อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ละหมาดชดโดยไล่ตามเวลาก่อนหลัง


     
          กรณีข้อปัญหาต่อไปนี้ พลาดละหมาดสามเวลา , รู้สึกตัวเมื่อตอนเข้าเวลาละหมาดอิชาอฺ หรือพลาดละหมาดเพราะมีเหตุอุปสรรค

    กรณีดังกล่าวอุละมาอฺส่วนใหญ่มีทรรศนะว่า "วาญิบต้องละหมาดชดโดยไล่เวลาตามลำดับเวลาละหมาดก่อน-หลัง"  นั่นคือให้ละหมาดซุฮฺรี อัศรี มัฆริบ และละหมาดอิชาอฺตามลำดับ ดังหะดีษที่เล่าโดยท่านญาบิรฺ อิบนุ อับดิลลาฮฺ –เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ- ว่า:

أن عمر بن الخطاب جاء يوم الخندق بعد ما غربت الشمس فجعل يسب كفار قريش قال يا رسول الله ما كدت أصلي العصر حتى كادت الشمس تغرب
 قال النبي صلى الله عليه وسلم والله ما صليتها فقمنا إلى بطحان فتوضأ للصلاة وتوضأنا لها فصلى العصر بعد ما غربت الشمس ثم صلى بعدها المغرب

"ครั้นเมื่อในสงครามค็อนดักท่านอุมัรฺ อิบนุ อัลค็อฏฏอบได้เข้ามาหลังจากดวงอาทิตย์ได้ลับขอบฟ้า พลันท่านก็ตำหนิติเตียนชาวกุฟฟารฺ(ผู้ปฏิเสธ)ของกุร็อยชฺ แล้วท่านก็กล่าวว่า: 
โอ้! ท่านเราะสูลุลลอฮฺฉันเกือบจะไม่ได้ละหมาดอัศรีจนกระทั่งดวงอาทิตย์เกือบจะลับขอบฟ้าไปแล้ว
ท่านนบี –ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม- จึงเอ่ยขึ้นว่า ฉันยังไม่ละหมาดอัศรีเลย แล้วท่านก็ลุกไปยังบุฏหาน(ลำธารหนึ่งในนครมะดีนะฮฺ) แล้วท่านก็เอาน้ำละหมาด และพวกเราก็เอาน้ำละหมาดเช่นกัน แล้วท่านก็ละหมาดอัศรีหลังจากที่ดวงอาทิตย์ได้ลับขอบฟ้าไปแล้ว  หลังจากนั้นท่านก็ละหมาดมัฆริบตาม"  (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์  หะดีษที่596)

และท่านอิบนุมัสอูด –เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ- ได้กล่าวว่า:

إن المشركين شغلوا رسول الله صلى الله عليه وسلم عن أربع صلوات يوم الخندق حتى ذهب من الليل ما شاء الله
 فأمر بلالا فأذن ثم أقام فصلى الظهر ثم أقام فصلى العصر ثم أقام فصلى المغرب ثم أقام فصلى العشاء

"ครั้นในสงครามค็อนดัก บรรดามุชริกีนได้ทำให้ท่านนบี –ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม- ไม่ว่างที่จะละหมาดถึงสี่เวลาจนกระทั่งลุล่วงเวลากลางคืน 
–ซึ่งเป็นสิ่งที่อัลลอฮฺทรงประสงค์- แล้วท่านก็สั่งบิล้าล แล้วท่านบิล้าลก็อะซานหลังจากนั้นก็อิกอมะฮฺแล้วท่านก็ละหมาดซุฮฺรี 
(เมื่อละหมาดซุฮฺรีเสร็จ)หลังจากจากนั้นก็อิกอมะฮฺแล้วละหมาดอัศรี (เมื่อละหมาดอัศรีเสร็จ)หลังจากนั้นก็อิกอมะฮฺแล้วละหมาดมัฆริบ 
(เมื่อละหมาดมัฆริบเสร็จ)หลังจากนั้นก็อิกอมะฮฺแล้วละหมาดอิชาอฺ"
(บันทึกโดยอัตติรฺมิซีย์ เรื่อง: อัศเศาะลาฮฺ , บรรพ: เมื่อคนหนึ่งพลาดละหมาดหลายเวลา เขาจะเริ่มละหมาด(ชด)อันไหนก่อน เล่มที่ 1 , หน้า337, ลำดับหะดีษที่179, และอันนะสาอีย์  เรื่อง: อัลอะซาน , บรรพ: อัลอิจญ์ติซาอฺ ลิ ซาลิก กุลลิฮฺ... , หน้าที่111 หะดีษที่662 )

จากหะดีษข้างต้น บงชี้ว่าท่านนบี –ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮวะสัลลัม- ได้ละหมาดชดโดยไล่เวลาตามลำดับเวลาละหมาดก่อน-หลัง

และท่านก็ได้กล่าวไว้ในหะดีษบทหนึ่งว่า:

صلوا كما رأيتموني أصلي

"พวกท่านจงละหมาดเสมือนทีท่านเห็นฉันละหมาด"
(บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ ในเรื่อง: อัลอะซาน,บรรพ: การอะซานสำหรับผู้เดินทาง,ลำดับหะดีษที่631, อัลบัยหะกีย์ในหนังสืออัสสุนันอับกุบรอ 3/120 หะดีษที่ 5076 , อัดดารุกุฏนีย์ในอัสสุนัน 1/272, อัดดาริมีย์1/318 หะดีษที่ 1253, อิบนุหิบบาน 4/541  หะดีษที่1958)

 ส่วนในมัซฮับอัชชาฟิอีย์มีทรรศนะว่าไม่วาญิบที่จะต้องไล่เวลาตามลำดับเวลาละหมาดก่อน-หลัง เพียงแต่เป็นสิ่งที่สุนัตเท่านั้น โดยให้ทรรศนะว่า

"การละหมาดชดเสมือนกับการใช้หนี้ จึงไม่จำเป็นต้องทำตามลำดับ" (อันนะวะวีย์, อัลมัจญ์มูอฺ, ซาอุดีอารเบีย: มักตะบะฮฺ อัลอิรฺชาด: ม.ป.ป เล่มที่3 หน้า 76)

แต่ทางที่ดีแล้วสมควรที่จะละหมาดชดตามลำดับเวลาละหมาดก่อน-หลัง ดังหลักฐานของอุละมาอฺส่วนใหญ่ที่ได้กล่าวมาข้างต้น

อีกทั้งยังเป็นการออกจากพิสัยของการคิลาฟของบรรดาอุละมาอฺอีกด้วย

อนึ่งหากเกรงว่าถ้าละหมาดชดทั้งสามเวลา-ซุฮฺรี,อัศรี,และมัฆริบ- ก่อน อาจทำให้เวลาละหมาดอิชาอฺหมดไปก่อน หรือ

อาจจะละหมาดญะมาอะฮฺอิชาอฺไม่ทัน  กรณีนี้ให้ละหมาดอิชาอฺก่อน แล้วค่อยละหมาดชดทั้งสามตามลำดับเวลาละหมาด


   والله أعلم بالصواب

✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น