ็อบ (ร.ฎ.) เคยขอให้เพือน ๆ ศอฮาบะฮฺบอกถึงข้อตำหนิต่าง ๆ ของเขา เขากล่าวว่า "ขออัลลอฮฺได้เมตตากับคน ๆ หนึ่งที่บอกถึงข้อตำหนิต่าง ๆ ของพี่น้องของเขา และท่านได้นำมาปฏิบัติเป็นตัวอย่าง โดยท่านกล่าวกับซัลมาน อัลฟาริซียฺ ว่า ท่านทราบอะไรเกี่ยวกับตัวฉันบ้างในสิ่งที่ท่านไม่ชอบ? ซัลมานก็กล่าวว่า ฉันทราบว่าท่านนั้นมีเครื่องแต่งกายอยู่สองชุด ท่านใช้สวมใส่ในเวลากลางวันหนึ่งชุด และกลางคืนอีกหนึ่งชุด และฉันทราบอีกว่าท่านนั้นมีกับข้าวสองอย่างบนโต๊ะ อุมัรฺกล่าวว่า สองอย่างนี้ฉันทราบดี แล้วมีสิ่งอิ่นอีกหรือไม่นอกจาจากทั้งสองนี้ ซัลมานกล่าวว่ "ไม่"

5. ผู้ถูกตักเตือนจะต้องไม่รังเกียจผู้ที่มาเตือนเขา :
เพราะผู้ที่มาตักเตือนนั้นมุ่งหวังที่จะให้ผู้ที่ถูกตักเตือนได้รับความดี เขาคู่ควรที่จะต้องได้รับการตอบรับและการให้เกียรติ ผู้ที่ถูกตักเตือนสมควรที่จะขอบคุณและรับฟังเขาด่้วยดีเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขตัวเอง แต่ถ้าผู้ถูกตักเตือนรังเกียจผู้มาตักเตือนก็เท่ากับว่าผู้นั้นรังเกียจความดี ผู้มีสติปัญญาหรือวิญญูชนจะไม่ทำเช่นนั้นอย่างแน่นอน และผู้ที่กระทำเช่นนั้นเสมือนกลุ่มชนของนบีซอลิฮฺ (ซ.ล.) ดังที่อัลกุรอานได้เล่าให้พวกเราฟังว่า

"แท้จริงฉันได้ประกาศแก่พวกท่านแล้ว ซึ่งสารแห่งพระเจ้าของฉัน และฉันก็ได้ตักเตือนแก่พวกท่านด้วย แต่ทว่าพวกท่านไม่ชอบบรรดาผู้ตักเตือน" (อัลอะอฺรอฟ : 79)

6. บางครั้งต้องหยุดตักเตือน :
เพราะบางครั้งข้อตำหนิที่เราต้องการให้เขาละทิ้งนั้นเป็นนิสัยดั้งเดิมหรือเป็นลักษณะนิสัยส่วนตัวทีีมีมานานแล้ว ยากที่จะละทิ้งในเวลาอันสั้น เมื่อการตักเตือนบ่อย ๆ ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ ก็ควรหยุดและคอยหาจังหวะและโอกาสใหม่ที่เห็นว่าเหมาะสม และควรตักเตือนในลักษณะทางตรงบ้างทางอ้อมบ้าง และการตักเตือนนี้ต้องตักเตือนอย่างนิ่มนวลเป็นไปตามจรรยามารยาทของการตักเตือน พยายามอย่าให้เขาเกิดอคติหรือเกิดการต่อต้าน และด้วยการตักเตือนนี้เองทำให้มุสลิมในอดีตเป็นคนดี โดดเด่นในหน้าประวัติศาสตร์ ผู้ตักเตือนก็เตือนด้วยความรักและความหวังดี ผู้ถุูกตักเตือนก็น้อมรับคำตักเตือนและหาทางปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดีขึ้น

7. ผู้ตักเตือนต้องยกโทษและให้อภัยแก่ผู้ที่ถูกตักเตือน :
โดยมีเงื่อนไขต่อไปนี้

7.1 การให้อภัยนี้ต้องเป็นสิทธิ์ของผู้ตักเตือน เช่น ผู้ถูกตักเตือนทำงานชิ้นหนึ่งให้ใกับผู้ตักเตือนไม่เรียบร้อย หรือไม่ดีผู้ตักเตือนนี้มีสิทธิ์ที่จะให้อภัยหรือตักเตือนเขาก็ได้

7.2 การให้อภัยนี้ ต้องไม่ใช่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสิทธิหนึ่งสิทธิใดของอัลลอฮฺ เพราะเจ้าของสิทธิคืออัลลอฮฺ มิใช่ผู้ตักเตือนและเมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้ตักเตือนสามารถเลือกเอาได้ว่าจะตักเตือนเขาหรือปกปิดเรื่องนี้เอาไว้ และสามารถเลือกได้ว่าจะตักเตือนโดยทางตรงหรือทางอ้อม




.................................................................................
(จากหนังสือ : 6 ขั้นตอนสู่ความเป็นพี่น้องในอิสลาม)
ดร. อะลี อับดุลหะลีม มะฮฺมูด : ผู้เขียน
สมบูรณ์ สืบสุข : ผู้แปล
อดทน เพื่อช้ยชนะ โพส











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น