อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การรับรองสถานที่สำหรับอัลลอฮ



เท่าที่เห็นมาตลอด มีคนกลุ่มหนึ้ง ปฏิเสธหัวชนฝา ว่าอัลลอฮไม่มีสถานที่ ไม่มีทิศสำหรับอัลลอฮ
และพยายามตีความและเปลี่ยนความหมายทุกหลักฐาน ไม่ว่าจะมากจากอัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮ เพื่อปฏิเสธความเชื่อแบบนี้
...............
จึงของชี้แจง ด้วยหลักฐานดังต่อไปนี้ว่า อัลลอฮทรงมีสถานที่ นั้นคือ ทรงอยู่เบื้องสูงบนฟากฟ้าเหนืออะรัช เหนือมัคลูค
عَنْ جَابِرِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ الأَنْصَارِيِّ ، أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ : إِنَّ اللَّهَ يَنْزِلُ كُلَّ لَيْلَةٍ إِلَى السَّمَاءِ الدُّنْيَا لِثُلُثِ اللَّيْلِ ، فَيَقُولُ : " أَلا عَبْدٌ مِنِ عِبَادِي يَدْعُونِي فَأَسْتَجِيبَ لَهُ ، أَوْ ظَالِمٌ لِنَفْسِهِ يَدْعُونِي فَأَغْفِرَ لَهُ ، أَلا مُقَتَّرٌ عَلَيْهِ فَأَرْزُقَهُ ، أَلا مَظْلُومٌ يَسْتَنْصِرُ فَأَنْصُرَهُ ، أَلا عَانٍ يَدْعُونِي فَأَفُكَّ عَنْهُ " ، فَيَكُونُ ذَلِكَ مَكَانَهُ حَتَّى يُصَلَّى الْفَجْرُ ، ثُمَّ يَعْلُو رَبُّنَا عَزَّ وَجَلَّ إِلَى السَّمَاءِ الْعُلْيَا عَلَى كُرْسِيِّهِ .
รายงานจากญาบีร บิน อับดุลลอฮ อันอันศอรีย์ ว่า แท้จริง รซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า
แท้จริง ทุกคืน อัลลอฮทรงเสด็จลงมายังฟากฟ้าดุนยา สำหรับหนึ่งในสามของกลางคืน แล้วพระองค์ตรัสว่า
“ มีไหม บ่าวของข้า ที่วิงวอนต่อข้า แล้วข้าจะได้ตอบรับแก่เขา หรือ มีใหม ผู้อธรรม ต่อตัวเขาเอง วิงวอนต่อข้า แล้วข้าจะได้อภัยโทษแก่เขา , มีไหม ผู้ที่ขัดสน ข้าจะได้ประทานปัจจัยยังชีพแก่เขา ,มีไหม ผู้ที่ถูกอธรรม ขอความช่วยเหลือ ข้าจะได้ให้การช่วยเหลือเขา และมีใหม ผู้ที่เจ็บป่วย แล้วข้าจะได้ให้มันหายจากเขา แล้วดังกล่าวนั้น เป็นสถานที่ของพระองค์ จนกระทั้ง การละหมาดฟะญัร(ละหมาดศุบฮิ)ได้ถูกละหมาด(หมายถึงจนกระทั้งถึงเวลาละหมาด ศุบฮี) หลังจากนั้นพระผู้อภิบาลของเรา ผู้ทรงสูงส่ง ทรงเลิศยิ่ง ทรงขึ้นไปยังฟากฟาสูงสุด เหนืออะรัช – ดู หะดิษนูซูล ของอิหม่ามดารุลกุฏนีย์ หะดิษหมายเลข 3
ดูสายรายงานหะดิษ เป็นหะดิษเศาะเฮียะ
(1) عبد الرحمن بن صخر
| (2) همام بن منبه
| | (3) معمر بن راشد
| | | (4) عبد الرزاق بن همام
| | | | (5) إسحاق بن منصور
| | | | | (6) محمد بن إسماعيل
| | | | | | (7) الكتاب: النزول للدارقطني [الحكم: إسناده متصل، رجاله ثقات، على شرط الإمام البخاري]
มาดู หะดิษที่ระบุในเศาะเฮียะบุคอรี หมายเลข ๖๙๘๖ เรื่อง อิสรออฺ เมียะรอจญ โดยมีข้อความตอนหนึ่งว่า
فَالْتَفَتَ النَّبِيُّ صلى الله عليه وسلم إِلَى جِبْرِيلَ كَأَنَّهُ يَسْتَشِيرُهُ فِي ذَلِكَ، فَأَشَارَ إِلَيْهِ جِبْرِيلُ أَنْ نَعَمْ إِنْ شِئْتَ. فَعَلاَ بِهِ إِلَى الْجَبَّارِ فَقَالَ وَهْوَ مَكَانَهُ يَا رَبِّ خَفِّفْ عَنَّا، فَإِنَّ أُمَّتِي لاَ تَسْتَطِيعُ هَذَا. فَوَضَعَ عَنْهُ عَشْرَ صَلَوَاتٍ ثُمَّ رَجَعَ إِلَى مُوسَى فَاحْتَبَسَهُ، فَلَمْ يَزَلْ يُرَدِّدُهُ مُوسَى إِلَى رَبِّهِ حَتَّى صَارَتْ إِلَى خَمْسِ صَلَوَاتٍ
’ ดังนั้น นบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ ไปพบพบญิบรีล เพื่อขอคำชี้แนะต่อเขาในเรื่องดังกล่าวนั้น แล้ว ญิบรีลได้ชี้แนะแก่ท่านนบี ว่า เชิญ ครับ หากท่านต้องการ แล้ว เขา(ญิบรีล)ได้นำท่านนบีขึ้นไปยัง พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรง อนุภาพ แล้วนบี ได้กล่าว โดยที่พระองค์(พระเจ้าผู้ทรงอนุภาพ)อยู่สถานที่ของพระองค์ ว่า “โอ้พระผู้อภิบาลของข้าพระองค์ ,ได้โปรดลดย่อนจากเรา เพราะแท้จริง อุมมะฮของข้าพระองค์ ไม่สามารถปฏิบัติแบบนี้ได้(หมายละหมาด ๕๐ เวลา) แล้วพระองค์ได้ลดย่อน จากมัน ให้เหลือ สิบเวลา หลังจากนั้น นบีก็ได้กลับไปยังมูซา แล้ว มูซา ได้กับตัวนบีเอาไว้ และมูซาได้ให้นบีกลับไป ยังพระผู้อภิบาลอยู่ตลอดเวลา จนกระทั้ง ละหมาด กลายเป็น(หมายถึงถูกกำหนดให้เป็น)ห้าเวลา....
..........................
จากหะดิษข้างต้น เป็นการยืนยันการอยู่ ณ สถานที่เบื้องสูงของอัลลอฮ อย่างชัดเจน และ ญิบรีล นำท่านนบี ศอ็ลฯ ขึ้นไปยังพระองค์
อิบนุอุษัยมีน กล่าวว่า
.إن الله في جهة العلو؛ لأن الرسول صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ « قال للجارية: (أين الله؟) » وأين يستفهم بها عن المكان؛ فقالت: في السماء".
แท้จริง อัลลอฮ อยู่ในทิศเบื้องสูง เพราะว่า รอซูล ศอ็ลฯ ได้กล่าวแก่ ท่าสหญิงคนนั้นว่า (อัลลอฮอยู่ใหน) และคำว่า อัยนะ (อยู่ใหน) เป็นการขอให้นางอธิบายเกี่ยวกับสถานที่ แล้วนางกล่าวตอบว่า “อยู่บนฟ้า”
ดู ฟัตวา อิบนุอุษัยมีน เล่ม 10 คำถามหมายเลข 1131
.............
เพราะฉะนั้น การรับรอง การอยู่บนฟากฟ้าเบื้องสูง เหนืออะรัช เหนื่อมัคลูคทั้งหลายของอัลลอฮนั้น
เป็นอะกีดะฮอิสลาม ไม่ใช่อะกีดะฮเฉพาะศาสนายิว ที่พวกเขาเชื่อตามคัมภีร์เตารอต อย่างเดียว และการเชื่อแบบนี้ ทำให้พี่น้องเราที่ถูกฉายาว่า “วะฮบีย” ถูกบุคคลกลุ่มหนึ่ง กล่าวหาว่า “มีพระเจ้าคนละองค์กับพวกเขา” วัลอิยาซุบิลละฮ
والله أعلم بالصواب



ข้ออ้างของคนที่ปฏิเสธการอยู่เบื้องสูงของอัลลอฮ
โต๊ะครูคนหนึ่งในห้องอะชาอิเราะฮกล่าวว่า
ตอบอย่างไรกับคำถามยอดฮิดว่า : อัลเลาะห์อยู่ไหน ?
เมื่อเราได้รับคำถามเฉกเช่นนี้ ให้เราตอบกลับไปอย่างที่อัลกุรอานได้สอนไว้ ก็คือ
وَإِذَا سَأَلَكَ عِبَادِي عَنِّي فَإِنِّي قَرِيبٌ
ความว่า "และเมื่อบ่าวของเราได้มาถามเจ้าถึงเราแล้ว ก็(จงตอบเถิดว่า)แท้จริงนั้นรานั้นเอยู่ใกล้เขา"(ซูเราะห์ อัลบากอเราะห์ อายะห์ที่ 186)
..................
ขอชี้แจงว่า อายะฮข้างต้นที่มาของมันไม่ได้เกี่ยวกับการถามว่า “อัลลอฮอยู่ใหน” ตามที่ท่านครูนำมาบิดเบือน
แต่หะดิษเกี่ยวกับการถามว่า อยู่ใกล้หรืออยู่ใกล มาดูเต็มๆ
وَإِذَا سَأَلَكَ عِبَادِي عَنِّي فَإِنِّي قَرِيبٌ أُجِيبُ دَعْوَةَ الدَّاعِ إِذَا دَعَانِ
และเมื่อมวลบ่าวของข้าได้ถามถึงข้า (เข้าก็จงตอบไปเถิดว่า) แท้จริงข้าเป็นผู้ใกล้ชิด (กับพวกเจ้า) ข้าคอยสนองตอบคำวอนของผู้วอนขอ เมื่อเขาได้วอนขอต่อข้า .....
قَالَ ابْنُ أَبِي حَاتِمٍ : حَدَّثَنَا أَبِي ، حَدَّثَنَا يَحْيَى بْنُ الْمُغِيرَةِ ، أَخْبَرَنَا جَرِيرٌ ، عَنْ عَبْدَةَ بْنِ أَبِي بَرْزَةَ السِّجِسْتَانِيِّ عَنِ الصُّلْبِ بْنِ حَكِيمِ بْنِ مُعَاوِيَةَ بْنِ حَيْدَةَ الْقُشَيْرِيِّ ، عَنْ أَبِيهِ ، عَنْ جَدِّهِ ، أَنَّ أَعْرَابِيًّا قَالَ : يَا رَسُولَ اللَّهِ ، أَقَرِيبٌ رَبُّنَا فَنُنَاجِيهِ أَمْ بَعِيدٌ فَنُنَادِيهِ ؟ فَسَكَتَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ، فَأَنْزَلَ اللَّهُ : وَإِذَا سَأَلَكَ عِبَادِي عَنِّي فَإِنِّي قَرِيبٌ أُجِيبُ دَعْوَةَ الدَّاعِ إِذَا دَعَانِ
อิบนุอบีหาติม กล่าวว่า บิดาของฉัน ได้เล่าเราว่า ยะหยา บิน อัลมุฆีเราะฮ ได้เล่าเราว่า ญะรีร ได้เล่าเราว่ารายงานจากอับดะฮ บิน อบี บัรซะฮ อัสสะญิสตานีย์ จากอัศศอ็ลบิ บิน หากีม บิน มุอาวิยะฮ บิน หัยดะฮ อัลกุชัยรีย์ จากบิดาของเขา จากปู่ของเขา ว่า แท้จริง ชาวอาหรับชนบทคนหนึ่ง กล่าวว่า “โอ้รซูลุลลอฮ พระผู้อภิบาลของเรา อยู่ใกล้ใช่ไหม เราจะได้กระซิบกับพระองค์ หรือว่าพระองค์อยู่ใกล เราจะได้ตะโกนเรียกพระองค์ ? ท่านนบี ศอ็ลฯ นิ่งเงียบ แล้วอัลลอฮ ทรงประท่านอายะฮที่ว่า
وَإِذَا سَأَلَكَ عِبَادِي عَنِّي فَإِنِّي قَرِيبٌ أُجِيبُ دَعْوَةَ الدَّاعِ إِذَا دَعَانِ
และเมื่อมวลบ่าวของข้าได้ถามถึงข้า (เข้าก็จงตอบไปเถิดว่า) แท้จริงข้าเป็นผู้ใกล้ชิด (กับพวกเจ้า) ข้าคอยสนองตอบคำวอนของผู้วอนขอ เมื่อเขาได้วอนขอต่อข้า .....ดู ตัฟสีรอิบนุกะษีร เล่ม 1 หน้า 506
ส่วนที่คำตอบที่ถามว่า อัลลอฮอยู่ใหน ? เป็นหะดิษเศาะเฮียะ แต่ท่านครูกลับไปเอามาอ้าง เพราะกลัวว่า
จะเสียรังวัดคือ
ตัวอย่างคือ หลักฐานจากหะดีษที่รายงานโดยท่านมุอาวิยะฮฺ บิน อัล-หะกัม อัส-สุลัยมีย์ ด้วยสำนวนของมุสลิม
وَكَانَتْ لِي جَارِيَةٌ تَرْعَى غَنَمًا لِي قِبَلَ أُحُدٍ وَالْجَوَّانِيَّةِ فَاطَّلَعْتُ ذَاتَ يَوْمٍ فَإِذَا الذِّيبُ قَدْ ذَهَبَ بِشَاةٍ مِنْ غَنَمِهَا وَأَنَا رَجُلٌ مِنْ بَنِي آدَمَ آسَفُ كَمَا يَأْسَفُونَ لَكِنِّي صَكَكْتُهَا صَكَّةً فَأَتَيْتُ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَعَظَّمَ ذَلِكَ عَلَيَّ قُلْتُ: يَا رَسُولَ اللَّهِ أَفَلَا أُعْتِقُهَا قَالَ: "ائْتِنِي بِهَا" فَأَتَيْتُهُ بِهَا فَقَالَ لَهَا: "أَيْنَ اللَّهُ؟" قَالَتْ: فِي السَّمَاءِ، قَالَ: "مَنْ أَنَا؟" قَالَتْ: أَنْتَ رَسُولُ اللَّهِ، قَالَ: "أَعْتِقْهَا فَإِنَّهَا مُؤْمِنَةٌ
ฉันมีทาสคนหนึ่งที่เคยเลี้ยงแพะของฉันในพื้นที่ระหว่างอุฮุดและอัล-ญะวานิ ยยะฮฺ วันหนึ่งเขาได้กระทำความผิดบางอย่าง เขาได้ออกโดยเอาแพะไปตัวหนึ่ง ฉันเป็นมนุษย์ธรรมดา แน่นอนว่าต้องมีอารมณ์โกรธ ฉันจึงตบหน้าเขา แล้วท่านเราะสูลุลลอฮ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ก็มา(เห็น) และสิ่งนี้ทำให้ฉันกังวลใจ ฉันจึงอธิบายกับท่านว่า ‘โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮ ฉันควรปล่อยทาสของฉันคนนี้เป็นอิสระไหม?’ ‘พาเขามาหาฉัน’ ท่านเราะสูลุลลอฮฯ กล่าว ฉันจึงรีบพาเขามาหาท่าน แล้วท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ก็ได้ถามทาสของฉันคนนี้ว่า
أَيْنَ اللَّهُ
“อัลลอฮอยู่ที่ไหน?”
นางตอบว่า
فِى السَّمَاءِ
“อยู่บนฟากฟ้า”
แล้วท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ก็ถามต่อไปอีกว่า “ฉันคือใคร?” นางตอบว่า “ท่านคือศาสนฑูตของอัลลอฮ”
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า
أَعْتِقْهَا فَإِنَّهَا مُؤْمِنَةٌ
“ปล่อยนางให้เป็นอิสระเถิด แท้จริงนางคือผู้ศรัทธา”[12]
อิมามอัซ-ซะฮะบีย์ กล่าวว่า “นี่คือความเห็นของฉัน ว่า ผู้ใดก็ตามที่ถูกถามว่า อัลลอฮอยู่ที่ไหน? ก็จะถูกฉายภาพให้แก่เขาด้วยธรรมชาติของเขาว่า อัลลอฮทรงอยู่เหนือฟากฟ้า ในรายงานนี้มี 2 เรื่องสำคัญ คือ [1]อนุญาตให้คนๆหนึ่งถามว่า ‘อัลลอฮอยู่ที่ไหน?’ แล�
แล้วท่านอัซ-ซะฮะบีย์ ก็กล่าวว่า “ผู้ใดปฏิเสธสองสิ่งนี้ หมายความว่า เขาได้สิ่งที่สวนทางท่านมุศเฏาะฟา(ท่านนบีมุหัมมัด) ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม”[1]
.......................
.... .[1] บันทึกโดยอะหฺมัด 5/447 , มาลิกในอัล-มุวัฏฏออ์ 666 , มุสลิม 537 , อบูดาวูด 3282 , อัน-นะสาอีย์ ในอัล-มุจญ์ตะบา 3/15 , อิบนุ คุซัยมะฮฺ 178-180 , อิบนุ อบีอาศิม ในอัส-สุนนะฮฺ 1/215 , อัล-ละลิกะอีย์ ในอุศูล อะฮฺลิสสุนนะฮฺ 3/392 , อัซ-ซะฮะบีย์ ในอัล-อุลุวฺ 81
[13] มุคตะศ็อร อัล-อุลุวฺ , ชัยคฺ อัล-อัลบานีย์ , อัซ-ซะฮะบีย์ , ตรวจทานโดย ชัยคฺ มุหัมมัด นาศิรุดดีน อัล-อัลบานีย์ , หน้า 81 , อัล-มักตับ อัล-อิสลามีย์ , พิมพ์ครั้งที่ 2 , 1412
………………..
อิบนุหะญัร อัลอัสเกาะลานีย์กล่าวว่า
قِصَّةِ الْجَارِيَةِ الَّتِي سَأَلَهَا النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَنْتِ مُؤْمِنَةٌ؟ قَالَتْ نَعَمْ ، قَالَ فَأَيْنَ اللَّهُ ؟ قَالَتْ فِي السَّمَاءِ ، فَقَالَ أَعْتِقْهَا فَإِنَّهَا مُؤْمِنَةٌ ، وَهُوَ حَدِيثٌ صَحِيحٌ أَخْرَجَهُ مُسْلِمٌ
เรื่องราวของทาสหญิง ที่นบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ถามนางว่า เธอเป็นผู้ศรัทธาใช่ไหม ? นางกล่าวว่า “ค่ะ ,ท่านนบีถามว่า “อัลลอฮอยู่ใหน?นางตอบว่า อยู่บนฟากฟ้า ,แล้วท่านนบีกล่าวว่า “จงปล่อยนางให้เป็นอิสระ เพราะแท้จริงนาง เป็นผู้ศรัทธา ,โดยที่มันเป็นหะดิษเศาะเฮียะ บันทึกโดย มุสลิม – ดูฟัตหุลบารีย์ เล่ม ๑๓ หน้า ๓๕
..............
ตัวอย่างข้างต้น ผู้อ่านลองพิจารณาดู ว่า ใครจริง ใครเท็จ ใครสร้างสรรค์ ใครฟิตนะฮ



อิบนุอุษัยมีนอิบนุอะษัยมีน กล่าวว่า

" فالجهة إثباتها لله فيه تفصيل، أما إطلاق لفظها نفيا وإثباتا فلا نقول به ؛ لأنه لم يرد أن الله في جهة، ولا أنه ليس في جهة، ولكن نفصل ، فنقول : إن الله في جهة العلو؛ لأن الرسول صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قال للجارية: (أين الله؟) وأين يستفهم بها عن المكان؛ فقالت: في السماء

แล้ว คำว่าทิศ ที่รับรองมันแก่อัลลอฮนั้น มีรายละเอียดในมัน ,สำหรับการกล่าวมันอย่างกว้างๆ ในเชิงปฏิเสธ และ การรับรองนั้น เราจะไม่กล่าวด้วยมัน เพราะแท้จริง มันไม่มีรายงานว่า อัลลอฮอยู่ในทิศใดๆ และไม่มีรายงานว่า พระองค์ไม่ได้อยู่ในทิศใดๆ แต่เราะจะแจกแจกรายละเอียด โดยเรากล่าวว่า “ แท้จริงอัลลอฮอยู่ในทิศเบื้องสูง เพราะแท้จริงรซูลุลลอฮ ศอ็ลฯ กล่าวแก่ทาสหญิงคนนั้นว่า (อัลลอฮอยู่ใหน? )คำว่า “อยู่ใหน “ นั้น มันถูกขอทราบด้วยมันเกี่ยวกับสถานที่ แล้วนางกล่าวตอบว่า “อยู่บนฟ้า” – อัลเกาลุลมุฟีด อะลากิตาบิตเตาฮีด เล่ม 2 หน้า 543



ท่านอับดุลเกาะดีร อัลญัยลานีย์ นักวิชาการตะเศาวูฟ กล่าวว่า

وهو بجهة العلو مستو على العرش، محتو على الملك، محيط علمه بالأشياء، {إليه يصعد الكلم الطيب والعمل الصالح يرفعه})

และ พระองค์อยู่ทิศเบื้องสูง ทรงเป็นผู้สถิตเหนือบัลลังค์ ทรงเป็นผู้มีอำนาจเหนือการปกครอง ความรู้ของพระองค์ ครอบคลุมบรรดาสรรพสิ่ง (บรรดาถ้อยคำ ที่ดีจะ (ถูกพา) ขึ้นสู่พระองค์ และการงานที่ดีก็จะ (ถูก) ยกขึ้นสู่พระองค์เช่นกัน” (ฟาฏิร/10) –

ดู الغنية لطالبي طريق الحق لعبد القادر الجيلاني (ج1 ص121 و123

อะกีดะฮอิบนุญะรีร เกี่ยวกับการอยู่เบื้องสูงของอัลลอฮ
อ้างจาก: al-azhary ที่ พ.ค. 03, 2008, 01:22 PM
ท่านอิมาม อิบนุ ญะรีร อัฏฏ็อบรีย์ อุลามาอ์สะลัฟและอิมามปราชญ์นักตัฟซีร ได้กล่าวสนับสนุนอีกว่า
يَعْنِي تَعَالَى ذِكْره بِذَلِكَ : وَإِذَا سَأَلَك يَا مُحَمَّد عِبَادِي عَنِّي أَيْنَ أَنَا ؟ فَإِنِّي قَرِيب مِنْهُمْ أَسْمَع دُعَاءَهُمْ , وَأُجِيب دَعْوَة الدَّاعِي مِنْهُمْ
ความหมายของอัลเลาะฮ์ตะอาลา ด้วยกับอายะฮ์ดังกล่าวนั้น คือ "โอ้ มุฮัมมัด เมื่อบรรดาปวงบ่าวของข้าได้ถามเจ้าถึงข้าว่า ข้าอยู่ใหน? ดังนั้น (เจ้าจงตอบว่า) แท้จริงข้าใกล้ชิดพวกเขา ข้าได้ยินการวอนขอของพวกเขา และข้าจะตอบรับการวอนขอของผู้วอนขอจากพวกเขา" ตัฟซีรอัฏฏ็อบรีย์ อายะฮ์ที่ 186 ซูเราะฮ์อัลบะกอเราะฮ์
……………..
ชี้แจง
การนำคำพูดข้างต้นมาอ้าง เพื่อจะให้เข้าใจว่า อิหมาม อิบนุญะรีร สนับสนุนทัศนะที่ไม่ยอมรับในการอยู่เบื้องสูงของอัลลอฮนั้น เป็นการกระทำที่ไม่มีอามานะฮต่อนักวิชาการ
เพราะทัศนะของอิบนุญะรีรนั้น ท่านไม่ได้ปฏิเสธการอยู่เบื้องสูงของอัลลอฮ
อิหม่ามอิบนุญะรีร อธิบาย อายะฮที่ 17 ซูเราะฮอัลมุ้ลกิ ว่า
أمْ أمِنْتُمْ مَنْ فِي السَّماءِ وهو الله { أنْ يُرْسِلَ عَلَيْكُمْ حاصِباً } وهو التراب فيه الحصباء الصغار
“หรือพวกเจ้าปลอดภัย(จาก)ผู้อยู่บนชั้นฟ้า และพระองค์คือ อัลลอฮฺ (ที่จะส่งลมหอบหินลงมาทับถมเหนือพวกเจ้า) มันคือดิน ที่มี ก้อนกรวดเล็กๆอยู่ในนั้น "
- ดูตัฟสีร อัฏฏอ็บรีย์ อรรถาธิบายอายะฮที่ 17 ซูเราะฮอัลมุ้ลกิ .
@@@@
มันเป็นไปได้อย่างไรที่ท่านเป็นผู้กล่าวเองว่า ผู้ที่อยู่บนฟากฟ้าคือ อัลลอฮ แต่กลับไมเชื่อตามนั้น ซึ่งเป็นไปไม่ได้
ส่วนคำอธิบายของท่านอิบนุญะรีรที่ว่า
يَعْنِي تَعَالَى ذِكْره بِذَلِكَ : وَإِذَا سَأَلَك يَا مُحَمَّد عِبَادِي عَنِّي أَيْنَ أَنَا ؟ فَإِنِّي قَرِيب مِنْهُمْ أَسْمَع دُعَاءَهُمْ , وَأُجِيب دَعْوَة الدَّاعِي مِنْهُمْ
ความหมายของอัลเลาะฮ์ตะอาลา ด้วยกับอายะฮ์ดังกล่าวนั้น คือ "โอ้ มุฮัมมัด เมื่อบรรดาปวงบ่าวของข้าได้ถามเจ้าถึงข้าว่า ข้าอยู่ใหน? ดังนั้น (เจ้าจงตอบว่า) แท้จริงข้าใกล้ชิดพวกเขา ข้าได้ยินการวอนขอของพวกเขา และข้าจะตอบรับการวอนขอของผู้วอนขอจากพวกเขา" ตัฟซีรอัฏฏ็อบรีย์ อายะฮ์ที่ 186 ซูเราะฮ์อัลบะกอเราะฮ์
การอธิบายข้างต้น ไม่ได้ค้านและไม่ได้ปฏิเสธ การอยู่เบื้องสูง เหนือฟากฟ้าแต่อย่างใด
มาดูอายะฮต่อไปนี้
(إِلَيْهِ يَصْعَدُ الْكَلِمُ الطَّيِّبُ وَالْعَمَلُ الصَّالِحُ يَرْفَعُهُ)
“คำกล่าวที่ดีจะ (ถูกพา) ขึ้นสู่พระองค์”และการงานที่ดีก็จะ (ถูก) ยกขึ้นสู่พระองค์เช่นกัน (ฟาฏิร/10)
ท่านอิบนุญะรีรอธิบายว่า
وَقَوْلُهُ ( إِلَيْهِ يَصْعَدُ الْكَلِمُ الطَّيِّبُ ) يَقُولُ - تَعَالَى ذِكْرُهُ - : إِلَى اللَّهِ يَصْعَدُ ذِكْرُ الْعَبْدِ إِيَّاهُ وَثَنَاؤُهُ عَلَيْهِ
คำตรัสของพระองค์ที่ว่า(และการงานที่ดีก็จะ (ถูก) ยกขึ้นสู่พระองค์เช่นกัน) หมายถึง ผู้ซึ่ง การสดุดีพระองค์สูงส่งยิ่ง ตรัสว่า “ การสดุดี(การซิกริลละฮ)ของบ่าวต่อพระองค์ และการสรรเสริญของบ่าวแก่พระองค์ ขึ้นไปยังอัลลอฮ – ตัฟสีรอิบนุญะรีร
คำว่า “ขึ้นไป” แสดงให้เห็นการอยู่เบื้องสูง ไม่ใช่อยู่เบื้องล่าง หรืออยู่ทุกหนทุกแห่ง
والله أعلم بالصواب

..............................................
ชี้แจงโดย อ.หะสัน หมัดอะดั้ม
รวบรวมโดยทหารของอัลลอฮฺ แบบฉบับนบี






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น