อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2557

อบูบักรฺ อัศศิดดิก รอฏิยัลลอฮุอันฮู



10 ศอฮาบะฮฺ ผู้ได้รับสัญญาสวรรค์

ท่านที่ 1

***อบูบักรฺ อัศศิดดิก รอฏิยัลลอฮุอันฮู ****

ชื่อ : อบูบักรฺ อัศศิดดิก

ก่อนเข้ารับอิืสลาม มีชื่อว่า : อับดุลลกะอฺบะฮฺ

หลังเข้ารับอิสลาม มีชื่อว่า : อับดุลลอฮฺ
มีฉายาว่า : อัศศิดดิก และอัลอะดีก

เชื้อสาย : กุร็อยช์ เผ่าบนีตัยมฺ เป็นญาติกับท่านศาสดามุหัมมัด (ซ.ล.) สายตระกูลบรรจบกับสายตระกูลของนบีมุหัมมัด (ซ.ล.) ที่ มุรเราะฮฺ

บิดา : มีชื่อว่า อุษมาน ฉายาว่า อบูกุหาฟะฮฺ ซึ่งเข้ารัีบอิสลาม เมื่ออายุ 90 ปี ในปีที่ท่านศาสดา (ซ.ล.) มีชัยชนะเหนือมักกะฮฺ หรือที่เรียกว่า ฟัตหุลมักกะฮฺ

มารดา : มีชื่อว่า ซัลมา ฉายาว่า อุมมุลคัยรฺ ซึ่งเข้ารับอิสลามเช่นกัน มาจากตระกูลบนีตัยมฺเช่นเดีัยวกับบิดา

ภรรยาของท่าน : มีชื่อว่า อุมมุรุมมาน

กำเนิด : หลังจากปีช้างสองปีครึ่งซึ่งหมายถึงอบูบักรฺมีอายุน้อยกว่า นบีัมุหัมมัด (ซ.ล.) ประมาณสองปี

......การเข้าัรับอิสลาม :

เมื่อตอนที่ท่านนบีมุหัมมัด (ซ.ล.) ได้รับวะหฺยูแต่งตั้งท่านให้เป็นศาสดานั้น อบูบักรฺอยู่ที่เยเมน เมื่อกลับมายังมักกะฮฺ ผู้นำของมักกะฮฺ คือ อบูญะฮัล, อุดบะฮฺ, ชัยบะฮฺ และคนอื่น ๆ ได้เข้าพบอบูบักรฺ และแจ้งแก่อบูบักรฺว่า หลายชายของอบูฏอลิบ คือ มุหัมมัดได้ประาศตนเป็นศาสดาของพระเจ้าแล้ว ขอให้อบูบักรฺไ้ดตรวจสอบเรื่องนี้ด้วย เพื่อว่าอบูบักรฺจะได้ร่วมปฏิเสธอีกคน แต่แล้วพวกเขาก็คาดผิด เมื่ออบูบักรฺประกาศเข้ารับศรัทธาด้วยความมั่นใจ ดังที่ศาสดา (ซ.ล.) เคยกล่าวไว้ว่า

"ฉันเทศนาให้ผู้คนเห็นคุณค่าของอิสลาม ทุกคนดูเหมือนจะใช้ความคิดถึงแม้เพียงชั่วขณะหนึ่ง แต่อบูบักรฺมิได้เป็นเช่นนั้น เพียงฉันอธิบายหลักการอิสลามให้เขาทราบเขาก็เข้ารับอิสลามทันที"

.....สถานภาพ :

1. เป็นเพื่อนสนิทของท่านนบีมุหัมมัด (ซ.ล.) มาตั้งแต่เยาว์วัย
2. เป็นศอหาบะฮฺที่ใกล้ชิดที่สุดของท่านนบีมุหัมมัด (ซ.ล.)
3. เป็นผู้ร่วมทุกข์ร่วมสุข ร่วมเป็นร่วมตายกับท่านนบี (ซ.ล.) ในทุกสถานการณ์
4. เป็นพ่อตาของท่านนบี (ซ.ล.) เนื่องจากบุตรสาวของท่าน คือท่านหญิงอาอิชะฮฺ (ร.ฎ.) เป็นภรรยาคนหนึ่งของท่านศาสดา (ซ.ล.)
5. เป็นคอลีฟะฮฺท่านแรก หลังการวะฟาตของนบีัมุหัมมัด (ซ.ล.)

......บุคลิกภาพ / อุปนิสัย :

* เป็นคนสุภาพอ่อนโยน ใจบุญ ชอบช่วยเหลือผู้่อื่นอยู่เสมอ
* เป็นคนดี รักความยุติธรรม ซื้อตรง รักความจริง
* เป็นผู้อยู่ในตระกูลสูงศักดิ์ มีคุณธรรมและจริยธรรม หาผู้ใดเสมอเหมือนได้ยา
* มีความกระตือรือร้น มีขันติธรรม เด็ดขาด อาจหาญ
* ชอบบริจาคเป็นเนืองนิจ
* เป็นพ่อค้าที่มีชื่อเสียงและมั่งคั่้งคนหนึ่งของชาวมักกะฮฺ

......ผลงานเด่น :

1. เป็นชายฉกรรจ์คนแรกที่เข้ารับอิสลาม

2. เป็นผู้ศรัทธาต่อท่านศาสดา (ซ.ล.) อย่างจริงใจ ไม่ลังเล เชื่อทุกคำพูดตามที่ท่านศาสดา (ซ.ล.) บอก

3. อบูบักรฺ (ร.ฏ.) โดนทำร้ายร่างกายจนบอบช้ำจากพวกดุร็อยช์มักกะฮฺ แต่ท่านก็อดทนและได้รับการช่วยเหลือโดยบนูตะมีม

4. อบูบักรฺ (ร.ฎ.) เดินทางอพยพร่วมกับผู้ศรัทธาไปยังอบิสซิเนียในการอพยพครั้งแรกด้วย แต่เมื่อถึงระหว่างทางก็ได้พบกับ อิบนุดดะฆีนะฮฺ ซึ่งเป็นหัวหน้าเ่ผ่าอัลอับบาซ เขาเข้าขัดขวางไม่ให้อบูบักรฺ (ร.ฎ.ฉ เดินทางอพยพ เพราะเขาถือว่าอบูบักรฺ (ร.ฎ.) เป็นคนที่ปฏิบัติดีต่อผู้คน เป็นผู้่ชอบช่วยเหลือผู้อื่น และประกอบการดี เขาจึงร้องขอให้อบูบักรฺ (ร.ฎ.) กลับมักกะฮฺ โดยสัญญาว่าจะคุ้มครองปกป้องด้วยตัวเอง อบูบักรฺ (ร.ฎ.) จึงยินยอมและเดินทางกลับมักกะฮฺ

5. หลังเข้ารับอิสลาม ท่านได้ดะวะฮฺผู้คนมาสู่อิสลามทันที ในตอนเริ่มแรกมีผู้ศรัทธาตามท่านถึง 6 คน ทั้งหมดเป็นผู้วางรากฐานสำคัญของการแผ่ขยายอิสสลามในเวลาต่อมา มักเรียกพวกเขากันว่า อัซซาบิกูนัลเอาวะลูน หมายถึุง รุ่นแรกที่เข้ารับอิสลาม ได้แก่
*** อุษมาน บิน อัฟฟาน (ร.ฎ.)
*** ซุบัยรฺ บิน เอาวับ (ร.ฎ.)
*** ฏอลหะฮิ บิน อุบยดิลลาฮฺ (ร.ฎ.)
*** อบูอุบัยดิลลาฮฺ บิน อับญัรรอหฺ (ร.ฎ.)
*** อับดุลเราะหฺมาน บิน เอาฟฺ (ร.ฎ.)
*** สะอัด บิน อบีวักกอส (ร.ฎ.)
ซึ่งบุคคลทั้งหกคนนี้ล้วนแล้วเป็นหนึ่งในบรรดาผู้ได้รับสัญญาสวรรค์ทั้งสิ้น

6. ท่านอบูบักรฺปกป้องท่านนบี (ซ.ล.) จากการทำร้ายของชาวมักกะฮิหลายครั้ง

7. เสียสละทรัพย์สินมหาศาลเพื่อไถ่ตัวบิลาลจากการเป็นทาสและกำลังถูกทรมานโดย อุมัยยะฮฺ บิน คอลาฟ นายจอมโหดที่ไม่พอใจกับการที่บิลาลทิ้งศาสนาเดิม และหันมาเชื่อมั่นศรั่ทธาในคำสอนของนบีมุหัมมัด (ซ.ล.)

8. ในขณะที่ท่านรอซูล (ซ.ล.) กำลังเศร้าโศกกับการจากไปของภริยาสุดที่รักของท่าน คือ นางคอดีญะฮฺ (ร.ฎ.) อบูบักรฺ (ร.ฎ) จึงยกลูกสาวของท่านคือ ท่านหญิงอาอิชะฮฺ (ร.ฎ.) ให้แต่งงานกับท่านศาสดา (ซ.ล.) เพื่อให้ท่านรู้สึกสบายใจและทำให้ความผูกพันระหว่างท่านกับรอซูลุลลอฮฺ (ซ.ล.) แ่น่นแฟ้นยิ่งขึ้น

9. ร่วมอพยพกับท่านรอซูล (ซ.ล.) จากมักกะฮฺถึงมะดีนะฮฺ ปกป้องท่านนบีจากการถูกสัตว์มีพิษกัดต่อย โดยใช้ตัวเองเป็นเครื่องป้องกัน

10. ร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับท่านรอซูล (ซ.ล.) ทุกสมรภูมิด้วยความเด็ดเดี่ยว เช่น สมรภูมิบะดัร อุหุด หุนัยนฺ ฯลฯ

11. ในสงครามตาบูก ท่านเสียสละทรัพย์สินทั้งหมดให้กับกองทัพมุสลิม เมื่อถุกถามว่า "แล้วท่านเหลืออะไรไว้ให้คนในครอบครัวของท่านบ้างเล่า?" เขาตอบว่า "ฉันเหลืออัลลอฮฺและรอซูลก็เพียงพอแล้วสำหรับฉัน"

12. ในปี ฮ.ศ. 9 ท่านได้รับมอบหายจากรอซูลุลลอฮฺ (ซ.ล.) ให้เป็นผู้นำขบวนหุจญาด เดินทางสู่นครมักกะฮฺ

13. เป็นอิหม่ามแทนท่านรอซูล (ซ.ล.) เมื่อตอนที่ท่านรอซูลุึลลอฮฺ (ซ.ล.) ป่วย

14. ได้รับการเลือกตั้งให้เป็นคอลีฟะฮฺ (ผู้นำสูงสุดของประชาชาติมุสลิม) คนแรกในประวัติศาสตร์อิสลามหลังการวะฟาตของท่านศาสดา

15. จัดกองทัพปราบปรามผู้ที่ตกเป็นมุรตัด และผู้ที่อ้างตนเป็นนบีหลังการจากไปของท่านรอซุลุลลอฮฺ (ซ.ล.)

16. จัดระบบบัยดุลมาล (กองคลังกลางของรัฐ)

17. แผ่ขยายอิสลามไปยังซีเรียและอิรัก

18. สั่งให้ีมีการรวมเล่มคัมภีร์อัลกุรอาน จากที่กระจัดกระจายอยู่ตามที่ต่าง ๆ เช่น เปลือกอินทผลัม ก้อนหิน กระดูก เปลือกไม้ หนังสัตว์ และที่อื่น ๆ

19. สร้างเอกภาพในหมู่อิสลาม

......เสียชีวิต :

ในวาระสุดท้ายของชีวิต ท่านอบูบักรฺ อัศศิดดิก (ร.ฎ.) ได้ล้มป่วยลง เมื่อวันที่ 7 เดือนญะมาดุลอาคิร ฮ.ศ. 13 ซึ่งอาการป่วยได้ริ่มทวีขึ้นตามลำดับ แม้ว่าจะมีการเยียวยากันยอ่างเต็มความสามารถ แต่อาการก็ไม่ดีขึ้น มีแต่ทรุดลงไปทุกขณะ

สำหรับสาเหตุของการล้มป่วยนั้น มีับันทึกหลายรายงานด้วยกัน บ้างก็ว่าท่านได้อาบน้ำในวันที่มีอากาศหนาวจัด ทำให้มีอาการไข้ ต้องนอนพักอยู่กับบ้าน ไม่สามารถไปไหนได้จนกระทั่งเสียชีวิต

แต่นักประวัติศาสตร์บางท่านไ้ด้บันทึกว่า การล้มป่วยของอบูบักรฺ อัศศิดดิก นั้น เนื่องจากท่านถูกวางยาา ทำให้พิษของยาเกิดการสะสมในร่างกาย เมื่อร่างกายอ่อนแอลง ท่านจึงเจ็บป่วยและเสียชีวิตในที่สุด

อบูบักรฺ อัศศิดดิก (ร.ฎ.) ได้เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 22 ญะมาอุลอาคิอร ฮ.ศ. 13 ซึ่งมีอายุได้ 63 ปี เช่นเดียวกับท่านศาสดามุัหัมมัด (ซ.ล.)

ความประเสริฐของ อบูบักรฺ อัศศิดดิก รอฎิยัลลอฮุอันฮู....

1. ท่านรอซูล (ซ.ล.) ชื่อชมท่านอบูบักรฺ (ร.ฎ.) ว่าเป็นมิตรแท้ของท่าน ท่านรอซูลุลลอฮฺ (ซ.ล.) กล่าวว่า "แท้จริงบุคคลที่มีความเมตตากรุณามากที่สุดในมวลมนุษย์แก่ข้าพเจ้าในความเป็นเพื่อนและในทรัพย์สมบัติของเขา คือ อบูบักรฺ และถ้าหากพข้าพเจ้าจะหา คอลีล (เป็นตำแนห่งที่ใกล้ชิดอัลลอฮฺมากที่สุดเปรียบได้ดังมิตรสนิท) จากประชากรของข้าพเจ้านอกจากพระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าต้องเอาอบูบักรฺอยางแน่นอน แต่ความเป็นพี่น้องร่วมอิสลาม และความรักของเขานั้นเหนือกว่าไม่มีประตูใดในมัสยิดที่เหลืออยุ่นอกจากต้องถุกอุด (ไม่ให้ทะลุผ่านมัสยิด) ยกเว้นบ้านของอบูบักรฺ"

ในอีกรายงานหนึ่งกล่าวว่า : "ถ้าหากข้าพเจ้าจะเอาจากประชากรของข้าพเจ้าเป็นคอลีลแล้ว ข้าพเจ้าต้องเอาอบูบักรฺอย่างแน่นอน แต่เขาเป็นพี่น้องของข้าพเจ้า และเป็นเพื่อนแท้ของข้าพเจ้า แต่พระองค์อัลลอฮฺได้เอามิตรของพวกท่านเป็นคอลีลแล้ว" (บุคอรี มุสลิม และติรมีซี)

อิบนุ อับบาส รอฎิยัลลอฮุอันฮูมา รายงานว่า ท่านนบี (ซ.ล.) กล่าวว่า "ถ้าฉันเอาผู้ใด (ในประชาคมของฉัน) เป็นมิตรแท้ แน่นอน ฉันจะเอา อบูบักรฺ แต่เขาเป็นพี่น้องของฉันและสาวกของฉัน (ในภารดรภาพของอิสลาม) (บุคอรี)

จากท่าน อัยยูบ (ร.ฎ.) รายงานว่า ท่านนบี (ซ.ล.) กล่าวว่า "ถ้าฉันเอาผู้ใดเป็นมิตรแท้ แน่นอน ฉันจะเอาเชา (อบูบักรฺ) เป็นมิตรแท้ แต่การเป็นพี่น้องในอิสลามนั้นประเสริฐกว่า" (บุคอรี)

2. ท่านรอซูล (ซ.ล.) แจ้งไว้เป็นนัยยะว่าผู้นำหลังจากท่าน คือ อบูบักรฺ (ร.ฎ.)

จากท่านอาอิชะฮฺ (ร.ฎ.) กล่าวว่า ท่านรอซูลุลอฮฺ (ซ.ล.) กล่าวแก่ฉันในขณะป่วยว่า
"เธอจงไปเรียกอบูบักรฺบิดาของเธอและพี่น้องของเธอมาหาฉันหน่อย เืพื่อฉันจะได้เขียนหนังสือขึ้นฉบับหนึ่ง เพราะฉันเกรงว่า จะมีผู้มุ่งหวังตั้งความหวังไว้ และจะมีผู้กล่าวว่า ข้าพเจ้ามีความเหมาะสมกว่า แต่พระองค์อัลลอฮฺและบรรดาผู้ศรัทธาจะไม่ยินยอมนอกจากอบูบักรฺเท่านั้น" (มุสลิม)

รายงานจากท่านมุหัมมัด อิบนุ ญุบัยรฺ อิบนุ มุฏอิม จากบิดาของเขาว่าหญิงคนหนึ่งมาหาท่านนบี (ซ.ล.) แต่ท่านได้สั่งให้นางกลับมาในภายหลัง นางถามว่า "ถ้าดิฉันมาแล้วไม่พบท่านเล่า" ประหนึ่งว่านางจะบอกว่าหากท่านตายล่ะ ท่านนบี (ซ.ล.) กล่าวว่า "ถ้าเธอไม่พบฉัน ก็ให้มาหาอบูบักรฺ" (บุคอรี)

3. อบูบักรฺ (ร.ฎ.) มีอามัลที่เหนือคนกว่าอื่น ๆ

จากท่านอบีฮุร้อยเราะฮฺ (ร.ฎ.) เล่าว่า วันหนึ่งท่านนบี (ซ.ล.) ถามว่า "จะมีใครบ้างในหมู่พวกท่านในวันนี้ที่ตื่นขึ้นมาในสภาพถือศีลอด?" อบูบักรฺกล่าวว่า "ข้าพเจ้า" ท่านถามอีกว่า มีใครบ้างในหมู่้พวกท่านในวันนี้ที่ติืดตามศพ อบูบักรฺตอบว่า "ข้าพเจ้า" ท่านถามอีกว่า "มีใครบ้างในหมู่พวกท่านในวันนี้ที่ให้อา่หารแก่คนยากจน" อบูบักรฺตอบว่า "ข้าพเจ้า" ท่านถามอีกว่า "มีใครบ้างในหมู่พวกท่านในวันนี้ที่ได้เยี่ยมผู้ป่วย" อบูบักรฺตอบ "ข้าพเจ้า" ท่านรอซูล (ร.ฎ.) จึงกล่าวว่า "สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะไม่อยู่ในผู้ใดนอกจากเขาจะได้เข้าสวรรค์" (มุสลิม)

4. อบูบักรฺ (ร.ฎ.) เป็นบุคคลแรกจากประชากรของท่านนบี (ซ.ล.) ที่จะได้เข้าสวรรค์

จากอบีฮุรอยเราะฮฺ (ร.ฎ.) เล่าว่า ท่านนบี (ซ.ล.) กล่าวว่า "ญิบรีลไ้ด้มาหาฉันและได้จับมือฉัน และได้ให้ฉันเป็นประตูสวรรค์ซวึ่งประชาชนของแันจะได้เข้าทางประตูนั้น" อบูบักรฺกล่าวขึ้นวา่ "โอ้ รอซูลุลอฮฺ (ซ.ล.) ข้าพเจ้าปรารถนาจะอยู่กับท่านด้วยเพื่อข้าพเจ้าจะได้ดูมัน" ท่านรอซูลุลอฮฺ (ซ.ล.) กล่าวว่า "พึงทราบเถิดว่า แท้จริง อบูบักรฺ เป็นบุคคลแรกจากประชากรของฉันที่ได้เข้าสวรรค์" (อบูดาวูด)

5. อบูบักรฺ (ร.ฎ.) เป็นผู้เสียสละทรัยพ์สินเพื่อท่านนบีั (ซ.ล.)

จากอบีฮุรอยเราะฮฺ (ร.ฎ.) จากท่านนบี (ซ.ล.) ได้กล่าวว่า
"ไม่มีมือของใครที่อยู่กับพวกเราเว้นแต่พวกเราได้ตอบแทานเขา นอกจาก อบูบักรฺ เพราะแท้จริงมือของเขาที่อยู่กับพวกเรานั้นอัลลอฮฺจะทรงตอบรับแทนเขาด้วยสาเหตุของมือนั้นในวันกิยามะฮฺ และไม่มีทรัพย์ของใครเลยที่ให้ประโยชน์แก่ฉันเหมือนดั่งที่ทรัยพ์สินของอบูบักรฺได้ให้ประโยชน์แก่ฉัน" (ติรมีซี)

6. อบูบักรฺ (ร.ฎ.) คือ ผู้ใกล้ชิดท่านนบี (ซ.ล.) ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

จากอิบนุอุมัรฺ (ร.ฎ.) เล่าว่าท่านนบี (ซ.ล.) ได้กล่าวแก่อบูบักรฺ (ร.ฎ.) ว่า "ท่านเป็นมิตรของฉันที่บ่อน้ำ (ในวันกิยามะฮฺเพื่อคอยต้อนรับประชากรของฉัน) และเป็นมิตรของฉันในถ้ำ (เมื่อตอนอพยพออกจากมักกะฮฺ" (ติรมีซี)

7. อบูบักรฺ (ร.ฎ.) เป็นผู้ปลอดภัยจากไฟนรก

จากอาอิชะฮฺ (ร.ฎ.) เล่าวว่า ท่านอบูบัรกฺ (ร.ฎ. ได้ไปหารอซูลุลลอฮฺ (ซ.ล.) ท่านได้กล่าวแก่อบูบักรฺ (ร.ฎ.) ว่า "ท่านเป็นบุคคลที่อัลลอฮฺทรงปลดปล่อยให้พ้นจากไฟนรก" ซึ่งนับแต่นั้นมาท่านอบูบักรฺจึงถูกเรียกว่า อัล-อะตีก หมายถึง ผู้ที่ถูกปลดปล่อย (ติรมีซี)

8. อบูบักรฺ (ร.ฎ.) ถูกยกย่องให้เป็นผู้นำ

จากอาอิชะฮฺ (ร.ฎ.) เล่าว่า ท่านนบี (ซ.ล.) ได้กล่าวว่า "ไม่สมควรแ่ก่คนกลุ่มใดที่มีอบูบักรฺร่วมอยู่ด้วย ที่คนอื่นจะเป็นผู้นำคนกลุ่มนั้น นอกจากอบูบักรฺ" (ติรมีซี)

9. บรรดาศอหาบะฮฺเคยจัดลำดับความประเสริฐให้อบูบักรฺ (ร.ฎ.) เป็นที่หนึ่ง

อิบนุอุมัรฺ (ร.ฎ.) กล่าวว่า เราเคยเปรียบเทียบผู้คนในสมัยของท่านรอซูลุลลอฮฺ (ซ.ล.) เราได้เลือก อบูบักรฺ แล้วก็ท่าน อุมัร อิบนุล ค็อฏฏ็อบ แล้วก็ท่านอุษมาน (ร.ฎ.) (บุคอรี)

จากมุหัมมัด อิบนุ อัลหะนะฟียะฮฺ เล่าว่า ฉันได้ถามบิดาของฉัน (คือ อลี บิน อบีฏอลิบ) ว่า ผู้ใดดีัที่สุดหลังจากท่านรอซูลุลลอฮฺ (ซ.ล.) ท่านตอบว่า ท่านอบูบักรฺ ฉันถามต่อว่า แล้วใครอีก ? ท่านบอกว่า ท่านอุมัรฺ ฉันเกรงว่าท่านจะตอบอีกว่า ต่อมาคือท่านอุษมาน ฉันจึงพูดว่า แล้วคือตัวท่าน ? เขาบอกว่า ฉันเป็นเพียงคนหนึ่งในบรรดามุสลิมทั่ว ๆ ไป (บุคอรี)

10. อบูบักรฺ (ร.ฎ.) เป็นที่รักของท่านนบี (ซ.ล.)

จากท่าน อุมัรฺ อิบนุ อัลอาศ (ร.ฎ.) เล่าว่า ท่านนบี (ซ.ล.) ได้แต่งตั้งเขาให้เป็นแม่ทัพในสงครามซาตุซซะลาฺซิล เขาได้มาหาท่านนบีแล้วพูดว่าา ผู้ใดในหมู่ปวงชนซึ่งเป็นที่รักยิ่งแก่ท่าน ท่านบอกว่า "อาอิชะฮฺ" ฉันพูดว่า ในหมู่ผู้ชายล่ะ ท่านตอบว่า "บิดาของนาง (คืออบูบักรฺ)" ฉันพูดว่าแล้วใครอีกล่อ ท่านตอบว่า "อุมัร อิบนุ อัลค็อฏฏอบ" แล้วก็นับผู้ชายอีกหลายคน

11. ท่านนบี (ซ.ล.) ฝันถึงบทบาทการรับใช้อิสลามของท่านอบูบักรฺ (ร.ฎ.) หลังจากตัวท่าน

จากอบีฮูรอยเราะฮฺ (ร.ฎ.) เล่าว่า เขาได้ยินท่านรอซูลุลลอฮฺ (ซ.ล.) กล่าวว่า "ขณะที่ฉันนอนหลับอยู่ ฉันเห็นตัวฉันอยู่ที่ปากบ่อ ณ ที่นั้นมีถุงหนังอยู่ ฉันได้ตักน้ำขึ้นมาจากบ่อมากเท่าที่อัลลอฮฺทรงประสงค์แล้ว อิบนุ อบี กุหาฟะฮฺ (อบูบักรฺ) เอามันไปตักน้ำขึ้นมาได้หนึ่งถึงหรือสองถุง ในการตักน้ำขึ้นมานั้นเขาไม่ค่อยมีเรี่ยวแรง และอัลลอฮฺจะทรงอภัยในความอ่อนแอของเขา แล้วถุงหนังได้กลายเป็นถุงหนังใบใหญ่ อุมัร อิบนุ อัลค็อฏฏอบ ได้จับมัน ฉันไม่เคยเห็นคนใดในหมู่ประชาชนที่จะแข็งแรง และตักน้ำได้อย่างท่านอุมัร กระทั่งประชาชนให้น้ำดื่มแ่ก่อูฐอิ่มจนคุุกเข่าลงพัก" (บุคอรี)

แล้วประวัติศาสตร์ก็เป็นเช่นนั้นจริง ๆ กล่าวคือ ในสมัยการปกครองของอบูบักรฺ ท่านปกครองเพียงสองปี อิสลามแผ่ขยายไปได้ในระดับหนึ่งแต่พอมาถึงยุคของอุมัร อิสลามเข้มแข็งและแผ่ขยายไปได้อย่างกว้างขวาง

12. ภูเขาอุหุดสั่นสะท้านเมื่อท่านนบี (ซ.ล.) และอบูบักรฺ (ร.ฎ.) อยู่บนมัน

จากอนัส บิน มาลิก (ร.ฎ.) เล่าวว่า ท่านนบี (ร.ฎ.) ขึ้นไปบนภูเขาอุหุดพร้อมกับ อบูบักรฺ อุมัร และอุษมาน แล้วมันได้สั่นสะเทือนใต้พวกเขา ท่านนบี (ซ.ล.) จึงกล่าวว่า

"โอ้อุหุดจงหยุดเถิด ที่อยู่บนเจ้านี้่คือนบีคนหนึ่ง ศฺดดีกคนหนึ่งและผู้พลีชีพอีกสองคน"

น่าำอัศจรรย์ยิ่ง ท่านรอซูล (ซ.ล.) กล่าวไว้ก่อนล่วงหน้า ต่อมาประวัติศาสตร์บันทึกว่าท่านอุมัรและอุษมาน ก็ถูกสังหารจริง ๆ ท่านนบี (ซ.ล.) จึงเรียกพวกเขาว่าผู้พลีชีพสองคน แต่ไม่เรียกอบูบักรฺเช่นนั้น เนื่องจากท่านอบูบักรฺเสียชีวิตด้วยการป่วย

13. ท่านอลี ขอพรให้อบูบักรฺและอุมัร (ร.ฎ.)

จากท่านอิบนุ อับบาส (ร.ฎ.) กล่าวว่า ฉันยืนอยู่ท่ามกลางประชาชนซึ่งกำลังขอพรให้ท่าน อุมัร อิบนุล ค็อฏฏอบ ซึ่งศพของเขาถูกวางอยู่บนแคร่นอนของเขา ทันใดนั้นก็มีชายคนหนึ่งข้างหลังฉันเอาข้อศอกวางบนบ่าของฉัน พลางกล่าวว่า ขออัลลอฮฺทรงเมตตาเขา แท้จริง ฉันหวังว่าอัลลอฮฺจะทรงให้เขาอยู่เคียงข้างสหายทั้งสองของท่าน เพราะฉันได้ฟังเชนนี้เนือง ๆ จากท่านรอซูรุลลอฮฺ (ซ.ล.) ซึ่งท่านได้กล่าวว่า ตัวฉัน อบูบักรฺ และอุมั้ร ฉนไปที่นั่นพร้อมกับอบูบักรฺ และอุมัร เพราะฉะนั้นฉันจึงหวังว่า อัลลอฮฺจะทรงให้เขา (อุมัร) ถูกฝังเคียงข้างท่านทั้งสอง ฉัน (อิบนุอับบาส) หันกลับไปดู แล้วพบว่าเขา (ผู้พูดเช่นนั้น ) คือ อลี บิน อบฎอลิบ (บุคอรี)

14. อบูบักรฺ (ร.ฎ.) ช่วยเหลือท่านนบี (ซ.ล.) จากอันตราย

จากท่านอุรวะฮฺ อิบนุ อัซซุบัยรฺ (ร.ฎ.) เล่าว่า ฉันได้ถามท่านอับดุลลอฮฺ บิน อัมรฺ บิน อัลอาศ ว่า มีเรื่องใดร้ายแรงบ้างที่พวกมุชริกทำต่อท่านรอซูลุลลอฮฺ (ซ.ล.) เขาบอกว่า ฉันเห็นอุกบะฮิ บิน อบีมุอัยฏ ไปยังท่านนบี (ซ.ล.) ขณะที่ท่านกำลังนมาซอยู่ เขา่เอาผ้าที่คล้องบ่าของเขาพันคอของท่านแล้วรัดมันอย่างแรง ท่านอบูบักรฺได้เข้ามาจนกระทั่งได้ผลักเขาไปจากท่านนบี(ซ.ล.) แล้ว พูดว่า เจ้าจะฆ่าชายคนหนึ่งเพียงเพราะเขากล่าวว่า อัลลอฮฺคือพระผู้อภิบาลของฉันกระนั้นหรือ ? และแน่นอนเขาได้นำหลักฐานทั้งหลายอันชัดแจ้งจากพระผู้อภิบาลของพวกท่านมาให้พวกท่านแล้ว (บุคอรี)

.........................................................
(จากหนังสือ : 10 ศอหาบะฮฺผู้ได้รับสัญญาสวรรค์ )
มันศูร อับดุลลอฮฺ : เรียบเรียง
อดทน เพื่อชัยชนะ โพส








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น