อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การหมั้น และการสวมแหวนหมั้น มีในอิสลามหรือไม่




ตอบโดย อ.ปรโมทย์ ศรีอุทัย

ถาม
เท่าที่รู้ระบบการหมั้นสาว โดยที่ยังไม่นิกะห์กันในอิสลามไม่มี
แต่อิสลามบางกลุ่มยังนำไปปฏิบัติ
อย่างนี้ผิดมากไหม? ในระบบอิสลามครับ

ตอบ

 การหมั้นหรือการ "มัดจำ" สาว ไม่มีในหลักการอิสลามอย่างคุณว่าครับ
เพราะอิสลามนั้นเมื่อมีการทาบทามตกลงปลงใจกันแล้วก็จะนัดวันนิกาห์เลย

การมัดจำหรือการหมั้นดังกล่าวจึงเป็นรูปแบบที่พวกเราลอกเลียนแบบค่านิยมของคนไทยพุทธมา

ซึ่งผมก็ไม่ทราบว่าค่านิยมนี้มาจากพิธีกรรมศาสนาของเขาหรือไม่ ถ้าใช่ก็ห้ามพวกเราปฏิบัติตาม แต่ถ้าไม่ใช่ก็คงไม่มีปัญหา

นอกจากในกรณีเดียวที่เราทำไม่ได้อย่างชัดเจนก็คือ การสวมแหวนหมั้น เพราะเรื่องนี้เป็นการรับมาจากชาวคริสต์เขา ..

 แต่ปัญหาใหญ่ที่อาจเกิดขึ้นจากการหมั้นก็คือ เงินหรือทองหมั้นที่ฝ่ายชายมอบให้กับฝ่ายหญิงนั้น ต้อง "ตกลงให้ชัดเจน" ว่า เป็นส่วนหนึ่งของมะฮัรฺที่ฝ่ายชายมอบให้ล่วงหน้า หรือเป็นการให้โดยเสน่หาที่ไม่เกี่ยวกับมะฮัรฺ

 เพราะสมมุติว่าถ้าทั้งคู่ไม่ได้แต่งงานกัน แล้วฝ่ายชายเกิดทวงของหมั้นคืนก็อาจเป็นเรื่องราวใหญ่โตได้

หากฝ่ายชายอ้างว่าเป็นส่วนหนึ่งของมะฮัรฺจึงมีสิทธิเอาคืนเพราะยังไม่ได้นิกาห์กัน ขณะที่ฝ่ายหญิงอ้างว่า เป็นการให้โดยเสน่หา ฝ่ายชายจึงขอคืนไม่ได้อีก ..

นี่คือปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการหมั้นครับ ...



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น