อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ความเชื่อเดือนเศาะฟัร




ดือนเศาะฟัรเป็นเดือนลำดับที่ 2 ของปฏิทินอิสลาม ในเดือนนี้ก็ไม่มีภาระกิจที่เป็นฟัรดูหรือซุนนะฮฺเฉพาะแต่ อย่างใด เว้นเสียแต่ภารกิจ ที่เป็น ซุนนะฮฺ ที่ปฏิบัติกันเป็นประจำทุกเดือนตลอดปี เช่น การถือศีลอดในวันจันทร์ กับวันพฤหัสบดีในรอบสัปดาห์ หรือถือศีลอดวันที่ 13, 14, 15 ของทุกเดือนเป็นต้น

ความเชื่อผิดๆ ที่เกี่ยวข้องกับเดือนเศาะฟัร

ความเชื่อของชาวอาหรับยุคก่อนที่ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จะนำอิสลามมาประกาศนั้น ก็มีความเชื่อ ที่เกี่ยวข้องกับ เดือนเศาะฟัรว่า จะมีโชคร้าย ทุกข์ภัย บะลาอฺ และความอัปมงคลต่าง ๆ ซึ่งชาวอา หรับสมัยก่อนเชื่อว่าโรคระบาด ที่เกิดขึ้นกับ ผู้ป่วย แล้วแพร่ต่อ ผู้อื่นนั้น เป็นการระบาดด้วยตัวของมันเอง หรือการ ปล่อยนก และ ความเชื่ออื่น ๆ

   ชาวอาหรับยุคก่อนได้นำเดือนเศาะฟัรไปเกี่ยวโยงกับลางร้าย โชคร้าย ทุกข์ภัย โรคระบาด และความอัปมงคล ต่าง ๆ ชาวอาหรับสมัยก่อนเวลา จะออกทำสงคราม หรือจะทำการค้าขาย ก็จะทำนายโดยการปล่อยนก ซึ่งถ้าหาก ว่านกบินไปทางขวาก็ถือว่าลางดี แต่ถ้าหากว่านกบินไปทางซ้าย ก็ถือว่าลางร้าย ก็เลยไม่ออกไปค้าขายหรือ ทำธุระต่าง ๆ เพราะถือว่าจะเกิดความเลวร้ายต่าง ๆ เกิดขึ้น

   ส่วนเดือนเศาะฟัร เป็นเดือนที่ชาวอาหรับยุคก่อนยังถือว่า เป็นเดือนลางร้าย จะมีภัยบะลาอฺจากอัลลอฮฺลงมายัง โลกนี้ ปีละ 320,000 (สามแสน สองหมื่น ) บะลา ซึ้งทั้งหมดนี้ประทานลงมาในวันพุธสุดท้าย ของเดือนเศาะฟัร และในวันดังกล่าว จะปรากฏว่า เป็นวันที่มีปัญหามาก ที่สุดใน รอบปี จึงมีการทำน้ำดุอาอฺ เพื่อใช้อาบหรือดื่มขจัด ลางร้าย ซึ่งเรียกน้ำนี้ว่า "น้ำเศาะฟัร"

   อิบนุร่อญับ กล่าวว่า ดูเหมือนว่าทรรศนะเช่นนี้คล้ายกับทรรศนะอื่นๆ ลางร้ายเกี่ยวกับเดือนเศาะฟัรเป็นแบบเดียว กับลางร้ายของนก และเช่น เดียวกันลางร้ายของวัน เช่นกับวันพุธ และชาวอาหรับสมัยญาฮิลียะฮฺ  เชื่อว่าเดือน เชาวาลเป็นลางร้าย เฉพาะอย่างยิ่งการแต่งงานในเดือนนี้ ด้วยความเชื่อว่าเดือนเศาะฟัรเป็นเดือนแห่งลางร้าย จึงมีการทำน้ำดุอาอฺ นำไปอาบหรือดื่มเพื่อขจัดลางร้าย และเคราะห์กรรมที่จะเกิดขึ้นซึ่งเรียก ว่า "น้ำเศาะฟัร" (จากหนังสือ "วันและเดือนที่สำคัญในอิสลาม" หน้าที่ 17 โดย อ.มุนีร มูหะหมัด)

วิธีทำน้ำเศาะฟัร


   เพื่อประโยชน์อันสูงสุด อุลามะอฺ(ผู้รู้) ได้กล่าวไว้ว่า มีกล่าวในหนัง สือ " อัลญะวาอิรุ้ล-คอมีส " ว่า " บะลา (การทดสอบ) จากอัลลอฮฺจะ ประทานลงมาทุกปี ปีละ 320,000 ( สามแสนสองหมื่น ) บะลา ซึ้งทั้ง หมดนี้ประทานลงมาในวันพุธสุดท้าย ของเดือน ซอฟัร (เดือนที่สอง ของศักราชอิสลาม ) และในวันดังกล่าว จะปรากฏว่าเป็นวันที่มีปัญ หามากที่สุดในรอบปี

   ดังนั้น ใครก็ตามเขียนแผนภูมิ (ตารางสีเหลี่ยมเก้าช่อง) ไว้ในจาน หรือ ถ้วยสีขาว และเขียนรอบๆแผนภูมิดังกล่าว ด้วยดุอาอฺ (การขอพร) และบรรดาโองการ ต่าง ๆ จากอัล กุรอ่าน ที่เริ่มต้นด้วยคำว่า "สลาม" ซึ่งแปลว่า "สันติสุข" หรือ "ความปลอดภัย" หลังจากนั้น นำไปล้างน้ำ แล้วนำ น้ำนั้นมาดื่ม เขาจะได้รับความ คุ้มครองจากอัลลอฮฺให้ ปลอดภัย มีความสุข พ้นบะลา ตลอดวันนั้น อีกทั้งจะไม่มี บาลาใดๆ มากร่ำกราย ตลอดทั้งปี

ให้เขียนตามลำดับจาก 1-9 ที่ได้กำกับไว้ ในวงกลม

  ใครเขียนดังกล่าวนี้ แล้วดื่มน้ำที่ล้างข้อเขียนนั้น ในวันพุธสุดท้ายของเดือนซอฟัร ด้วยการอมะฮฺ และความมี อยู่จริงของอัลลอฮฺ เขาจะเป็น ส่วนหนึ่งจาก"ส่วนหนึ่งจากบรรดาผู้ที่ได้รับการรักษา ด้วยบารมีของนาย แห่งบรรดาศาสนฑูต วงศาคณาญาติ มิตรสหายทั้งหมด ตลอดจน บรรดาคู่ครอง ผู้สืบสกุลที่สะอาด บริสุทธิ์ ขออัลลอฮฺทรงโปรด และขอสรรเสริญอัลลอฮฺผู้อภิบาลแห่งโลกานุโลก "

หมายเหตุ ในการเขียนนั้น ให้ใช้ สีผสมอาหาร น้ำหวาน หรือ สิ่งที่รับทานได้ ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เขียนลงบนภาชนะกว้าง แล้วจึงละลายน้ำ

(จากบทความเรื่อง "การทำน้ำซอฟัร" จากเว็บไซต์ http://www.rabity.ac.th/index.php?mo=3&art=240415)

 ไม่มีลางร้ายในเดือนเศาะฟัร

มีรายงานจากอบูฮุรอยเราะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม  กล่าวไว้ว่า

لاَ عَدْوَى وَلا طِيَرَة ولا هَامَّة ولا صَفَرَ

"ไม่มีโรคติดต่อ และไม่มีลาง (ร้าย) และไม่มีนกเค้าแมว และไม่มี (เคราะห์ร้าย) เดือนเศาะฟัร"
(บันทึกโดยบุคอรียฺ : 5757 มุสลิม : 2220 อบูดาวุด : 3911)

     อิบนุ ร่อญับ ได้กล่าวว่า : และเคราะห์ร้ายในเดือนเศาะฟัรนั้น มันคือชนิดหนึ่งจากความเชื่อเรื่องโชคลางร้าย ที่ถูกห้ามไม่ให้เชื่อ ดังเช่นเคราะห์ร้ายในบรรดาวันต่าง ๆ เช่นวันพุธ (พุธสุดท้ายของเดือนเศาะฟัร-ผู้เขียน) และที่ชาวญาฮิลิยะฮฺ เชื่อว่าเป็นเคราะห์ร้ายในเดือนเชาวาลในการแต่งงานในเดือนนี้ (อิบนิ ฮาซัน อาลเชค , ฟัตหุลมะญีด ชัรหุ กิตาบุตเตาฮีด หน้า 331)

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ทรงบอกกับเราในเรื่องของโชคลางต่างๆ ท่านนบีได้ปฏิเสธสิ่งที่มัน บ่งบอกถึงโชคลาง ไม่ว่าจะ เป็นการติดต่อของโรคระบาดต่างๆ ซึ่งมันไม่ได้มีอำนาจในตัวของมันเอง เว้นเสียแต่ อัลลอฮฺจะประสงค์ให้โรคเกิดกับผู้ใด ท่านนบีได้ปฏิเสธ  เรื่องของโชคลาง ลางร้ายต่าง ๆ เรื่องของเคราะห์ร้าย จากนกเค้าแมว และเคราะห์ร้ายในเดือนเศาะฟัร และการเชื่อเรื่องโชคลาง เคราะห์ร้ายต่าง ๆ นั้น เป็นสาเหตุที่นำ ไปสู่การตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ ซุบฮานะฺฮูวะตะอาลา ดังเช่นที่

มีรายงานจากอับดุลลอฮฺ อิบนิ อัมรฺ เล่าว่า ท่านร่อซูล ศ็อลลัลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

مَنْ رَدَّتْهُ الطِّيَرَةُ عن حاجَتِهِ فَقَدْ أَشْرَكْ قالوا : فما كَفَّارَةُ ذلك ؟ قال : أن يَقُوْلَ اَللهُمَّ لا خَيْرَ إِلاَّ خَيْرُكَ ، ولا طَيْرَ إِلاَّ طَيْرُكَ ولا إِلَهَ غَيْرُكَ

"ผู้ใดที่ลางได้ทำให้เขาต้องล้มเลิก ไม่ทำธุระของเขาให้เสร็จแล้ว ก็เท่ากับว่าเขาได้ตั้งภาคี บรรดาซอ ฮาบะฮฺได้กล่าวว่า แล้วสิ่งลบ ล้างของในเรื่องดังกล่าวคืออะไร? ท่านนบีได้ตอบว่า คือ ให้ท่านกล่าวว่า โอ้อัลลอฮฺไม่มีความดีอันใดนอกจากความดีของพระองค์ เท่านั้น และไม่มี การเป็นลางอันใดนอกจาก การเป็นลางของพระองค์เท่านั้น และไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์เท่านั้น"
(บันทึกโดยอะหฺมัด : 6869 อัลญามิอุศเศาะฆีรซุญูตียฺ : 8701 เศาะเหี๊ยะหฺอัลญามิอฺอัลบานียฺ : 6264)

มีรายงานจากอับดุลลอฮฺ อิบนิ มัซอู๊ด ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า จากท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

الطِّيَرَةُ شِرْكٌ الطِّيَرَةُ شِرْكٌ وَلَكِنَّ اللَّهَ عَزَّ وَجَلَّ يُذْهِبُهُ بِالتَّوَكُّلِ

“ลางร้ายเป็นการตั้งภาคี ลางร้ายเป็นการตั้งภาคี แต่ว่าพระองค์อัลลอฮฺทรงทำให้มันหายไปด้วยกับ การมอบหมาย”
(บันทึกโดยอะหฺมัด : 4183 อบูดาวุด : 3910 ติรมีซียฺ : 1614 เศาะเหี๊ยะหฺอัตตัรฆีบอัลบานียฺ : 3098 เศาะเหี๊ยะหฺ อบูดาวุดอัลบานียฺ : 3910 เศาะเหี๊ยะหฺติรมีซียฺอัลบานียฺ : 1614)

และเรื่องของลางร้ายต่างๆ ก็เช่นกัน ในขณะที่เราต้องการออกจากบ้านไปทำธุระ หรือค้าขายก็ให้เรามอบหมาย กับอัลลอฮฺไม่ว่าจะ เกิดอะไรขึ้น ก็ตาม ดังเช่นดุอาอฺที่ท่านนบีสอนให้กล่าวว่า

بِسْمِ اللهِ تَوَكَّلْتُ عَلَى اللهِ لا حولَ ولا قُوَّةَ إِلاَّ بِاللهِ

"ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ฉันมอบหมายต่ออัลลอฮฺ ไม่มีอำนาจและพลังใดนอกจากด้วยพลังอำนาจ ของอัลลอฮฺ"

   ส่วนเรื่องเดือนเศาะฟัรนั้น ท่านนบีก็ได้มาล้มเลิกความคิดงมงายของชาวอาหรับยุคก่อน เกี่ยวกับเดือนแห่ง ความโชตร้าย หรือภัยบะลออฺต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในวันพุธสุดท้ายของเดือนเศาะฟัร รวมถึงความเชื่อทุกอย่างเกี่ยว กับโชคลาง เคราะห์ร้ายต่างๆ ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นให้มอบหมายต่อ อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ทั้งสิ้น เพราะพระ องค์รอบรู้ทุกสิ่ง ทุกอย่างที่จะเกิดขึ้น และทุกสิ่ง ทุกอย่างก็เป็นไปตามที่พระองค์กำหนดทั้งสิ้น ดังที่พระองค์ตรัส ไว้ว่า

وَإِنْ يَمْسَسْكَ اللَّهُ بِضُرٍّ فَلَا كَاشِفَ لَهُ إِلَّا هُوَ وَإِنْ يُرِدْكَ بِخَيْرٍ فَلَا رَادَّ لِفَضْلِهِ يُصِيبُ بِهِ مَنْ يَشَاءُ مِنْ عِبَادِهِ وَهُوَ الْغَفُورُ الرَّحِيمُ
"และหากอัลลอฮฺจะทรง ให้ทุกข์ภัย ประสบแก่เจ้าแล้ว ก็ไม่มีผู้ใดปลดเปลื้องมันได้ นอกจากพระองค์ และหากพระองค์ทรงปรารถนา ความดีแก่เจ้าแล้ว ก็จะไม่มีผู้ใดกีดกันความโปรดปรานของพระองค์ได้ พระองค์จะทรงให้ประสบแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์จาก ปวงบ่าวของพระองค์ และพระองค์จะเป็นผู้ ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ"
(ยูนุส : 107)

ความเชื่อเรื่องโชคลาง ลางร้าย และกิจกรรมต่าง ๆ ที่ปฏิบัติในเดือนเศาะฟัรนั้น ไม่มีรากฐานมาจากศาสนา อิสลามแต่อย่างใด และสิ่งที่ไม่มี รากฐานมาจากศาสนานั้นถือเป็นการกระทำที่เป็นโมฆะทั้งสิ้น

มีรายงานจาก ท่านหญิงอาอิชะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮา ได้กล่าวว่า ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

مَنْ أَحْدَثَ فِي أَمْرِنَا هَذَا مَا لَيْسَ مِنْهُ فَهُوَ رَدٌّ

"ผู้ใดประดิษฐ์สิ่งใหม่ขึ้นมาในกิจการของเรา (บทบัญญัติของเรา) นี้ เป็นสิ่งที่ไม่มี (หลักฐาน) จากมัน ดังนั้นมันจะถูกตีกลับ (ปฎิเสธ)"
(บันทึกโดยบุคอรียฺ : 2697  มุสลิม : 1718)

และอีกสายรายงานของมุสลิมว่า

مَنْ عَمِلَ عَمَلاً لَيْسَ عَلَيْهِ أَمْرُنَا فَهُوَ رَدٌّ

"และผู้ใดปฏิบัติงานหนึ่งงานใด ที่ไม่มีอยู่ในกิจการของเรา (บทบัญญัติของเรา) กิจการงานนั้นคือสิ่งที่ถูก ตีกลับ (ปฏิเสธ)” (บันทึกโดย มุสลิม : 1718)

ฉะนั้นมุสลิมจะต้องออกห่างจากความเชื่อเรื่องโชคลางต่าง ๆ เพราะสิ่งใดก็ตามที่มาประสบกับมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องที่ดี หรือ ไม่ดีนั้น ล้วนแล้วแต่มาจากอัลลอฮฺ ตะอาลา ทั้งสิ้น


والله أعلم بالصواب

โดย วะร่อซะตุซซุนนะฮฺ


http://www.warasatussunnah.net
✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น