อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ระยะเวลาที่สามารถละหมาดรวมย่อขณะเดินทาง

ตอบโดย อ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย

ถาม
อัสลามูอาลัยกุม อ.ครับละหมาดย่อ อิชา อ่านดังหรืออ่านค่อยครับ และขณะเดินทางสามารถย่อรวมได้ตลอดเลยใช่ไหมครับ ไม่ว่าจะกี่วันก็ตามหรือมีกำหนดวันที่สามารถย่อได้ช่วยอธิบายหน่อยครับ ยาซากัลลอฮุฆอยร็อน

ตอบ
วะอลัยกุมุสสลาม .. การนมาซที่อ่านเสียงดัง มันไม่เกี่ยวกับอยู่บ้านหรือเดินทาง หมายความว่า ไม่ว่าจะนมาซยามอยู่บ้านหรือนมาซย่อขณะเดินทาง ก็ต้องอ่านเสียงดังตามปกติครับ ..

สำหรับการนมาซย่อขณะอยู่ในภาวะเดินทางนั้นผมเคยตอบไปครั้งหนึ่งแล้วเมื่อไม่นานมานี้เอง

ซึ่งสรุปว่า ถ้าเรามีกำหนดเวลากลับจากการเดินทางที่แน่นอนชัดเจนแล้ว ระหว่างนั้นเราก็สามารถนมาซย่อได้ตลอดโดยไม่จำกัดวัน

แต่ถ้ายังไม่กำหนดวันกลับที่แน่นอน อย่างเช่นนักเรียนที่ไปเรียนต่างประเทศหรือต่างจังหวัด เป็นต้นก็ต้องนมาซครบตามปกติ ..

ส่วนนมาซรวมเป็นคนละกรณีกับนมาซย่อนะครับ เพราะนมาซย่อเป็นเรื่องของคนเดินทางโดยเฉพาะ แต่นมาซรวมสามารถทำได้ทั้งคนเดินทางและคนอยู่ที่บ้านถ้าเขาไม่สะดวกหรือมีอุปสรรคต่อการจะทำแต่ละนมาซในเวลาของมัน เขาก็สามารถนมาซรวมในเวลาใดเวลาหนึ่งได้สุดแต่ความสะดวกของเขา แต่ถ้าไม่มีความจำเป็นจริงๆคือ ไม่ลำบากอะไรในการจะทำแต่ละนมาซในเวลาของมัน แม้กระทั่งคนเดินทางก็อย่านมาซรวมครับ

 ทั้งนี้เพราะพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ทรงดำรัสไว้ในซูเราะฮ์อัน-นิซาอ์ อายะฮ์ที่ 103 ว่า .. "แท้จริง การนมาซนั้นเป็นบทบัญญัติที่ถูกกำหนดเวลาไว้แล้วสำหรับบรรดาผู้ศรัทธา" .ซึ่งคำว่า "ถูกกำหนดเวลา" บ่งบอกความหมายว่า ตามปกติ เราจะทำนมาซใดก่อนหรือหลังเวลาไม่ได้ทั้งสิ้น . เพราะฉะนั้น การนมาซรวม - ไม่ว่าจะรวมในเวลาก่อนหรือเวลาหลัง -
จึงเป็นเพียงรุคเศาะฮ์หรือข้อผ่อนผันสำหรับผู้ไม่สะดวกจะทำนมาซในเวลาดังกล่าวมาแล้วเท่านั้น
...วัลลอฮุ อะอฺลัมครับ ...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น