อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การละหมาดรวมขณะที่มุสลิมะฮฺสะอาดจากไฮยฎ์และนิฟ้าส

       เมื่อมุสลีมะฮฺผู้มีไฮยฎ์ (เลือดที่ออกมาจากส่วนลึกของมดลูกของสตรี ในเวลาที่เป็นที่ทราบโดยไม่ได้เกิดจากโรค หรือประสบอุบัติเหตุ หรือที่เรียกกันว่า ประจำเดือน รอบเดือน หรือระดู) หรือนิฟ้าส (เลือดที่ออกมาจากมดลูก เนื่องจากการคลอดลูกและหลังคลอดบุตร) ได้สะอาดก่อนดวงอาทิตย์ตก ก็จำเป็นต่อมุสลิมะฮฺผู้นั้น ที่จักต้องละหมาดซุฮฺรีอฺ หรือดุฮฺรีอฺ และละหมาดอัศรี หรืออะซัร ของวันนั้น และผู้ใดที่สะอาดจากไฮยฎ์ และนิฟ้าสก่อนแสงอรุณขึ้น ก็จำเป็นต่อนางที่จักต้องละหมาดมัฆริบ และละหมาดอีชาในคืนนั้น เพราะว่าเวลาละหมาดที่สองนั้น มันเป็นเวลาของละหมาดที่หนึ่ง ในขณะมีอุปสรรค

ไชยคุลอิสลาม อิบนุ ไตยมียะฮฺ ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวไว้ในอัลฟะตาวา เล่มที่ 22 หน้าที่ 434 ว่า
"และด้วยเหตุนี้ผู้รู้ส่วนใหญ่ เช่น อิมามมาลิก อิมามชาฟีอีย์ และอิมามอะหฺมัด มีความเห็นว่า เมื่อหญิงผู้มีรอบเดือนได้สะอาดในช่วงเย็น นางก็จะละหมาดทั้งดุฮฺรีอฺ และอัศร์ และเมื่อนางได้สะอาดในช่วงท้ายของกลางคืนนางก็จะละหมาดมัฆริบและอีชาอฺ เหมือนกับที่ได้มีการรายงานสิ่งดังกล่าวมาจากอับดุรเราะฮฺมาน อิบนุ เอาฟ์ อบูฮุรอยเราะฮ์ และอิบนุ อับบ้าส เพราะว่าเวลานั้น มันเป็นสิ่งที่ร่วมกันระหว่างสองละหมาด ในขณะที่มีอุปสรรค แล้วเมื่อนางได้สะอาด ในช่วงเวลากลางวัน ละหมาดของดุฮิรีอฺก็ยังคงอยู่ นางก็จะละหมาดดุฮฺรีอฺ ก่อนละหมาดอัศร์ และเมื่อนางได้สะอาดในช่วงของเวลากลางคืน เวลาของละหมาดมัฆริบนั้นคงอยู่(ถึงแม้ขณะนั้นอยู่ในช่วงละหมาดอีชาอฺแล้วก็ตาม) ในขระที่มีอุปสรรค แล้วนางก็จะละหมาดมัหริบก่อนอีชาอฺ"

    สำหรับเมื่อเวลาได้มาถึง หลังจากนั้นนางได้มารอบเดือน หรือนิฟ้าส ก่อนที่มุสลิมะฮิผู้นั้นจะละหมาด ได้ แก่ขณะที่นางมารอบเดือน ถึงเวลาละหมาดดุฮิรีอฺแล้ว แต่นางยังไม่ได้ละหมาด นางมีรอบเดือนเสียก่อน เช่นนี้ คำกล่าวที่มีน้ำหนักนั้น คือว่าไม่จำเป็นต่อนางที่จักต้องละหมาดใช้ละหมาดที่นางทันต้นเวลาละหมาดของมัน หลังจากนั้นนางมีรอบเดือน หรือนิฟ้าส ก่อนที่จะละหมาดนั้น

ไชยคุลอิสลาม อิบนุ ไตยมียะฮฺ ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวไว้ในมัจญ์มูอุลฟะตาวา เล่มที่ 23 หน้าที่ 335 ในปัญหานี้ว่า

"และสิ่งที่ชัดเจนที่สุดในหลักฐานนั้น คือ แนวความคิดของอิมามอบูหะนิฟะฮฺ และอิมามมาลิก เพราะว่ามันไม่จำเป้นต่อนาง ที่จักต้องทำสิ่งใด เพราะว่าการสั่งใช้นั้น แท้ที่จริงแล้ว มันจำเป็นด้วยการสั่งใช้ใหม่ และตรงนี้ไม่มีการสั่งใช้ใด ที่จะทำให้นางต้องละหมาดใช้ และอีกประการหนึ่ง นางได้ทำให้เกิดการล่าช้าที่เป็นไปได้ โดยที่นางไม่ได้เป็นผู้ที่ทำให้เกิดความบกพร่อง ส่วนผู้นอนหลับ หรือผู้หลงลืมนั้น ถึงแม้เขาไม่ได้เป้นผู้ที่ทำให้เกิดความบกพร่องเช่นเดียวกัน สิ่งที่เขาได้กระทำนั้น มันไม่ได้เป็นการละหมาดใช้ หากแต่อันนั้นมันเป้นเวลาละหมาดที่อยู่ในสิทธิ์ของเขา ในขณะที่เขาตื่นมา และนึกขึ้นได้"



   والله أعلم بالصواب

✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น