อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สัมผัสผิวกายสามีภริยาเสียน้ำละหมาดหรือไม่

 لَامَسْتُمُ

               บรรดาอุลามาอฺมีทัศนะต่าง กรณีการสัมผัสผิวกายระหว่างสามีภริยาหรือหญิงอื่นที่แต่งงานกันได้ หรือผู้ที่ไม่ใช่มะร็อม จะทำให้เสียน้ำละหมาดหรือไม่ โดยแบ่งออกเป็น 3 ทัศนะดังนี้

ทัศนะหนึ่ง ถือว่าเสียน้ำละหมาดทุกสภาพ ไม่ว่าจะมีความรู้สึกทางเพศหรือไม่ก็ตาม หากไม่มีสิ่งขวางกั้น เป็นทัศนะของท่านอิมามชาฟีอีย์ และลูกศิษย์ของท่าน  และเป็นทัศนะของกลุ่มหนึ่งจากบรรดาเศาะหาบะฮฺ อาทิ ท่านอุมัร ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ  อิบนุมัสอู๊ด ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ, อิบนุอุมัรร่อฎียัลลอฮุอันฮุ , ซัยดฺ อิบนุ อัสลัม ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เป็นต้น

ทัศนะที่สอง ถือว่าเสียน้ำละหมาด หากมีความรู้สึกทางเพศ แต่ถ้าสัมผัสกันแล้วไม่มีความรู้สึกทางเพศ ก็จะไม่ทำให้เสียน้ำละหมาดแต่อย่างใด  เป็นทัศนะของอิมามมาลิก และอิมามอะหฺมัด (มัซฮับฮัมบาลีย์) อัล-หะกัม, หัมม๊าดฺ,  อัล-ลัยษฺ และอิสหาก เป็นต้น

ทัศนะที่สาม ไม่ถือว่าเสียน้ำละหมาดทุกสภาพ ถึงแม้จะมีความรู้สึกทางเพศก็ตาม เป็นทัศนะของอิมามฮานาฟีย์ และลูกศิษย์ของท่าน ชัยคุลอิสลามอิบนุ ตัยมิยะฮฺ,เชคอับดุลอะซีซ บินบาซ,เชคอัลบานีย์ และเป็นทัศนะของกลุ่มหนึ่งจากบรรดาเศาะหาบะฮฺ อาทิ ท่านอะลีย์ บิน อะบีฏอลิบ ,ท่านอิบนุ อับบาส  อะฏออฺ ในริวายะฮฺหนึ่ง, ฏอวูส, อัล-หะสัน อัล-บะศอรียฺ, สุฟยาน เป็นต้น อีกทั้งยังถูกรายงานมาจากท่านอุมัร อิบนุ ค็อฏฏอบ

ทัศนะที่ว่าเสียน้ำละหมาดทุกสภาพ ไม่ว่าจะมีความรู้สึกทางเพศหรือไม่ก็ตาม

 หลักฐานชองฝ่ายนี้คือ อายะฮฺอัล-กุรอานที่ว่า    اَوْلاَمَسْتُمُ النِّسَاءَ   อัล-มาอิดะฮฺ อายะฮฺที่ 6

ท่านอิมามอัช-ชาฟิอีย์ ได้ทำการอธิบายโองการที่ว่า ..

لَامَسْتُمُ النِّسَاءَ

“ท่านทั้งหลายได้สัมผัสสตรี” (อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัล-มาอิดะฮฺ 5 : 6)

"การสัมผัส" ตรงนี้หมายถึง การสัมผัสกันระหว่างผิวหนังของคนๆ หนึ่งกับผิวหนังอีกคนที่เป็นเพศตรงข้าม ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่การมีเพศสัมพันธ์กันก็ตาม(ก็ทำให้เสียน้ำละหมาด)


หลักฐานอีกว่า มีรายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ อุมัร  ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า ..

قبلة الرجل امرأته وجسها بيده من الملامسة، فمن قبل امرأته، أو جسها بيده، فعليه الوضوء

“การจูบภรรยาของชายคนหนึ่ง และการสัมผัสแตะต้องตัวของนางด้วยมือนั้น เป็นส่วนหนึ่งของการกระทำที่เรียกว่า การสัมผัส(อัล-มุลามะสะฮฺ) ดังนั้น ผู้ใดก็ตามที่ได้จูบภรรยาของเขา หรือได้สัมผัสแตะต้องตัวนางด้วยมือของเขา ดังนั้นก็จำเป็นสำหรับเขาที่จะต้องอาบน้ำละหมาด”  (บันทึกโดย ท่านอิมามมาลิก ในตำรา อัล-มุวัฏเฏาะอฺ ด้วยสายรายงานที่เศาะเฮี๊ยะหฺ)

ด้านภาษาอาหรับ คำว่า “لامس” หมายถึง “การสัมผัส”  เหมือนกับที่เราอ่านในโองการอื่นที่ว่า ..

فَلَمَسُوهُ بِأَيْدِيهِمْ

“แล้วพวกเขาก็ได้สัมผัสคัมภีร์นั้นด้วยมือของพวกเขาเอง” (ซูเราะฮฺ อัล-อันอาม : 7)

ท่านอิมาม อัล-บุญัยริมีย์ ได้กล่าว่า ..

اعلم أن اللمس ناقض بشروط خمسة: أحدها: أن يكون بين مختلفين ذكورة وأنوثة. ثانيها: أن يكون بالبشرة دون الشعر والسن والظفر. ثالثها: أن يكون بدون حائل. رابعها: أن يبلغ كل منهما حدا يشتهى فيه. خامسها: عدم المحرمية

 “พึงทราบไว้เถิดว่า การสัมผัสที่จะทำให้เสียน้ำละหมาดได้นั้น ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข 5 ประการด้วยกัน คือ ..

1.   ต้องเป็นการสัมผัสกันระหว่างเพศชายกับเพศหญิง

2.   ต้องเป็นการสัมผัสกันระหว่างผิวหนังด้วยกัน ไม่ใช่ไปสัมผัสกับเส้นผม ,เส้นขน ,ฟัน หรือเล็บ

3.   ต้องเป็นการสัมผัสกันโดยปราศจากสิ่งปิดกั้น

4.   ต้องเป็นการสัมผัสกันโดยที่ทั้งสองคนต่างก็มีอารมณ์ใคร่ด้วยกันทั้งคู่

5.   ต้องเป็นการสัมผัสกับผู้ที่ไม่ใช่มะห์รอม (เพศตรงข้ามที่แต่งงานกันไม่ได้)

ดู ตำรา  หาชียะฮฺ อัล-บุญัยริมีย์  โดย ท่านอิมาม อัล-บุญัยริมีย์  เล่มที่ 1  หน้าที่ 211

โดยอาศัยการบ่งชี้ที่ชัดเจนจากอัล-กุรอาน ส่วนหะดีษของพระนางอาอิชะฮฺ ร่อฎียัลลอฮอุอันฮา นั้น แท้จริงท่านอิมามอัน-นะวะวีย์ ได้ให้ทัศนะว่า ..

حملوا الحديث على أنه غمزها فوق حائل، وهذا هو الظاهر من حال النائم، فلا دلالة فيه على عدم النقض

“หะดีษนี้ถูกยึดอยู่บนความเข้าใจที่ว่า แท้จริงท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้สัมผัสพระนางอาอิชะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮา  โดยมีสิ่งปิดกั้นอยู่ และนี่คือสิ่งที่ปรากฏอยู่ภายนอกจากสภาพของผู้ที่นอน ดังนั้น ไม่มีหลักฐานใดเลยที่มาบ่งชี้อย่างชัดเจนว่า การสัมผัสสตรีหรือภรรยานั้น ไม่ทำให้เสียน้ำละหมาด !!”

ดู ตำรา  ชัรหุ มัสลิม  โดย ท่านอิมาม อัน-นะวะวีย์  เล่มที่ 4  หน้าที่ 230



ทัศนะ ที่ถือว่าเสียน้ำละหมาด หากมีความรู้สึกทางเพศ แต่ถ้าสัมผัสกันแล้วไม่มีความรู้สึกทางเพศ ก็จะไม่ทำให้เสียน้ำละหมาด

ทัศนะนี้มีความเห็นว่า การกระทบหรือสัมผัสที่ทำให้เสียน้ำละหมาด คือ การกระทบหรือสัมผัสกันระหว่างผิวหนังกับผิวหนังโดยมีอารมณ์ใคร่  นี่คือเป้าหมายของโองการจากอัล-กุรอาน แต่หากว่าเป็นการกระทบหรือสัมผัสกันโดยปราศจากอารมณ์ใคร่ ดังที่มีหะดีษรายงานมาจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮา ก็ถือว่า ไม่เสียน้ำละหมาดแต่ประการใด

มัซฮับอัลมาลิกียะฮฺ ได้กล่าวว่าจะเสียน้ำละหมาดด้วยการที่ผู้มีน้ำละหมาดที่บรรลุศาสนภาวะสัมผัสกับคนหนึ่งโดยมีความรู้สึกทางเพศ ไม่ว่าคนๆนั้นจะเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง และถึงแม้ว่าผู้ถูกสัมผัสนั้นจะยังไม่บรรลุนิติภาวะก็ตาม และไม่ว่าจะสัมผัสกับภรรยาของตัวเอง หรือหญิงอื่น หรือผู้ที่หะรอมการแต่งงานกับเขา และไม่ว่าการสัมผัสนั้นจะสัมผัสกับเล็มหรือผม หรือบนที่ที่ขวางกั้น เช่น ผ้า และไม่ว่าสิ่งที่ขวางกั้นนั้นจะเป็นผ้าบางๆ ซึ่งผู้รับสัมผัสมีความรู้สึกว่าเป็นเป็นผิวหนังหรือเป็นสิ่งที่หนาๆ ก็ตาม และไม่ว่าการสัมผัสนั้นระหว่างผู้ชายกับผู้ชาย หรือผู้หญิงกับผู้หญิงก็ตาม

การสัมผัสที่มีความรู้สึกทางเพศทำให้เสียน้ำละหมาด และการจูบปากก็จะทำให้เสียน้ำละหมาด ถึงแม้จะไม่มีความรู้สึกทางเพศก็ตาม เพราะการจูบอย่างนั้นมันเป็นสิ่งที่จะทำให้เกิดความรู้สึกทางเพศ ส่วนการจูบที่ไม่ใช้ปากก็จะทำให้เสียน้ำละหมาดของผู้จูบและผู้ถูกจูบ ถ้าทั้งสองคนบรรลุนิติภาวะแล้ว หรือคนหนึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว ถ้าเขาจูบกับผู้ที่มีความรู้สึกทางเพศและพบกับความรู้สึก ความอร่อย ถึงแม้ว่าการจูบนั้นจะด้วยการถูกบังคับหรือลืมก็ตาม


ทัศนะที่สาม ไม่ถือว่าเสียน้ำละหมาดทุกสภาพ ถึงแม้จะมีความรู้สึกทางเพศ

 ทัศนะของอุลามาอฺ ที่ว่าเมื่อชายหญิงสัมผัสกันไม่เสียน้ำละหมาดในทุกๆ สภาพไม่ว่าภายหลังการสัมผัสนั้นจะมีความรู้สึกหรือไม่มีความรู้สึกทางเพศก็ตาม
(ดูหนังสือ "มัจญ์มูอฺ ฟะตาวา" โดยเชคอับดุลอะซีซ บินบาซ เล่ม 10 หน้า 135)

หลักฐานที่อ้างอิงว่าการสัมผัสผิวกายระหว่างชายหญิงไม่เสียน้ำละหมาด มีดังนี้

ท่านนบีศ็อลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัมไม่ได้อาบน้ำละหมาดใหม่ เมื่อได้สัมผัสกับพระนางอาอิชะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮา ซึ่งท่านหญิงอาอิชะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮา ได้กล่าวว่า ..

كُنْتُ أَنَامُ بَيْنَ يَدَيْ رَسُولِ اللهِ صلى الله عليه وسلم وَرِجْلاَيَ فِي قِبْلَتِهِ، فَإِذَا سَجَدَ غَمَزَنِي

“ฉันเคยนอนอยู่ต่อหน้าท่านรสูลุลลอฮฺศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมในขณะที่เท้า ทั้งสองของฉันพาดไปทางทิศกิบลัตของท่าน ดังนั้นเมื่อท่านสุญูดลงท่านก็จะเอามือมาสัมผัสฉัน” (บันทึกโดย บุคอรีย์-มุสลิม)

ในหะดิษบทนี้เป็นหลักฐานชี้ให้เห้นว่า การกระทบสตรีนั้นไม่เสียน้ำละหมาด และที่ปรากฏชัดก็คือการท่านรสูลกระทบกับท่านหญิงอาอิชะฮฺ โดยเท้าของท่านนั้นไม่มีอะไรขวางกั้น  ส่วนที่มัซอับชาฟีอีย์ตีความว่า การสัมผัสนั้นอาจมีผ้าขวางกั้นอยู่ หรือมันเป็นเรื่องเฉพาะสำหรับท่านนบีเท่านนั้น การตีความอย่างงนี้นั้นเป็นการตีความเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ตรงกับความเป็นจริง

ท่านหญิงอาอิชะฮฺ  ร่อฎียัลลอฮุอันฮา ยังได้กล่าวอีกว่า ..

فَقَدْتُ رَسُولَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ لَيْلَةً مِنَ الْفِرَاشِ فَالْتَمَسْتُهُ فَوَقَعَتْ يَدِي عَلَى بَطْنِ قَدَمَيْهِ

“ในคืนหนึ่งฉันได้คลำหาท่านรสูลศ็อลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ตรงที่นอน แล้วฉันก็ได้สัมผัสกับท่านรสูล ศ็อลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม  แล้วมือของฉันก็ได้วางอยู่บนฝ่าเท้าทั้งสองของท่าน” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษที่ 486)

ท่านหญิงอาอิชะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮา เล่าว่า

" كان رسول الله صلى الله عليه وسلم يتوضأ ثم يقبل ويصلي و لا يتوضأ "

 ความว่า "ท่านรสูลุลลอฮฺอาบน้ำละหมาด จากนั้นท่านรสูล ศ็อลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ก็จูบ (ภรรยาบางคนของท่าน) ต่อมาท่านรสูลก็ละหมาดโดยมิได้อาบน้ำละหมาด (ใหม่)" หะดีษเศาะหี้หฺ และสายงานถือว่าหะสัน (ดูหนังสือ มุสนัดอิมามอะหฺมัด ตรวจสอบหะดีษโดยเชคชุอัยบ์ อัลอัรฺนะอูนฎ์ เล่ม 40 หน้า 385)

จากท่านวะกีอฺ ฟังจากท่านอัลอะอฺมัช จากท่านหะบีบ บุตรของอบู ษาบิต จากท่านอุรฺวะฮฺ บุตรของซุบัยร์ จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ ร่อฎียัลลฮุอันฮา เล่าว่า
"แท้จริงท่านรสูลศ็อลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม จูบภริยาบางคนของท่าน จากนั้นท่านก้ไปละหมาดโดยไม่ได้อาบน้ำละหมาด(ใหม่) (ท่านอุรฺวะฮฺเล่าว่า) นอกจากเธอเท่านั้น? (ท่านอุรฺวะฮฺเล่าวว่า) แล้วท่านหยิงอาอิชะฮฺก็หัวเราะ" ( บันทึกหะดิษโดยอะหฺมัด หะดิษเลขที่ 24584 นะสาอีย์ หะดิษเลขที่ 170 , อบูดาวูด หะดิษเลขที่ 153 ติรฺมีซีย์ หะดิษเลขที่ 79 ...สายรายงานหะดิษข้างต้นถือว่าเศาะเฮียะฮฺ บรรดานักรายงานหะดิษถือว่ามีความจำดีเยี่ยม  ) 
รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮา เล่าว่า แท้จริงท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ได้จูบนางขณะที่ท่านถือศิลอดอยู่ และท่านกล่าวว่า
"การจูบนั้นจะไม่ทำให้เสียน้ำละหมาด และไม่ทำให้เสียศิลอด" (บันทึกหะดิษโดย อิสหาก อิบนุรอหะวัย ในทำนองเดียวกันได้บันทึกโดยอัลบัซซารด้วยสายรายงานที่ดี)
ท่านอับดุลฮักได้กล่าวว่า ฉันไม่ทราบเลยว่ามีข้อบกพร่องอะไรที่จำเป็นจะต้องละทิ้งหะดิษนี้

ซึ่งมีผู้กล่าววิภาษว่า หะดิษที่ว่าด้วยท่านรสูล ศ็อลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม จูบภรรยา จากนั้นท่านก็ละหมาดโดยไม่อาบน้ำละหมาดใหม่นั้น ถือเป้นหะดิษอิฟ และหะดิษที่มีสายรายงานขาดตอน

เล่าจากท่านวะกีอฺ ฟังจากท่านสุฟยาน จากท่านอบูเราก์ อัลฮัมดานีย์ จากท่านอิบรอฮีม อัตตัยมีย์ จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮา ว่า
"แท้จริงท่านรสูล ศ็อลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม จูบ(ภรรยาบางคนของท่าน) จากนั้นท่านก็ละหมาดโดยท่านรสูลไม่อาบน้ำละหมาด(ใหม่)" (บันทึกหะดิษโดยอะหฺมัด หะดิษเลขที่ 25767)
หะดิษข้างต้นสายรายงานเฎาะอิฟ เนื่องจากนักรายงานหะดิษขาดหายไปคนหนึ่ง โดยท่านอิบรอฮีม อัตตัยมีย์ บุตรยะซีด ไม่ได้ยินหะดิษดังกล่่าวจากหญิงอาอิชะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮา (หนังสือมุสนัดอิมามอะหิมัด ตรวจสอบโดยเชคชุอัยบ์ อัลอัรฺนะอูนฎ์ เล่ม 42 หน้าที่ 500)

แต่สายรายงานอื่นซึ่งเนื้อความคล้ายกับหะดิษข้างต้นพบว่าเศาะเฮียะฮ์ทั้งตัวบท และสายรายงานของหะดิษ ดังหะดิษสองบทที่ยกก่อนหะดิษข้างต้นแล้วนั้น


ท่านอิมาม อัซ-ซะรอคซีย์  กล่าวว่า ..
لا يجب الوضوء من القبلة ومس المرأة، بشهوة أو غير شهوة

“ไม่จำเป็นจะต้องอาบน้ำละหมาดใหม่ สำหรับผู้ที่จูบหรือสัมผัสสตรี ไม่ว่าจะสัมผัสด้วยอารมณ์ใคร่หรือไม่มีอารมณ์ใคร่ก็ตาม”
ดู ตำรา อัล-มับสูฏ โดยท่านอิมาม อัซ-ซะรอคซีย์  เล่มที่ 1  หน้าที่ 121

และเนื่องจากไม่มีหลักฐานใดที่บ่งชี้ชัดว่า เมื่อกระทำสิ่งดังกล่าวแล้วเสียน้ำละหมาด ซึ่งสามีจะต้องอยู่ร่วมกับภรรยาอยู่แล้วซึ่งเป็นเรื่องที่พบเห็นกันเป็นปกติวิสัย แม้กระทั่งท่านรสูลุลลอฮฺก็ต้องอยู่ร่วมกับบรรดาภรรยาของท่านเองเช่นกัน แต่ทำไมท่านรสูลจึงไม่บ่งบอกเรื่องดังกล่าวไว้โดยละเอียด ซึ่งนั่นก็หมายความว่า หากสามีภรรยากระทบกันทำให้เสียน้ำละหมาดแล้ว ท่านรสูลจะต้องชี้แจงไว้อย่างชัดเจน แต่ท่านรสูลกลับไปกล่าวถึงเรื่องดังกล่าว ใช่แต่เท่านั้นท่านรสูลยังกระทำให้เห็นอีกว่าชายหญิงกระทบกันไม่เสียน้ำละหมาด

หนังสือฟัตวาของคณะทำงานเพื่อวินิจฉัยเกี่ยวกับปัญหาศาสนาของประเทศซาอุดิอาระเบีย ในเล่ม 5 หน้า 266 ซึ่งหัวหน้าคณะทำงานนั้นก็คือ เชคอับดุลอะซีซ บุตรของอับดุลลอฮฺ บุตรของบาซ แสดงทัศนะว่า "เมื่อชายหญิงกระทบกันเสียน้ำละหมาดหรือไม่นั้น มีการขัดแย้งกันในระหว่างนักวิชาการ แต่ที่ถูกต้องกว่าคือ ไม่เสียน้ำละหมาด แม้ว่าการกระทบนั้นจะทำให้เกิดอารมณ์ทางเพศหรือไม่ก็ตาม เพราะท่านรสูลุลลอฮฺจูบภรรยาบางคนของท่านโดยท่านรสูลมิได้อาบน้ำละหมาดใหม่

*** ส่วนอายะฮฺอัลกุรฺอานที่ปรากฏในสูเราะฮฺอันนิสาอฺ และสูเราะฮฺอันมาอิดะฮฺที่ว่า


لَامَسْتُمُ النِّسَاءَ 

“ท่านทั้งหลายได้สัมผัสสตรี” (อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัล-มาอิดะฮฺ 5: 6)

บรรดาอุลามาอฺมีความเข้าใจต่างกันในคำว่า لَامَسْتُمُ 

กลุ่มหนึ่งเข้าใจว่าหมายถึงการสัมผัส ซึ่งเป็นความหมายตามตัว ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งกล่าวว่ามันหมายถึงการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งเป็นทัศนะของท่านอิบนุอับบาส ร่อฎียัลลอฮุอันฮุม ด้วย


“การสัมผัส” ตรงนี้หมายถึง “การมีเพศสัมพันธ์”  ดังคำตรัสของอัลลอฮฺ ตะอาลา ที่ได้กล่าวถึงเรื่องของ

พระนางมัรยัม ว่า ..

لَمْ يَمْسَسْنِي بَشَرٌ

“ทั้ง ๆ ที่มิได้มีบุรุษใดแตะต้องข้าพระองค์” (ซูเราะฮฺ อาละอิมรอน : 47)

ท่านอิบนุ อับบาส ร่อฎียัลลอฮุอันฮุม ได้อธิบายอัลกุรอาน ได้อธิบายเอาไว้ว่า
"จุดมุ่งหมายของการสัมผัสก็คือการมีเพศสัมพันธ์"
และท่านอิบนุ สะกี๊ต ได้กล่าวว่า
"คือการสัมผัสนั้นเมื่อใช้กับผู้หญิงแล้ว หมายความว่า การร่วมประเวณี หรือการร่วมเพศ ชาวอาหรับกล่าวว่า "ลามัสตุลมัรอาตา" ฉันได้มีเพศสัมพันธืกับนาง ดังนั้นอายะฮฺพูดในทางเป็นนัย คือการสัมผัส นั้นหมายถึงการมีเพศสัมพันธ์ เพราะมีสิ่งบ่งบอกระบุเอาไว้ นั้นก็คือ หะดิษที่รายงานโดยท่านหญิงอาอิชะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮา (อัลฟิกฮุลอิสลามี เล่ม 1)
และหากสังเกตจะพบว่าที่ถูกต้องนั้นมันหมายถึงการมีเพศสัมพันธ์ เพราะในอายะฮฺก่อนหน้านี้ อัลลอฮฺกล่าวถึงการอาบน้ำวุฎูอฺและการอาบน้ำฆุสล์

พระองค์อัลลอฮ์ อัซวะวะญัล ตรัสว่า

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا إِذَا قُمْتُمْ إِلَى الصَّلَاةِ فَاغْسِلُوا وُجُوهَكُمْ وَأَيْدِيَكُمْ إِلَى الْمَرَافِقِ وَامْسَحُوا بِرُءُوسِكُمْ وَأَرْجُلَكُمْ إِلَى الْكَعْبَيْنِ

"ผู้ศรัทธาทั้งหลาย! เมื่อพวกเจ้ายืนขึ้นจะไปละหมาด ก็จงล้างหน้าของพวกเจ้า และมือของพวกเจ้าถึงข้อศอก และจงลูบศีรษะของพวกเจ้า และล้างเท้าของพวกเจ้าถึงตาตุ่มทั้งสอง..." (อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัลมาอิดะฮฺ 5:6)

และกล่าวต่อมาว่า
 وَإِن كُنتُمْ جُنُبًا فَاطَّهَّرُوا

"...และหากพวกเจ้ามีญะนาบะฮฺ ก็จงชำระร่างกายให้สะอาด..." (อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัลมาอิดะฮฺ 5:6)

ซึ่งหมายถึงการตะยัมมุมในการทำความสะอาดเนื่องจากญะนาบะฮฺ

 أَوْ جَاءَ أَحَدٌ مِّنكُم مِّنَ الْغَائِطِ أَوْ لَامَسْتُمُ النِّسَاءَ


 "...หรือคนใดในหมู่พวกท่านมาจากการถ่ายทุกข์ หรือได้สัมผัสหญิงมา..." (อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัลมาอิดะฮฺ 5:6)

ดังนั้นคำๆนี้ย่อมหมายถึงการมีเพศสัมพันธ์ เพราะมันถูกอธิบายไว้ในถ้อยคำก่อนหน้า

สำหรับผู้ที่เข้าใจคำนี้ว่าหมายถึง การสัมผัสนั้น ได้อธิบายมันหมายถึงการสัมผัสหญิงพร้อมกับการมีอารมณ์ทางเพศด้วย กล่าวคือหากสัมผัสผู้หญิงโดยไม่มีอารมณ์ทางเพศนั้นย่อมไม่เสียน้ำละหมาด


สรุปได้ว่า เรื่องการกระทบกันระหว่างชายหญิงที่แต่งงานกันได้ ซึ่งรวมถึงกรณีของสามีภรรยาเป็นเรื่องที่มีทัศนะต่างกันและหลากหลาย แสดงว่ามิใช่เรื่องที่เด็ดขาดด้วยตัวบท ก็เป็นสิ่งที่เราสามารถที่จะเลือกเอาว่าจะตามทัศนะที่ว่าเสียหรือไม่เสีย ซึ่งเห็นว่ามีน้ำหนักมากที่สุด


 والله أعلم بالصوا

✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น