
สิ่งอุตริในด้านอีบาดะฮฺที่เกี่ยวกับการละหมาดฟัรดู 5 เวลา
1. การกล่าวคำนิยัต (อย่างตั้งใจ) ตอนที่จะอาบน้ำนมาซ และตอนที่จะนมาซ การกล่าวคำนิยัตนั้นไม่ว่าจะเป็นตอนอาบน้ำนมาซหรือก่อนที่จะละหมาดนั้นล้วนเป็นบิดอะฮฺทั้งสิ้น
2. การกล่าวตักบีรโดยการลากเสียงยาวจนถึง 12 หะรอกัต โดยในระหว่างนั้นให้นึกถึงทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับการละหมาด รวมทั้งการการเกาะศอด ตะอัรรุฎ ตะอ์ยิน และอื่นๆ อีกให้พร้อมสรรพ การกระทำอย่างนี้ไม่มีปรากฎในซุนนะฮฺเลย แม้ว่าจะมีหนังสือหลายเล่มที่แต่งขึ้นในสมัยหลังๆนี้ เขียนว่าการกระทำอย่างนั้นเป็นการดีเยี่ยม
3. การที่มะมูมกล่าวตักบีรรอตุลอิห์รอมดังกว่าอีม่ามก็เป็นบิดอะฮฺเช่นกัน
4. การอ่านกุลอะอูซูบิรอบบินนาส ก่อนกล่าวตักบีรและการกล่าวรอบบิจญ์ อัลนีมุกีมัศเศาะลาตฺ วามินซุรรียะตีจนจบอายะฮฺ
5. การไม่กล่าวดุอาฮฺอิฟติตาห์ หลังจากตักบีรรอตุลอิห์รอม ซึ่งบรรดาผู้ที่ตามมัซฮับมาลีกีย์นิยมทำกัน
6. การไม่กอดอกในขณะยืนนมาซ โดยปล่อยมือลงดังที่พวกที่ถือมัซฮับมาลีกีย์ทำกัน ซึ่งเกียวกับเรื่องนี้มีฮะดีษเศาะหิห์หลายบทที่กล่าวกถึงท่านนบีมูฮำมัด (ศ็อล) ว่าท่านได้กอดอกในขณะนมาซ แม้แต่ในหนังสือ มุวัฏฏออ์ ของท่านอีม่ามมาลิกก็กล่าวถึงฮะดีษที่แสดงถึงการกอดอกในขณะยืนนมาซ
7. การทาบมือที่หน้าท้องด้านซ้าย เพราะตามซุนนะฮิของท่นนบีให้ทาบที่หน้าอก
8. การกล่าว อัลลอฮุมมัฆฟิรลีย์ วาลีวาลีดัยยา วาลิลมุสลีมีน หลังจากที่อ่านฟาตีฮะห์จบแล้ว ก่อนที่จะกล่าว อามีน เพาะตามซุนนะฮฺของท่านนบีมูฮำมัด (ศ็อล)ให้มะมูมนั้นกล่าวคำว่า อามีน พร้อมๆกันอีม่าม โดยก่อหน้านั้นไม่ต้องกล่าวคำอะไรเลย
9. การอ่านอายะฮฺส่วนใดส่วนหนึ่งจากอัลกุรอานหลังจากอ่านอัลฟาตีฮะห์จบแล้ว เพราะตามซุนนะฮฺให้อ่านซูเราะฮฺใดซูเราะฮฺหนึ่งตั้งแต่ต้นจนจบ หรือจนถึงกึ่งหนึ่งของซูเราะฮฺ ใม่ใช่หยิบเอามาอ่านอายะฮฺใดอายะฮฺอายะฮิหนึ่งของซูเราะฮฺ
ท่านนบีมูฮำมัด (ศ็อล) เคยอ่านอายฮฺเดียวหลังจากอ่นอัลฟาตีฮะห์ ในนมาซซุนนะฮฺซบฮีเท่านั้นส่วนที่ว่าผู้ใดอ่าน ซูเราะฮฺอาลัมนัสเราะฮฺ และ อาลัมตารอกัย ในนมาซซุบฮีและมัฆริบ แล้วโรคภัยไข้เจ็บจะไม่เข้าไกล้นั้นเป็นฮาด๊ษที่ไม่ถูกต้อง ตามซุนนะฮฺท่านนบี (ศ็อล) อ่านอายะฮฺ กูลูอามันนาบิลลาฮี วามา อุนซิลาอีลัยนา จนจบอายะฮฺ ในรอกะอัตแรก ในนมาซซุนนะซุบฮี และอายะฮฺ กุลยาอะฮฺลัลกีตาบิ ตะอาเลา อิลา กาลีมาตินสาวาอิน จนจบอายะฮฺ หรือท่านนบี (ศ็อล) อ่านอายะฮฺ อัล-กาฟิรูน ในรอกะอัตแรกในนมาซดังกล่าว และอ่านซูเราะฮฺ อัล-อิคลาส ในเราะกะอัตที่สอง
10 การอ่านกุนุต ในนมาซซุบฮี โดยสม่ำเสมอตลอดไป เพราะฮะดีษที่กล่าวถึงการอ่านกุนุตโดยตลอดไปนั้นเป็นฮาดีษที่มีหลักฐานอ่อนที่สุด ไม่มีฮะดีษเศาะหีห์บทใดที่กล่าวถึงท่านนบี (ศ็อล) ว่าท่านได้กระทำกุนุตมาโดยตลอด ด้วยเหตุนี้บรรดาสาวกกลุ่มหนึ่งได้กล่าวว่า การทำกุนุตโดยสม่ำเสมอตลอดไปนั้นเป็นบิดอะฮฺ และการคว่ำฝามือขณะที่อ่นถึงตอน ลายาซิลลุมันวาลัยต์ นั้นเป็นบิดอะฮฺอย่างยิ่ง
11. การตักบีรด้วยการลากเสียงยาวตอนที่จะลงสุญูด และตอนที่จะขึ้นจากสูญุดสู่อิริยาบทยืน เพราะว่าตามซุนนะฮฺเสียงตักบีรตอนที่จะลงจากอิริยาบทยืนสู่อิริยาบทสูญูดนั้น ให้จบลงในระหว่างกึ่งกลาง และจากอิริยาบทสูญุดสู่อิริยาบทยืนนั้นก็ให้จบในระหว่างกึ่งกลางเช่นกัน
12. การกล่าว วาบีฮัมดิฮฺ ในตัสบีห์รูกูห์ และในตัสบีห์สูญุด เพราะในฮะดีษเศาะหิห์และในฮาดีษฮาซันไม่ได้ระบุถึงการกล่าวถึงคำ วาบีฮัมดิฮิ แต่อย่างใด
13. การเพิ่มคำว่า ซัยยีดีนา ในเศาะลาวาต หลังจากที่ได้กล่าวตะชะฮฮุดจบแล้ว ซึ่งการกล่าวเช่นนี้ไม่มีปรากฏในฮะดีษจากท่านนบี ศ็อลฯ เลย คือแทนที่จะกล่าว อัลลอฮฺฮุมมาศ็อลลีอาลามุฮำมัด กลับเพิ่มคำว่า อัลลอฮฺฮุมมาศ็อลลีอาลา ซัยยีดีนา มุฮำมัด เป็นต้น
14. การอ่านอัสอะลุกัล-เฟาซะ บิลญันนะฮฺ หลังจากให้สลามข้างขวา หรือ การกล่าวคำว่า อะอูซูบีกามีนันนาร หลังจากให้สลามหันไปข้างซ้าย
15. การลูบหน้าหลังจากนมาซเสร็จ ก็เป็นบิดอะฮฺเช่นกัน
16. การกล่าวอิสติฆฟารพร้อมๆกัน ด้วยเสียงดังๆ เพราะตามซุนนะฮฺนั้นให้ต่างคนต่างอ่านอย่างเบาๆ
17. การอ่านซุบฮานะมันลาญานาวาลายัสฮู ในสูญุดสะห์วี คือการสูญุดเนื่องจากลืมอย่างใดอย่างหนึ่งในนมาซ เพราะเรื่องนี้ไม่มีปรากฏในฮะดีษของท่นนบีมูฮำมัด (ศ็อล) นอกจากพบในฝันของซูฟีคนหนึ่งเท่านั้น
18. นมาซซุฮฺรีหลังจากนมาซวันศุกร์ มีหลักฐานอย่างมากมายที่แสดงถึงความเป็นบิดอะฮิของการนมาซซุฮฺรี หลังจากนมาซวันศุกร์ แต่ก็มีผู้คนบางพวกที่ยังทำกันอยู่ โดยพวกเขาถือว่า การละหมาดซุฮฺรีหลังจากนมาซวันศุกร์นั้นเป็นนมาซ อิอาดะฮฺ
19. การอ่นซุเราะฮฺ อัล- อิคลาส ซูเราะฮฺ อัล-ฟาลัค และซูเราะฮฺ อัน-นาส อย่างละ 7 ครั้งหลังจากนมาซวันศุกร์นั้นก็เป็นบิดอะฮฺ ฮะดีษที่กล่าวถึงให้กระทำ อะมัล เช่นนี้เป็นฮาดีษที่อ่อนหลักฐาน และการอ่านดูอาร์ต่อไปนี้หลังจากนมาซวันศุกร์อย่างสม่ำเสมอก็เป็นบิดอะฮฺเช่นกัน คือ อัลลอฮฺ ฮุมมายา ฆอนีนียุยาหะมีด ยามุบดิอุ ยามุอีด อัฆนะบี บิหะลาลีกะฮฺ วะบิฟัฎลีกะฮฺ อัมมัน สิวากะ อุลามาอฺบางท่านมีความเห็นว่า ผู้ใดอ่นดุอ่ร์ดังกล่าว 70 ครั้ง หลังจากนมาซวันศุกร์แล้ว อัลลอฮฺจะทรงให้เขาร่ำรวย และจะทรงให้ปลดเปลื้องหนี้สินของเขา ความเห็นแบบนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องขอหลักฐานจากเขาที่แสดงว่า ความเห็นของเขานั้นเป็นความจริง
การอ่านกุล ฮุวัลลอฮิ 1.000 คั้งในวันศุกร์ไม่มีฮะดีษใดที่พอจะยึดถือเป็นหลักฐานได้ หะดีษที่ว่าผู้ใดอ่านซูเราะฮฺ อัล-อิคลาส กุลฮุวัลลอฮฺ 1.000 คร้ง อัลลอฮิจะทรงให้เขาปลอดภัยจากไฟนรกนั้นเป็นเป็นฮะดีษปลอมที่เล่าโดยผู้พูดเท็จ ผู้ที่เชื่อถือไม่ได้ การถือหะดีษโดยรู้ว่าผู้เล่าเป็นผู้เชื่อถือไม่ได้นั้น ถือเป็นหะรอม ที่ท่านนบีมูฮำมัด (ศ็อลฯ) ให้เราอ่านในคืนวันศุกร์ ก็คือสูเราะฮฺ อัล-อิมรอน อัล-กะฮฺฟี และศอลาวาตแด่ท่านนบี (ศ็อลฯ)ให้มาก ตลอดจนให้อาบน้ำแต่งตัวให้สะอาด ส่งเสริมให้ใช้ของหอม แล้วให้รีบไปมัสยิด เป็นต้น
20. การกำหนดว่าการนมาซวันศุกร์นั้นต้องนมาซในมัสยิดเท่านั้น และการกำหนดว่าถ้าผู้มานมาซไม่ครบ 40 คนจะทำนมาซวันศุกร์ (ญุมอะฮฺ) ไม่ได้-ไม่เศาะฮฺ ทีจริงไม่มีหลักฐานใดที่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างนมาซวันศุกร์กับนมาซอื่นๆ เว้นแต่ ในนมาซวันศุกร์นั้นต้องมีคุตบะฮฺเท่านั้น
21. การอ่านกุลฮุวัลลอฮิ 3 ครั้ง ในขณะนั่ง ระหว่าง 2 คุฏบะฮฺ ตามฮะด๊ษที่เศาะหีห์ กล่าวว่าท่านนบีมูฮำมัด (ศ็อลฯ) หยุดนั่งเพียงครู่เดียวเท่านั้นในระหว่าง 2 คุฎบะฮฺ การกล่าวคุฎบะฮฺที่ 2 ด้วยการศอลาวาตและดุอาร์ต่อผู้นำ โดยไม่ได้บรรจุคำสอนและตักเตือน ก็เป็นบิดอะฮฺ คุฎบะฮฺของท่านนบีไม่ได้ทำในรูปแบบนี้
22. การจบคุฎบะฮฺด้วยคำว่า อุซกุรุลลอฮฺ ฮะ อัซกุรกุม หรือคำว่าเอ็นนัลลอฮิ ยะมีรุ บิลอดลีย์วัลอิฮิสาน โดยตลอดก็เป็นบิดอะฮฺ เพราะในศตวรรษแรก ๆ เคาะฎีบจะจบคุตบะฮฺด้วยคำว่า อะกูลูเกาลีฮาซา วัซตัฆฟิรุลลอฮฺลีวาลากุม
22. ไม่เห็นถึงความสำคัญในการละหมาดย่อ (นมาซกอซัร) ในระหว่างเดินทาง ซุนนะฮฺอันนี้ผู้คนไม่ค่อยเอาใจใส่มากนัก แม้แต่อุลามาอฺก็ไม่ค่อยบอกกล่าวให้นมาซย่อ ทั้งๆ ที่ในฮาดีษที่บันทึกโดยอีหม่าม อะฮฺมัด อิบนุ อุมัร ได้รายงานว่า ท่านนบี (ศ็ฮลฯ) ได้กล่าวว่า อัลลอฮฺทรงชอบให้เรากระทำการงานที่พระองค์ทรงลดหย่อนให้ง่ายลง และตามบันทึกของอันนะสาอีย์ ท่านนบี (ศ็อลฯ) กล่าวว่า อัลลอฮิทรงใช้ให้เรานมาซ 2 รอกะอัตเท่านั้นในระหว่างเดินทาง หมาถึง นมาซที่มี 4 รอกะอัต คือ ซุฮรี อัสรี และอีซา ให้ละหมาดอย่างละ 2 รอกะอัตเท่านั้น ส่วนนมาซ ศุบฮีและมัฆริบจะละหมาดย่อไม่ได้ ใหละหมาดตามปกติ ท่านนบี (ศ็ฮลฯ) ได้กล่าวอีกว่า การนมาซย่อนั้นเป็นของที่ประทาน (ศอดาเกาะฮฺ) จากอัลลอฮฺที่ทรงประทานให้แก่เราซึ่งเราจำเป็นที่จะต้องรับ
23. การเช็ดศรีษะ ให้ถูกส้นผมไม่กี่เส้นที่ทำวูฎุอ์ (อาบน้ำนมาซ) เพราะว่าตามซุนนะฮิของท่านนบี (ศ็อลฯ) คือให้ลูบทั่วศรีษะ หรือลูบส่วนหนึ่งของศรีษะ หรือลูบไปบนผ้าโผกศรีษะ (ถ้าโผกผ้าสัรบันอยู่)
24. ลูบศรีษะ 3 ครั้ง เพราะว่าตามซุนนะฮฺแล้วท่านนบี (ศ็อลฯ) ลูบเพียงครั้งเดียวพร้อมเช็ดทั้งใบหูด้วย โดยไม่ต้องจุมมือในน้ำอีก
25. ทำตะยัมมุมตอนลูบมือ ลูบจนถึงข้อศอก และมือตบดิน 2 ครั้ง ตามหะดีษเศาะเหี๊ยะฮฺ การเอามือตบที่พื้นดิน เพื่อทำตะยัมมุมนั้นให้ตบเพียงครั้งเดียว ให้ลูบหน้าและมือจนถึงข้อศอก
26. ไม่ตอบรับอาซาน เมื่อมุอัซซินได้ทำการอาซานดังที่ท่านนบี (ศ็อลฯ) ได้สั่งไว้
27. การกล่าวอาซานด้วยลีลา และทำนองสูงๆ ต่ำๆ หรืออาซานด้วยการลากเสียงยาวๆ
28. ละทิ้งอาซานครั้งแรกในนมาซศุบหฺ เพราะตามซุนในการนมาซซุบหฺอะซาน 2 ครั้ง อาซานครั้งแรกก่อนเข้าเวลานมาซศุบหฺเล็กน้อยอะซานครั้งนี้ให้เติมคำว่า “อัศ-เศาะลาตุค็อยรุม มินันเนาวม์” อะซานครั้งที่ 2 เมื่อเข้าเวลานมาซแล้ว อะซานครั้งนี้ไม่ต้องกล่าวคำว่า “อัศ-เศาะลาตุค็อยรุม มินัน เนาวม์
29. อะซานในมัสยิดวันศุกร์ต่อหน้าคอฎีบ หรือไกล้ ๆ มิมบัรและอ่านตัรกียะฮฺ คือ ซิกรฺ ชฺญคอฎีบไปบนมิมบัรและกล่าวคำว่า “อินนัลลอฮฺ ฮะวามาลาอีกาตูฮูยุศอลลูนะอาลันนบี” จนจบ แล้วต่อด้วยฮะดีษที่ว่า “ผู้ใดพูดจากันในขณะคอฎีบกล่าวคฎบะฮฺการนมาซของเขาสูญเปล่าไม่ได้ผลบุญอะไรเลย ตามซนนะฮิให้อาซานที่ประตูมัสยิด หลังจากที่คอฎีบได้ให้สลามและนั่งลงบนมิมบัรแล้ว
30. การกล่าว “อามีน” ด้วยเสียงดังตอนที่คอฎีบขอดุอาอฺในคุฎบะฮฺ
31. นมาซซุนนะฮฺ “กอบลียะญุมอัต” คือการละหมาด 2 รอกอะฮฺ หลังจากอาซานครั้งแรก
والله أعلم بالصوا
✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น