อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การอะซานและการอิกอมะฮฺ

الأذان والإقامة



การอะซาน: เป็นการทำอิบาดะฮฺโดยการประกาศให้รู้ถึงการเข้าสู่เวลาละหมาดด้วยคำกล่าวที่เฉพาะ
เริ่มมีการบัญญัติการอะซานครั้งแรกนั้นในปีแรกของการฮิจญ์เราะฮฺ

วิทยปัญญาการบัญญัติการอะซาน

1 – การอะซานเป็นการประกาศให้รู้ถึงเวลาทำละหมาดแล้ว และยังหมายถึงการเรียก การเชิญชวน ให้ไปร่วมทำละหมาดในสถานที่เดียวกัน หรือละหมาดญะมาอะฮฺ ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์อันมากมาย
2 – การอะซานเป็นการแจ้งเตือนต่อผู้ที่เผลอจากการละหมาด และเป็นการระวังเตือนต่อผู้ที่หลงลืมละหมาดเพื่อให้ทำการละหมาดเสีย ซึ่งเป็นนิอฺมัตที่ยิ่งใหญ่ เป็นสิ่งที่จะนำมาซึ่งความใกล้ชิดระหว่างบ่าวกับอัลลอฮฺ และการอะซานนั้นเป็นการเรียกร้องสำหรับมุสลิมเพื่อไม่ให้พลาดนิอฺมัตอันนี้

การอิกอมะฮฺ เป็นการทำอิบาดะฮฺโดยการประกาศให้รู้ถึงการทำละหมาดแล้ว ด้วยคำกล่าวที่เฉพาะ

หุก่มการอะซานและอิกอมะฮฺ
การอะซานและอิกอมะฮฺ เป็นฟัรฎูกิฟายะฮฺต่อบรรดาผู้ชายเท่านั้น ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพเดินทางหรือไม่ ซึ่งการอะซานและอิกอมะฮฺนี้บัญญัติไว้เฉพาะสำหรับละหมาดห้าเวลาและละหมาดญุมุอะฮฺ(วันศุกร์)เท่านั้น

บรรดาผู้อะซานของท่านนบี(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ทั้งสี่ท่าน คือ
ท่านบิลาล อิบนุ เราะบาหฺ(เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ) และท่านอัมรฺ อิบนุ อุมมิ มักตูม(เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ) เป็นผู้อะซานที่มัสญิดนะบี ณ มะดีนะฮฺ  ส่วนท่านสะอัด อัลก็อรฎ(เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ) เป็นผู้อะซานที่มัสญิดกุบาอ์ และท่านอบู มะหฺซูเราะฮฺ (เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ)เป็นผู้อะซานที่มัสญิดอัลหะรอม ณ นครมักกะฮฺ
และท่านอบู มะหฺซูเราะฮฺ นั้น ได้ตัรญีอฺในการอะซาน(การตัรญีอฺ หมายถึง การกล่าวคำปฏิญาณ อัชฮะดุอัลลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ และ อัชฮะดุอันนะ มุหัมมะดัร รอซูลุลลอฮฺ ด้วยเสียงค่อย ก่อนที่จะกล่าวออกมาด้วยเสียงดังในการอะซาน – บรรณาธิการ) และมีการกล่าวซ้ำสองครั้งในการอิกอมะฮฺ ส่วนท่านบิลาลนั้น ไม่ได้ตัรญีอฺในการอะซานและไม่มีการกล่าวซ้ำสองครั้งในการอิกอมะฮฺ

ความประเสริฐของการอะซาน
เป็นสิ่งที่สุนัตสำหรับผู้อะซานให้ขึ้นเสียงให้ดังเมื่อทำการอะซาน เพราะว่าไม่มีผู้ใดที่ได้ยินเสียงอะซานของเขา ไม่ว่าจะเป็นญินหรือมนุษย์หรือสิ่งใดก็ตาม เว้นแต่ผู้ได้ยินนั้นจะเป็นพยานให้เขาในวันกิยามะฮฺ ผู้อะซานจะได้รับการอภัยโทษเท่ากับระยะคลื่นเสียงของเขาไปถึง และเขาจะได้รับการรับรองจากผู้ที่ได้ยินเสียงของเขาไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต และเขาจะได้ผลบุญเหมือนกับผลบุญของผู้ที่มาละหมาดพร้อมกับเขา

1. รายงานจากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ (เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ) ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)ได้กล่าวว่า
«لَوْ يَـعْلَـمُ النَّاسُ مَا فِي النِّدَاءِ وَالصَّفِّ الأَوَّلِ، ثُمَّ لَـمْ يَـجِدُوا إلَّا أَنْ يَسْتَـهِـمُوا عَلَيْـهِ لاسْتَـهَـمُوا»
ความว่า “หากผู้คนได้รับรู้ถึงผลบุญที่มีอยู่ในการอะซานและแถวแรกของการละหมาด แต่ไม่อาจไขว่คว้าสิ่งนั้นได้นอกจากต้องจับฉลากก่อน พวกเขาต้องแย่งกันจับฉลากแน่นอน” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 615 และมุสลิม เลขที่: 437 สำนวนนี้เป็นของมุสลิม)


2. รายงานจากมุอาวิยะฮฺ บิน อบู สุฟยาน เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา กล่าวว่าฉันได้ยินท่าน เราะสูลุลลอฮฺ(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)กล่าวว่า
«المُؤَذِّنُونَ أَطْوَلُ النَّاسِ أَعْنَاقاً يَومَ القِيَامَةِ»
ความว่า “บรรดาผู้อะซาน(มุอัซซิน)นั้น คือผู้ที่มีคอยาวกว่าผู้อื่นในวันกิยามะฮฺ(หมายถึงเป็นผู้ที่มีผลบุญมากที่สุดในวันกิยามะฮฺ – บรรณาธิการ)” (บันทึกโดยมุสลิม  : 387)

ลักษณะการอะซานที่มีรายงานและปรากฏอยู่ในสุนนะฮฺ
ลักษณะแรก คือ คำอะซานของท่านบิลาล(เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ) ซึ่งท่านใช้อะซานในสมัยท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) (เป็นหะดีษหะสัน บันทึกโดยอบู ดาวูด หมายเลข 499 และอิบนุ มาญะฮฺ 706 )  ซึ่งมีทั้งหมด 15 ประโยค ดังนี้



อัลลอฮุอักบัรฺ (อัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่)
اللهُ أَكْبَرُ
อัลลอฮุอักบัรฺ
اللهُ أَكْبَرُ
อัลลอฮุอักบัรฺ
اللهُ أَكْبَرُ
อัลลอฮุอักบัรฺ
اللهُ أَكْبَرُ
อัชฮะดุอัลลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ
(ข้าปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ)
أَشْهَدُ أَنْ لا إلَـهَ إلَّا الله
อัชฮะดุอัลลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ
أَشْهَدُ أَنْ لا إلَـهَ إلَّا الله
อัชฮะดุอันนะ มุหัมมะดัร เราะซูลุลลอฮฺ
(ข้าปฏิญาณว่า มุหัมมัดนั้นเป็นศาสนทูตของอัลลอฮฺ)
أَشْهَدُ أَنَّ مُـحَـمَّداً رَسُولُ الله
อัชฮะดุอันนะ มุหัมมะดัร เราะซูลุลลอฮฺ
أَشْهَدُ أَنَّ مُـحَـمَّداً رَسُولُ الله
หัยยะ อะลัศ เศาะลาฮฺ (มาละหมาดกันเถิด)
حَيَّ عَلَى الصَّلَاةِ
หัยยะ อะลัศ เศาะลาฮฺ
حَيَّ عَلَى الصَّلَاةِ
หัยยะ อะลัล ฟะลาหฺ (มาสู่ความสำเร็จกันเถิด)
حَيَّ عَلَى الفَلَاحِ
หัยยะ อะลัล ฟะลาหฺ
حَيَّ عَلَى الفَلَاحِ
อัลลอฮุอักบัรฺ
اللهُ أَكْبَرُ
อัลลอฮุอักบัรฺ
اللهُ أَكْبَرُ
ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ (ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ)
لا إلَـهَ  إلَّا الله




ลักษณะที่สอง คือคำอะซานของท่านอบูมะหฺซูเราะฮฺ ซึ่งมีทั้งหมด 19 ประโยค คือนับตักบีรฺตอนต้น 4 ประโยค พร้อมเพิ่มการตัรญีอฺ คือ การกล่าว อัชฮะดุอัลลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ และ อัชฮะดุอันนะ มุหัมมะดัร เราะซูลุลลอฮฺ ด้วยเสียงค่อยก่อนที่จะกล่าวอะซานสองประโยคนั้นด้วยเสียงดังอีกครั้งหนึ่ง

รายงานจากท่านอบู มะหฺซูเราะฮฺ (เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ) กล่าวว่า

أَلقى عليَّ رسول الله صلى الله عليه وسلم التأذين هو بنفسه فقال: «قُلْ: الله أَكْبَرُ، الله أَكْبَرُ، الله أَكْبَرُ، الله أَكْبَرُ، أَشْهَدُ أَنْ لا إلَـهَ إلَّا الله، أَشْهَدُ أَنْ لا إلَـهَ إلَّا الله، أَشْهَدُ أَنَّ مُـحَـمَّداً رَسُولُ الله، أَشْهَدُ أَنَّ مُـحَـمَّداً رَسُولُ الله  [مرتين، مرتين] قال: ثُمَّ ارْجِعْ فَمُدَّ مِنْ صَوْتِكَ: أَشْهَدُ أَنْ لا إلَـهَ إلَّا الله، أَشْهَدُ أَنْ لا إلَـهَ إلَّا الله، أَشْهَدُ أَنَّ مُـحَـمَّداً رَسُولُ الله، أَشْهَدُ أَنَّ مُـحَـمَّداً رَسُولُ الله، حَيَّ عَلَى الصَّلاةِ، حَيَّ عَلَى الصَّلاةِ، حَيَّ عَلَى الفَلاحِ، حَيَّ عَلَى الفَلاحِ، الله أَكْبَرُ، الله أَكْبَرُ، لا إلَـهَ إلَّا الله». 

ความว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)ได้สอนคำอะซานให้แก่ฉัน ด้วยตัวของท่านเอง ท่านสอนว่า จงท่านจงกล่าวว่า
อัลลอฮุอักบัรรุลลอฮุอักบัร   อัลลอฮุอักบัรรุลลอฮุอักบัร
อัชฮะดุอัลลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ อัชฮะดุอัลลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ
อัชฮะดุอันนะมุหัมมะดัร เราะสูลุลลอฮฺ อัชฮะดุอันนะมุหัมมะดัร เราะสูลุลลอฮฺ อัชฮะดุอัลลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ  อัชฮะดุอัลลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ
อัชฮะดุอันนะมุหัมมะดัร เราะสูลุลลอฮฺ อัชฮาดุอันนะมุหัมมะดัร เราะสูลุลลอฮฺ  
หัยยะอะลัศเศาะลาฮฺ   หัยยะอะลัศเศาะลาฮฺ  
หัยยะอะลัลฟะลาหฺ  หัยยะอะลัลฟะลาหฺ  
อัลลอฮุอักบัรรุลลอฮุอักบัร
ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ
(เป็นหะดีษเศาะฮีหฺที่บันทึกโดยอบูดาวูด หมายเลข 503 ซึ่งสำนวนนี้เป็นสำนวนของเขา และบันทึกโดยอัตติรมิซียฺ หมายเลข 192)


ลักษณะที่สาม คือคำอะซานของท่านอบู มะหฺซูเราะฮฺข้างต้น แต่มีตักบีรฺตอนต้นแค่สอง  ประโยค พร้อมเพิ่มการตัรญีอฺ จึงมีทั้งหมด 17 ประโยค (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 379)

ลักษณะที่สี่ คือคำอะซานทุกประโยคให้กล่าวซ้ำสองครั้ง สองครั้ง เว้นเพียงประโยค ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ ในตอนท้ายให้กล่าวเพียงครั้งเดียว จึงมีทั้งหมด 13 ประโยค ทั้งนี้เนื่องจากหะดีษที่รายงานจากอิบนุ อุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา กล่าวว่า
كَانَ الأَذَانُ عَلَى عَهْدِ رَسُولِ الله صلى الله عليه وسلم مَثْنَى مَثْنَى، وَالإقَامَةُ مَرَّةً مَرَّةً، إلَّا أَنَّكَ تَقُولُ: قَدْ قَامَتِ الصَّلاةُ، قَدْ قَامَتِ الصَّلاةُ
ความว่า “ลักษณะการอะซานในสมัยท่านเราะสูลุลลอฮฺ(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)นั้นจะกล่าวทีละสองครั้ง สองครั้ง และการอิกอมะฮฺนั้นจะกล่าวเพียงทีละหนึ่งครั้ง หนึ่งครั้ง นอกจากเมื่อท่านกล่าว ก็อดกอมะติศเศาะลาฮฺ ก็อดกอมะติศเศาะลาฮฺ” (เป็นหะดีษหะสันที่บันทึกโดยอบู ดาวูด หมายเลข 510 และบันทึกโดยอัน-นะสาอีย์ หมายเลข 628 ซึ่งสำนวนนี้เป็นสำนวนของเขา)

ตามสุนนะฮฺควรอะซานด้วยลักษณะที่กล่าวมาทั้งหมด บางครั้งใช้ลักษณะนี้ บางครั้งใช้ลักษณะนั้น หรือสถานที่หนึ่งใช้ลักษณะหนึ่ง อีกสถานที่หนึ่งใช้อีกลักษณะหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อรักษาไว้ซึ่งสุนนะฮฺทุกลักษณะ และเป็นการฟื้นฟูสุนนะฮฺในทุกรูปแบบที่บัญญัติไว้ ตราบใดที่ไม่กลัวเกิดฟิตนะฮฺความวุ่นวาย
ให้ผู้อะซานเพิ่มประโยคในอะซานของละหมาดศุบฮฺ หลังจาก หัยยะอะลัลฟะลาหฺ ว่า   "อัศเศาะลาตุค็อยรุมมินันเนาว์มฺ อัศเศาะลาตุค็อยรุมมินันเนาว์มฺ" ทั้งนี้ในทุกลักษณะที่กล่าวมาข้างต้น

เงื่อนไขที่ทำให้การอะซานใช้ได้
คำกล่าวอะซานต้องตามลำดับและต่อเนื่อง ต้องอะซานหลังจากเข้าเวลาแล้ว มุอัซซินต้องเป็นมุสลิม ต้องเป็นชาย ต้องเป็นผู้ที่ซื่อสัตย์ไว้ใจได้ ต้องเป็นผู้ที่มีสติปัญญาสมบูรณ์ ต้องเป็นผู้ที่มีคุณธรรม ต้องเป็นผู้ที่บรรลุศาสนภาวะหรือเด็กที่เริ่มเข้าสู่วัยที่สามารถแยกแยะได้(มุมัยยิซ) และต้องอะซานด้วยคำภาษาอาหรับดังที่รายงานมาในสุนนะฮฺ และการอิกอมะฮฺก็เช่นกัน

สิ่งที่สุนัตในการอะซาน
สุนัตให้กล่าวอะซานด้วยถ้อยคำที่ชัดเจน สุนัตให้เปล่งเสียงให้ดัง สุนัตให้ผินหน้าและไหล่ ไปทางขวาในขณะที่กล่าวคำว่า “หัยยะอะลัศเศาะลาฮฺ” และให้ผินหน้าและไหล่ไปทางซ้าย ในขณะที่กล่าวคำว่า “หัยยะอะลัลฟะลาหฺ” และบางครั้งในคำหนึ่งๆ ในสองคำนั้นมีการผินหน้าไปทางขวาและซ้ายรวมกัน แต่ลักษณะแรกนั้นเป็นลักษณะที่ตามความหมายของสุนนะฮฺที่ชัดเจนกว่า และการผินหน้านี้เป็นสุนนะฮฺในการอะซาน ถึงแม้ว่าจะใช้ไมค์ก็ตาม ทั้งนี้เนื่องจากเป็นสิ่งที่ได้ถูกบัญญัติไว้
สุนัตสำหรับมุอัซซินนั้นควรเป็นคนที่มีเสียงไพเราะ ควรเป็นคนที่รู้เวลา ควรยืนผินหน้าไปทางกิบละฮฺควรอยู่ในสภาพที่ร่างกายสะอาดปราศจากซึ่งหะดัษเล็ก และหะดัษใหญ่ ควรเอานิ้วทั้งสองอุดหูทั้งสอง ในขณะที่กล่าวอะซาน และควรอะซานในที่ที่สูง

หุก่มการอะซานก่อนเข้าเวลา
ถือว่าใช้ไม่ได้และไม่อนุญาตให้มีการอะซานก่อนเข้าเวลาละหมาดในทุกเวลาของละหมาดห้าเวลา และสุนัตให้มีการอะซานก่อนเวลาฟัจญ์รฺ(ศุบหฺ)ช่วงเวลาหนึ่งเพื่อกินสะหูรฺสำหรับผู้ที่จะถือศีลอด เพื่อเตรียมหยุดสำหรับผู้ที่ละหมาดสุนัตยามค่ำคืน เพื่อเป็นการปลุกให้ตื่นสำหรับผู้ที่นอนหลับ เพื่อเป็นการเตือนสำหรับผู้ที่ละหมาดตะหัจญุดให้ยุติการละหมาดด้วยการละหมาดวิติรฺ แต่เมื่อแสงอรุณปรากฏขึ้น ต้องอะซานอีกครั้งสำหรับการละหมาดศุบหฺ

สิ่งที่ควรกล่าวสำหรับผู้ที่ได้ยินเสียงอะซาน

สุนัตสำหรับผู้ที่ได้ยินเสียงอะซานไม่ว่าจะชายหรือหญิง ดังนี้
1. ให้กล่าวเหมือนกับผู้อะซานกล่าวทุกประโยค ยกเว้นเมื่อรับประโยค “หัยยะอะลัศเศาะลาฮฺ” กับ “หัยยะอะลัลฟะลาหฺ” ให้กล่าวว่า (لَا حَوْلَ وَلَا قُوَّةَ إلَّا بِالله) (อ่านว่า ลาเหาละ วะลา กุ๊ว์วะตะ อิลลา บิลลาฮฺ) ทั้งนี้เพื่อที่จะได้รับผลบุญเหมือนกับผู้อะซาน

2. หลังจากเสร็จสิ้นการอะซานแล้ว สุนัตให้ผู้อะซานและผู้ที่ได้ยินคำอะซานกล่าว เศาะละวาต แก่ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ด้วยเสียงค่อย

3. สุนัตให้กล่าวดุอาอ์ดังที่มีรายงานโดยท่านญาบิรฺ บิน อับดุลลอฮฺ (เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา) ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ได้กล่าวว่า
«مَنْ قَالَ حِينَ يَسْمَعُ النِّدَاءَ: اللَّهُـمَّ رَبَّ هَذِهِ الدَّعوَةِ التَّامَّةِ، وَالصَّلاةِ القَائمَةِ، آتِ مُـحَـمَّداً الوَسِيلَةَ وَالفَضِيلَةَ، وَابْعَثْهُ مَقَاماً مَـحْـمُوداً الَّذِي وَعَدْتَـهُ، حَلَّتْ لَـهُ شَفَاعَتِي يَومَ القِيَامَةِ»
ความว่า “ผู้ใดกล่าวเมื่อเขาไดยินเสียงอะซานว่า “อัลลอฮุมมะ ร็อบบะ ฮาซิฮิดดะอฺวะติตต๊ามะฮฺ วัศเศาะลาติล กออิมะฮฺ อาติ มุหัมมะดะนิลวะสีละฮฺ วัลฟะฎีละฮฺ วับอัษฮุ มะกอมัน มะหฺมูดะนิลละซี วะอัดตะฮฺ” (ความหมาย โอ้อัลลอฮฺ พระเป็นเจ้าแห่งการเชิญชวนอันสมบูรณ์ และการละหมาดที่กำลังจะปฏิบัติอยู่นี้ ขอพระองค์ทรงโปรดประทานความดี ประเสริฐ และขอพระองค์ทรงโปรดนำมุหัมมัดสู่ตำแหน่งที่ได้รับการสรรเสริญ ซึ่งพระองค์ได้ทรงสัญญาไว้ด้วยเถิด) เขาจะได้รับการชะฟะอะฮฺจากฉันในวันกิยามะฮฺ” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ หมายเลข 614)

4. ให้กล่าวหลังจากมุอัซซินกล่าวชะฮาดะตัยนฺ (ท่อนกล่าวปฏิญาณในอะซาน) ดังนี้
รายงานจากท่านสะอัด บิน อบี อัล-วักกอศ (เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ) ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ได้กล่าวว่า
«مَنْ قَالَ حِينَ يَسْمَعُ المُؤَذِّنَ: أَشْهَدُ أَنْ لا إلَـهَ إلَّا الله وَحْدَهُ لا شَرِيكَ لَـهُ، وَأَنَّ مُـحَـمَّداً عَبْدُهُ وَرَسُولُـهُ، رَضِيتُ بِالله رَبّاً وَبِمُـحَـمَّدٍ رَسُولاً وَبِالإسْلامِ دِيناً، غُفِرَ لَـهُ ذَنْبُـهُ»
ความว่า ความว่า “ผู้ใดกล่าวเมื่อเขาไดยินเสียงอะซานว่า “อัชฮะดุอัลลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ วะหฺดะฮูลาชะรีกะละฮฺ วะอัชฮะดุอันนะมุหัมมะดัน อับดุฮู วะเราะสูลุฮฺ เราะฎีตุ บิลลาฮิ ร็อบบัน วะบิมุฮัมมะดิน เราะสูลัน วะบิล อิสลามิ ดีนัน" (ความหมาย ฉันขอปฏิญาณตนว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ต้องเคารพสักการะโดยแท้จริงนอกจากอัลลอฮฺ เพียงหนึ่งเดียว ไม่มีภาคีใดใดสำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณตนว่ามุหัมมัดนั้นเป็นบ่าวของอัลลอฮฺรวมทั้งเป็นเราะสูลของพระองค์โดยแท้จริง และฉันยอมรับนับถืออัลลอฮฺเป็นพระเจ้า มุหัมมัดเป็นเราะสูล และอิสลามเป็นศาสนา) เขาจะได้รับการอภัยโทษในความผิดที่ผ่านมา” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 386)

5. หลังจากนั้นให้ขอดุอาอ์ให้แก่ตนเอง แล้วแต่ใจปราถนา

ความประเสริฐของการกล่าวตามมุอัซซิน
มีรายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ บิน อัมรฺ บิน อัล-อาศ (เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา) ว่าท่านได้ยินท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ได้กล่าวว่า
«إذَا سَمِعْتُـمُ المُؤَذِّنَ، فَقُولُوا مِثْلَ مَا يَـقُولُ، ثُمَّ صَلُّوا عَلَيَّ، فَإنَّهُ مَنْ صَلَّى عَلَيَّ صَلاةً صَلَى الله عَلَيهِ بِـهَا عَشْراً، ثُمَّ سَلُوا الله لِي الوَسِيلَةَ، فَإنَّهَا مَنْزِلَةٌ فِي الجَنَّةِ لا تَنْبَـغِي إلَّا لِعَبْدٍ مِنْ عِبَادِ الله، وَأَرْجُو أَنْ أَكُونَ أَنَا هُوَ، فَمَنْ سَأَلَ لِي الوَسِيلَةَ حَلَّتْ لَـهُ الشَّفَاعَةُ»
ความว่า ความว่า “เมื่อพวกท่านได้ยินเสียงมุอัซซินอะซาน พวกจงกล่าวเหมือนกับที่มุอัซซินกล่าว หลังจากนั้นพวกท่านจงกล่าวเศาะละวาตให้ฉัน เพราะว่าผู้ใดก็ตามที่เศาะละวาตให้แก่ฉันหนึ่งครั้ง อัลลอฮฺจะให้พรแก่เขาสิบครั้ง หลังจากนั้นพวกท่านจงขอต่ออัลอฮฺให้นำฉันไปสู่ตำแหน่ง อัล-วะสีละฮฺ  เพราะว่าตำแหน่งนี้ ถือว่าเป็นตำแหน่งที่มีระดับมากในสวรรค์ เป็นตำแหน่งที่ไม่ควรที่จะได้รับนอกจากบ่าวคนเดียวเพียงคนเดียวเท่านั้นในจำนวนบ่าวหลายๆ คน และฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าฉันคือบ่าวคนนั้น ฉะนั้นผู้ใดที่ขอให้ฉันไปสู่ตำแหน่งนั้น เขาจะได้ชะฟาอะฮฺจากฉัน” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 284)

ผู้ใดที่ได้รวมละหมาดสองเวลาหรือชดละหมาดที่ขาดไปให้อะซานในละหมาดแรกเท่านั้น แล้วให้อิกอมะฮฺในทุกๆ ละหมาดที่เหลือ

หากผู้ที่จะอะซานมีตั้งแต่สองคนขึ้นไป ให้คนที่เสียงดีที่สุดเป็นผู้อะซาน มิฉะนั้น ก็ให้คนที่มีความเคร่งศาสนาและมีสติปัญญาดีที่สุดเป็นผู้อะซาน มิฉะนั้นก็ให้คนที่คนที่ถูกคัดเลือกโดยเพื่อนบ้าน มิฉะนั้นก็ให้ใช้วิธีหยิบฉลาก และเป็นที่อนุญาตหากจะมีผู้อะซานสองคนในหนึ่งมัสญิด


พลังของการอะซาน
มีรายงานจากท่าน อบู ฮุร็อยเราะฮฺ (เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ) ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) กล่าวว่า
«إذَا نُودِيَ لِلْصَّلاةِ أَدْبَرَ الشَّيْطَانُ لَـهُ ضُرَاطٌ حَتَّى لا يَسْمَعَ التَّأْذِينَ، فَإذَا قُضِيَ النِّدَاءُ أَقْبَلَ، حَتَّى إذَا ثُوِّبَ لِلصَّلاةِ أَدْبَرَ، حَتَّى إذَا قُضِيَ التَّثْوِيبُ أَقْبَلَ، حَتَّى يَـخْطُرَ بَيْنَ المَرْءِ وَنَفْسِه يَـقُولُ: اذْكُرْ كَذَا، اذْكُرْ كَذَا، لِـمَا لَـمْ يَكُنْ يَذْكُرُ، حَتَّى يَظَلَّ الرَّجُلُ لا يَدْرِي كَمْ صَلَّى»
ความว่า “เมื่อเสียงอะซานถูกเปล่งออกมาชัยฏอนจะหันหลังหนีไป พร้อมๆ กับปล่อยเสียงผายลมเพื่อกลบเสียงอะซาน จนกระทั่งมันไม่ได้ยินเสียงอะซาน และเมื่อเสร็จสิ้นเสียงอะซานมันก็จะหันกลับมาอีก จนกระทั่งเมื่อเสียงอิกอมะฮฺถูกเปล่งออกมามันจะหันหลังหนีอีกครั้ง และเมื่อเสร็จสิ้นเสียงอิกอมะฮฺมันก็จะหันกลับมาอีกครั้งจนกระทั่งมันสามารถเข้าไปรบกวนสมาธิหรือจิตใจของผู้ละหมาดแต่ละคน มันจะกล่าวว่าจงนึกถึงสิ่งนั้น จงนึกถึงสิ่งนี้ในสิ่งที่พวกเขาไม่เคยนึกถึงมาก่อนเลย จนกระทั่งคนคนหนึ่งไม่รู้ว่าตัวเองละหมาดไปกี่ร็อกอะฮฺแล้ว” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 608 สำนวนนี้เป็นของอัล-บุคอรีย์ และบันทึกโดยมุสลิม เลขที่: 389)

การอะซานในวันญุมุอะฮฺนั้นจะเริ่มกล่าวเมื่ออิมามได้อยู่บนมิมบัรเพื่อกล่าวคุฏบะฮฺแล้ว  แต่ต่อมาเมื่อมีผู้คนมากขึ้นในสมัยของท่านอุษมาน ท่านได้เพิ่มการอะซานอีกครั้งหนึ่งก่อนหน้านั้นและบรรดาเศาะหาบะฮฺท่านอื่นๆ ก็เห็นพ้องไปกับท่านด้วยในเรื่องนี้

หุก่มการเอาค่าจ้างในการอะซาน
ไม่อนุญาตให้อิมามเอาค่าจ้างจากการเป็นอิมามนำละหมาด และไม่อนุญาตให้มุอัซซินเอาค่าจ้างจากการอะซานของเขาเช่นกัน แต่อนุญาตให้ทั้งอิมามและมุอัซซินรับเอารางวัลจากเงินส่วนกลางหากเขาได้ทำหน้าที่ของเขาด้วยความบริสุทธิ์ใจเพื่ออัลลอฮฺ

หุก่มสำหรับผู้ที่เข้าไปในมัสญิดในขณะมุอัซซินกำลังอะซาน
สำหรับผู้ที่เข้าไปในมัสญิดในขณะมุอัซซินกำลังอะซานนั้น สุนัตให้เขาฟังและตอบรับคำอะซาน หลังจากนั้นให้ดุอาอ์หลังจากเสียงอะซานได้เสร็จสิ้นลง และไม่อนุญาตให้เขานั่งจนกระทั่งเขาละหมาดตะหิยะตุลมัสญิดก่อน
เมื่อมุอัซซินได้อะซานแล้วห้ามมิให้ผู้ใดออกจากมัสญิด นอกจากจะมีเหตุจำเป็น เช่นป่วยหรือเพื่อเอาวุฎูอ์(น้ำละหมาด)ใหม่ เป็นต้น

ลักษณะการอิกอมะฮฺที่มีรายงานและปรากฏอยู่ในสุนนะฮฺ
ลักษณะที่หนึ่ง  มีทั้งหมดสิบเอ็ดประโยคคืออิกอมะฮฺของท่านบิลาลที่ใช้อิกอมะฮฺในขณะละหมาดกับท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ซึ่งมีคำกล่าวดังนี้

อัลลอฮุอักบัรฺ (อัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่)
اللهُ أَكْبَرُ
อัลลอฮุอักบัรฺ
اللهُ أَكْبَرُ
อัชฮะดุอัลลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ
(ข้าปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ)
أَشْهَدُ أَنْ لا إلَـهَ إلَّا الله
อัชฮะดุอันนะ มุหัมมะดัร เราะซูลุลลอฮฺ
(ข้าปฏิญาณว่า มุหัมมัดนั้นเป็นศาสนทูตของอัลลอฮฺ)
أَشْهَدُ أَنَّ مُـحَـمَّداً رَسُولُ الله
หัยยะ อะลัศ เศาะลาฮฺ (มาละหมาดกันเถิด)
حَيَّ عَلَى الصَّلَاةِ
หัยยะ อะลัล ฟะลาหฺ (มาสู่ความสำเร็จกันเถิด)
حَيَّ عَلَى الفَلَاحِ
ก็อดกอมะติศ เศาะลาฮฺ (การละหมาดได้เริ่มแล้ว)
قَدْ قَامَتِ الصَّلاةُ
ก็อดกอมะติศ เศาะลาฮฺ
قَدْ قَامَتِ الصَّلاةُ
อัลลอฮุอักบัรฺ
اللهُ أَكْبَرُ
อัลลอฮุอักบัรฺ
اللهُ أَكْبَرُ
ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ (ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ)
لا إلَـهَ  إلَّا الله


(เป็นหะดีษหะสันเศาะฮีหฺที่บันทึกโดยอบู ดาวูด หมายเลข 499)

ลักษณะที่สอง มีทั้งหมด สิบเจ็ดประโยคเป็นอิกอมะฮฺของอะบี มะหฺซูเราะฮฺ ดังที่มีรายงานดังนี้
التكبير أربعاً، والتشهدان أربعاً، والحيعلتان أربعاً، وقد قامت الصلاة مرتين، والتكبير مرتين، ولا إله إلا الله مرة
ความว่า “กล่าวคำตักบีรฺสี่ครั้ง กล่าวคำสองชะฮาดะฮฺสี่ครั้ง กล่าวคำสองหัยอะละฮฺสี่ครั้ง กล่าวคำว่า ก็อดกอมะติศเศาะลาฮฺ สองครั้ง กล่าวคำตักบีรฺอีกสองครั้งและกล่าวคำว่า ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ หนึ่งครั้ง (เป็นหะดีษหะสันเศาะฮีหฺที่บันทึกโดยอบูดาวุด หมายเลข(502)และอัตติรมิซียฺ หมายเลข(192)

ลักษณะที่สาม มีทั้งหมดสิบประโยค (เหมือนกับลักษณะที่หนึ่ง แต่ตัดคำตักบีรฺในตอนท้ายออกหนึ่งประโยค) มีคำกล่าวดังนี้
الله أَكْبَرُ، الله أَكْبَرُ، أَشْهَدُ أَنْ لَا إلَـهَ إلَّا الله، أَشْهَدُ أَنَّ مُـحَـمَّداً رَسُولُ الله، حَيَّ عَلَى الصَّلَاةِ، حَيَّ عَلَى الفَلَاحِ، قَدْ قَامَتِ الصَّلاةُ، قَدْ قَامَتِ الصَّلاةُ، الله أَكْبَرُ، لَا إلَـهَ إلَّا  الله
(เป็นหะดีษหะสันที่บันทึกโดยอบู ดาวูด หมายเลข 510 และบันทึกโดย อัน-นะสาอีย์ หมายเลข(628)

สุนัตให้อิกอมะฮฺด้วยลักษณะที่กล่าวมาทั้งหมด บางครั้งใช้ลักษณะนี้ บางครั้งใช้ลักษณะนั้น ทั้งนี้เพื่อรักษาไว้ซึ่งสุนนะฮฺในทุกลักษณะ และเป็นการฟื้นฟูสุนนะฮฺในทุกรูปแบบที่บัญญัติไว้ ตราบใดที่ไม่กลัวเกิดฟิตนะฮฺ

สุนัตให้กล่าวดุอาอ์และละหมาดสุนัต ในระหว่างอะซานและอิกอมะฮฺ

อนุญาตให้ใช้เครื่องขยายเสียงในการอะซาน อิกอมะฮฺ ละหมาดและคุฏบะฮฺเมื่อเห็นควรใช้ แต่ถ้าหากว่านำมาซึ่งความเดื่อดร้อนและรบกวนจำเป็นต้องใช้

ผู้ที่อะซานคือผู้ที่อิกอมะฮฺ
สุนัตให้ผู้ที่อะซานและอิกอมะฮฺเป็นบุคคลคนเดียวกัน และมุอัซซินนั้นมีอำนาจเหนือกว่าผู้อื่นในเรื่องการอะซาน ส่วนอิมามนั้นมีอำนาจเหนือกว่าผู้อื่นในเรื่องการอิกอมะฮฺ ฉะนั้นมุอัซซินจะอิกอมะฮฺไม่ได้ นอกจากอิมามจะให้สัญญานก่อน หรือเห็นอิมามมา หรือว่าเห็นอิมามลุกขึ้นยืนเพื่อนำละหมาด เป็นต้น
สุนัตให้กล่าวแต่ละประโยคของคำอะซานด้วยลมหายใจเดียวต่อหนึ่งประโยค นอกจากคำว่า อัลลอฮุอักบัรฺ อัลลอฮุอักบัรฺ สองประโยคนี้ให้กล่าวติดต่อกันด้วยลมหายใจหนึ่งครั้ง แต่บางครั้งก็กล่าวแต่ละประโยคต่างหากได้ และผู้ที่ได้ยินเสียงอะซานก็กล่าวตอบรับในลักษณะเดียวกัน ส่วนอิกอมะฮฺให้กล่าวแต่ละประโยคนั้นไม่ปรากฎหลักฐานจากท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)ว่ามีคำกล่าวตอบรับสำหรับผู้ได้ยินคำอิกอมะฮฺแต่อย่างใด

ลักษณะการอาซานในยามฝนตกหรือในสภาพอากาศที่หนาวจัด
สุนัตให้ผู้ที่อะซานช่วงที่มีสภาพอากาศที่หนาวจัดหรือในค่ำคืนที่ฝนตก เป็นต้น กล่าวหลังจากคำสองหัยอะละฮฺหรือหลังจากอะซานเสร็จสิ้นแล้ว ด้วยคำที่ปรากฏในสุนนะฮฺดังนี้
أَلَا صَلُّوا فِي الرِّحَالِ
คำอ่าน อะลา ศ็อลลู ฟิรฺ ริหาล
ความว่า “แต่ทว่าพวกท่านจงละหมาดในที่อาศัยของพวกท่านเถิด“(มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 666 และมุสลิม เลขที่: 697)

صَلُّوا فِي بُيُوتِكُمْ
คำอ่าน ศ็อลลู ฟี บุยูติกุม
ความว่า “พวกท่านจงละหมาดในที่บ้านของพวกท่านเถิด“ (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 901 และมุสลิม เลขที่: 699)

บางครั้งใช้ลักษณะนี้บ้าง บางครั้งใช้ลักษณะนั้นบ้าง ทั้งนี้เพื่อรักษาไว้ซึ่งสุนนะฮฺในทุกลักษณะ
ส่วนผู้ใดที่ต้องการมาละหมาดที่มัสญิดในสภาพอาการดังกล่าวก็ถือว่าได้ทำตามบทบัญญัติหนึ่งสำหรับเขาถึงแม้ว่าจะลำบากก็ตาม

หุก่มการอะซานและอิกอมะฮฺในเวลาเดินทาง
มีรายงานจากท่านมาลิก บิน อัลหุวัยริษ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า มีชายสองคนมาหาท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ซึ่งชายสองคนนี้มาบอกว่าจะเดินทางไกล ท่านนบีก็ได้กล่าวแก่เขาสองคนว่า
«إذَا أَنْتُـمَا خَرَجْتُـمَا فَأَذِّنَا، ثُمَّ أَقِيمَا، ثُمَّ لِيَؤُمَّكُمَا أَكْبَرُكُمَا»
ความว่า “เมื่อท่านทั้งสองออกเดินทางแล้ว ก็จงอะซาน หลังจากนั้นก็จงอิกอมะฮฺ แล้วให้ผู้ที่อาวุโสกว่าเป็นอิมาม” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 630 สำนวนนี้เป็นของอัล-บุคอรีย์และมุสลิม เลขที่: 674)

หุก่มการอะซานและอิกอมะฮฺในการละหมาดต่างๆ
สำหรับการละหมาดต่างๆนั้น หากพิจารณาในด้านการบัญญัติการอะซานและอิกอมะฮฺมี 4 สถานะ คือ
หนึ่ง การละหมาดที่มีบัญญัติการอะซานและอิกอมะฮฺ ได้แก่ละหมาดห้าเวลา และละหมาดญุมุอะฮฺ
สอง การละหมาดที่มีบัญญัติการอิกอมะฮฺแต่ไม่มีอะซาน ได้แก่ ละหมาดที่รวมกับละหมาดก่อนหน้า และละหมาดชด
สาม การละหมาดที่มีคำประกาศที่เฉพาะ ได้แก่ ละหมาดกุสูฟ(สุริยุปราคา) และละหมาดคุสูฟ(จันทรุปราคา)
สี่ การละหมาดที่ไม่มีบัญญัติทั้งอะซานและอิกอมะฮฺ ได้แก่ ละหมาดสุนัต ละหมาดญะนาซะฮฺ ละหมาดอีดทั้งสองวัน และละหมาดขอฝน เป็นต้น

والله أعلم بالصواب


มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัตตุวัยญิรีย์
แปลโดย : ดานียา เจะสนิ
ผู้ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน
ที่มา : หนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์


✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น